ข้อมูลแม่ดึ๊


หมู่บ้านแม่ดึ๊ 1. ข้อมูลพื้นฐานข้อมูลทั่วไปบ้านแม่ดึ๊ หมู่ 5 ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำนวนครัวเรือน  23  ครัวเรือน จำนวนประชากร 101 คน ชาย 55 คน หญิง  46   คน เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง (กะเหรี่ยงสกอร์)ผู้นำชุมชน  ชื่อนายตะกละ  ไม่มีนามสกุลอาชีพหลักของประชากรในหมู่บ้าน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำไร่ เกษตรริมฝั่งและหาปลา          (เพิ่ม   - ข้อมูลสถานะบุคคล ทำแผนที่หมู่บ้าน/ ช่วงแรก-ปัจจุบัน): ลักษณะภูมิศาสตร์ทิศเหนือ  ติดกับ บ้านโพซอ ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนทิศใต้  ติดกับ บ้านท่าตาฝั่ง ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนทิศตะวันออก ติดกับ บ้านสะบา ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนทิศตะวันตก ติดกับ สาละวินและฝั่งประเทศพม่า   2. ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน (การก่อตั้ง/การย้านถิ่นฐาน, สังคมวัฒนธรรม, เครือญาติ, โครงสร้างการปกครอง) การก่อตั้งและการย้ายถิ่นฐานบ้านแม่ดึ๊ เป็นชุนชนกะเหรี่ยง(กะเหรี่ยงสกอร์) ก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2526 โดยพระสงฆ์รูปหนึ่งที่เดินทางเข้ามา ต่อมาก็มีประชากรที่อพยพหนีภัยสงครามมาจากฝั่งพม่าและได้สร้างบ้านเรือนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหมู่บ้านดังปัจจุบัน ซึ่งประชากรทั้งหมดของหมู่บ้านแม่ดึ๊ยังไม่มีสัญชาติไทย ส่วนการเดินทางเข้าหมู่บ้านแม่ดึ๊ในปัจจุบันเดินทางโดยเรือสะดวกที่สุด โดยเดินทางจากเส้นทางสายหลักแม่สะเรียงเข้ามาลงเรือที่หมู่บ้านแม่สามแลบแล้วนั่งเรือจากบ้านแม่สามแลบทวนน้ำสาละวินขึ้นไปยังบ้านแม่ดึ๊ระยะเวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมงเพิ่ม    -การอพยพของสมาชิกชุมชนกลุ่มแรก ,ตระกูลแรก/ครอบครัวแรก -มีใครบ้าง ชื่อ มาจากไหน มาเพราะอะไร /ดูข้อมูลแวดล้อม เช่น สถานการณ์ฝั่งพม่าปัจจุบันมีชีวิตอยู่หรือไม่  -พยาน -คนให้ข้อมูล-ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ดึงดูดให้มีการอพยพมาเพิ่ม -เกิดขึ้นในช่วงปีใด /สามารถแบ่งระยะเวลาการอพยพเป็นช่วงๆ ได้กี่ช่วง -ระบุตระกูล หรือครอบครัวที่มาแต่ละช่วง / -พยาน -คนให้ข้อมูล สังคมและวัฒนธรรม ประชากรทั้งหมดในหมู่บ้านเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอร์ ลักษณะความสัมพันธ์ของคนในครอบครัวและระบบเครือญาติ รูปแบบครอบครัวมีทั้งครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวขยาย มีการไปมาหาสู่กันเป็นประจำระหว่างคนในครอบครัวและคนในชุมชนด้วยกันเอง   โดยมีวัฒนธรรมความเชื่อแบบดั้งเดิมคือนับถือผี และมีการประกอบพิธีกรรมเหมือนกับชุมชนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงสกอร์ทั่วไป และนอกจากนี้แล้วยังมีการนับถือศาสนาคริสต์ที่เข้ามาในชุมชนอีกด้วย เพิ่ม      -การนับถือศาสนา  - สัดส่วนแต่ละศาสนา - ปีที่เริ่มนับถือศาสนาคริสต์ / มีโบสถ์หรือไม่ ปีที่สร้าง , ผู้นำศาสนา-น่าจะมีนับถือศาสนาพุทธด้วย  / จำนวนวัด ปีที่ก่อตั้งวัด, จำนวนพระ/เณร,  ระบบการปกครองภายชุมชนบ้านแม่ดึ๊เป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านแม่ก๋อน ตำบลแม่คง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้านคือน นายนุ ชำนาญคีรีไพรและมีผู้นำในหมู่บ้าน คือนายตะกละ ไม่มีนามสกุล ซึ่งในอดีตไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปช่วยเหลือ และมีผู้นำอย่างไม่เป็นทางการ โดยมีการนับถือผู้อาวุโสภายในหมู่บ้าน(ชื่อ)เพิ่ม      -(ใครคือผู้นำคนแรก /มีชีวิตอยู่หรือไม่ ) 3. ระบบการผลิต -ลักษณะการผลติตของชุมชน : อาชีพ /พืชหลัก/รอง-ลักษณะการบุกเบิกที่ดิน, การถือครองที่ดิพื้นที่ทั้งหมดของหมู่บ้านแม่ดึ๊อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน ทำให้พื้นที่ของชาวบ้านไม่มีเอกสารสิทธิ์ส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในที่ดินของชาวบ้าน 4.  ระบบการจัดการทรัพยากรภายในชุมชน-การจัดสรร/ใช้สอย การใช้ประโยชน์จากป่า-การควบคุม / ดูแลทรัพยากรภายในชุมชน 5. สถานการณ์ / ปัญหาการศึกษา เนื่องจากหมู่บ้านแม่ดึ๊ ไม่ได้เป็นหมู่บ้านทางการ ทำให้ไม่มีหน่วยงานไหนที่เข้าไปจัดการเรื่องของการศึกษาอย่างเป็นทางการ ทำให้คนในชุมชนทั้งหมดไม่ได้รับการศึกษาในระบบ และคนในชุมชนไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ซึ่งเกือบทั้งหมู่บ้านพูดภาษาไทยไม่ได้ ยกเว้น นายโซมุ  ไม่มีนามสกุล ที่พอจะสื่อสารภาษาไทยได้บ้าง  ต่อมานายโซมุ ได้เปิดการเรียนนอกระบบขึ้นในปี...  มีการสอนวิชา..... โดยใช้สถานที่.... และหลังจากการจัดงานวันเด็กไร้สัญชาติ ครั้งที่ 5 ณ บ้านสบเมย ในวัน... ที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลบ้านแม่ดึ๊ได้มีการเผยแพร่ไปสู่ภายนอก และการศึกษานอกโรงเรียน(กศน.) จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้เข้ามาเปิดโรงเรียนกศน.ในหมู่บ้านแม่ดึ๊... (รายละเอียด) สถานะบุคคลประชากรในชุมชนเกือบทั้งหมด เป็นบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนราษฎร์หรือไม่มีสัญชาติไทยเป็นเหตุให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ปัญหาการขาดสิทธิทางด้านการรักษาพยาบาล ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาการออกนอกพื้นที่ และเมื่ออพยพแรงงานออกไปทำงานนอกเขตพื้นที่แล้วถูกเจ้าหน้าที่จับและนอกจากนี้แล้วบางส่วนยังได้รับค่าแรงที่ไม่เป็นธรรมจากนายจ้างอีกด้วย(เพิ่ม) เขื่อนสาละวิน 
คำสำคัญ (Tags): #ไร้สัญชาติ
หมายเลขบันทึก: 108602เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 16:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 09:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท