ความหมายของความดันโลหิดสูง


ความหมายของความดันโลหิดสูง

ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการเสื่อมสภาพของอวัยวะต่างๆ และมีความสัมพันธ์กับภาวะ
หลอดเลือดแดงแข็ง ในปัจจุบันมีการจัดการดูแลโรคความดันโลหิตสูง หลายโปรแกรมทำให้อุบัติการ
ของโรคความดันโลหิตสูงลดลง และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรคของหลอดเลือดหัวใจ ลดลงในช่วง
ทศวรรษที่ผ่านมา การเพิ่มบทบาทดูแลทางด้านการรักษาโดยไม่ใช้ยา บทบาทหนึ่งนั่นคือ การจัดการ
ทางด้านโภชนาการในการป้องกันและ รักษาโรคความดันโลหิตสูงและโรคอื่นที่เกี่ยวข้อง

1.
ความหมายและการจำแนก

ความดันโลหิตสูง คือ ค่าความดันโลหิตที่สูงกว่าปกติ แบ่งออกเป็น 4 ระดับตาม Joint National Committee,1993

ความดันซิสโตลิก (Systolic) เกี่ยวข้องกับปริมาณเลือดในหัวใจ  ส่วน
ความดันไดแอสโตลิก (Diastolic) เกี่ยวข้องกับความต้านทานของหลอดเลือด 
ประมาณกันว่าชาวอเมริกันเป็นโรคความดันโลหิตสูง 10 ถึง 20% และเป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบ
สาเหตุ (essential hypertension) ในกลุ่มที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงประเภทนี้อยู่ในระดับระยะที่
ร้อยละ 68 การจัดการให้มีแผนการรักษาทำให้อุบัติการของโรคลดต่ำลงในเวลาต่อมา ความดันโลหิตสูงที่ทราบสาเหตุ (secondary hypertension) มีประมาณ 6 ถึง 8% ของประชากร
ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นโรคอื่น เช่น โรคของต่อมไร้ท่อ โรคของตับ โรคของไต

2.
สรีรวิทยา (Physiology)

ระดับความดันโลหิต เกิดขึ้นโดยแรงดันเลือดจากหัวใจเข้าสู่หลอดเลือดแดง ปริมาณของของเหลวในระบบหลอดเลือด (ซึ่งขึ้นกับความเข้มข้นของโซเดียมในเลือด) และความต้านทานของกล้ามเนื้อของผนังหลอดเลือด 
กลไกที่มีปฏิกิริยาต่อการควบคุมระดับความดันเลือดให้อยู่ในระดับปกติ ได้แก่ ไต คือมีการหลั่งฮอร์โมน การปรับความสมดุลของน้ำและการขับโซเดียม และระบบประสาทอัตโนมัติ (sympathetic nervous system,SNS) เมื่อหน้าที่เหล่านี้สูญเสียความควบคุมจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง 
ความดันโลหิตสูง เกิดจากการที่หลอดเลือดแดงแคบเล็กลง หรือการหดตัวของหลอดเลือดเล็กๆ ทั่วร่างกาย การที่หลอดเลือดแดงแคบเล็กลงหรือหดตัวนั้นจะทำให้เลือด ที่จะไปเลี้ยงร่างกายผ่านหลอดเลือดดังกล่าวได้ช้าและน้อยลง ทำให้หัวใจต้องสูบฉีดเลือดแรงขึ้นเพื่อที่จะได้มีเลือด ไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิด congestive heart failure ความดันโลหิตสูงเป็นตัวเร่งให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดง แข็งตัวโดยผนังหลอดเลือดแดงอ่อนแอลง เนื่องจากแรงดันที่เพิ่มขึ้นเพื่อพยายามให้เลือดไหลผ่าน หลอดเลือดที่มีสิ่งมาเกาะตามผนัง เช่น ไขมัน และสิ่งอื่น 

ด้วยเหตุผลที่ว่าความดันโลหิตสูงมีความสัมพันธ์กับภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง 
ความดันโลหิตจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดในสมอง (stroke) โรคไตและโรคของหลอดเลือดของหัวใจ

 จากการศึกษาของ Framingham แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
 
มีโอกาส เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ 3 - 4 เท่า และโรคหลอดเลือดของสมอง 7 เท่า  
 
เมื่อเทียบกับผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ 
 
ความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 สำหรับความดันโลหิตที่
 
เพิ่มขึ้นทุกๆ 10 มม.ปรอท

 

คำสำคัญ (Tags): #ความหมาย
หมายเลขบันทึก: 105732เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 20:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท