เรื่องเล่า...จากเพื่อนชาวตลาดนัดฯ ครั้งที่ ๒


แก้ปัญหาเรื่องยาโดยให้ตลับยา Unit dose ของโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลับ ๒ สี คือสีฟ้าเป็นยาที่ทานก่อนอาหาร สีชมพูทานหลังอาหาร

          หลังจากที่ได้สอนสมาชิกตลาดนัดฯ ครั้งที่ ๒ ทำบล็อกไปแล้วนั้น ดิฉันก็พยายามแวะเวียนไปเยี่ยมชมชุมชนบล็อกเบาหวานดูว่ามีสมาชิกท่านใดเอาเรื่องเล่าของทีมตนเองมาลงบ้าง ก็พบว่ามีบ้างเล็กน้อย เมื่อโทรไปสอบถามก็พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาทางด้านคอมพิวเตอร์ (ใช้คอมพิวเตอร์ในเวลางานไม่ได้, สัญญาณ Internet ไม่ดี) เมื่อดิฉันรอดูไปสักระยะ ก็พบว่ายังไม่ค่อยมีใครนำเรื่องเล่าที่ดีๆ ของโรงพยาบาลตนเองมาลง ดังนั้นดิฉันจึงขอถือวิสาสะหยิบเอาเรื่องเล่าที่สมาชิกส่งให้เครือข่ายฯ ตอนมาร่วมงานตลาดนัดครั้งที่ ๒ มาลงในบล็อกนี้ให้เพื่อนสมาชิกทั้งเก่าและใหม่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ วิธีการดีๆ ของแต่ละโรงพยาบาล ไปเยี่ยมชนกันเลยค่ะ

บันทึกโดย: สุภาพรรณ ตันติภาสวศิน

การบริหารยา สำหรับผู้ป่วยที่อ่านหนังสือไม่ออก

     ผู้ป่วยหญิงคู่ อายุ ๗๕ ปี มีโรคประจำตัวคือ Unstable angina, COPD, HT และ DM รับการรักษาทั้งที่สถานีอนามัยใกล้บ้าน โรงพยาบาลตาคลีและโรงพยาบาลศูนย์ ผู้ป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูงมานานกว่า ๑๐ ปี รักษาที่สถานีอนามัยบ้าง โรงพยาบาลบ้างตามแต่จะพาไปรักษากันได้ ปัญหาของผู้ป่วยก็คือผู้ป่วยอายุมาก ไม่สามารถอ่านหนังสือได้เลย ลูกสาวที่อยู่ด้วยและทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วยก็ไม่สามารถอ่านหนังสือได้เช่นกัน แต่ทั้งคู่ก็พยายามในการรักษาโรคของผู้ป่วยเท่าที่จะทำได้ โดยตัวผู้ป่วยเองก็พยายามที่จะรับประทานยาที่ได้อย่างสม่ำเสมอ ลูกสาวก็ดูแลในเรื่องการจัดยา จัดยาผิดเพราะอ่านหนังสือไม่ออก ทำให้บางครั้งรับประทานยาเบาหวานไม่ครบมื้อ หรือรับประทานยาลดความดันเกินกว่าที่แพทย์สั่งทำให้ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี อีกปัญหาหนึ่งที่พบก็คือผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาพ่นขยายหลอดลมได้เพราะไม่มีแรงกดยา

     ตอนที่เข้าไปดูแลผู้ป่วยรายนี้เป็นตอนที่ส่งกลับมาจากโรงพยาบาลศูนย์ มียากลับมาหลายรายการ และมีจำนวนมาก ตอนที่นำส่งยากลับบ้าน (Discharge counseling) จึงอธิบายเกี่ยวกับโรคที่ผู้ป่วยเป็นและยากลับบ้าน โดยแก้ปัญหาเรื่องยาโดยให้ตลับยา Unit dose ของโรงพยาบาลซึ่งเป็นตลับ ๒ สี คือสีฟ้าเป็นยาที่ทานก่อนอาหาร สีชมพูทานหลังอาหาร จัดยาเป็นตัวอย่างให้ดูว่าก่อนอาหารและหลังอาหารต้องทานยาที่มีลักษณะอย่างไรบ้าง จำนวนกี่เม็ดและให้ตลับเปล่าไปสำหรับจัดยาตามตัวอย่าง สอบทวนความเข้าใจของลูกสาวที่จะเป็นคนจัดยาว่าเวลาใดต้องจัดยาอะไร จำนวนเท่าไรอีกครั้งเพื่อที่จะประเมินก่อนที่ผู้ป่วยจะกลับบ้านว่าจะสามารถกลับไปใช้ยาต่อที่บ้านได้หรือไม่ สำหรับเรื่องการใช้ยาพ่นนั้นได้อธิบายและสอนวิธีการใช้ยาพ่น รวมทั้งให้ผู้ป่วยฝึกปฏิบัติจนกว่าจะทำได้

     หลังจากที่อธิบายแล้วผู้ป่วยและญาติมีความเข้าใจในยาที่จะต้องกลับไปใช้ต่อที่บ้านมากขึ้น มีโอกาสที่จะจัดยาได้ถูกต้องมากขึ้น ผู้ป่วยและญาติเองก็สะดวกมากขึ้น จากที่อ่านหน้าซองยาไม่ออกว่ายาอะไร ต้องรบประทานยาเท่าไร ทำให้จัดยาผิดและรับประทานยาผิดเพราะอ่านหนังสือไม่ออกก็สามารถจัดยา รับประทานยาได้ง่ายขึ้น การพ่นยาด้วยตนเองทำได้ดีขึ้นแต่จะถูกต้องทั้งหมดหรือไม่ ระดับน้ำตาลของผู้ป่วยจะดีขึ้นขนาดไหนก็ต้องติดตามครั้งต่อไปที่ผู้ป่วยมา Follow up ที่มีความประทับใจในผู้ป่วยก็เพราะถึงแม้ผู้ป่วยและญาติจะมีปัญหาและปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถใช้ยาได้อย่างถูกต้อง แต่ก็มีความสนใจและตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกับทีมผู้ให้การรักษาเป็นอย่างดี

รายการยาที่ผู้ป่วยต้องกลับไปใช้ต่อที่บ้านมีดังนี้

๑. Isosorbide (๑๐) ๑x๓ ac

๓. Metformin (๕๐๐) ๑x๒ pc

๕. ASA (๓๐๐) ๑x๑ pc

๗. Thephyline (๒๐๐) ?x๒ pc

๙. Prednisolone (๕) ๒x๓ pc

๒. Amlodipine (๕) ๒x๑ pc

๔. Enalapril (๕) ๑x๒ pc

๖. Simvastatin (๑๐) ๒ hr.

๘. Beradual MDI ๒ puff pm.

 

เล่าเรื่องโดย: วลีรัตน์ เอี่ยมคง

                   เภสัชกร โรงพยาบาลตาคลี

หมายเลขบันทึก: 10704เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2005 09:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท