modem


modem

7 - 1

บทที่ 7

การสื่อสาร

COMMUNICATIONS

วัตถุประสงค์

หลังจากที่ท่านได้ศึกษาในบทนี้แล้วท่านจะมีความเข้าใจดังต่อไปนี้

- โมเดลของการสื่อสารข้อมูล

- การสื่อสารและการเชื่อมต่อ

- โทรศัพท์กับการบริการ

- การประชุมระยะไกล

- การเชื่อมต่อเครือข่าย

- การบริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

- เทอร์มินอล

- โมเด็ม

- บทบาทสำ คัญของการสื่อสารข้อมูล

- ชนิดของช่องทางการสื่อสาร

- เครือข่ายการสื่อสาร

- โครงรูประบบสายสื่อสาร

- ชนิดเครือข่าย LAN

- อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย

7 - 2

แบบทดสอบก่อนเรียน

1. การประชุมทางไกลระหว่างบุคคลโดยใช้ระบบโทรศัพท์เป็นตัวกลางเราเรียกว่า

1) Teleconference 2) Audio conference

3) Video conference 4) Voice conference

2. ระบบการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในการจัดการเอกสารในรูปของอีเล็ก

โทรนิกส์ ในองค์กรหรือระหว่างองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐหรือภาคเอกชน การประยุกต์ใช้

งานนี้เราเรียกว่า

1) Share Resource 2) Working Computing

3) Electronic Data Interchange 4) Networks

3. การบริการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของเมนูเราเรียก

การบริการนี้ว่า

1) Telnet 2) Gopher 3) Archi4) FTP

4. การบริการสืบค้นข้อมูลในรูปของมัลติมีเดียบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่นิยมแพร่หลายใน

ปัจจุบันคือ

1) UseNet 2) Datanet 3) WWW 4) EDI

5. เทคนิคของการจำ แนกวิธีการส่งข่าวสารในการสื่อสายแบบมีสายที่มีการส่งแบบสองทิศ

ทางแต่ต่างเวลากันเราเรียกว่า

1) Simplex 2) Duplex 3) Half Simplex 4) Half Duplex

6. ท่าคิดว่าช่องทางการสื่อสารชนิดสายในข้อใด ที่สามารถมีอัตราการส่งข้อมูลได้อย่างมีประ

สิทธิภาพสูงสุด

1) สายคู่ตีเกลียว 2) สายโคเอกเชียล 3) สายเส้นใยนำ แสง 4) สายโทรศัพท์

7. อุปกรณ์ที่ใช้กับการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ทำ หน้าที่ในการรับสัญญาณจากภาคพื้นดินและ

ส่งสัญญาณกับมายังภาคพื้นดินเราเรียกว่า

1) จานไมโครเวฟ 2) ทรานสปอนเดอร์ 3) คลื่นวิทยุ 4) แสงเลเซอร์

8. อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เหมือนกันหรือประเภทเดียวกันเรียกว่า

1) Hub 2) Gate way 3) Bridge 4) Router

7 - 3

บทที่ 7

การสื่อสาร

COMMUNICATIONS

Computers and Communications เป็นเทคโนโลยีสารสนเทศหลักของยุคสารสนเทศ ซึ่ง

ระบบสื่อสาร จะเป็นตัวกลางในการสื่อสารข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ต้นทางและอุปกรณ์ปลายทาง

คอมพิวเตอร์ก็จัดเป็นอุปกรณ์ต้นทางและปลายทางชนิดหนึ่ง เราจะเห็นความหมายของคำ ว่า

Communication & Communications จะเห็นว่าทั้งสองคำ ต่างกันที่มี S กับไม่มี S คือ

Communication (No S) เป็นขบวนการการส่งข่าวสารจากแหล่งส่งไปยังแหล่งรับข่าวสาร

Communications (With an S) หรือเรียกว่า Telecommunications อ้างถึงอุปกรณ์ที่เป็นชนิด

Electromagnetic และระบบสำ หรับใช้ในการสื่อสารข้อมูล ในระยะทางไกล

ข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารอาจจะประกอบด้วย Voice , Sound , Text Video , Graphics หรือมีการ

ส่งไปพร้อมกัน เครื่องมือที่เป็นแม่เหล็กไฟฟ้าจะทำ การส่งข้อมูล อาจจะใช้ส่งแบบโทรเลข โทรศัพท์

สายเคเบิล ไมโครเวฟ วิทยุ โทรทัศน์ ระยะทางการส่งอาจจะเป็นระยะไกลหรือระยะไกลก็ได้

การโทรคมนาคม (Telecommunication) หมายถึง การไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ และ

วิทยุ ตัวอย่างเหล่านี้เป็นลักษณะ ของการสื่อสารที่ต่างชนิดกันไปในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอีกระบบ

หนึ่งที่นำ ไปประยุกต์ใช้ร่วมกับระบบ สื่อสารในการส่งข้อมูลหรือข่าวสารระหว่างคอมพิวเตอร์ระบบ

สื่อสารที่ใช้อาจจะเป็นข่ายงานสื่อสารสาธารณะ หรือข่ายงานสื่อสารส่วยบุคคลที่ใช้สายเคเบิล

ในปัจจุบันนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้ตามหน่วยงานใหญ่ๆ ซึ่งมีแผนกต่างๆเป็นจำ นวน

มากโดยใช้คอมพิวเตอร์รวมกันที่จุดศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำ งานของเครื่องคอมพิวเตอร์

ให้สูงขึ้นโดยต่อเข้ากับอุปกรณ์รอบข้าง ผ่านข่ายงานสื่อสารเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางใน

การเรียกใช้ข้อมูลหรือส่งข้อมูลเข้าประมวลผลที่ซีพียู การต่อข่ายงานคอมพิวเตอร์ชนิดนี้เรียกว่า

CENTRAL DATA PROCESSING ระบบนี้จะใช้ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และหน่วยความจำ ที่ส่วนกลาง

ในปี 1970 ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดกลางได้นำ เข้ามาใช้ในหน่วยงานธุรกิจขนาดย่อมเรียกว่า MINI

COMPUTER ซึ่งสามารถนำ คอมพิวเตอร์เหล่านี้ไปใช้ตามหน่วยงานต่างๆ คอมพิวเตอร์เหล่านี้บางครั้ง

สามารถประมวลผลด้วยตัวมันเองหรือทำ หน้าที่ส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อการประมวล

ผล ถ้าเรานำ คอมพิวเตอร์ขนาดกลางและขนาดใหญ่มาเชื่อมโยงเข้าด้วยกันผ่านข่ายงานสื่อสาร เราเรียก

7 - 4

ว่าระบบการประมวลผลแบบกระจาย (DISTRIBUTED DATA PROCESSING. DDP) จะทำ ให้ประ

สิทธิภาพในการใช้คอมพิวเตอร์สูงขึ้น

โมเดลการสื่อสาร (Models of Communications)

- Tree and Branch model : เป็นศูนย์กลางของการบริการข่าวสารที่ทำ หน้าที่ส่งข่าวสารผ่านช่องทาง

การสื่อสาร ไปยังผู้ใช้หลายพันคน การทำ งานของโมเดลนี้ ที่ใช้กันมากที่สุดในระบบวิทยุ โทรทัศน์

หรือในลักษณะการบันเทิงผ่านสายเคเบิล

- Switched Network model : เป็นระบบเครือข่ายที่ใช้สวิต ใช้งานเฉพาะกลุ่ม ไม่บริการข่าวสารทั่วๆไป

เช่นการบริการขององค์การโทรศัพท์ ผู้ใช้จะต้องขอรับบริการจึงมีสิทธิในการใช้งาน หรือการใช้ใน

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูล (Data communication) หมายถึง การสื่อสารหรือการส่งข่าวสารจากจุดหนึ่ง

ไปยังอีกจุดหนึ่ง มีองค์ประกอบ 3 ส่วนในระบบการสื่อสารข้อมูล ดังนี้

- แหล่งกำ เนิด (SOURCE)หรืออุปกรณ์การส่ง (SEDING DEVICES)

- ตัวกลาง (MEDIUM)หรือข่ายงานสื่อสาร (COMMUNICATIONS LINK)

- แหล่งรับข้อมูล (RECIEVER)

การสื่อสารข้อมูลในปัจจุบันนี้ระบบข่ายงานลักษณะการส่งสัญญาณในตัวกลางจะเป็นสัญญาณส่วน

มากจะเป็นอนาลอก (ANALOG) และในปัจจุบันกำ ลังจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระบบดิจิตอลทำ ให้การ

สื่อสารและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารใช้สัญญาณชนิดเดียวกัน แต่การสื่อสารในปัจจุบันยังมีการใช้

ระบบสื่อสารเป็นอนาลอกอยู่ เป็นการทำ งานที่แตกต่างกับอุปกรณ์เช่นในระบบคอมพิวเตอร์จะประมวล

ผลด้วยสัญญานดิจิตอล ฉนั้นการสื่อสารข้อมูลของเครือข่ายจะต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนสัญญา

นของทั้งสองชนิดในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ทำ งานอย่างมีประสิทธิภาพ

7 - 5

รูปที่ 7.1 การเปรียบเทียบสัญญานอนาลอกกับสัญญาณดิจิตอล

ระบบการสื่อสารข้อมูล มีลักษณะเช่นเดียวกับระบบสื่อสารทั่วๆไป ดังรูปข้างล่าง

รูปที่ 7.2 องค์ประกอบระบบสื่อสาร

การสื่อสารและการเชื่อมต่อ

อุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อในเครือข่ายสื่อสาร ผู้ใช้สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมตามความ

ต้องการในลักษณะงานที่เป็น Low skill หรือ High skill ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้การบริการของ

โทรศัพท์ เช่น ระบบโทรสาร (Fax) การสื่อสารด้วยเสียง (Voice-mail) ไปรษณีย์อีเลกโทรนิกส์

(Electronic mail) อุปกรณ์เหล่านี้สามารถใช้ในงานที่เรียกว่า Teleconferencing สามารถใช้ทรัพยากร

ร่วมกันทำ งานร่วมกันเป็นกลุ่ม ใช้ในงาน Electronic Data Interchange ใช้ในการทำ งานเคลื่อนที่ที่เรียก

ว่า Telecommuting หรือ Mobile workspaces หรือ Virtual offices งานที่ใช้ยังมีอีกมาก เช่นการบริการ

วิจัยในระบบ Online เกทส์ บริการการเดินทาง และ Teleshoppings ระบบงานดังที่กล่าวมาแล้วนั้นยัง

สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) ในอนาคตความก้าวหน้าของการสื่อสารทำ ให้เรา

สามารถใช้ระบบโทรทัศน์เป็นแบบ Interactive TV หรือ Video ผ่าน Set top boxes , Picture phones

และ TV/PCs

ตัวส่ง ตัวรับ

ตัวกลาง

7 - 6

ระบบโทรทัศน์ เป็นอุปกรณ์สื่อสาร แต่อยู่ในลักษณะ Low skill tool นั้นคือ ผู้ใช้ส่วนมากจะ

เป็นผู้รับด้านเดียว โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ Music CD เป็นการสื่อสารด้านเดียวเราเรียกว่า

Mass Media ระบบโทรศัพท์เราใช้กันมากแต่ก็ยังจัดอยู่ในกลุ่มของ Low skill tool การเชื่อมต่อไมโคร

คอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย ประชาชนยังใช้น้อย การส่งข้อมูลเป็นแบบ 2 ทิศทาง คือจะนำ คอมพิวเตอร์

มาเชื่อมต่อโดยผ่านสายสื่อสารไปยยังแหล่งข่าวสารอื่นๆ ที่เราเรียกว่า Connectivity

ชนิดของการสื่อสารและการเชื่อมต่อ (Communications และ Connectivity) เราจะต้องพิจารณา

ความเป็นไปได้ที่จะทำ ให้ Low skill เป็น High skill ดังนั้นเราจะต้องศึกษาความสัมพันธ์เพื่อที่ต้องการ

อบรมการใช้งานให้เข้าใจดีพอในการใช้งาน กับกิจกรรมที่เป็น High skill ดังนี้

โทรศัพท์กับการบริการสื่อสาร

การบริการที่ผ่านการเชื่อมต่อระบบโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นแบบใช้สาย หรือแบบไร้สาย จะมี

การทำ งานดังต่อไปนี้

- Fax message : เป็นอุปกรณ์ในการรับส่งโทรสาร หรือเรียกว่า Facsimile transmission or

Reproduction ชนิดของแฟกซ์มี 2 ชนิด คือ Dedicated fax หรือ Fax modem. Didicated fax คือ

อุปกรณ์ชนิดพิเศษที่ทำ หน้าที่ในการรับส่งเอกสารผ่านระบบสื่อสารจากอุปกรณ์เครื่องแฟกซ์อื่นๆ ส่วน

Fax modem เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ทำ หน้าที่เป็นโมเด็มกับแฟกซ์ มีความ

สามารถในการส่งสัญญาณได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ไปยัง Fax อื่นๆ หรือไปยัง Fax modem

- Voice mail : การทำ งานเหมือนกับระบบโทรศัพท์ สัญญาณที่รับเข้าเป็นสัญญาณข่าวสารใน

รูปดิจิตอล และมีการจัดเก็บไว้ใน Mail box ในรูปดิจิตอล ถ้ามีการค้นคืนหรือเรียกใช้ Voice mail จาก

Mail box จะมีการเปลี่ยนเป็นสัญญาณเสียง

- E-Mail : หรือ Electronic mail เป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์โดยผ่ายสายสื่อสาร หรือ

แบบไร้สาย การส่งข้อมูลจะส่งทางคีย์บอร์ดไปยังตู้ไปรษณีย์ และสามารถอ่านข้อมูลจากจากจอภาพ แต่

การเรียกอ่านข้อมูลของ E-mail จะต้องมีรหัสผ่าน (Password)

7 - 7

การประชุมทางไกล (Teleconferencing)

Teleconferencing คือการประชุมระยะไกลของกลุ่มบุคคลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เชื่อต่อ

ระบบผ่านอุปกรณ์ระบบสื่อสาร เช่นโทรศัพท์ โทรทัศน์ หรือ คอมพิวเตอร์ Teleconferencing แบ่งออก

เป็น 5 ชนิด คือ Audio ,Video ,Computer และ Document หรือแบบใหม่ล่าสุดคือ Personal video

conferencing.

- Audio Conferencing : คือการประชุมระหว่างบุคคลที่อยู่ในสถานที่ห่างไกล โดยการใช้

โทรศัพท์ การประชุมแบบนี้ง่ายต่อการใช้งาน เพียงใช้ระบบโทรศัพท์ติดต่อกัน 2 คน หรือการใช้

โทรศัพท์เป็นกลุ่มก็ได้

- Video teleconferencing : ปกติเรียกว่า Video Conferencing อุปกรณืที่ใช้จะมี กล้องถ่ายภาพ

จอภาพ ตามสถานที่ประชุมเพื่อต้องการเห็นภาพและได้ยินเสียงขณะกำ ลังประชุม การใช้งานจะต้องมี

ห้องทำ งานของ Video conference เป็นพิเศษ

รูปที่ 7.3 การประชุมทางไกลระบบ Video Conference

- Computer Teleconferencing จะใช้คีย์บอร์ดในการส่งข้อมูลระหว่างผู้ใช้ หรือมีการเชื่อมต่อ

เทอร์มินอล ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

- Document conferencing เป็นการประชุมระยะไกลไม่เพียงแต่เห็นภาพและได้ยินเสียงยังเห็น

เอกสารที่เป็นตัวหนังสือหรือเป็นเอกสารกราฟฟิคในเวลาเดียวกัน ทำ ให้เราเห็นว่าระบบนี้สามารถส่ง

เอกสารถึงกันได้

7 - 8

- Personal video conferencing : เป็นการพัฒนาระบบที่ใหม่ที่สุด หรือเรียกว่า Desktop video

conferencing ประกอบด้วย Video conferencing กับคอมพิวเตอร์ และ เอกสารที่สำ หรับใช้ในการ

ประชุม โดยที่ผู้ใช้นั่งอยู่กับไมโครคอมพิวเตอร์และเชื่อต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสายโทรศัพท์ที่

เรียกว่า ISDN ซึ่ง ISDN เป็นระบบเครือข่ายดิจิตอลเรียกว่า Integrated Services Digital Network. การ

ทำ งานแบบนี้เป็นการทำ งานหรือการประชุมแบบ 2 ทิศทาง (Two way voice)

การเชื่อมต่อเครือข่าย

ถ้าเรานำ ระบบไมโครคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน ซึ่งแต่ละเครื่องเป็นเครื่องมือช่วยในการ

คำสำคัญ (Tags): #techno
หมายเลขบันทึก: 108613เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2007 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท