นำชม พระธาตุอินทร์แขวน(พม่า) ตอน ๘


คุณป้าท่านนี้หัวเข่าไม่ค่อยดี เลยจ้างลูกหาบแบกเสลี่ยงจากโรงแรมไจ้ก์โถ่ไปลานพระธาตุอินทร์แขวน ระยะทางเดินประมาณ 8-10 นาที

ภาพที่ 1: ลูกหาบแบกเสลี่ยงจากลานพระธาตุไปโรงแรมไจ้ก์โถ่

คุณป้าท่านนี้หัวเข่าไม่ค่อยดี เลยจ้างลูกหาบแบกเสลี่ยงจากโรงแรมไจ้ก์โถ่ไปลานพระธาตุอินทร์แขวน ระยะทางเดินประมาณ 8-10 นาที

ค่าเสลี่ยงแพงหน่อย (250 บาทไทย) เข้าใจว่า เพราะกลางคืนแล้ว ทำให้ลูกหาบไม่ได้ลงไปกินข้าวที่บ้านข้างล่าง

นี่เป็นขาลง และผู้เขียนก็ถ่ายภาพได้ครบตามที่ตั้งใจไว้แล้ว เลยบอกอาจารย์กวางว่า อยากจะขอลองแบกเสลี่ยงเล่นๆ ดู ปรากฏว่า ได้ลอง

ผู้เขียนลองแบกดูที่ตำแหน่งคนหลังข้างซ้าย... แบกไปได้ประมาณ 8 ก้าวก็บอกเลิก เพราะหนักกว่าที่คิดไว้แยะทีเดียว

ความจริงน่าจะขอแบกด้านหน้า เพราะไกลจุดศูนย์ถ่วง(ลูกทัวร์)มากกว่าด้านหลัง

ทว่า... ลูกหาบคนหน้าตัวสูง จึงต้องไปลองด้านหลังแทน เพื่อไม่ให้ความสูงคนแบกต่างกันมากเกิน

พอไปถึงโรงแรมฯ แล้ว ผู้เขียนให้ค่าวิชาลูกหาบไป 4 คนๆ ละ 1,000 จัต (ประมาณ

อัตราการแลกเปลี่ยนที่บริษัททัวร์ใส่ซองให้แลกคือ

  • 25 เหรียญสหรัฐฯ = 27,500 จัต
  • 1,000 บาทไทย = 27,500 จัต

ถ้าเราแลกเงินไทยเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจะประหยัดไปได้นิดหน่อย (25 เหรียญสหรัฐฯ = 25 x 35 = 875 บาท)

ทีนี้ถ้าเราเช็คทางอินเตอร์เน็ตจาก www.irrawaddy.org ซึ่งมีนิตยสารพม่าภาคภาษาพม่าและอังกฤษให้ชม จะพบว่า อัตราแลกเปลี่ยนต่างจากของบริษัททัวร์นิดหน่อยคือ

  • 1 เหรียญสหรัฐฯ = 1,255 จัต > 25 เหรียญสหรัฐฯ = 31,375 จัต
  • 1 บาทไทย = 36.2 จัต > 1,000 บาท = 36,200 จัต

เรื่องการแลกเงินนี่... บริษัททัวร์ย่อมต้องหากำไรบ้างเป็นธรรมดาครับ

ภาพที่ 2: เจ้าของเสียงรถบรรทุก...

เช้าวันรุ่งขึ้นตอนผู้เขียนอยู่ในห้องพัก ได้ยินเสียงรถบรรทุก "แปร่น แปร่น" ดังจากถนนเป็นพักๆ ทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า ทำไมข้างบนเขาอย่างนั้นมีใครบีบแตรรถบ่อยจัง

พอเดินไปพระธาตุฯ ถึงได้เห็นเจ้าของเสียง ท่านทำนกหวีด เป็นท่อ 2 ท่อ ความยาวส่วนที่ลมผ่านไม่เท่ากัน เพื่อให้เกิดเสียงประสาน เชื่อมท่อทั้ง 2 เข้าด้วยลูกโป่งที่ค่อนข้างตึง ทำให้เสียงสั้นคล้ายรถจริง

นกหวีดเสียงรถบรรทุกนี่... ขนาดเล็กราคา 200 จัต (ประมาณ 7 บาท) ผู้เขียนขอถ่ายภาพท่าน เลยอุดหนุนกันหน่อย

ภาพที่ 3: ลูกหาบทำงานกันแต่เช้า โปรดสังเกตว่า ทุกคนต้องใช้ตะกร้าแบบเดียวกัน จะใช้แบบอื่นไม่ได้

ผู้เขียนลองถามคนขายของท่านหนึ่งที่ตลาดท่าขี้เหล็ก... ท่านบอกว่า ต้องเสียค่าเช่าเป็นรายวัน ค่าธรรมเนียมเดินเร่ขายที่ท่าขี้เหล็กตกวันละ 10 บาทไทย

ที่นี่เท่าไหร่ไม่ทราบ ทว่า... คงจะช่วยให้เราเข้าใจชีวิตได้ดีขึ้นว่า โลกนี้ยังมีคนที่ลำบากกว่าเราอีกมาก (คิดแบบ "องุ่นเปรี้ยว-มะนาวหวาน" เสียด้วย)

ลูกหาบตะกร้าแบกของแบบนี้เดินเร็วมาก ขนาดผู้เขียนเป็นคนชอบเดินเร็วแล้วยังเดินไม่ค่อยทันเลย

ภาพที่ 4: ทางเข้าพระธาตุฯ ยามเช้า...

โปรดสังเกตคนที่นอนข้างคืน หรืออาจจะนั่งทำสมาธิอะไรก็แล้วแต่ เดินกลับลงมา

เจ้าสิงห์พม่า (ซินเต้) ยังคงเฝ้าประตู... ดูจะไม่เมื่อยอะไรเลย

ภาพที่ 5: ลูกหาบชะลอมรองาน...

โปรดสังเกตผู้หญิงพม่าทางด้านซ้ายพกร่มไปด้วย ร่มพับได้เป็นของจำเป็นสำหรับชาวพม่า เพราะฝนตกบ่อยเหลือเกิน

<p>แหล่งที่มา...                                                                  </p>

  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์องค์ บรรจุน. ต้นทางจากมะละแหม่ง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (www.amarinpocketbook.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. 2549.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ (www.nanmeebooks.com).  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
  • ขอบพระคุณ > เว็บไซต์มอญศึกษา > http://www.monstudies.com/ > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > มอญ > ศาสนพิธีและพิธีกรรม > http://www.samutsakhon.go.th/mis/tour/piti04.htm > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > เรื่องพระธาตุอินทร์แขวน / ไจ้ก์ทิโย > วิกิพีเดียภาคภาษาไทย > [ Click - Click ]
  • ขอบพระคุณ > เว็บไซต์มอญศึกษา > http://www.monstudies.com/ > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > มอญ > ศาสนพิธีและพิธีกรรม > http://www.samutsakhon.go.th/mis/tour/piti04.htm > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์พงศกร เบ็ญจขันธ์ > มอญ: ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในพม่า > ศูนย์พม่าศึกษา > http://gotoknow.org/blog/mscb/15498 > 23 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์องค์ บรรจุน. ต้นทางจามะละแหม่ง. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง (www.amarinpocketbook.com). พิมพ์ครั้งที่ 1. 2549. 
  • ขอบพระคุณ > ท่านอาจารย์ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. พม่าเสียเมือง. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ (www.nanmeebooks.com).  พิมพ์ครั้งที่ 1. 2548.
  • ขอบพระคุณท่านอาจารย์สามารถ ปราบกรี ([email protected]) >  15-18 มิถุนายน 2550.
  • ขอบพระคุณอาจารย์กวาง และคุณฟองนวล ไกด์ไทยใหญ่ > [email protected] > 15-18 มิถุนายน 2550.

</span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 108609เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท