แบบสอบประเภทจับคู่


แบบสอบ แบบสอบประเภทจับคู่

   ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมบทความที่ผมได้นำขึ้นใน Blog หลายเรื่องตามสไตส์ 108พันเก้า นะครับ..........หลังจากที่ผมได้เขียนเล่าเรื่องแบบสอบประเภทถูก-ผิดแล้ว ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี  คราวนี้จะนำเสนอแบบสอบประเภทจับคู่  ที่มีการใช้กันตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาที่สร้างเพื่อนักเรียนจับคู่ระหว่างภาพกับเงาของภาพ สำหรับในระดับชั้นที่สูงขึ้นก็ยังมีการใช้แบบสอบประเภทนี้อยู่

แบบสอบแบบจับคู่


        ลักษณะแบบสอบจะประกอบด้วยข้อคำถามหรือปัญหาที่ถามจะอยู่ในสดมภ์ซ้ายมือ  และคำตอบที่เขียนไว้เลือกจะอยู่สดมภ์ขวามือ  แล้วให้ผู้สอบเลือกจับคู่คำถามที่สอดคล้องกับคำตอบ  โดยใช้หมายเลขหรือตัวอักษรหน้าคำตอบนำไปใส่หน้าข้อคำถาม   สำหรับการตรวจให้คะแนนผู้ตรวจจะพิจารณาคำตอบตามเฉลยไว้  การสร้างรูปแบบคำถามแบบจับคู่  จะคำนึงถึงความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องการถามสองชุดที่สอดคล้องกัน   โดยเขียนแยกคนละสดมภ์  โดยข้อความมีลักษณะ ดังนี้
  ชื่อสถานี         คู่กับ  ที่ตั้ง
  ศัพท์              คู่กับ  ความหมาย  นิยาม  ตัวอย่าง
  ผู้แต่ง             คู่กับ  ผลงาม
  กฎเกณฑ์       คู่กับ  ตัวอย่าง
  ชื่อคน            คู่กับ  สิ่งประดิษฐ์   นวัตกรรม
  เหตุการณ์       คู่กับ  วัน  เดือน  ปี  ของเหตุการณ์
  เครื่องมือ        คู่กับ  ประโยชน์  เจ้าของ

ข้อเสนอแนะการสร้างแบบสอบแบบจับคู่


1.ข้อคำถามควรมากกว่าคำถาม  ประมาณ  50%
2.ข้อคำถามควรมีประมาณ  10-15 ข้อ  การใช้ข้อคำถามน้อยเกินไป  จะทำให้เกิดการเดาได้ง่าย 
3.พยามยามให้ข้อสอบที่สร้างทั้งหมดอยู่ในหน้าเดียวกัน
4.เขียนชี้แจงคำสั่งที่ชัดเจนว่าการจับคู่คำถามได้เพียงข้อเดียว( กรณีมีมากกว่า  1 ข้อ ต้องเขียนให้ชัดเจน )
5.ในตัวคำตอบควรเรียงลำดับคำตอบตามตัวอักษร  เวลาก่อนหลัง  ปริมาณมากน้อยตามลำดับ  เพื่อสะดวกแก่ผู้สอบมากที่สุด
6.การตั้งคำถามพยายามหลีกเลี่ยงการชี้นำคำตอบ
          ตัวอย่าง      ชื่อคลอง       คลองปานามา
                           สถานที่         ปานามา 
7.การเขียนข้อความควรเป็นเอกพันธ์(Homogeneous) หมายถึง เนื้อหาที่นำมาสร้างมีลักษณะคล้ายๆกัน

 

คำสั่ง:ข้อความด้าน  ก.  เป็นเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน  ข้อความด้าน  ข. เป็นคำหรือวลีที่บรรยายเหตุการณ์ด้าน  ก  ให้เลือกตัวอักษรข้อความด้าน  ข. มาวางไว้หน้าข้อความด้าน  ก.

 ด้าน  ก.                                                              ด้าน ข.

_________ 1. ดวงอาทิตย์                               ก.  การกลั่นตัว
_________ 2. เสื้อผ้าแห้ง                                ข.  การระเหย
_________ 3. เผาไม้                                      ค.  การขยายตัว
_________ 4. ฤดูหนาวแล้วเป็นฤดูใบไม้ผลิ          ง.  ขบวนการฟิวชั่น
_________ 5. การก่อตัวของเมฆ                       จ.  หยาดน้ำฟ้า
_________ 6. ฝนตก                                      ฉ.  การแพร่รังสี
_________ 7. ฝนแข็ง                                     ช.  วงโคจรของโลก
_________ 8. นาคเล่นน้ำ                                ซ.  การหมุนรอบตัวเอง
                                                                   ฌ.  ไซโคลน
                                                                   ญ.  ขบวนการออกซิเดชั่น

              Wiersma & Jurs , p. 58 ,1990

หมายเลขบันทึก: 108940เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2007 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็็นอีกหนึ่งกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท