บุคคลในอุดมคติ


คือพระอรหันต์ ผู้บรรลุนิพพานซึ่งเป็นความดีสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นจุดมุ่งหมายของชีวิตมนุษย์ การบำเพ็ญบุญกุศลต่าง ๆ เพื่อจุดหมายสูงสุดคือนิพพาน
 ถือว่าเป็นจุดสิ้นสุดของสังสารวัฏ (การเวียนว่ายตายเกิด) นิพพาน คือความดับสิ้นแห่งกิเลสทั้งมวล
 คำว่านิพพานนี้ มีใช้มาก่อนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า แต่ใช้ในความหมายอื่น ดั่งเช่นคำอุทาน
 ของพระนางกีสาโคตมี เมื่อได้ดูลักษณะของเจ้าชายสิทธัตถะว่า

  "นิพฺพุตา นูน สา มาตา นิพฺพุโต นูน โส ปิตา
นิพฺพุตา นูน สา นารี ยสฺสายํ อีทิโส ปตี"

 "พระกุมารนี้ ผู้เช่นนี้ เป็นบุตรของมารดาใด มารดานั้น ดับเย็นแล้วแน่แท้
 เป็นบุตรของบิดาใด บิดานั้น ดับเย็นแล้วแน่แท้ เป็นพระสวามีของสตรีใด
 สตรีนั้น ดับเย็นแล้วแน่แท้" (เตปิฏกฏฺฐกถา, 2535:17/86)

 คำว่า นิพพาน โดยพยัญชนะหรือตามอักษร นิพพาน มาจาก นิ + วาน (นิ อุปสรรค
 แปลว่า ออกไป หมดไป ไม่มี เลิก วาน แปลว่า พัด ไป หรือเป็นไปบ้าง เครื่องร้อยรัดบ้าง)
 ใช้เป็นกิริยาของไฟ หรือการดับไฟ หรือของที่ร้อนเพราะไฟ แปลว่า ดับไฟ หรือดับร้อน หมายถึง
 หายร้อน เย็นลง หรือเย็นสนิท (แต่ไม่ใช่ดับสูญ) แสดงภาวะทางจิตใจหมายถึงเย็นใจ สดชื่น ชุ่มชื่นใจ
 ดับความร้อนใจ หายร้อนรน ไม่มีความกระวนกระวาย หรือแปลว่า เป็นเครื่องดับกิเลส หรือทำให้ราคะ
 โทสะ โมหะ หมดสิ้นไป ในคัมภีร์รุ่นรองและอรรถกกถาฎีกาส่วนมากนิยมแปลว่า ไม่มีตัณหาเครื่อง
 ร้อยรัด หรือออกไปแล้วจากตัณหาที่เป็นเครื่องร้อยติดไว้กับภพ (พระธรรมปิฎก, 2542:261)
 เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เห็นว่าคำว่า นิพพาน เป็นคำที่สามารถใช้เรียกแทน
 ธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุหรือเป็นนามบัญญัติ แต่ก็ยังมีคำอื่น ๆ ใช้แทนกันได้ (ไวพจน์) เช่น วิราคะ
 ความมีราคะไปปราศแล้ว ตัณหักขยะ ความสิ้นไปแห่งตัณหา มทนิมมทนะ ความบรรเทาความมัวเมา
 ปิปาสาวินยะ การนำออกไปเสียได้ซึ่งความกระหาย เป็นต้น ท่าน พุทธทาสภิกขุ (2542 : 3, 22-23) กล่าวว่า

 "นิพพานคือสภาพชนิดหนึ่งซึ่งเป็นตัวความบริสุทธิ์
 ความว่าง ความเบา ความสุขอันแท้จริง ความชุ่มชื่น เยือกเย็น ฯลฯ
 อยางสุดยอด เป็นสภาพซึ่งแม้จะพูดว่ามีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวงก็น้อยไป
 เพราะเป็นสภาพ ที่เป็นอยู่เช่นนั้นโดยตัวเองตลอดกาล"
 
 "นิพพานนั้น ก็คือสภาพอันเป็นความดับสนิทแห่ง
 ความเร่าร้อน เผาลน, ความเสียดแทงยอกตำ, และความผูกพันร้อยรัด
 ของมนุษย์ในทางจิต กิริยาที่ความเร่าร้อนเป็นต้นเหล่านั้น
 ดับลงนั้นคือกิริยาที่ลุถึงความสิ้นกิเลส หรือลุถึงนิพพาน เรียกว่า
 การนิพพาน"
หมายเลขบันทึก: 105725เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 19:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์...วรรธนชัย ๏(。◕‿◕。)๏ ♫ ♬ ♪ ♩ ♭

  • ครูอ้อยมากับสายฝน  แวะมาทักทายค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ...บันทึกที่ดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท