ประชุมคณะทำงานจัดการความรู้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านนครศรีธรรมราช


เมื่อวานมีการประชุมโครงการจัดการความรู้เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านนำร่อง 3 ตำบลที่สนง.พัฒนาชุมชน นครศรีธรรมราช ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย
1)ทีมจนท.พัฒนาชุมชน 5 คน
2)กศน. 1 คน
3)พอช. 3 คน
4)ธกส. 1 คน
5)สหกรณ์จังหวัด 1 คน
6)มวล. 3 คน
7)กำนันและอบต.ท่าไร่ 1 คน (กำนันหญิง สามีเป็นนายกอบต.)
8)จนท.พัฒนาอบต.บางจาก 1 คน
9)ตัวแทนกำนันต.มะม่วง 2 ต้น 1 คน
10) กำนันต.บางจาก 1 คน
11)นักศึกษาป.เอกนิด้าทำวิทยานิพนธ์เรื่องการเงินฐานราก 2 คน
รวม 20 คน

     

 

ประเด็นหารือมี 2 เรื่องคือ
1.การจัดโครงสร้างคณะทำงานและ
2.แผนการดำเนินงานโครงการ

ความเป็นมาตามที่เคยเล่าแล้วว่า หน่วยงาน 9 หน่วยได้ร่วมกันทำโครงการนำร่องจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน 3 กลุ่ม/3ตำบล จากนั้นได้ขอการสนับสนุนงบโครงการบูรณาการ(ซีอีโอ)จากผู้ว่าราชการจังหวัดและจังหวัดได้อนุมัติงบให้ตามที่เสนอ พวกเราจึงได้นัดหารือกัน
ในฐานะที่ผมเป็นตัวตั้งตัวตีชักชวนหน่วยต่าง ๆมาร่วมกันทำโครงการนี้ ผมเห็นว่าเมื่อผู้ว่าอนุมัติงบให้แล้ว ควรจัดโครงสร้างคณะทำงานให้หน่วยงานหลักคือสนง.พัฒนาชุมชนเป็นCKO(คุณเอื้อ)โดยเชิญหน่วยปกครองท้องที่และท้องถิ่นมาร่วมด้วยเพิ่อจะได้จีบให้เป็นCKOพื้นที่ และผมจะได้ถอยมาเป็นหน่วยสนับสนุนการจัดการความรู้อย่างเดียว
แต่เมื่อประชุมกัน ผมพบว่า
1)พวกเราที่มาร่วมเป็นตัวแทนของแต่ละหน่วยงานยังเข้าใจวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินโครงการไม่เท่ากัน คือมีคนใหม่เข้ามาด้วย ผมจึงต้องเล่าความเป็นมา และนำเสนอแนวคิดการจัดการความรู้ด้วยแบบจำลองปลาตะเพียนว่ายน้ำ
ซึ่งก็ช่วยให้ผู้เข้าร่วมประชุมหน้าใหม่เข้าใจมากขึ้น (แต่ก็ทำเอาเหนื่อยเหมือนกัน)
2)พวกเราอยากให้มวล.โดยทีมของผมเป็นCKOร่วมกับพช.เพราะเป็นตัวหลักในการคิดและดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้น
ทีมมวล.นั้นขาดไม่ได้ เพราะพรรคพวกยังงง ๆกับกระบวนการจัดการความรู้ สำหรับทีมพช.นั้นเป็นหน่วยตั้งเบิกงบประมาณย่อมต้องเป็นหลักในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการทางนิตินัย
3)พวกเราหลายคนเพิ่งรู้ว่าการเบิกจ่ายงบประมาณซีอีโอยุ่งยากมาก ดูแล้วเป็นการพิจารณารายกิจกรรมมากกว่ามุ่งผลสัมฤทธ์ตามที่ว่าไว้ ทำให้การจัดการความรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมเชิงนวัตกรรมรู้สึกติดขัดไปหมด แต่ก็อาจจะไม่เป็นดังนั้นก็ได้ อันนี้ต้องเรียนรู้กันต่อไป (กรณีนี้เป็นประเด็นวิจัยตามแบบจำลองปลาตะเพียนว่ายน้ำในส่วนที่เป็นทิศทางและกระแสน้ำ)
4)ผมเสนอว่าโครงการนี้จะมีวงเรียนรู้หลัก 3 วงคือ1.วงคุณเอื้อ(หน่วยงานที่รับผิดชอบ)2.วงคุณอำนวย 3.วงคุณกิจ ในแต่ละวงต้องเป็นการเรียนรู้ ไม่ใช่มาเพื่อทราบเพื่อพิจารณาแบบคณะกรรมการ แต่ควรจะมีเป้าหมายของหน่วยงานในการร่วมทำโครงการนี้ (ข้อนี้ถือว่ายังไม่เกิดขึ้น เพราะหลายหน่วยงานยังไม่ได้ตระหนักจากภายใน ผมไปกระตุ้น ผลักดันเป็นส่วนใหญ่ ภาระจึงตกเป็นของผม แต่ในส่วนบุคคลนั้น หลายคนที่มาร่วมต่อเนื่องรู้สึกว่าน่าสนใจ และบอกว่ามีประโยชน์ในการนำไปใช้กับแผนงานหลักของตนเอง) และในแต่ละวงต้องจัดการเรียนรู้เพื่อไปให้ถึง
5)ผมละวงคุณเอื้อไว้ก่อน ในโครงการระบุว่าจะมีคุณอำนวยตำบลละ 3 คน ที่ประชุมได้สมัครและเสนอชื่อคุณอำนวยจนครบทั้ง 9 คน นัดประชุมวงคุณอำนวย 9 คน วันที่ 25 ก.ค.นี้ที่สนง.พช.เช่นเดิม โดยวันที่ 26  จะลงพื้นที่เวทีคุณกิจ 3 กลุ่ม/ตำบลที่ดำเนินการค้างอยู่ โดยทีมงานเสนอว่า จะใช้เวทีเรียนรู้วันที่ 26 คุยการดำเนินโครงการขยายทั้งตำบลนี้ด้วย รายละเอียดเป็นอย่างไร ไว้หารือกันวันที่ 25 เวลา 13.00 น.
6)ผมเสนอว่างานจัดการ เชิงประสาน เตรียมกระบวนการและสรุปผลน่าจะมีคนมาช่วยมวล.และพช.ก็มีคนอาสาจากองค์กรชุมชนจากส่วนงานพอช.คือน้องซาบีอาและเสาวลักษณ์ คนอื่น ๆจากหน่วยงานส่วนใหญ่มีงานล้นมือ
7)ผมพบว่า ความรู้ ประสบการณ์ ความตั้งใจของพวกเราไม่ต่างกันมากนัก แต่ต่างวัฒนธรรมการทำงานซึ่งผูกโยงกับงานประจำและระเบียบ ซึ่งการทำงานร่วมกันทำให้เห็นข้อเด่นและข้อจำกัดเหล่านี้ ผมคิดว่า งานวิจัยจัดการความรู้ ส่วนหนึ่งลงลึกภาคปฏิบัติ ขณะที่ส่วนหนึ่งมองเชิงระบบ เปรียบดังแบบจำลองปลาตะเพียนว่ายน้ำ การลงลึกเชิงปฏิบัติการจัดการความรู้ก็เพื่อเสริมให้ส่วนหางแข็งแรงขึ้นว่ายไปยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ ขณะเดียวกันก็สร้างความเข้าใจเพื่อปรับเปลี่ยนนโยบาย กฏหมาย ระบบและกลไกสนับสนุนซึ่งเปรียบเหมือนกระแสน้ำ ให้หนุนช่วยทิศทางการว่ายของปลาตะเพียน ซึ่งต้องทำทั้ง 2 อย่างควบคู่กันไป

พวกเราเลิกประชุมประมาณ 15.20 น.ด้วยความอ่อนล้า แต่กระตือรือร้นและมีความหวังความตั้งใจในการพบปะเตรียมการในเวทีคุณอำนวยในวันที่ 25 ก.ค.

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 1066เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2005 10:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท