ยุทธศาสตร์ไม้ยูคาลิปตัส ยุทธศาสตร์จังหวัดบุรีรัมย์


ที่สมัยหนึ่งเราต่อต้านกันหัวชนฝา แต่เจ้าไม้ตัวนี้ก็ดื้อดึงดื้อด้านต้านกระแสอย่างทรหด นอกจากทนแล้งแล้ว ยังคงทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์อีกด้วย

 

เมื่อวานนี้มีเรื่องที่พลิกล็อกที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญกับวิธีการศึกษาวิจัยในประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกและความเข้าใจเรื่องไม้ยูคาลิปตัส ที่สมัยหนึ่งเราต่อต้านกันหัวชนฝา แต่เจ้าไม้ตัวนี้ก็ดื้อดึงดื้อด้านต้านกระแสอย่างทรหด นอกจากทนแล้งแล้ว ยังคงทนต่อการวิพากษ์วิจารณ์อีกด้วย มาถึงวันนี้ความจริงได้พิสูจน์ตัวมันเองว่าเรื่องทั้งหมดไม่ได้เกิดจากต้นไม้ที่มันไม่รู้อิโหน่อิเหน่ด้วย แต่มันเกิดจากการจัดการของมนุษย์ที่ทำไม่ถูกไม่ควรกับความเป็นจริงของไม้พันธุ์นี้ ที่ผมดีใจไม่ใช่เพราะไม่มีใครต่อต้าน แต่ดีใจเพราะคนไทยจะเริ่มลงมือเรียนรู้เกี่ยวกับไม้พันธุ์นี้อย่างจริงจังเสียที

  

(ขึ้นเวที-ลงเวทีไปเยี่ยมศูนย์วิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฎบุรีรัมย์) 

..จังหวัดบุรีรัมย์จัดประชุมวางแผนพัฒนาจังหวัดฯ 1อุตสาหกรรม 1จังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการจังหวัด อธิการบดีและคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ โดยอุตสาหกรรมจังหวัดฯเป็นเจ้าภาพหลักและคณาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินงานออกแบบวางแผนเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้เชิญผู้นำชุมชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จากทุกอำเภอมาระดมสมองประมาณ100คน  

ยุทธศาสตร์จังหวัดเป็นแผนงานสืบเนื่องมาจากปีที่แล้ว ส่วนใหญ่ในภาคอีสานจะเลือกทำเรื่องข้าวเรื่องและเกษตรอินทรีย์เป็นยุทธศาสตร์ จังหวัดบุรีรัมย์เลือกที่จะทำเรื่องการใช้ประโยชน์จากไม้ยูคาลิปตัสเป็นยุทธศาสตร์ประกอบการอุตสาหกรรมของจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดกล่าวนำว่า เรื่องไม้ยูคาลิปตัสน่าจะเหมาะกับจังหวัดบุรีรัมย์ เพราะมีพื้นที่เสื่อมโทรม ปลูกพืชอื่นไม่ค่อยได้ผล ถ้าเกษตรกรนำมาปลูกไม้เร็วน่าจะสร้างงานสร้างรายได้ให้เกษตรกรมีทางเลือกมากขึ้น ประกอบกับได้มีเกษตรกรสนใจปลูกไม้ประเภทนี้ครบวงจรอยู่แล้ว เช่น   <ul style="margin-top: 0cm">

  • กลุ่มเพาะกล้าจำหน่าย ผลิตได้ปีละหลายล้านต้น ส่งไปขายไปถึงประเทศลาว
  • กลุ่มปลูกไม้โตเร็ว ขยายพื้นที่ออกไปนับแสนไร่
  • กลุ่มโรงงานชิ้นไม้สับ
  • กลุ่มประดิษฐ์กรรม ทำของเด็กเล่น ทำเครื่องเรือน ทำฟืน และเผาถ่าน
  • กลุ่มโรงงานใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้า
  • </ul>

    มหาชีวาลัยอีสานเข้าไปในส่วนแนะนำเกี่ยวกับภาพรวมของไม้ยูคาลิปตัสในประเทศไทย ได้ให้ความเห็นวงจรของไม้ชนิดนี้ รวมทั้งรูปแบบการปลูก และการใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ตรง ได้ฉาย Power point ประกอบคำบรรยาย หลังจากนั้นมีการแบ่งกลุ่มระดมสมอง และนัดหมายที่จะมาร่างแผนยุทธศาสตร์จังหวัดกันอีกครั้งหนึ่ง. 

    จุดเด่นของเรื่องนี้ อยู่ที่สถาบันการศึกษาได้จับมือกับส่วนราชการจังหวัด นักธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และได้นำตัวแทนชุมชนมาทำงานรวมกันอย่างมีส่วนร่วม ซึ่งจะเป็นการเสริมจุดอ่อนของภาคประชาชนและเสริมจุดแข็งของภาควิชาการ ที่จะผลักดันแผนประชาคมส่วนราชการจังหวัดให้ชัดเจนยิ่งขึ้น  

    ก่อนลากลับเราได้ไปเยี่ยมสำน้กวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ อาจารย์นิรันดร์ กุลทานันท์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนา ได้กรุณามาชวนไปเยี่ยมชมกิจการ ผมเห็นว่าเป็นความโชคดีของคนบุรีรัมย์ ที่จะได้มาใช้บริการงานวิจัยวิชาการของสำนักแห่งนี้ ที่คณาจารย์รับผิดชอบมีใจที่จะร่วมมือทำงานกับชาวบ้านและองค์กรชุมชนอย่างเต็มเปี่ยมอยู่แล้ว

     

    </font></span></span>

    หมายเลขบันทึก: 111088เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2007 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (18)
    • ตามมาอ่าน
    • คนไทยได้เรียนรู้เพิ่มขึ้น
    • กำลังอยากชวนอาจารย์
    •  อาจารย์นิรันดร์ กุลทานันท์
    • มาที่มหาชีวาลัยอีสาน
    • เคยบอกพ่อว่ามีอาจารย์ราชภัฏบุรีรัมย์ทำงานวิจัยอยู่
    • ดีใจที่พ่อกับอาจารย์ได้พบกันเพื่อเป็นเครือข่ายต่อไป
    • มาเรียนพ่อว่าส่ง งานแปลให้ทางเมล์แล้ว
    • มีคนเชิญพ่อไปภาคเหนือด้วย
    • ที่นี่ครับ 

    P

    ขอบคุณมากที่แปลเอกสารให้ได้เร็วปานจรวด

    อ่านแล้วมันเป็นอย่างที่ว่าจริงๆ

    ลอกฝรั่งมาทั้งน๊านๆๆอิอิ

    • ด้วยความยินดีครับ
    • แปลไม่ค่อยเก่ง
    • แต่เป็นเรื่องการศึกษาจะแปลได้ไวกว่าครับ
    • กำลังว่าจะโทรไปถามว่าได้รับ mail หรือยัง
    • อาจารย์พิชัยจะเชิญไปเชียงใหม่ไม่ทราบว่าชนกับรายการอื่นๆๆหรือไม่ครับ
    • ขอบคุณครับ

    ผมทราบมาว่าที่ มก.กพส. ของท่านอาจารย์ขจิตก็มีผู้เชี่ยวชาญเรื่องสรีระวิทยาของยูคาฯ มากๆท่านหนึ่งครับ...ศ.ดร.สุนทรี ยิ่งชัชวาลย์

    P

    • เกรงว่าจะเป็นแม่สายบัวแต่งตัวเก้อ เหมือนรายการภาคใต้ พรรคพวกที่ภูเก็ตตั้งป้อมรับเต็มอัตราศึก พอรู้ว่าแห้วเพื่อนป่วยใจมาจนถึงบัดนี้
    • ตั้งชื่อโครงการว่าอย่างไร..

    ชาวบล็อก ปะทะชาวเขา  ชาวเราจะอยู่ตรงไหน? อิอิ

    P

    ขอบคุณมากครับ ที่ให้ข้อมูลจอมยุทธยูคาฯ

    • ขอบคุณมากครับคุณข้ามสีทันดร
    • ที่แจ้งข่าวดี
    • ผมขอเอาข้อคิดเห็นของพ่อไปฝากอาจารย์พิชัยนะครับ

    อยู่ดีๆมีโปรแกรมนัดชาวบล็อก

    ใจหล่นป๊อกเอ๊ะอะไรกันละนั่น

    รึสวรรค์มีตามาชวนกัน

    ไปสังสรรค์สันกำแพงแกงฮังเล 

    ไปหาน้าอึ่งอ็อบอีกรอบหนึ่ง

    พอไปถึงชวนน้าคนว้าเหว่

    เอาทุกข์โศกแสนเศร้าเหงาทั้งเพ

    ลอยไหลเร่จมลับกับแม่ปิง

    มาขอกราบ เรียนเชิญ ครูบาเจ้า

    รู้ว่าเหงา จึงชวน ควรไปเหนือ

    แกงฮังเล มีป่ะเลอะ แถมจิ้นเกลือ

    โกทูเกลอ โนว์เจียงใหม่ ใคร่กราบครู

    แฮ่ แฮ่ ขออภัยมากราบครูบาครับ

    ฝากตัวเป็นศิษย์ด้วยคนครับ จึงส่งเทียบมาเรียนเชิญครูบา ไปแอ่วเชียงใหม่ ปะหมู่เดียวกั๋น

    นะครับ แล้วผมจะส่งรายละเอียดให้อีกครับ

    อุ้ย!เทียบเชิญ เหิรมาหาในบล็อก

    ดีใจช็อค!ล็อคใหม่คงไม่แห้ว

    ไปกินลมชมดาวจีบสาวแม้ว

    ชวนกันแล้วตาใสจะไปกัน  

    จะขนลูกอีสานไปงานนี้

    ลูกทีมที่สนใจใคร่ไปหัน

    ถามคนไหนอยากไปกันทั้งนั้น

    จ้าละหวั่นจ๊ะจ๋าหน้าเสบย  

    หลายครอบครัวเกี่ยงกันฉันจะไป

    ทำยังไงครูพิชัยเจ้าข้าเอ๋ย

    เป่าหยิงฉุบตัดสินกันเช่นเคย

    เรื่องก็เลยตุงนังยังวุ่นวาย  

    คนขี้แพ้นั่งเศร้าเหมือนเต่าป่วย

    มาให้ช่วยหาวิธีไปให้ได้

    ทำหน้าเหงาเศร้าโศกบอกโชคร้าย

    จะตรอมกายตรอมใจไปหลายปี  

    งานนี้เสน่ห์แรงอย่างเหลือเชื่อ

    ไม่น่าเบื่อป่าเขาเขียวสดสี

    ชุมนุมคนรักใคร่น้ำใจดี

    แล้วยังงี้ใครไม่ไปเฉาใจตาย

    สวัสดีครับ ท่านครูบาฯ
    P
    ผมขออนุญาติท่านครับ  นำข้อความดีๆไปรวมครับ
    ขอคุณมากครับ  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/107076#

    ครูบาครับ

    งานนี้สนุกแน่ ครูบาช่วยปชส.ชวนศิษย์ไปแอ่วดอยทางเหนือเยอะๆนะครับ ผมจะได้เตรียมล่ามคอยแปลภาษาอีสานไว้

    ที่จริงเชียงใหม่กะอีสาน ภาษาและศิลปวัฒนธรรมใกล้กันมาก

    ต่างที่การร้องรำ ทางอีสานสนุกสนาน เป็นจังหวะร้องรำรวดเร็วถึงใจ คึกคัก

    ส่วนทางเหนือ เนิบนาบสง่างาม อ่อนช้อย เป็นลีลา เช่น ต๊ะ ตึ่งโมง ตุง แฉ่ ต๊ก โมง ฟ้อนเล็บนำขบวนขันโตกไป กว่าจะถึงเจ้าเมือง ลมสว้านกินหลายตลบ

    แต่ก็ม่วนดีขนาด

    เอ! งานนี้ผมจะเอาฟ้อนเงี้ยวไปอวดดีก่หา

    กราบสวัสดีครับท่านครู

    สบายดีไหมครับ คิดถึงนะครับผม รักษาสุขภาพด้วยนะครับผม

    คือพอเห็นหัวข้อ ยูคาลิปตัส ทีไร ผมเองก็ตาลุกวาวทุกครั้งครับ ไม่ว่าบทความไหนครับ สงสัยชาติที่แล้วจะเกิดเป็นดินครับ ดินที่ออสเตรเลียนะครับ

    คือการปลูกแบบที่ท่านครูทำอยู่หน่ะ ผมไม่ได้กลัวเลย เพราะศึกษาจริง ทำจริง เอาจริง กัดไม่ปล่อย และคิดค้นตลอดเวลา

    แต่พอมาเห็นเป็นการขยายแบบยุทธศาสตร์ของจังหวัด ผมเองกังวลนะครับ ไม่ทราบว่าจะรณรงค์ให้คนทั้งจังหวัด ปลูกยูคาฯ กันทั้งจังหวัด หรือว่าอย่างไรครับ คือผมเห็นสวนป่าท่านครูแล้ว ผมก็ไม่ได้เห็นว่าจะมียูคาฯ อย่างเดียวครับ

    ส่วนการทำแบบอุตสาหกรรมนั้น ผมมองว่าคงไม่ใช่เหมือนสวนป่าท่านครูแน่นอนครับ แม้ว่าผมจะไม่เคยไปเห็นสวนของท่านครูจริงทั้งหมดว่าเป็นอย่างไรก็ตาม ผมยังส่งเสริมแนวทางการปลูกพันธุ์ไม้หลายพันธุ์แบบหลากหลายครับ

    ผมชักจะกังวลกับนโยบายรัฐครับ ไม่ว่าจะยุคไหนครับ ที่มีนโยบายเรื่อง การปลูกพืชเชิงเดี่ยว นี่ผมเพิ่งได้ยินข่าวเรื่อง การรณรงค์ปลูกกระถินยักษ์ อีกแล้วครับ แล้วบอกว่ารัฐจะรับซื้อจัดการทุกอย่าง ผมถามว่าต้นไม้เหล่านี้ มันอายุเท่าไหร่ครับถึงจะใช้การได้ แล้วกว่าจะโค่นเข้าโรงงานได้ คนที่เคยออกมาสัญญากับประชาชน ตอนนั้นไปอยู่ไหนแล้ว เค้าหมดอำนาจไปแล้ว ประชาชนจะนั่งกอดต้นไม้อยู่กับใครครับ แต่หากปลูกแบบไม่โค่นก็ปล่อยไว้แบบนั้น ก็โอเคครับ

    ผมอยากให้ถึงวาระที่คนคิดได้เองว่าอะไรควรไม่ควร อะไรเท่าไหร่ แค่ไหน ที่เหมาะสมเพียงพอ การปลูกพืชเชิงเดี่ยวน่าจะหมดสมัยแล้ว แต่หากจะปลูกแบบการทำสวนยางของ กองทุนยางสั่งให้ทำ แบบถางเตียนโล่ง หรือทำการเกษตรแบบโกนหนวด แล้วค่อยปลูกหนวดรอให้งอกกันมาใหม่ แบบนี้คนที่เจอหนักก็คือชาวบ้านครับ

    แต่ยุทธศาสตร์นี้ ในบุรีรัมย์ ผมก็เชื่อมั่นว่าท่านครูจะให้คำแนะนำเค้าได้เป็นอย่างดี ในแนวทางของการบูรณาการทางป่าแบบหลายๆ แนวทางครับ

    ผมเองเชื่อว่าการปลูกต้นไม้ต้องมีต้นไม้ติดดินด้วยครับ นอกจากจะโค่นขายหมดแล้ว หากเรามองระบบนิเวศน์เราจะเข้าใจระบบต่างๆ มากขึ้นครับ

    หยดน้ำแข็งที่ยอดเขาหิมาลัย กับน้ำในแก้วน้ำในตู้เย็นของเราก็มันคือหยดน้ำเดียวกัน เชื่อมถึงกัน

    จริงๆ ไม่ใช่แค่ยูคาฯ ครับ แม้ว่า กระถินยักษ์ หรืออื่นๆ ผมก็ไม่เห็นด้วยครับ ที่จะปลูกแบบเต็มไปหมดแบบเชิงเดี่ยว แล้วโค่นเค้าภายในที่อายุเค้าไม่ถึง หกหรือแปดปี

    ผมไม่ทราบว่าเราจะเร่งปลูกเร่งขายกันไปถึงไหน หรือว่าเร่งทำกันก่อนที่โลกนี้จะแตก...หรือเพราะอะไรกันแน่.... เร่งรวยกันไปไหนไม่ทราบครับ พี่น้อง...

    กราบขอบพระคุณมากครับ

    P

    ตอนที่ผมบรรยาย ผู้ว่าราชการ หัวหน้าส่วนต่างๆเขาก็นังอยู่ แต่ไม่รู้จะฟังเข้าใจรึเปล่า ผมบอกว่ายุทธศาสตร์ที่เอายูคาฯอย่างเดียว มันน่าจะเปลี่ยนเป็นยุทธศาสตร์ต้นไม้ทุกชนิด

    วันที่16-17 นี้ จะมีการอบรมเจ้าหน้าที่ ทำแผนจังหวัดที่บ้าน ก็ตั้งใจไว้แล้วว่า..จะเอาเรื่องต้นไม้รวมมาออกแบบ ว่าจะปลูกผสมผสานหรือปลูกเพื่อวัตถุประสงค์ที่เอื้อต่อความยั่งยืนของโลกด้วย

    เห็นด้วยกับครูบาครับว่าจังหวัดและรัฐบาลควรส่งเสริมการปลูกไม้หลากหลายพันธุ์เพื่อสร้างความสมดุลย์ให้พื้นดิน  ทั้งไม้ใหญ่ ไม้คลุมดิน ไม้เศรษฐกิจ และไม้พื้นบ้าน   เพราะชาวบ้านยังมีวิถีชีวิตที่พึ่งพาป่าชุมชนอยู่มากครับ     ทางสถาบันวิจัยและพัมนา มรภ.บุรีรัมย์ กำลังทำวิจัยและพัฒนาเรื่องป่าชุมชนตามหมู่บ้านกับ UNDP อยู่ครับ   และจะทำวิจัยเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต่อไปครับ  รายละเอียดอยุ่ในเว็บสถาบัน  www.rdi.bru.ac.th

    กราบสวัสดีครับท่านครู

         ได้ยินแบบนี้ ผมก็ชื่นใจขึ้นมากครับ ผมยังจินตนาการไม่ออกครับ ว่าต่อไป ช่วงหน้าร้อน มีนาเมษา ตอนที่สวนยางพาราผลัดใบ ภาพถ่ายทางอากาศของประเทศจะเป็นอย่างไร หากเปลี่ยนป่าเป็นสวนยาง โดยไม่มีต้นไม้อื่นแซมบ้างกระจายทั่วประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องมีคนมองในระดับใหญ่และภาพรวมด้วยครับ

    ขอเป็นกำลังใจให้การปลูกแบบผสมผสานนะครับ เน้นความยั่งยืนของโลกนะครับ เราต้องไม่ให้โลกเค้าเปลือยกายครับ ต้องช่วยกันให้โลกมีพื้นที่สีเขียวปกคลุมครับ มันจะส่งผลให้เย็นที่บ้านคนมีป่า มีต้นไม้กันก่อนครับ ป่าคอนกรีตก็ร้อนกันต่อไปครับ

    กราบขอบพระคุณมากครับ รักษาสุขภาพนะครับ

    ด้วยความระลึกถึงครับ

    P

    • ในภาวะเช่นนี้ เรื่องคิดไกลไปถึงส่วนรวมมันยากเม้งเอ้ย  จะมีมักกี่รายที่ปลูกยางพาราร่วมกับไม้อื่น ในเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐฯเองบังคับเขาปลูกแบบผิดๆ
    • เมื่อปีที่แล้ว เจ้าหน้าที่มาติดต่อจะอบรมเกษตรกรปลูกยางพารา
    • เขาไปเห็นแปลงยางพาราปลูกร่วมกับไม้อื่น เขายังไม่เอากับเราด้วย โยกย้ายไปอบรมที่อื่น เพราะเขาเห็นว่าเราทำไม่เหมือนเขา
    • เรื่องโลกร้อนไม่ต้องห่วง ผมเผาจนสลบแน่ ปีนี้ก็แล้งแสนแล้ง ต่อไปมันจะต้องปลูกตะบองเพชรนั่นแหละ
    • น่าคิดนะ บ่นอย่างเดียวห่วงอย่างเดียว ไม่ได้หรอก คนมันไส้กิ่ว มันทำได้ทั้งนั้น เศียรพระพุทธรูปยังตัดไปขายเล๊ย!!
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท