ความเข้าใจของภาคประชาชน ต่อการจัดสวัสดิการชุมชนระดับท้องถิ่น


                 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 50 มีเวที สัมมนาให้ความรู้แนวทางในการจัดสวัสดิการชุมชนระดับท้องถิ่น มีผู้เข้าร่วมจากตัวแทนของท้องถิ่น ประกอบด้วย กำนัน  เครือข่ายองค์กรชุมชนภาคประชาชน  อสม. ตัวแทนจากอบต. มีหลากหลายตำแหน่ง ทั้งเจ้าหน้าที่ธุรการ  พัฒนาชุมชน  เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล นิติกร  ส.อบต.  เลขานายกอบต. รองนายกอบต. ไปจนถึงนายกอบต. นอกจากนั้นยังมีตัวแทนจากหน่วยงานวิชาการ (ม.วลัยลักษณ์)  หน่วยงานอิสระ(พอช.) เข้าร่วมในเวทีด้วย  ในวงสัมมนาจัดให้มีการแสดงความคิดเห็น และทดสอบความเข้าใจเรื่องการจัดสวัสดิการชุมชนระดับท้องถิ่น จากภาคส่วนต่าง ๆ ตามหัวข้อที่กำหนด 3 หัวข้อ สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้ 

ความหมายของการจัดสวัสดิการชุมชน     

            ความหมายของการจัดสวัสดิการชุมชนจากความคิดของผู้เข้าร่วมประชุม สามารถสรุปความหมายที่ครอบคลุมประเด็นทั้งหมดได้ดังนี้

         การดำเนินการจัดสวัสดิการในชุมชน โดยชุมชน หรือภาครัฐ เพื่อช่วยเหลือสมาชิก ด้านการดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย ครอบคลุมไปถึงการประกอบอาชีพและการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน  การจัดการมีกฎเกณฑ์ที่กำหนดมาจากความต้องการของชุมชน  ผลของการจัดสวัสดิการต้องก่อให้เกิดการเรียนรู้เพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในชุมชน สามารถแก้ปัญหาของชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ และเกิดความเสมอภาคในชุมชน   

ตัวอย่างของสวัสดิการชุมชน      

             ตัวอย่างของสวัสดิการชุมชนจากความเห็นของที่ประชุม สามารถประมวลตัวอย่างของสวัสดิการชุมชน จำนวน 19 กองทุน/กลุ่ม  กองทุนที่สำคัญ 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย 1) กองทุนสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส (คนพิการ ผู้ยากไร้ กำพร้า)  2) กองทุนผู้สูงอายุ  3) กองทุนส่งเสริมอาชีพ (กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มมังคุด)  4) กลุ่มฌาปนกิจ  5) กองทุนรักษาพยาบาล / ผู้ป่วยโรคเอดส์  ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1) 

ตารางที่ 1 ตัวอย่างของสวัสดิการชุมชน 

ลำดับ สวัสดิการชุมชน คะแนน
1 กองทุนสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ( คนพิการ ผู้ยากไร้ กำพร้า) 31
2 กองทุนผู้สูงอายุ 28
3 กองทุนส่งเสริมอาชีพ (กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มมังคุด) 26
4 กลุ่มฌาปนกิจ 23
5 กองทุนรักษาพยาบาล / ผู้ป่วยโรคเอดส์ 22
6 กลุ่มสัจจะ/ออมทรัพย์ ครบวงจรชีวิต 21
7 กองทุนเพื่อการศึกษาเด็ก 18
8 กองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ 7
9 กองทุนหมู่บ้าน 7
10 กองทุนธุรกิจ เช่น SML 4
11 กองทุนสำหรับเด็กแรกเกิด 3
12 กองทุนเพื่อสนับสนุนการกีฬา 3
13 ธนาคารหมู่บ้าน 3
14 กองทุนเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ 2
15 ร้านค้าชุมชน 2
16 กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 1
17 กองทุนผลิต ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน 1
18 กองทุนเพื่อผู้ว่างงาน 1
19 กลุ่มช่วยเหลือด้านแรงงาน 1

 ผู้จัดสวัสดิการชุมชน     

               ตามความเห็นของที่ประชุม สามารถประมวลผู้จัดสวัสดิการชุมชนออกได้เป็น 11 หน่วยงาน ที่ประชุมให้ความสำคัญแก่หน่วยงานที่มีบทบาทในการจัดสวัสดิการชุมชน 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย 1) ภาครัฐ (พม. / พช.)  2) ประชาชนในชุมชน  3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4) องค์กรอิสระ / เอกชน / พอช/มูลนิธิ / อสม. 5) สมาชิกกลุ่ม/ องค์กร ตามลำดับ (ดังตารางที่ 2)  

ตารางที่ 2 ผู้จัดสวัสดิการชุมชน 

ลำดับ ผู้จัดสวัสดิการชุมชน คะแนน
1 ภาครัฐ (พม. / พช.) 40
2 ประชาชนในชุมชน 33
3 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 33
4 องค์กรอิสระ / เอกชน / พอช/มูลนิธิ / อสม. 20
5 สมาชิกกลุ่ม/ องค์กร 19
6 ผู้นำกลุ่ม/องค์กร 19
7  ผู้นำชุมชน (กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน) 16
8 โรงเรียน / องค์กรวิชาชีพในชุมชน 7
9 คณะกรรมการกองทุน/หมู่บ้าน 6
10 วัด 5
11 กองทุนหมู่บ้าน 4

             เห็นว่าความเข้าใจของภาคประชาชนต่อการจัดสวัสดิการส่วนใหญ่  ยังเป็นภาพของความเป็นผู้รับบริจาค(อันดับ 1 ตารางที่ 1)  จากภาครัฐเป็นหลัก(อันดับ 1 ตารางที่ 2)              

   (ขออภัยหากการนำเสนอคราวนี้ออกแนววิชาการไปสักนิดหนึ่ง  แต่คิดไม่ออกเหมือนกันว่าจะอธิบายให้เห็นภาพรวมทั้งหมดได้อย่างไร)

หมายเลขบันทึก: 110737เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2007 09:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท