เมื่อพระสงฆ์เข้ามาทำงานองค์กรการเงินและสวัสดิการ...


                 …..การบริหารจัดการของรัฐบาลในการช่วยเหลือชุมชน คิดจากข้างบนไม่สนใจคนข้างล่างเมื่อการบริหารเกิดความผิดพลาดคนข้างล่างต้องเดือดร้อนอย่างไม่มีทางช่วยเหลือตนเองได้ รัฐบาลควรพิจารณาว่าถมเงินไปจำนวนมาก แต่ยังไม่เกิดผลดีขึ้นมา ต้องพัฒนาให้ชุมชนมีทุนของตนเอง เพื่อจะได้ลุกขึ้นมาช่วยเหลือตนเองได้ โดยอาศัยฐานคุณธรรม…. เป็นคำกล่าวของพระอาจารย์สุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด ในการสัมมนาเรื่อง บทบาทพระสงฆ์ต่อความเข้มแข็งของสังคมและชุมชน เมื่อวันที่ 27-28 มิถุนายน 2550 โดยสถาบันวิชาการสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ โครงการวิจัยและพัฒนาองค์กรการเงินและระบบสวัสดิการชุมชน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            มีพระสงฆ์ที่เป็นแกนนำกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์จากทั่วประเทศเข้าร่วมการสัมมนา อาทิ พระสุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม ตราด พระสุวรรณ คเวสโก วัดป่ายาง นครศรีธรรมราช ฯ</p><div style="text-align: center"></div>

สหกรณ์เป็นอีกหนึ่งขบวนองค์กรการเงินที่เกิดขึ้นและมีอยู่ในประเทศไทย กรอบทิศทางแผนแม่บทการพัฒนาสหกรณ์ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมให้คนในชาติศรัทธาและเชื่อมั่นในคุณค่า ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาผู้นำและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกันสหกรณ์ให้มีศักยภาพและความพร้อมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการขับเคลื่อนสหกรณ์ไปในทิศทาง

</span><p>ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาขีดความสามารถของสหกรณ์ให้เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีธรรมาภิบาล</p><p>ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาระบบเครือข่ายความร่วมมือในการเชื่อมร้อยห่วงโซ่อุปทานเพื่อประโยชน์สู่สมาชิกและสังคมอย่างเที่ยงธรรมยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาระบบการเงินสหกรณ์ที่เกื้อหนุนการพึ่งพาตนเองและการร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์</p><p>            มีแผนงานภายใต้ยุทธศาสตร์ทั้ง 5 ยุทธศาสตร์ รวมทั้งสิ้น 25 แผนงาน 77 โครงการ  กระบวนการดำเนินงานเครือข่ายคุณค่า การสร้างคุณค่า มูลค่า มีกรอบคิด ฐานคิด เชื่อมต่อกับงานวิจัย และสร้างกระบวนการสร้างเครือข่ายคุณค่าเพื่อแก้ปัญหาความยากจน เครือข่ายเชิงธุรกิจ เครือข่ายวิสาหกิจ และเครือข่ายเชิงพื้นที่  ปัจจุบันเกิดเป็นเครือข่ายสหกรณ์จำนวน 117 เครือข่าย </p><p>แนวคิดการจัดสวัสดิการชุมชนและวิถีพลังองค์กรการเงินชุมชน            </p><p>            ที่ผ่านมาประมาณ 9-10 ปี ที่ทำงานองค์กรการเงินสิ่งที่สนใจต่อเนื่องมา แนวคิดสวัสดิการเป็นทั้งกระบวนการและเป้าหมาย มีทั้งสวัสดิการทางวัตถุ คือ ปัจจัย 4 สวัสดิการทางจิตใจ คือ การพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  การจัดสวัสดิการมี 3 รูปแบบ คือ รูปแบบที่จัดการโดยรัฐ  ระบบที่รัฐถ่ายโอนให้เอกชนจัดการ และระบบที่รัฐถ่ายโอนให้ชุมชนจัดการ            </p><p>             หากเปรียบเทียบการดำเนินงานของเครือข่ายพระสงฆ์กับระบบราชการ เริ่มจากรัฐบาลซึ่งเป็นหน่วยที่ดูแลประชาชนทั้งประเทศ รัฐใช้งบ 80,000 ล้านบาทในการจัดการกองทุนหมู่บ้าน และงบ 100 ล้านบาทสำหรับ สทบ. นอกจากนั้นยังมีค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาดูแลทุกตำบล ตำบลละ 1 คน มีโครงการภายใต้การบริหารของรัฐ โครงการอยู่ดีมีสุขใช้งบประมาณ 10,000 ล้านบาท มีกลุ่มที่เกิดขึ้นหลัก 3 กลุ่ม คือ ออมทรัพย์เพื่อการผลิต  กองทุนหมู่บ้าน และสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นการดำเนินงานใช้งบประมาณจำนวนมาก หากเปรียบกับการทำงานของพระสงฆ์ ประเมินสมาชิกมีจำนวนประมาณ 1 แสนคน ใช้ในแนวทางของกลุ่มสัจจะและเมตตาธรรมในการเคลื่อนงาน มีบุคคลเป้าหมาย 17 ล้านคน ต้องการความรู้ กระบวนการในการทำงานของพระสงฆ์เพื่อเปลี่ยนความคิดให้เกิดแนวทางของสัจจะและเมตตาธรรม ดังนั้นแนวทางการทำงานของพระสงฆ์ต้องใช้กระบวนการเดียวกับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่ศาสนาพราหมณ์ของพระพุทธเจ้า ด้วยการยึดตัวกิจกรรมเดิมของชุมชนไว้ ทุกอย่างดำเนินการตามวิถีเดิมของชุมชน เพียงแต่สอดแทรกแนวคิดตามแนวทางของพุทธศาสนาไว้ในการดำเนินกิจกรรมหรือวิถีชีวิตของชุมชน  ในอดีตสิ่งที่พระปฏิบัติเป็นการเทศน์เพียงอย่างเดียวเห็นว่าไม่สามารถช่วยคนให้ดีขึ้นได้  หลังจากฟังเทศน์เสร็จแล้ว คนก็กลับไปเป็นอย่างเดิม ที่สำคัญคนไม่ชอบเข้าวัด จึงต้องใช้วิธีใหม่ด้วยการไปหาชาวบ้านเอง  ดังแนวปฏิบัติของพระพุทธเจ้า</p><p>          การดำเนินการสหกรณ์เชิงธรรมมะ ต้องมีธรรมะเป็นฐาน ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นสหโกง เพราะมีการเรียกร้องสิทธิ์กันมาก ต้องทำกำไรมาก ไม่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  คนต้องเรียนรู้จากธรรมชาติ เพราะธรรมะคือธรรมชาติ คนต้องช่วยกันทำหน้าที่ไม่แบ่งพวก เหมือนธรรมชาติ  จะทำให้เกิดสันติสุข คนเกิดมาต้องมีเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมชาติ สหกรณ์จะเกิดขึ้นได้ต้องมีพรหมวิหารเป็นฐาน คือให้รักกันด้วยความจริงใจ  จากนั้นสามารถจัดสรรประโยชน์จากการจัดการสหกรณ์  ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจัดสรรไว้สำหรับการเกิด แก่ เจ็บ ตาย การประสบภัยธรรมชาติ การศึกษา แก้ปัญหาชีวิต จากนั้นเข้าสู่การจัดสรรเพื่อให้เกิดความยั่งยืน การสร้างเครือข่ายอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความยั่งยืนได้  ต้องเริ่มจากการรักตนเอง และรักผู้อื่นให้เหมือนรักตนเอง สร้างศรัทธาให้เกิดแก่สมาชิกให้ได้  จากนั้นต้องมีข้อมูลของชีวิตประจำวัน รู้ข้อมูลของผู้บริโภคระดับบุคคล ชุมชน หาสาเหตุของทุกข์เพื่อสามารถแก้ไขปัญหาได้ถูกทาง พระสงฆ์ต้องนำศาสนธรรมไปสู่สาธารณชนให้มากที่สุด </p><p>           การขับเคลื่อนเครือข่ายพระสงฆ์ เพื่อสร้างสหกรณ์คุณธรรม การขับเคลื่อนที่ดำเนินการอยู่ แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือสัจจะ นำไปสู่การสร้างสวัสดิการ และไปสู่พุทธบริษัท เน้นความเอื้ออาทร ประโยชน์ตน ส่วนรวม ผู้อื่น เครือข่ายพระสงฆ์ต้องการให้มีการเสริมหนุน ด้านศูนย์ประสานเครือข่ายทั้งระดับจังหวัด ภาค ประเทศ โดยให้ สว.สก. เป็นศูนย์ระดับประเทศ  ต้องมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอในระดับจังหวัด ภาค ประเทศ ด้วยการวางแผนด้วยอุเบกขา  ต้องมีการถอดบทเรียนในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ  จากนั้นต้องมีการวิเคราะห์  สังเคราะห์ผลจากบทเรียน  และนำมาเผยแพร่สู่สาธารณะ                            </p>

หมายเลขบันทึก: 108614เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 17:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สนับสนุนแนวคิดที่จะให้เครือข่ายพระสงฆ์เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาชุมชน สังคมไทยต้องนำธรรมะมาเป็นแกนในการขับเคลื่อนการอยู่เย็นเป็นสุข...

ขอบคุณที่นำเรื่องราวดี ๆ มีคุณค่ามาให้ได้เรียนรู้

จะคอยติดตามอ่านตอนต่อไป..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท