ภูมิปัญญาคนดอย คุณค่ากลางป่าลึกที่น่าเป็นห่วง


หากมีงานวิจัยหรืองานพัฒนาดีๆที่เข้าไปต่อยอดงานเหล่านี้จะเกิดประโยชน์กับชุมชนมาก เรามีข้อมูลเดิมที่พร้อม เพียงแต่นำกระบวนการเข้าไปเสริมต่อ พัฒนาต่อเนื่อง ใช้ฐานการคิดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านและคิดพร้อมทำด้วยกัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระยะยาว

ย้อนหลังไปหลายปี ช่วงที่ผมยังทำวิทยานิพนธ์(Thesis)บนดอยสูงกับพี่น้องชาวลีซู และต่อมาได้รับทุนการศึกษาวิจัยจาก สกว. และ สสส. ประเด็น “การจัดการความรู้ด้านสุขภาพ” ชาวลีซู

านวิจัยและพัฒนา เหล่านี้เองทำให้ผมเดินเข้าไปในโลกทัศน์(World view)ของคนลีซู ไปมองในมุมมองเดียวกับชาวบ้านในวิถีชีวิตปกติของพวกเขา การศึกษายิ่งเจาะลึกลงไปเท่าไหร่ ก็ยิ่งพบความยิ่งใหญ่และคุณค่าของภูมิปัญญาของชนเผ่ามากขึ้นเท่านั้น เป็นต้นทุนทางปัญญา(intellectual capital)ของชนเผ่า

รูปนี้ผมถ่ายไว้นานแล้วกับน้องทันตแพทย์ มช.ที่ไปศึกษาวิถีชุมชนบนดอย

สิ่งที่เรามองจากข้างนอก วิธีปฏิบัติ พิธีกรรม หรือท่าทีชาวบ้านที่มีต่อธรรมชาติล้วนแล้วแต่มีเหตุผลที่เราเข้าใจได้ การดูแลสุขภาพตนเอง(Self health care) ของชาวบ้านเริ่มจากการดูแลตนเองระดับบุคคล ระดับครอบครัว และจนถึงระดับชุมชน เรื่องราวทางภูมิปัญญาที่ค้นพบล้วนแล้วแต่แสดงถึงการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์  การต่อสู้และถ่ายทอดมายาวนานจากบรรพบุรุษ

หมอสมุนไพร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “แนซึซือซู” เป็นบุคคลที่ชาวบ้านเคารพเลื่อมใส หมอยาชาวลีซูเป็นผู้รู้ด้านการรักษา ส่วนใหญ่เป็นหมอยาที่รู้จักสมุนไพรในป่าและนำสมุนไพรมารักษาโรค เยียวยาคนในชุมชน เป็นเพศหญิงก็ได้ เพศชายก็ได้ ที่ผมพบก็มีทั้งหมอยาสมุนไพรลีซูชายหญิง

หมอยาลีซูหญิงเน้นยาสำหรับผู้หญิง ส่วนหนึ่งเป็นสมุนไพรหลังคลอดที่ใช้บำรุงร่างกาย หมอยาที่เป็นผู้ชายก็เป็นยาสมุนไพรที่หายากและรักษาโรคที่ซับซ้อนมากขึ้น

ผมตามหมอยาสมุนไพรไปเก็บสมุนไพรในป่าบ่อยครั้งและได้เรียนรู้ผ่านคำบอกเล่าถึงการบำบัดอาการต่างๆ ของสมุนไพรแต่ละตัวหรือตำรับยา รายละเอียดเหล่านี้ถูกเก็บไว้เป็นรายงานวิจัย แต่เนื้อความที่ถอดออกมาจากการสอบถามนั้น หากเป็นการออกฤทธิ์ทางเภสัชยังไม่มีการทดลองชัดเจน และสิ่งหนึ่งที่เราคุยกันในกลุ่มลีซูก็คือ ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของชาวบ้าน การเผยแพร่จึงสุ่มเสี่ยงต่อการขโมยภูมิปัญญาโดยชาวบ้านไม่รู้เท่าทัน ผมจึงระมัดระวังมาก

การไปศึกษาในครั้งนั้นของผม อาจไม่ได้เจาะลึกมากในส่วนของสมุนไพรมาก แต่ผมก็มองว่าองค์ความรู้ด้านนี้มีเยอะและมีคุณค่ามาก ครั้งนั้นผมก็เพียงเห็นปรากฏการณ์และเข้าไปรู้จักสมุนไพรพื้นๆโดยทั่วไปเท่านั้น

การบนบานกับผีดอยของหมอผีชาวลีซู

สิ่งที่ผมเล่ามาเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการศึกษาเป็นงานวิจัย ที่สร้างความตระหนักในการจัดการความรู้ให้กับชุมชน ให้มองไปถึงการรักษา การสืบทอดภูมิปัญญาเหล่านี้ที่นับวันก็จะหายไปหากเราละเลยไม่สนใจ

น่าดีใจครับที่ส่วนหนึ่งของงานวิจัยถูกผลักเข้าไปเป็น “หลักสูตรท้องถิ่น” และโรงเรียนในพื้นที่ได้ดึงเอาผู้รู้ด้านต่างๆเข้าไปสอนนักเรียน แต่ผมก็ทราบต่ออีกว่ากระบวนการยังไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ ช่วงหลังหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียนที่เป็นกระแสดังในขณะนั้น ตอนนี้ก็เริ่มหายและซาๆไป

ผมคิดต่อว่า หากมีงานวิจัยหรืองานพัฒนาดีๆที่เข้าไปต่อยอดงานเหล่านี้จะเกิดประโยชน์กับชุมชนมาก เรามีข้อมูลเดิมที่พร้อม ทรัพย์สินความรู้(Knowledge asset)ที่มีแล้วสามารถนำไปใช้ได้

เพียงแต่นำกระบวนการเข้าไปเสริมต่อ  พัฒนาต่อเนื่อง ใช้ฐานการคิดการมีส่วนร่วมของชาวบ้านและคิดพร้อมทำด้วยกัน สิ่งเหล่านี้จะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระยะยาว

    

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 109924เขียนเมื่อ 9 กรกฎาคม 2007 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

เรียน ท่านจตุพร

  • มีคำถามครับ เรื่อง สุขภาพ ของรูปใน Blog
  • หน้าหนุ่มกว่าตอนทำ Thesis ครับ

เรียน ท่านอาจารย์หมอจิตเจริญ ที่นับถือครับ

P
JJ

รูปนี้(รูปบน)ถ่ายย้อนหลังไปกว่า ๖ ปีครับ ผมอยู่บนดอยก็อย่างว่าครับ สิ่งแวดล้อมดีๆ แต่การดูแลตัวเองก็ไม่ค่อยเท่าไหร่ก็ทำงานหนักๆ ลุยป่าลุยเขาครับ - - -แต่สบายใจจังครับ เป็นไปได้อยากกลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นอีกครา

อีกอย่างครับ รูปเดิมผมยาวตอนนี้ ผมเกรียนเป็นเด็กเลยครับ ทำให้ดูอ่อนเยาว์ 55

ขอบคุณอาจารย์มากครับ ที่มาเยี่ยมครับ

งานวิจัยชิ้นนี้น่าสนใจมากครับ ผมคิดว่าเป็นข้อมูลในการทำงานในชุมชนต่อได้ดีทีเดียว เสียดายว่าเรามีเวลาน้อยไป งานไม่ต่อเนื่องครับ

ผมเลยคิดว่าหากมีโอกาส หรือ ใครต้องการข้อมูลเพื่อดำเนินการพัฒนาประเด็นแบบนี้ผมยินดีมากครับที่จะแชร์ข้อมูล

 

 

เรียน อะตะผะ จตุพร

ครั้งที่ไปทำงานช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในค่ายหนึ่ง ที่แม่ฮ่องสอน มีโรงเรียนสอนสำหรับคนพื้นที่โดยเฉพาะ - แต่เป็นการสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ ...

 

แต่ก็อย่างที่ อะตะผะ กล่าว  - "ช่วงหลังหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียนที่เป็นกระแสดังในขณะนั้น ตอนนี้ก็เริ่มหายและซาๆไป " 

และไม่ทราบความคืบหน้าอย่างไร

 

จริงๆ แล้ว ภูมิความรู้ชาวบ้านและประเพณีดีๆ เยอะมากมาย ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพราะ เกรงจะต้านการไหลบ่าของวัฒนธรรมตะวันตกไม่ได้

 

...  เชื่อมั่นและศรัทธา  ....  Poo Hser Hser - 

 

 

P
poo

ต้องขอบคุณคุณ poo มากครับ ที่ติดตามบันทึกผมตั้งแต่แรกเลยมั้งครับ ถึงได้รู้ชื่อภาษาลีซูผม

คนลีซูเรียกผม "อะตะผะ" ครับ ซึ่งก็แปลว่าลูกชายคนโตของครอบครัว เป็นชื่อที่น่ารักทีเดียว ผมอยู่กับพี่น้องบนดอยนานเลยทีเดียว หากเขียนเรื่องราวที่เกิดขึ้นไว้ คงได้เรื่องราวที่หนาๆ เล่มโตๆ

การได้สัมผัสและเรียนรู้ในกระบวนการศึกษษ วิจัย ทำให้ผมเข้าใจและมองในมุมพวกเขาครับ ข้อมูลที่นำเสนอจึงเจือด้วยอารมณ์ ความรู้สึกไปด้วย บางครั้งใครอ่านงานของผมเขาจะนึกว่าอ่านนิยาย สำนักทางปริมาณ(วิจัย) คงบ่นน่าดูครับ เวลาอ่านงานผม 555

อย่างไรก็ตามการเขียนแบบให้เห็นภาพในงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผมว่าทำให้เราเข้าถึงตัวตนของเป้าหมายได้ งานแบบนี้ทำให้เราเป็นส่วนหนึ่งของเขาได้ เรียนรูมุมมองของกันและกันได้อย่างเเนบเนียนและเป็นธรรมชาติ

ขอบคุณคุณ Poo ครับที่ติดตามและให้กำลังใจเสมอมาครับ

ขอบคุณครับ

 

เป็นภูมิปัญญาที่ลำค่าและน่าเก็บรักษาไว้มาก ๆ ครับ แล้วก็โชคดีด้วยครับ ที่มีคนเห็นคุณค่าและพยายามจะอนุรักษ์ไว้...

ในสังคมน่าจะมีนักพัฒนาที่มีอุดมการณ์อย่างคุณเอก P  เยอะ ๆ นะครับ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเหล่านี้จะได้ไม่สูญหายไปไหน...

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีค่ะ พี่เอก

     พี่เอกค่ะ เดี๋ยวหนูร้องเพลงให้ฟังค่ะ " ดอยเต่าบ้านเฮากันดาร " แหะๆๆๆๆ.........เพราะอะเปล่าค่ะ เป็นกำลังใจในการพัฒนาสิ่งที่ดีๆให้กับท้องถิ่นต่อไปนะค่ะ ------------> น้องจิ ^_^

สวัสดีค่ะคุณเอก

เบิร์ดชอบอันนี้จังค่ะ

สิ่งที่เรามองจากข้างนอก วิธีปฏิบัติ พิธีกรรม หรือท่าทีชาวบ้านที่มีต่อธรรมชาติล้วนแล้วแต่มีเหตุผลที่เราเข้าใจได้ การดูแลสุขภาพตนเอง(Self health care) ของชาวบ้านเริ่มจากการดูแลตนเองระดับบุคคล ระดับครอบครัว และจนถึงระดับชุมชน เรื่องราวทางภูมิปัญญาที่ค้นพบล้วนแล้วแต่แสดงถึงการดำรงอยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์  การต่อสู้และถ่ายทอดมายาวนานจากบรรพบุรุษ

สมัยก่อนที่มนุษย์เรามีการเคารพธรรมชาติ...ชีวิตเราสงบ ง่าย งามมากเลยนะคะ   แต่ต่อมาเมื่อเราพยายามพิสูจน์สิ่งต่างๆให้ " ตรง "  ตามหลักของวิทยาศาสตร์  เราก็พบว่ายังมีอีกหลายอย่างเหลือเกินที่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้หมดสิ้น  วิทยาศาสตร์บอกอะไรเราไม่ได้ทั้งหมดเลยนะคะคุณเอก...และยังมีพืช สมุนไพร ภูมิปัญญาอีกมากมายที่ซ่อนตัวอยู่บนผืนแผ่นดินไทยนี้

 

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับบันทึกที่ง่าย งามบันทึกนี้

  เข้ามาเยี่ยมคุณเอกค่ะ เชิญไปเยี่ยมหิ่งห้อยหน่อยนะ เขียนถึงอยู่อยากฟังข้อคิดเห็นค่ะ

สวัสดีครับ เพื่อนดิเรก

P

ในมิติการทำงานกับชุมชน โลกทัศน์ที่เราต้องเข้าใจคือโลกทัศน์แบบชุมชน หากเราเปิดใจและยอมรับ แล้วเข้าไปศึกษาเราก็จะพบคลังความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่เป็นทุนทางปัญญา

ชนชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ที่ธำรงมาได้จนทุกวันนี้ สิ่งที่น่าภาคภูมิใจก็คือ "ภูมิปัญญา" อันเป็นทรัพย์สินที่เขามี

ทำอย่างไร เราจะพัฒนา และยกระดับองค์ความรู้เหล่านี้ เป็นโจทย์ที่ท้าทาย

ที่เขียนว่า "ยกระดับ" ใช่ว่าผมจะหมายถึงความต่ำต้อยขององค์ความรูนั้น แต่ผมมองว่าเรากำลังลืม และละเลยสิ่งที่มีค่า และไม่ได้จัดการความรู้ขึ้นมาใช้

ทั้งหมดเป็นความห่วงใยของกระผมด้วยครับ ในฐานะที่เคยทำงานแบบเคียงบ่าเคียงไหล่ แม้ว่าปัจจุบันผมทำงานเชิงประเด็นที่แตกต่างออกไป แต่ก็ไม่ไกลไปจากชุมชน

ขอบคุณครับที่ช่วยสะท้อนและให้ข้อคิดเห็นอันเป็นกำลังใจ

 

 

น้องจิ

P

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมแลกเปลี่ยน พร้อมถ้อยคำกำลังใจครับ

  • สวัสดีค่ะ คุณเอก ..

ปวดตา เพราะเพ่งรูปคุณเอกสมัยอยู่บนดอยกับที่มีอยู่ใน profile รูปไหนดูหล่อเฟี้ยวววอ่ะเนี่ย  โฮ่ะ ๆ ๆ

ภูมิปัญญาชาวบ้านแสดงให้เห็นถึงการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์จริง ๆ และถ้ามีการต่อยอดพัฒนาให้ดักว่าเดิมนี่ก็เยี่ยมเข้าไปใหญ่  เพราะจะส่งผลดีต่อชุมชน

 

  • สวัสดีครับ
  • ขอบคุณ  ที่นำเรื่องราวพี่น้องชาวไทยภูดอยมาให้รู้  
  • ตามที่ผมทราบ  มีองค์กรทั้งรัฐและเอกชนที่เข้าไปทำงานกับพี่น้องชาวดอยต่างๆ  
  • แต่ที่คุณเอกกำลังนำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เข้าไปทำวิจัย 
  • คำถามมีอยู่ว่า  มีการต่อยอดกันทำไปเรื่อยๆหรือไม่   มีจุดศูนย์รวมวิจัยเหล่านี้ไหม  และเมื่อทำเสร็จแล้ว  มีการนำผลการวิจัยเผยแพร่บ้างไหมครับ
  • เป็นห่วงว่าความรู้ทางวิชาการดีๆเหล่านี้จะไปหลับสนิทบนหิ้ง(เห็นเขาว่ากัน)ไม่ได้นำมาใช้  และต่อเนื่อง  ต่อยอดกันไป  
  • พี่น้องชาวไทยภูเขายังมีอีกหลายเผ่าครับ   บางแห่งเอาชีวิตรอดโดยลงมาขายน้ำเต้าหู้ก็มีครับ
  • ขอบคุณครับ  สวัสดี

สวัสดีครับ คุณเบิร์ด

P

ผมว่ายุคสมัยนี้เป็นเสมือน การปฏิบัติการต่อรองของภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นรอยต่อของยุคสมัยที่วิ่งเข้าสู่โลกของความเร็ว ที่เร็วจนทำร้ายผู้คนด้วยกัน

ผลกระทบจากความเร็วสูงนี่เองทำให้ระบบวิถีเปลี่ยนแปลงกันไปหมด ปรับตัวได้เร็วก็ดีไป ปรับตัวไม่ได้ก็ทุกข์มากครับ

มีคนว่า ผมมักโหยหาอดีตที่งดงามของชนบท (nortalgia of rural romanticism) และเขียนเรื่องราวที่ย้อนกลับไป ในความเป็นจริงผมย้อนกลับไปไม่มากหรอกครับ วิถีชีวิตคนบนดอยก็ดั้งเดิมอยู่มาก บางครั้งแทบไม่น่าเชื่อว่าวิถีเช่นนั้นจะมีอยู่จริง

ไม่มีความรู้ใดเลยในโลกนี้มีแก่นแกนสารัตถะเบ็ดเสร็จอยู่ในตัวเอง หากแต่ความรู้เหล่านั้นเชื่อมโยงสัมพันธ์เช่น องค์ความรู้ท้องถิ่น(indigenous Knowledge) ที่ผมเขียนในบันทึกนี้ และหลายๆบันทึกของผม

ผมทำงานภาคสนามในพื้นที่ที่ไกลแสนไกลเหล่านี้ แม้เพียงส่วนหนึ่ง ผมก็ได้สัมผัสถึงความยิ่งใหญ่ของวิธีคิด ความงามของภูมิปัญญาที่มีนัยตรงกับความเป็นอยู่ของชนเผ่า ดูเหมือนไม่มีเหตุผล แต่จริงๆแล้วแยบยลยิ่งกว่าเราคิดหลายเท่า

วาทกรรมเหล่านี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจอย่างใจที่เปิดกว้าง และใช้เวลาอย่างมากในการเข้าไปเรียนรู้ และเขียนเป็นปรากฏการณ์ออกมาเพื่อเป็นข้อมูล แล้วแต่วัตถุประสงค์ของงานที่เราต้องการ

ในส่วนโลกทัศน์ทางด้านสุขภาพ แบบชาวบ้าน ผมมองว่าสำคัญมาก หากเรามองอยู่มุมเดียวกับชาวบ้าน เราก็พบว่า กระบวนการเยียวยา รวมถึงการดูแลสุขภาพตนเอง(Self health care)น่าสนใจยิ่งนัก หากเราเรียนรู้มากขึ้น เราจะสามารถเชื่อมโยงกับองค์ความรู้สมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจและมีประโยชน์มากในวงการแพทย์และสาธารณสุข

น่าเสียดายว่า นักวิจัย นักพัฒนาที่เข้าไปเรียนรู้ปรากฏการณ์เหล่านี้กลับหยิบออกมาเป็นเพียงส่วนน้อยและสรุปเหมารวมด้วยศาสตร์สมัยใหม่ บวกความคิดของตนเอง(มากไป)ทำให้เกิดประโยชน์น้อยกว่าที่เป็น

รวมถึงมีการนำหมอเมืองสวมชุดกาวว์ ซึ่งก็ค่อนข้างแปลกแยกกับวิถี ถึงแม้ว่าวัตถุประสงค์จะเน้น การสืบทอดก็ตาม ความไม่ลึกซึ้ง และละเอียดพอกับวิถีเดิมกับท้องถิ่น กับชุมชน ทำให้การพัฒนาช้าลงกว่าที่เป็น การจัดการความรู้ในระดับท้องถิ่นก็ไม่ได้ดีเท่าที่ควร

คุณเบิร์ด เคยคุยกับผมสองสามครั้งประเด็นนี้ ผมคิดว่าเรายังมีประเด็นแบบนี้ที่ยังรอการพัฒนาอีกมาก และใช้เวลากับความเข้าใจของคนทำงาน

คิดว่าในอนาคตคงได้แลกเปลี่ยนกันมากขึ้นครับ

ผมอยากรู้ว่าคุณเบิร์ดสนใจประเด็นไหนครับ หรือว่า สุขภาพชุมชนโดยรวมๆครับ คิดว่าสามารถตั้งประเด็นได้ครับ และผมจะหาข้อมูลมาแลกเปลี่ยน - - -น่าสนใจดี ปกติผมชอบการแลกเปลี่ยนประเด็นแบบเจาะลึกครับ

ขอบคุณมากครับ

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร - เอก

สวัสดีครับ

อ.หิ่งห้อย

P

ที่ดูเหมือนเป็นกำลังใจให้ผมตลอดมาครับ ฝากความคิดถึงถึง ท่าน ดร.เลขา ด้วย ให้ท่านเขียนบันทึกบ่อยๆครับ

ผมคิดว่า มรภ.กำแพงเพชร  ก้าวย่างที่น่าสนใจและถูกจับตามองจากคนนอกด้วยครับ ดังนั้นแล้ว ผมขอให้กำลังใจครับ

 - - - -

ผมตามไปให้ข้อคิดเห็นที่บันทึกแล้วครับ

ขอบคุณมากครับ

P

ผมถ่ายทอดเรื่องราวบนดอยให้อ่านกัน อาจเป็นเนื้อหาหนักๆอยู่บ้าง แต่คุณต้อมก็มาให้กำลังใจกระผมเสมอๆ ขอบคุณมากครับ

ไม่ต้องเพ่งที่รูปครับ ...พอดีรูปบนดอยอาจดูโทรมไปหน่อย ตอนนี้ผมปรับปรุงหน้าตาแล้วครับผม

ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับพี่

P

ผมต้องขอขอบคุณมากครับที่พี่มาเยี่ยมบันทึก

ผมเคยทำงานวิชาการ งานวิจัยบนดอยเป็นนักวิจัยคนจนครับ มีความสุขมากในช่วงงานสนาม ตรงนั้นเองทำให้ผมได้เรียนรู้วิถีของผู้คนที่หลากหลาย ชีวิตสอนชีวิตครับ

จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่ที่มี องค์กรหลากหลายแบบ หลากสัญชาติ เข้าไปทำงานครับ อาจด้วยความหลากหลายของพื้นที่ตรงนั้น ด้วยปัญหาที่ท้าทายด้วย การพัฒนาเชิงประเด็นจึงมีเยอะครับมีทั้งคนพลัดถิ่น(diaspora) แรงงานต่างด้าว (guestworker)และ กลุ่มที่เราเรียกเขาว่า miginalized

แต่เท่าที่กระผมสังเกตดูนะครับ ว่า ไม่ค่อยบูรณาการดฃกันเท่าไหร่ แบบงบใครงบมันครับ องค์กรใดเข้าไปก็หาข้อมูลกันที เข้าไปใหม่อีกหนึ่งองค์กรก็หาข้อมูลกันใหม่ ชาวบ้านก็เบื่อครับ ปรากฏการณ์แบบนี้เยอะ...

ปัญหาอีกอย่างที่ผมอยากสะท้อนก็คือ การใช้เงินเข้าไป ในรูปแบบใดก็ดี ทำให้เกิดปัญหามากๆ ทำให้งานพัฒนาพักหลังๆมีเงื่อนไขมากขึ้น

การไม่จริงใจของการทำงานนี่ก็เห็นชัดครับ เรื่อง"คำมั่นสัญญา" นี่ ชาวบ้านจะจำมาก มีหลายๆครั้งที่คนนอกเข้าไปให้คำมั่นสัญญาเขา แต่ไม่ทำตามที่บอกไว้ ตรงนี้เองก็ทำให้ชาวบ้านสูญเสียความเชื่อมั่นมากเลยครับ

บ่นให้พี่ฟังเยอะเลย และนี่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่ผลักให้คนชายขอบออกไปเป็นชายขอบมากขึ้น

ผมเชื่อใน การสร้างความศรัทธา (trust building) มมองว่างานชุมชนต้องใช้เวลามาก กว่าจะเห็นผล ดังนั้นหากใจร้อนก็ได้ผลที่ฉาบฉวยครับ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ไปอยู่แม่ฮ่องสอนเองก็อยู่เพื่อที่จะย้าย(ส่วนใหญ่) เลยครับ ตรงนี้เองก็เป็นช่องว่างหนึ่งของการพัฒนาชุมชนครับ

งานที่ผมทำเป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นครับ ที่ไป empowerment ชุมชน สร้างนักวิจัยชาวบ้าน วิธีคิดในงานแบบนี้ก็เป็นการเรียนรู้ร่วมกัน ติดอาวุธเพื่อไปแก้ไขปัญหาของตัวเอง เพื่อความยั่งยืนของการแก้ปัญหาครับ

งานวิจัยแบบนี้องค์ความรู้ก็เป็นของชุมชน เราคุ้ยขึ้น เราเก็บไว้เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานต่อ แต่ที่บอกว่า"ขึ้นหิ้ง" ก็มีครับ ในงานวิจัยบางประเภท ที่ทำโดยคนนอก และอาจเป็นงานที่ไม่ได้อาศัยการมีส่วนร่วมเท่าไหร่ แต่งานแบบก็ดีครับ เราสามารถใช้อ้างอิงและต่อยอดได้

สรุปแล้ว งานชุมชนยังมีเสน่ห์ มีอะไรที่เราต้องคิด ต้องทำอีกมาก

ผมอยากให้นักวิชาการให้ความสนใจ ลุ่มลึกกับชุมชนมากๆครับผม

ขอบคุณครับผม

 - - - - - - - - - - - - - -

* * * ประเด็นการอพยพมาทำงานในเมือง อาชีพในเมืองของคนดอย ผมก็อยากเขียนครับผม ไว้มีโอกาสผมจะเขียนบันทึกเกี่ยวประเด็นนี้ครับ

 

 

 พี่

P

และท่านผู้อ่านทุกท่านครับ!!! 

ประเด็นที่ผมเขียนเกี่ยวกับ "คนกลุ่มชาติพันธุ์" เอามาให้อ่านครับ

  • สวัสดีครับคุณเอก จตุพร
  • ขออภัยเมื่อกี้เครื่องมันดูดเข้าไปยังไม่ได้สั่ง  นี่แหละเทคโนโลยี
  • ขอบคุณ  ที่ตามมาตอบ  และแนะนำต่อไปยังบทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆอีก
  • ผมมีความรู้สึกว่ามันกระจัดกระจาย  ต่างคนต่างทำ  แต่ผมจะฟันธงไม่ได้เพราะตัวมิได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น  
  • การเพิ่มพลังแก่พี่น้องในชุมชนนั้น  เป็นสิ่งที่ถูกต้องและยั่งยืน  
  • แต่เขาก็เป็นเหยื่อมาตลอด
  • หากมีศูนย์รวมที่เป็นทางวิชาการนั้นน่าจะต่อยอดกันเรื่อยๆได้
  • ไม่ใช่  มึงว่า กูว่า  กลับมาอยู่วังวนอย่างนี้
  • ถือว่าคนเอกมีความตั้งใจดีแล้ว  ขอเป็นกำลังให้คนหนุ่มไฟแรงต่อไปนะครับ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่

P

เทคโนโลยีที่สร้างโดยมนุษย์ -มนุษย์ควบคุมได้ครับ ผมลองแกะจากถ้อยคำที่โพสครั้งแรกได้ว่า "สวัสดีเช่นกันครับคุณเอก"

ต่างคนต่างทำนี่ชัดเจนมากครับ เพราะต่างงบและต่างกันในหลายๆองค์ประกอบครับ ก็เลยทำกันคนละที แต่ชาวบ้านรับทุกที 555

เคยมีชาวบ้านชุมชนหนึ่งล่มสลายเพราะถูกชำเราจากงานพัฒนานี่หละครับ ว่าไปก็น่าเศร้าว่าทุกคนก็ปรารถนาดีที่จะช่วยเหลือชุมชน แต่กลับกลายเป็นว่า การเข้าไปช่วยเหลือเค้า กลับเหมือน "พ่อแม่รังแกฉัน" ผลลัพธ์ที่น่าจะดี กลับสร้างปัญหาใหม่ๆให้ขบคิดแก้ไขกันมากขึ้น

นี่ เป็น นิยายของการพัฒนาครับ

เมื่อสิ้นสุดนิยายของการพัฒนาคนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่ - - อมาตยา เซน

จริงครับผม - - ไม่ใช่อิงนิยาย

และการเข้าไปทำงานวิจัยของ องค์กรต่างชาติ หากมองเรื่อง "ความมั่นคง" ก็น่ากลัว เรายังไม่มีมาตรการเรื่องนี้เลย ผมอยากบอกว่าน่าเป็นห่วงมาก เพราะมีนักวิจัยขององค์กรต่างชาติฝังตัวในหมู่บ้านเยอะแยะไปหมด

เราเปิดมากเกินไป และเราประมาทจนเกินไป

ผมมองในแง่ร้ายหรือเปล่า???

จำเป็นต้องมองครับ เพราะผมก็รักเมืองไทย ผมมองว่าเรามีจุดอ่อนเรื่องนี้เพราะเราไม่สนใจ ว่าใครจะมาทำอะไรบ้านเรา การส่งข้อมูลจากหมู่บ้านสู่ประคมโลกโดยอินเทอร์เนตแปบเดียว  . . .การเชื่อมองค์ความรู้ การขโมยทรัพย์สินทางปัญญาก็ง่ายมาก

ผมคิดมากไปหรือเปล่า??

ก็อาจเป็นไปได้ เพราะหน่วยงานทางความมั่นคงของประเทศ ผมยังไม่เห็นมาตรการ หรือคุยเรื่องนี้อย่างจริงจังครับ

ผมชวนมองประเด็นแบบนี้ ..ที่เกิดขึ้นในพื้นที่เพื่อให้พี่TAFS เก็บไว้เป็นข้อมูลครับ

 

ขอบคุณมากครับ

 

 

มาต่อประเด็นเรื่องของความมั่นคงและการการขโมยทรัพย์สินทางปัญญาครับ...

เห็นด้วยกับคุณเอกครับ...

การแฝงตัวอยู่กับกลุ่มชาวบ้านของชาวต่างชาติที่มาในรูปแบบของนักวิจัย จำเป็นที่จะต้องมีการกำกับดูแล เนื่องจากการนำเสนองานวิจัยของนักวิจัยชาวไทย เราจะมีความระมัดระวังอยู่แล้ว เนื่องจากเราเป็นคนไทยเราย่อมตระหนักถึงผลดีและผลเสียที่จะเกิดขึ้นกับสังคมไทยและประเทศไทยเป็นหลัก...

ส่วนงานวิจัยและนักวิจัยชาวต่างชาติ เขาย่อมตระหนักในเรื่องนี้น้อย หรืออาจจะไม่ตระหนักเลย ฉะนั้นการนำเสนองานวิจัยของเขาต่อสังคมโลก จึงอาจจะมีผลกระทบในทางลบต่อสังคมและประเทศไทยในวงกว้างต่อไปก็ได้...

เรื่องของการขโมยภูมิปัญญาของเราไปจดลิขสิทธิ์ ประเทศไทยก็เคยมีบทเรียนมาแล้ว อย่าต้องให้ประวัติศาสตร์มันซ้ำรอยอีกเลย...

มาป้องกันกันก่อนที่จะสายดีกว่าครับ ไม่ต้องรอให้วัวหายแล้วถึงค่อยมาล้อมคอกนะครับ...

ขอบคุณมากครับ...

คุณดิเรกครับ

P

ประเด็นที่ผมเขียนถึง เรื่อง ลิขสิทธิ์ทางปัญญา นี่เรายังไม่ค่อยได้คิดกันครับ จะรู้สึกอีกทีก็ต่อเมื่อคนนอกเค้าจดสิทธิบัตรไปแล้ว เราเข้าถึงและใช้ทรัพยากรของเราไม่ได้ ตรงนั้นไม่อยากให้เกิดขึ้นเลย

ประเด็นต่อมาเรื่องของ "ความมั่นคง" ผมเคยเกริ่นๆกับพี่ที่รู้จักที่มีหน้าที่โดยตรงกับความมั่นคงของประเทศ ผมคิดว่าตรงนี้เองเป็นช่องโหว่อย่างมาก การส่งข้อมูลผ่านสื่อที่มีส่งออกนอกประเทศไป ง่ายๆตรงนี้น่าเป็นห่วงมาก

เท่าที่ผมทราบนักวิจัยที่ได้รับทุนจากต่างชาติไปฝังตัวในชุมชนเต็มไปหมด ...เราคิดอะไรจากปรากฏการณ์นี้บ้าง ..

 

กระผมลองโยนหินถามทางครับ!!!

P
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เมื่อ ศ. 13 ก.ค. 2550 @ 12:16 [ 319081 ]

คุณดิเรกครับ

P
  • ความมั่นคงของประเทศ กับ การขโมยความรู้จากการวิจัย  ผมเห็นด้วยที่เราจะต้องดูแลและคิดคำนึงถึงแน่นอน  
  • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแสดงความเข้มแข็งออกมาให้ประจักษ์  นักวิจัยไทยต้องมีจิตสำนึกรักประเทศ
  • ในสังคมบ้านเรามีแต่ข้อคิดเห็นกันเต็มแผ่นดิน   หากแลมาทางวิชาการและการวิจัยกลับน้อยมากจริงๆ(แถมบางส่วนขึ้นหิ้งและทำเพื่อจบหลักสูตรเท่านั้น) 
  • หนีไม่พ้นต่างชาติเพราะได้เงินเขามา
  • บางประเทศงบการวิจัยจะสูงมากๆ  เพราะเขาให้ความสำคัญ
  • การทำวิจัยและนักวิจัยคงต้องพูดออกมาดังๆๆยาวๆๆ  กระมังครับ 

P
พี่ TAFS

และ คุณดิเรกครับ

P

 

ที่เมืองไทยมี งานวิจัยที่ได้ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนระดับรากหญ้า เห็นจะเป็น "งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น" ครับ ส่วนใหญ่สนับสนุนจาก สกว.ครับ ก็เน้นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนโดยตรง สร้างชาวบ้านเป็นนักวิจัย งานแบบนี้งบปนะมาณไม่เยอะ แต่ผมมองว่าสร้างเกลียวความรู้ให้กับระดับชุมชนได้เป็นอย่างดี

ส่วนหน่วยงานของต่างประเทศ มีงบที่สูงมากครับ เทียบไม่ได้เลยกับ งบทางเมืองไทยเราสนับสนุน งานชุมชนทำงานยาก ผลที่ได้ก็ช้า ทำงานวิจัยแบบนี้จะหวังเงินไม่ได้ครับ นักวิชาการส่วนหนึ่งก็ไม่ชอบ ก็หันไปทำโปรเจคใหญ่ๆที่มีค่าตอบแทนสูงมากกว่า

ผมมองในระยะยาวแล้ว ต้องขอบพระคุณ สกว.มาก ครับที่ได้สนับสนุนการวิจัยระดับชุมชน กระผมเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดี จนเห็นได้ชัดในพื้นที่วิจัย

อีกอย่าง นักวิจัย สถานะทางสังคมก็ไม่ค่อยได้รับการยอมรับเท่ากับอาจารย์- - - วิชาชีพนักวิจัย ต้องได้รับเชิดชูเกียรติและใด้รับความสำคัญจากสังคมมากกว่านี้ครับผม 

สวัสดีครับ

P
P
ยินดีครับ สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโอกาสต่อๆไปครับ
  • สวัสดีครับ
  • ผมยังติดตามอ่านอยู่ 
  • ตอนนี้ขอไปธุระก่อน  เดี๋ยวจะตามมา ลปรร ครับ

สวัสดีครับ พี่ TAFS

ตามมาพรวนบันทึก เก่าๆ ...

พอดีมีงานชิ้นใหม่ที่จะทำเกี่ยวข้องกับ ลีซู... เลยต้องกลับมาทบทวนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท