R2R : สิ่งที่ได้เรียนรู้…หนึ่งปีกว่ากับ R2R


 

ผ่านไปหนึ่งปีกับสองเดือนที่ทางโรงพยาบาลยโสธรได้เริ่มนำแนวทางการทำ R2R มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำงาน แรกเริ่มเดิมทีได้ปรึกษาหารือกับคุณเอื้อ ... และทางทีมว่าเราจะกำหนดสิ่งต่างๆ ให้เกิดขึ้นตามแผน แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป สิ่งที่ได้เรียนรู้จากคนทำงาน และมีหัวใจที่อยากจะพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย ต่างมีภาระมากมายที่ต้องทำ โดยเฉพาะงานประจำนั่นแหละ...ที่ต้องใช้เวลาอย่างมาก

 

ดังนั้นในการขับเคลื่อน R2R เราจึงปล่อยให้เป็นธรรมชาติมากที่สุด ไม่นำเรื่องของเวลามาเป็นกรอบขีดให้ต้องเดิน แต่เราเน้นในเรื่อง ใจ ที่อยากทำมากกว่า...

 สิ่งหนึ่ง...ที่ได้เรียนรู้ที่ผ่านมา จิตใจ ที่มุ่งมั่นและเข้มแข็งนั้นทำให้ยังคงมีอยู่ และเดินไปได้ อย่างทีม R2R การดูแลผู้ป่วยด้านศัลยกรรม                จำนวน  12 คนประกอบด้วยบุคลากรที่เป็นวิสัญญี พยาบาลวิชาชีพจากแผนกห้องผ่าตัด หอผู้ป่วยศัลยกรรม คลินิกศัลยกรรม โดยเน้นในเรื่องการพัฒนากระบวนการเยี่ยมผู้ป่วยผ่าตัด นำทีมโดยพี่ชมภู่ น้องกุ้งคุณลิขิตคนเก่ง  พี่ตู่ พี่ปูจาก OR และที่สำคัญ... ที่เริ่มเข้าสู่กระบวนการร่วมด้วยช่วยกัน พี่ไร หัวหน้าทีมวิสัญญีพยาบาล พี่นิดหัวหน้าไอซียูศัลยกรรม พี่จูและพี่หมูหัวหน้าหอผู้ป่วยในที่พาน้องๆ ที่ word มาร่วมทีมกับแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน... 

ทีมนี้พี่อื๋อ...บอกว่าโชคดีที่แกนนำนั้นจับแน่นไม่ปล่อย... ไม่ยอมท้อ ไม่ยอมถอย ... หลายครั้งต่อหลายครั้งที่ยังคงมีการประชุม เจออุปสรรคก็พากันหาทางแก้ไข...  

.....................

สำหรับทีมนี้ดิฉัน...ได้พยายามผลักดันให้เขียนรายงานวิจัยออกมาในช่วง Phase แรกของการศึกษา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์วิทยาที่เกิดขึ้นจริงในการทำ R2R ของทีม และตอนนี้ทางทีมเริ่มขยับเข้าสู่ช่วงที่สอง สำหรับการลดความซ้ำซ้อนของการเยี่ยมผู้ป่วย เพื่อให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมยิ่งขึ้น หนึ่งเดือนกับการประชุมทีมสองครั้งถือได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ที่น่ายกย่องและชื่นชม แต่เท่าที่ผ่านมาทางทีมก็ยังคงมีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทีมกันอยู่ แต่... ช่วงนี้ทางทีมเจอปัญหาและอุปสรรคที่ต้องแก้ไข ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขยับโมเดลและปรับกระบวนการเยี่ยมเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อกลุ่มต่างๆ ในทีมเยี่ยมน้อยที่สุดแต่เกิดผลลัพธ์มากที่สุด จึงได้นำเรื่องและเกิดการประชุมในทีมใหญ่...เพื่อหาทางให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย 

บทสรุปที่ได้ ณ ตอนนี้ คือ ทุกกลุ่มอาทิ ทีมวิสัญญี ทีมห้องผ่าตัด ทีมหอผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องจะเข้าร่วมเยี่ยมผู้ป่วยพร้อมกัน และมีรูปแบบในการให้ความรู้ต่อผู้ป่วยที่สอดคล้องกันมากขึ้น พร้อมกับนำแนวทางการทำ case – conference มาใช้ในกะบวนการขณะเยี่ยมนี้ร่วมด้วย และทดลองใช้ประมาณสองสัปดาห์ทางทีมจะนำผลมาวิเคราะห์และร่วมกันปรับกระบวนการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 111946เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 11:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ห่างหายไปนาน ..แวะเข้ามาเรียนรู้ R2R ครับ

"เมื่อเกลียวความรู้เริ่มหมุน
ทั้ง tacit สู่ Explicit จิตมุ่งมั่น
ร่วมแบ่งปันสร้างสรรค์กันเต็มที่
คือวิถีจัดการความรู้คู่(
เดิมเป็นมหาวิทยาลัย) รพ.ยโสธร"

 

สวัสดีค่ะ...คุณวิชิต

...

ไม่ได้คุยแลกเปลี่ยนกันนานค่ะ...แต่ก็สามารถแลกเปลี่ยนแบ่งปัน...กันได้เสมอนะคะ

ยินดีและดีใจ...อย่างยิ่งค่ะ

ขอบคุณนะคะสำหรับเกลียวความรู้เริ่มหมุน...

(^____^)

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท