ความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันในสังคมไทยตามทรรศนะของนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม


        นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ( รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ) กล่าวในการประชุมประจำปีของสศช.ตอนหนึ่งว่า ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีคิด/ระบบคิด ก็ไม่ทำให้คนพัฒนา โดยท่านเห็นด้วยกับพลัง 3 อย่างของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี และเสนอประเด็นสำคัญในการพัฒนาแผนฯ 10 อีก 2 เรื่องคือ
     
1. ดัชนีชี้วัด ซึ่งปัจจุบันยังเป็นภาพใหญ่ ไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่รากฐานของชุมชน การจัดการกับดัชนีชี้วัดต้องเป็นเรื่องคู่กัน ดัชนีชี้วัดที่ดี ต้องนำไปสู่การจัดการ ต้องเป็นตัวชี้วัดระดับชุมชน/ท้องถิ่น ซึ่งต้องให้ชุมชนท้องถิ่นกำหนดและเป็นคนจัดการเอง การจัดการระดับตำบลเป็นพื้นที่ที่เหมาะสม มีกลไกการจัดการที่ชัดเจน ถ้าให้คนที่เกี่ยวข้องในตำบลมาช่วยกันคิดว่า “ ตัวชี้วัดความสุขของคนในท้องถิ่นตนเองมีอะไรบ้าง ” แรก ๆ อาจไม่สมบูรณ์ แต่จะมาจากใจ มาจากความร่วมมือของเขา ซึ่งไม่ใช่ตัวชี้วัดระดับประเทศที่ถูกคนอื่นกำหนดและมาวัดเขา ตัวชี้วัดควรมี 3 ระดับคือ ระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับท้องถิ่น

        2.การบริหารแผนให้บรรลุผล ซึ่งก็คือการจัดการนั่นเอง เนื่องจากปัจจุบันเรายังไม่มีระบบการจัดการให้บรรลุตามแผนฯ 10 อย่างเข้มแข็งจริงจัง แผนฯ 10 ไม่ใช่แผนในกระดาษแต่เป็นแผนของสังคม จึงไม่ต้องคำนึงถึงว่าใครเป็นรัฐบาล รัฐบาลใดเข้ามาบริหารก็ต้องสนับสนุนส่งเสริม โดยต้องมีคณะกรรมการที่ดูแลการบริหารอย่างเข้มแข็ง เพื่อขับเคลื่อนแผนฯ 10 ให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะเรื่องดัชนีชี้วัดระดับท้องถิ่น

หมายเลขบันทึก: 109734เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2007 22:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เรื่องดัชนีชี้วัดนี่สำคัญครับ
  • ในกิจกรรมนิสิตมีการนำตัวดัชนีชี้วัดความสำเร็จมาใช้ แต่ส่วนมากนิสิตยังไม่เข้าใจ และมีแนวโน้มที่สะไม่พยายามเข้าใจ
  • เนื่องจากยังไม่เห็นความสำคัญ หรือ ยังไม่เห็นภาพรวมว่ามันสำคัญต่อระบบการประกันคุณภาพอย่างไร (บางกรณีไม่รู้จักระบบประกันคุณภาพด้วยซ้ำ)
  • จึงควรเสนออาจารย์ในฐานะนิสิตนะครับ หากจะนำเครื่องมือใดลงไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ควรจะทำความเข้าใจในเรื่องของภาพรวมของระบบ สรางภาพความเข้าใจให้กลุ่มเป้าหมายเห็นว่า ตนเองอยู่ส่วนไหนของระบบ มีความสำคัญอย่างไร เครื่องมือให้ผลอย่างไร ในฐานะที่อาจารย์เป็นศึกษานิเทศ ผมว่าน่าจะเข้าใจตรงนี้มากกว่าผม
  • แต่ก็ขอเสนอแนะไว้ในมุมมองของนิสิตครับ
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ

  มีตัวอย่างเรื่องการกำหนดตัวชี้วัดเรื่องความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันของชาวบ้านตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี  ที่ชาวบ้านเขาร่วมกันกำหนดขึ้นมาเอง จากมิติที่จะทำให้สังคมมีสุขร่วมกัน เช่นมิติเรื่องการมีสุขภาวะที่ดี  ครอบครัวที่อบอุ่นฯลฯ 
      ผมเห็นตัวชี้วัดหนึ่งที่ชาวบ้านนี้เขากำหนดกันขึ้นมาว่า  "ทำตัวไม่ให้เหม็น" ผมอ่านเจอแล้วขนลุกเลย  ทำให้คิดว่าถ้าส่วนกลางมากำหนดตัวชี้วัดให้เขา และไปประเมินเขาตามตัวชี้วัดที่ตนเองกำหนด(คุณพ่อรู้ดี) เหมือนที่ผ่านมา  เราคงไม่เห็นตัวชี้วัดที่มีชีวิตเช่นนี้เกิดขึ้น 
      แม้ตัวชี้วัดนี้จะดูเชยๆในทางวิชาการ แต่มันให้ความรู้สึกที่สะท้อนสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นของเขา  ที่มีพลังต่อการขับเคลื่อนของเขาอย่างยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท