เรียนรู้ - แลดูตนเอง เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ


SWOT Analysis

สำหรับยุทธศาสตร์การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน

ภาคเหนือ  

"ไร้ราก ฤาผลิใบ ท่องเที่ยวชุมชนไทย" 

เติบโตสู่การเรียนรู้ - เครือข่ายการท่องเที่ยวประเทศไทย

(โมเดลนี้ สร้างโดยคุณสมพร ช่วยอารีย์)

P
เม้ง สมพร ช่วยอารีย์


จุดแข็ง

จุดแข็งซึ่งเป็นปัจจัยภายในที่เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือมี เป็น ทุน ไว้ และสำคัญที่สุดในการใช้ทุนเหล่านี้ขับเคลื่อนงานพัฒนา จุดแข็งที่เราได้ระดมความคิดผ่านเวทีพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือ สามารถแบ่งรายละเอียดออกได้ดังนี้

1.      ทุน มองไปถึงทุนที่หลากหลายในพื้นที่ อันได้แก่ทุนทางด้านธรรมชาติ ทุนทางวัฒนธรรมที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์ ภาคเหนือมีจุดแข็งด้านดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของพื้นที่กันเลยทีเดียว ทุนอีกประเภทหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการเรียนรู้เพื่อพัฒนา คือภาคเหนือมีเครือข่ายชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวอยู่แล้วจำนวนหนึ่ง เราจัดให้พื้นที่เหล่านี้เป็นพื้นที่รูปธรรมในการเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ เป็นพื้นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนนอกเป็นต้น

2.      เครือข่าย หากการเริ่มต้นที่ดีมีการนำร่องการพัฒนามาก่อนและเราเรียนรู้จากประสบการณ์เหล่านั้น เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีอยู่เดิม เป็นแหล่งเรียนรู้ถอดประสบการณ์จากพื้นที่ บทเรียนเหล่านี้เป็นข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีอยู่แล้วและกำลังดำเนินการได้แก่เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนแม่ฮ่องสอน เชียงรายและเชียงใหม่ สามจังหวัดหลักภาคเหนือตอนบน

3.      กระบวนการเรียนรู้ ด้วยที่มีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนมายาวนาน และมีจำนวนชุมชนที่มีประสบการณ์ด้านนี้มาก กระบวนการเรียนรู้จึงเป็นไปแบบธรรมชาติที่ชุมชนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน และส่วนหนึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านพื้นที่ที่ถูกจัดขึ้นโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลผลึกของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงเป็นข้อมูลเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในการขับเคลื่อนงานพัฒนาเชิงประเด็น  

4.      หน่วยงานที่สนับสนุน  ภาคเหนือจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจำนวนมากและหลากหลายกระบวนการพัฒนาภายใต้วิธีคิดเดียวกันของ การท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการเอาชุมชนเป็นตัวตั้งในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาแบบมีส่วนร่วมทำให้กระบวนการพัฒนาเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเป็นระบบ ต่อเนื่อง

5.      บุคลิกของคนท้องถิ่น  ถือได้ว่าเป็นขุดแข็งประการหนึ่ง ที่คนเหนือมีบุคลิกที่รับฟังนอบน้อมและหลีกเลี่ยงการโต้แย้งบุคลิกดังกล่าวทำให้กระบวนการพัฒนาเป็นไปอย่างราบรื่นและไม่ยากนักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบธรรมชาติและบุคลิกดังกล่าวมีผลต่อการสร้างความประทับใจให้นักท่องเที่ยวได้ด้วย เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว6.      ยุทธศาสตร์เครือข่าย การริเริ่มสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือเป็นการเริ่มต้นที่เกิดจากสามจังหวัด(เชียงใหม่,เชียงรายและแม่ฮ่องสอน) ที่มีประสบการณ์ท่องเที่ยวมารวมตัวกัน จัดทำยุทธศาสตร์ของตนเอง และสอดคล้องกับแผนพัฒนาชาติ  ยุทธศาสตร์ที่จัดทำขึ้นทำให้การขับเคลื่อนได้พิจารณาบริบททั้งในระดับภาคและระดับประเทศไปพร้อมๆกัน เพื่อความสอดคล้องของการพัฒนาในภาพรวม 


จุดอ่อน         

เมื่อเราได้ระดมสมองจากเวทีเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน เราพบว่านอกจากเราจะมีจุดแข็งและโอกาสแล้ว จุดอ่อนที่เรายังมีอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาพิจารณาเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุก การรู้จุดอ่อนตัวเองจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการประเมินผลความสามารถขององค์กร เครือข่าย จากการระดมสมองในเวทีริมระเบียงงานวิจัยครั้งที่8ที่จังหวัดพะเยา จากการระดมความคิดของสมาชิกเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือพบว่าเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือมีจุดอ่อนหลายประการดังนี้

1.      ด้านบุคลากร เราพบว่าคนทำงานด้านการท่องเที่ยวโยชุมชนเป็นนักพัฒนาที่อยู่ในพื้นที่ และมีหลายบทบาทในหนึ่งคน(สวมหมวกหลายใบ) ดังนั้นการดำเนินการอาจล่าช้าไปบ้าง และปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ เวลาที่ไม่ลงตัวของคนทำงาน มีความเข้าใจในประเด็นการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนยังไม่เป็นไปตามแนวทางเดียวกันตลอดจนความรู้เรื่องสถานการณ์การท่องเที่ยวยังไม่ทันต่อสถานการณ์ข้างนอก 

2.      ชุมชน ปัญหาที่ถือว่าเป็นจุดอ่อนของชุมชนได้แก่ ระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนอาจเกิดจากความเข้าใจ  หรือการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิผล การขัดแย้งกันเองในชุมชนเมื่อมีผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง,ตลอดจนสภาพพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลกันมากก็อาจทำให้การรับรู้ข่าวสารไม่ทันสถานการณ์การพัฒนาชุมชนจึงไม่สัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงบริบทของนอก

3.      การบริหารจัดการ สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวคือ ระบบการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้การพัฒนาด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนช้าหรือชะงักลงได้  ปัญหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการคือ การประสานงานที่ไม่ดีพอ,ข้อมูลชุมชนไม่เพียงพอ,ขาดกิจกรรมระหว่างเครือข่าย,ความไม่เข้าใจระบบโครงสร้างการบริหารจัดการของสมาชิก ปัญหาเหล่านี้เป็นจุดอ่อนที่มาจากการบริหารจัดการที่ด้อยประสิทธิภาพแทบทั้งสิ้น

4.      งบประมาณ ที่ไม่เพียงพอต่อการพัฒนาขับเคลื่อนชุมชนเชิงประเด็น มาจากสาเหตุหลักๆได้แก่ การเข้าไม่ถึงแหล่งทุน,อปท.ไม่ให้ความสนใจ,ไม่ได้เขียนแผนไว้ในแผนของ อปท. เป็นต้น สถานการณ์ด้านงบประมาณเหล่านี้ถือว่าเป็นจุดอ่อนในการดำเนินการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน  


โอกาส            

 โอกาส เป็นปัจจัยจากภายนอกที่จะช่วยเอื้อหนุนให้เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือประสบความสำเร็จได้

ประการแรก คือ กระแสสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในกรณีที่สังคมภายนอกเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวโดยชุมชน และนิยมการท่องเที่ยวเช่นนี้ ย่อมมีผลทำให้เกิดการสร้างเครือข่าย ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อมีผู้นิยมท่องเที่ยว ก็ต้องมีการสนองตอบความต้องการนั้น จึงทำให้เครือข่ายเกิดการพัฒนา

ประการที่สอง คือ นโยบายของรัฐให้การสนับสนุน ถ้าทางรัฐให้การสนับสนุนทั้งด้านงบประมาณและนโยบาย ย่อมทำให้เครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเกิดการพัฒนามากขึ้น จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันทางภาครัฐให้การสนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาก เช่น โครงการวิจัยพัฒนาเครือข่ายฯ ก็ได้รับเงินสนับสนุนจากทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แม้แต่ ททท. ก็หันมาสนใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้การประชาสัมพันธ์ทั้งจากสื่อต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชุมชนภายนอกรับรู้เกี่ยวกับชุมชนที่จัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนว่ามีสถานที่ท่องเที่ยว มีกิจกรรม และมีความน่าสนใจอย่างไรบ้าง ทำให้เกิดกระแสสังคมหันมาตื่นตัวและนิยมการท่องเที่ยวโดยชุมชนมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้กระแสความต้องการของคนในท้องถิ่นที่มีความต้องการให้เกิดเครือข่ายขึ้น ก็นับเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเอื้อหนุนให้เกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนขึ้นได้ ทั้งนี้ เนื่องจากคนในชุมชนนับเป็นบุคคลากรทางการท่องเที่ยวที่มีความสำคัญ 


อุปสรรค/ปัญหา          

 อุปสรรค ที่พบในการเกิดเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของปัจจัยภายในเครือข่ายเอง กล่าวคือ หน่วยงานภาครัฐไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จึงทำให้การสนับสนุนหรือการพัฒนาเครือข่ายทำได้ไม่เต็มที่และไม่ตรงเป้าหมายมากนัก เช่นเดียว กับกระแสของสังคมก็ยังไม่เข้าใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ชัดเจนนัก นอกจากนี้ระบบการพัฒนา การท่องเที่ยวโดยชุมชนเองก็ขาดการวางแผนที่ดี ในขณะเดียวกันคนส่วนใหญ่ก็มองการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเชิงเศรษฐกิจ มากกว่าจะมองในเชิงที่เป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่าชุมชนเองก็ไม่เข้มแข็งพอที่จะจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนด้วยตนเอง ส่วนปัจจัยภายนอกที่เป็นอุปสรรคและปัญหา คือ นโยบายของภาครัฐที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนในท้องถิ่นมากนัก และยังไม่มีกฎหมายที่จะมารองรับกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนอีกด้วย 

หมายเลขบันทึก: 108943เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 20:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

เคยไปที่เชียงแสนค่ะ ไปเที่ยวลาวด้วย

มีซากเมืองเก่า ตรงนี้เรียกว่า สามเหลี่ยมทองคำใช่ไหมคะ ยังจำคำขวัญได้ค่ะ

ถิ่นอมตะ พระเชียงแสน แดนสามเหลี่ยม เยี่ยมน้ำโขง จรรโลงศิลปะ

ถูกไหมคะ

ตอนนี้ เป็นเป้าหมายในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวแน่นอน ตอนนี้ มีคนมาเที่ยวมากขึ้นไหมคะ

สวัสดีครับ

ผสาน S กับ O ท่านว่าเจ๋งครับ

พี่ศศินันท์

P

ผิดคาดครับ สำหรับบันทึกหนักๆเช่นบันทึกนี้ คิดว่าจะไม่มีท่านไหนมาแลกเปลี่ยน

เรา (เครือข่ายการท่องเที่ยวภาคเหนือ) ไปประชุมกันที่กว๊านพะเยามาหมาดๆครับ และในวันนั้นเองเราได้ SWOT เครือข่ายด้วย ผลออกมาเช่นบันทึกนี้

เชียงแสนเป็นเมืองเก่าที่มีคุณค่าทางประวัตฺสาสตร์มากครับ และทางโซนเชียงรายเองก็เป็น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และจะเชื่อมโยงอนุภูมิภาคในอนาคต

น่าสนใจมากครับ ข้อมูลอื่นๆคงต้องสอบถามท่านพี่ สิทธิรักษ์ครับ สำหรับ เชียงแสน

P

พี่ชายครับ

 

P

บันทึกหนักๆแบบนี้ ผมดีใจครับ ที่ยังมีท่านผู้สนใจมาแลกเปลี่ยน

ไม่กี่วันที่ผ่านมาผมได้ร่วมประชุม "เวทีริมระเบียงงานวิจัย" ที่จัดโดย สกว.ที่ กว๊านพะเยา  เราได้วิเคราะห์ปัจจัยสิ่งแวดล้อม SWOT ดังที่ปรากฏครับ

ซึ่งผมเองในฐานะผู้ประสานงานเครือข่าย คิดว่า ยุทธศาสตร์ที่เราจะรุกไปค่อนข้างชัดเจนหากเราคิดยุทธศาสตร์จากฐานนี้ครับ

ขอบคุณพี่กบมากครับ

S + O = รุก ครับ รุกในทันที

 

ขอบคุณเพื่อนรัก

P

สมพร ช่วยอารีย์ ในบันทึกนี้ด้วยครับ ที่เอื้อเฟื้อ โมเดลรากหญ้า

"ไร้ราก ฤาผลิใบ ท่องเที่ยวชุมชนไทย" 

เติบโตสู่การเรียนรู้ - เครือข่ายการท่องเที่ยวประเทศไทย

  • สวัสดีครับเพื่อนเอก
  • ไร้ราก ยากไร้
  • คิด แต่ไม่ทำ ไร้ผล
  • ทำ แต่ไม่คิด ไร้ราก
  • คิดแล้วทำ ทำแล้วคิด ติดทั้งราก มากทั้งผล
  • ขอเป็นกำลังใจ และสนับสนุนในการคิดและทำ อย่างต่อเนื่องครับ

สวัสดีครับเพื่อนเม้ง

Pเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ---------> http://www.somporn.net

ผมขอขอบคุณอีกครั้งสำหรับโมเดลรากหญ้า ถูกใจมากครับ

และถูกใจอีกครั้งในบทกวีเล็กๆในข้อเสนอแนะ ขอยกมารจนาอีกครั้ง

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ไร้ราก ยากไร้

คิด แต่ไม่ทำ ไร้ผล

ทำ แต่ไม่คิด ไร้ราก

คิดแล้วทำ ทำแล้วคิด ติดทั้งราก มากทั้งผล

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

  • สวัสดีค่ะ คุณเอก ..

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

จ๊ะเอ๋  ตามมาในบล๊อคนี้อีกแล้วเจ้าค่ะ ชอบคำที่กล่าวว่า  "  ไร้ราก  ฤาผลิใบ "    ประทับเด็กอย่างหนูเป็นที่สุด  เป็นกำลังใจให้นะค่ะ สู้ๆๆๆๆ  เอาสิ่งดีๆมาเล่าสู่กันฟังอีกนะค่ะ  -------------> น้องจิ

สวัสดียามดึก

ชุมชนจะพัฒนาไปได้ดี ต้องอาศัยหลายสิ่งหลายอย่าง แต่อย่างหนึ่ง ที่ชุมชนต้องเผชิญนั่นคือ วิกฤตการทางการเมือง และ เจ้าวิกฤตการนี้แหละ ที่ทำให้ชุมชนต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จนบางครั้งทำให้ชุมชน ปรับตัวไม่ทันกับ วิกฤติการอย่างนี้

นโยบายทางการเมือง ในชุมชนเป็นส่วนสำคัญที่จะผลักดันให้ชุมชนนั้น เข้มแข็งหรืออ่อนแอ ผู้นำชุมชน บางครั้ง ก็ถูกเลือกมาโดย เห็นว่ามีเงิน ซึ่ง เจ้าตัวนี้แหละ ที่ทำให้โปรเจ็ค ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาชุมชน บางโปรเจ๊ค ที่ชุมชนควรจะทำ กลับถูก เมินเฉย อย่างไม่ใยดี

ชุมชนเข้มแข็ง แล้วอย่างอื่นจะดีตามไปด้วย การท่องเที่ยวชุมชน เป็นโครงการที่ดี แต่ความเข้าใจในโครงการ คนในชุมชนที่ห่างไกล จะรู้มากน้อยแค่ไหน เข้าใจมากน้อยแค่ไหน ความรู้ต้องทั่วถึง ความเข้าใจต้องชัดเจน และ ผลของความสำเร็จ ต้องเห็นเป็นรูปธรรม

นี่เป็นเพียงความคิดเห็นของคนคนหนื่งเท่านั้น ยังมีชุมชนที่ห่างไกล อีกมากมายที่ต้องการความช่วยเหลือ อย่าได้ลืมพวกเขาเหล่านั้น

ไร้ราก ฤๅผลิใบ  ณ ห่างไกล ยังคงคอย

ไร้ต้น  ฤๅผลิผล  ณ แดนชนต้อย ติดดิน

สุข สงบ เย็น

เดียวดายกลางสายฝน

สวัสดีครับ

P

ท่านผู้โดดเดี่ยวกลางสายฝน

ขอบคุณกัลยาณมิตรที่สม่ำเสมอตลอดมา

  • ชุมชน ... เป็นพื้นที่ละเอียดอ่อนในการพัฒนาครับ ดังนั้นแล้วการที่เราใช้ความรู้นอกแต่เพียงอย่างเดียวเข้าไปพัฒนามีปัญหาแน่นอน ส่วนใหญ่นักพัฒนามักจะนำศาสตร์ที่ตนเองรู้ไปใช้โดยที่ไม่ได้ฟังคนในเลย การพัฒนาก็ลุ่มๆดอนๆ ยิ่งพัฒนายิ่งล้าหลัง
  • ปรากฏการณ์ที่เลี่ยงยากคือ นโยบายภาครัฐ ที่วิ่งสู่ชุมชนโดยตรงผ่านองค์กรตัวแทน เช่น อบต.  ผู้ใหญ่บ้าน ดังนั้นชาวบ้านต้องปรับตัวกับกระแสที่เปลี่ยนอปลงตลอดเวลา หากวิธีคิดของผู้ใหญ่ในบ้านเมืองเอื้อต่อการพัฒนาชนบทอย่างจริงใจ ก็ไม่มีปัญฆา แต่สภาพเป็นจริงเรามีปัญหากันเพราะมีเรื่องผลประโยชน์และความไม่เข้าใจของภาครัฐ แต่ละระดับในการนำนโยบายมาปรับใช้
  • การสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง ต้องใช้พลังจากชุมชนเอง เพราะวันนี้เราพึ่งคนอื่นยาก ต้องพึ่งตนเองและพอเพียงถึงจะรอด
  • เราใช้ "การท่องเที่ยว"เป็นเครื่องมือในการพัฒนาครับ ไม่ว่าจะชุมชนไหนก็ตามล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวทั้งนั้นหากเราแปรสิ่งนี้เป็นเครื่องมือการพัฒนาจะเป็นการดีมากเลยครับ
  • ขอบคุณสำหรับความเห็นและกำลังใจที่ดีครับ

 

P

ขอบคุณคุณต้อมมากครับที่เข้ามาเพิ่มเติมกำลังใจ

P

ขอบคุณน้องจิด้วยครับ ที่มาจะเอ๋ สร้างสีสันวันดีๆครับ

สวัสดีครับคุณเอก วันนั้มมีโอกาสได้คุยกันทางโทรศัพท์นิดหนึ่ง ผ่านป๋าแพนดี้ วันนี้เลยเอาลิ้งค์มาฝาก เป็นเว็บที่เกิดจากการคุยกันในวันนั้น ว่ามีคนอยากทราบเกี่ยวกับเมืองเชียงแสน ผมเลยเนรมิตรขึ้นภายในหนึ่งวัน เก็บนั่นเก็บนี่ ยกเว้นหนี้ไม่เก็บขึ้นเว็บ กลัวคนไม่เข้าไปดู 555 www.thaitopsites.com/themiti

ขอบคุณอาจารย์มากครับ เป็นโอกาสดีมากครับที่ได้มีโอกาสคุยกับ อ.มันแกว ในวันนั้น ผ่านป๋าแพนดี้

ผมตามไปที่เวปเชียงแสนแล้วครับน่าสนใจมากๆครับผม

งานที่อาจารย์ทำอยู่มีคุณค่าและขอร่วมให้กำลังใจครับ

ขอบคุณครับ

http://www.thaitopsites.com/themiti

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท