ประวัติความเป็นมาของเศรษฐศาสตร์อิสลาม


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์อิสลาม
๑. ประวัติความเป็นมาเศรษฐศาสตร์อิสลามในยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ที่เรากำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้ ได้ทำให้เวทีบนโลกใบนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากวันหนึ่งไปอีกวันหนึ่ง จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังการล้มสลายของระบบการรวมอำนาจของส่วนกลางในสหภาพโซเวียต ซึ่งได้ทำให้นักทุนนิยมบางคนมองว่านี่คือวันสิ้นสุดของประวัติศาสตร์  “the end of history” ถ้าหากว่าระบบสังคมนิยมได้ล้มสลายลงด้วยกาลเวลาที่บ่งบอกถึงความไม่ยุติธรรมในระบบไม่ใช่สิ่งที่แปลกหากว่าทุนนิยมจะต้องเผชิญชะตากรรมเดียวกับระบบที่ผ่านมา การที่ระบบสังคมนิยมได้ล้มสลายจะหมายความว่าผู้คนอีกซีกหนึ่งจะมาในระบบทุนนิยมกระนั้นหรือ คำตอบก็คือหาใช่ไม่ ในขณะเดียวกัน ผู้คนอีกหลายคนกำลังแสวงหาระบบใหม่ที่เข้ามาทดแทนระบบเก่าที่ได้ล้มสลายไปผู้คนอีกหลายคนรวมถึงอุมมัต (ประชาชาติ) อิสลามยังมองข้ามระบบอิสลาม ซึ่งเป็นระบบเดียวเท่านั้นที่อัลลอฮฺ (ผู้ทรงสร้าง) ได้ยินยอมและเคยได้ทดลองใช้ตั้งแต่สมัยของท่านรอซูลจนถึงสมัยคอลีฟะฮฺอุสมานีที่ตุรกีระบบเศรษฐกิจแบบอิสลามเป็นระบบที่เกิดขึ้นมาจากความเข้าใจที่ว่าอิสลามคือศาสนาที่เป็นสากลจักรวาลและครบวงจรในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าด้านปัจเจกบุคคล ครอบครัว สังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ หรือด้านใดก็ตาม ไม่ว่าจะโดยตรงหรือทางอ้อมที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อิสลามมีคำตอบให้ระบบอิสลามเป็นระบบที่สร้างโดยผู้ทรงสร้างมนุษย์ที่ใช้ชีวิตอยู่บนโลกนี้ และสร้างแผ่นดินและเวลาให้มนุษย์ได้เคลื่อนไหว ระบบนี้เป็นระบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับมนุษย์ อิสลามจะให้ความสำคัญในทุกๆ ด้านของการดำเนินชีวิต จะมองว่าชีวิตของมนุษย์ในทุกด้านนั้นคือความเป็นเอกภาพ ด้วยเหตุนั้นอิสลามจึงไม่มีคำว่า ความเกินไปหรือความรุนแรง (Exstrim)อิสลามได้ให้ความสำคัญต่อด้านเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าในอัลกุรอ่านจะมีอยู่หลายอายาตที่พูดถึงปัญหาทางเศรษฐกิจ ได้ว่าจะเป็นสมัยมักกะฮ์หรือมาดีนะห์ก็ตาม และก็เช่นกันในสุนนะห์ของท่านรอซูล (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ไม่ว่าจะในฮาดีษเกาลียะห์ (คำพูด) เฟียะลียะห์ (การกระทำ) หรือตักรีรียะห์ (การเห็นด้วย) ก็ตาม หรือจะดูจากการก่อสร้างสังคมมุสลิมหรืออารยธรรมอิสลามจะพบเจอฮาดีษที่พูดถึงเรื่องนี้อย่างละเอียดนอกจากอัลกุรอ่าน และอัลฮาดีษได้ให้ความสำคัญต่อด้านเศรษฐกิจแล้ว ยังพลักดันให้นักอูลามาอฺ (นักวิชาการอิสลาม) ได้ค้นคว้าอย่างลึกซึ้งด้วย ซึ่งเราจะเจอในงานเขียนของเขาเหล่านั้นที่พูดถึงเรื่องเศรษฐกิจ ในยุคปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคการฟื้นฟูอิสลาม เราจะเจอนักคิดและนักวิชาการมากมายในโลกอิสลามที่ให้ความสำคัญอย่างจริงจังในด้านนี้.ถ้าเราเรียบเรียงความเป็นมาอย่างเป็นระบบในเชิงประวัติศาสตร์ เราจะสามารถเข้าใจเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น ตั้งแต่สมัยของการลงวะห์ยูจนถึงยุคปัจจุบัน สมัยของวะห์ยูที่หมายถึงสมัยวะห์ยูก็คือช่วงของอัลกุรอ่านและอัสซุนนะห์ที่ถูกดำเนินใช้ในช่วงที่ท่านนบีมูฮำหมัด (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ยังคงมีชีวิตอยู่นักอูลามะอฺอูศูลุลฟิกฮ์ได้ให้คำนิยามว่า“อัลกุรอ่าน คือ กาลาม (คำพูด) ที่เป็นมุอ์ยีซัต ที่ลงให้กับท่านนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ที่ถูกเขียนบนมัซฮับ ที่มีการรายงานแบบมุตาวาตีร (โดยหลายๆ คน) ที่มีการอ่านเป็นอิบาดะห์ส่วนอัสสุนนะห์ได้ให้คำนิยามว่า :“อัสสุนนะห์ คือทุกอย่างที่มาจากนบีมูฮัมหมัด (ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ไม่ว่าจะเป็นการพูด (เกาลี) การกระทำ (เฟียะลี) หรือการยอมรับ (ตักรีร)”อัลกรุอ่านและอัสสุนนะห์คือ แหล่งที่มาของบทคำสอนอิสลาม เนื้อหาที่มีอยู่ในทั้งสองคือ บทเรียนให้กับมนุษยชาติในการดำเนินชีวิตเศรษฐกิจอิสลาม คือส่วนหนึ่งที่สำคัญในการดำเนินชีวิต ดังนั้นอัลกุรอ่านและอัลฮาดีษจึงเป็นแหล่งสำคัญในเรื่องดังกล่าวด้วยวิทยญาณ (ฮิกมะห์) บางประการอัลกุรอ่านมิได้ลงมาทีเดียวให้กับมนุษยชาติ จะลงมาเป็นเรื่อยๆ ตามการพัฒนาของสังคมมุสลิมที่อยู่ใต้การดูแลของวะห์ยูจากท้องฟ้า ใช้เวลาของการเป็นรอซูลอยู่ 22 ปี 2 เดือน 22 วัน ประวัติการดำเนินชีวิตของสังคมมุสลิมในช่วงดังกล่าวโดยรวมจะแบ่งเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงมักกะห์และมาดีนะห์ในช่วงดังกล่าวจะเป็นช่วงของการลงอายาตอัลกุรอ่าน ซูเราะห์มักกียะห์ และซูเราะห์มาดานียะห์ ทุกอายาตที่ลงในระยะเวลา 13 ปี หรือก่อนการฮิจญเราะห์เรียกว่า ซูเราะห์มักกียะห์ และซูเราะห์ลงหลังจากอิจญเราะห์ เรียกว่า ซูเราะห์มาดานียะห์อายาตมักกียะห์จะเป็นอายาตที่ให้มุมมองเกี่ยวกับพื้นฐานการดำเนินชีวิตของมนุษย์ จะพูดถึงเรื่องของพระเจ้า มนุษย์ โลกจักรวาล และการดำเนินชีวิต อัลกุรอ่านพูดถึงเรื่องพระเจ้าเป็นความเอกะของอัลลอฮฺ (เตาฮีต) พื้นฐานทางด้านอากีดะห์ และความอีหม่าน (ศรัทธา) ของมนุษย์มุสลิม อัลกุรอานพูดถึงเรื่องการสร้างมนุษย์ เป็นการแสดงถึงการมาของมนุษย์ยังโลกดุนยา ความจริงของการมีชีวิต เป้าหมายของชีวิต และจะดำเนินชีวิตอย่างไร อัลกุรอานได้พูดถึงเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (โลกจักรวาล) เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ อัลกุรอ่านได้พูดถึงเรื่องทั้งหมด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเอกภาพของระบบอิสลามสิบสามปีได้ผ่านพ้นไป เมื่อท่านรอซูลพร้อมกับศอฮาบะห์ (สาวก) ได้อพยพไปยังนครมาดีนะห์ ก็เป็นการเปิดฉากใหม่ของการดะห์วะห์อิสลาม ในที่นี้พวกเขาเป็นกลุ่มสังคม และมีโครงสร้างทางการเมือง พร้อมกับมีเครือข่ายทางสังคม อายาตอัลกุรอ่านที่ได้ลงมาในช่วงมักกะห์ได้สร้างหลักความคิดรวบยอดให้กับมุสลิม และก็มาใช้ชีวิตอยู่ในมาดีนะห์ ด้วยเหตุนั้นอายาตต่างๆ ที่ลงในช่วงนี้ได้เกี่ยวกับกฎหมายรายละเอียดจากหลักการโดยรวมที่ลงในช่วงของมักกะห์เป็นที่เข้าใจ ณ ตรานี้ก็คือว่า อัล-กุรอ่านเสมือนกับระบบที่เหมาะสมที่สุด ที่ได้ลงมาเป็นช่วงๆ ในการสร้างสังคมที่ดำเนินโดยท่านรอซูลในช่วงของการเป็นนบี และเศรษฐกิจถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนั้นในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ ปัญหาเศรษฐกิจจะกล่าวโดยภาพรวม อัลกุรอ่านหรืออัสสุนนะห์มิได้ใช้ภาษาทางเศรษฐศาสตร์ในการอธิบายปัญหาต่างๆอัลกุรอ่านได้ให้หลักการในเรื่องการเป็นคอลีฟะห์ (ผู้ปกครอง) และเป้าหมายสุดท้ายของการทำงานในโลกนี้ก็เพื่อการทำอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ์ตาอาลาอายาตมาดานียะห์ได้ให้หลักการที่ละเอียดยิ่งขึ้น ในเรื่องของการห้ามกินริบาในระบบเศรษฐกิจญาฮีลียะห์ สนับสนุนให้ทำการค้าขาย ห้ามการกินทรัพย์สินผู้อื่นโดยไม่ชอบธรรมให้ทำการซื้อ-ขาย ให้ออกซากาต อินฟาก ศอดาเกาะห์ จัดระบบการกู้-ยืม การเช่า การร่วมมือทางเศรษฐกิจ และในทุกด้านของเศรษฐกิจ อายาตที่ลงมาในเรื่องของการเงินมีอยู่ประมาณ 70 อายาตด้วยกันในช่วงของวะห์ยูมุสลิมเป็นกลุ่มชนใหม่ที่เกิดขึ้นท่ามกลางโครงสร้างของสังคมญาฮีลียะห์ เกิดขึ้นครั้งแรกบนสิ่งแวดล้อมของระบบใหญ่ของญาฮีลียะห์ กลุ่มชนมุสลิมได้เจอปัญหามากมายทางด้านเศรษฐกิจ ในช่วงที่อยู่ ณ เมืองมักกะห์ปีที่ 7- 10 ของการเป็นนบี มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อย ได้ถูกชาวกุเรชทำการโบยกอตสินค้า  (ตัดขาดทางการค้า) เป็นระยะเวลา 3 ปี นั้นเป็นบทเรียนในช่วงต้นของมุสลิม จนทำให้มุสลิมต้องคิดหนักในปัญหาดังกล่าว หลังจากนั้นอัลลอฮฺได้เปิดใจให้ชาวมาดีนะห์รับอิสลาม สิ่งแรกที่ท่านนบีกระทำในเรื่องแก้ปัญหาเศรษฐกิจก็คือ สร้างความเป็นพี่น้องระหว่างชาวอันศอรฺและมูฮาญีรีนอย่างไรก็ตามกิจกรรมเศรษฐกิจในช่วงนี้ที่ดำเนินอยู่ในระบบเศรษฐกิจก็คือ การค้าขายและการทำการเกษตร แต่เนื่องด้วยประเทศใหม่อย่างมาดีนะห์ต้องเผชิญกับศัตรูรอบด้าน และในที่สุดต้องทำสงครามเพื่อปกป้องตนเอง และเผยแผ่อิสลาม และการทำสงครามจำเป็นต้องเกิดปัญหามากมาย เช่น-               งบประมาณอย่างมากมายเพื่อใช้จ่ายในการทำสงคราม เป็นตัวพลักดันให้มุสลิมขยันในการทำธุรกิจเพื่อหางบประมาณ เพื่อการอยู่รอดของศาสนาและประเทศชาติ-               หากมุสลิมชนะก็จะเกิดปัญหาทรัพย์สมบัติที่ยึดมาในสมัยของท่านรอซูลรายได้ของประเทศได้มาจาก : ซากาต และฆอนีมะห์ (ทรัพย์สมบัติที่ยึดมาได้จากการทำสงคราม) จากการได้ทั้งสองนี้ทำให้ชาวมุสลิมต้องได้ใคร่ครวญอย่างหนักถึงอนาคตทางเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าในช่วงนี้อายาตอัลกุรอ่านจะดำเนินประทานลงมาเพื่อความชุมชื่นของสังคมมุสลิม สมัยที่อิสลามมีการขยายตัวตั้งแต่ช่วงสุดท้ายของท่านนบีแล้วที่อิสลามเริ่มมีการขยายตัวจะเห็นได้ว่าในช่วงนั้นท่านนบีได้ทำการติดต่อกับโรม และเปอร์เซีย ในปี ฮ.ศ.ที่ 7 (ปี ค.ศ. 628) เพื่อเรียกร้องให้พวกเขาเข้ารับอิสลาม จนทำให้เกิดสงครามกับโรมครั้งแรกในสงครามมุอ์ตะห์ ปี ฮ.ศ.ที่ 8 และตาบูก ปี ฮ.ศ. ที่ 9ในช่วงของอบูบักรขึ้นมาเป็นคอลีฟะห์  ปี ฮ.ศ. ที่ 12-13 (ปี ค.ศ. ที่ 633 – 634) อบูบักรได้ส่งอูซามะห์ไปยังบาลกอ เขตชายแดนชามและส่งคอลิดบินวาลิดไปปราบปรามกลุ่มมุรตัด และทำการขยายไปจนถึงเขตอิรัก และครอบครองเกือบทั้งหมดของเขตตอนใต้ของอัฟริกาและทำสงครามใหญ่กับโรม ในสงครามยัรมูกในเขตชาม แต่ท่านเสียชีวิตในขณะที่มุสลิมได้ชนะสงคราม และต่อมาอูมัรก็ขึ้นมาเป็นคอลีฟะห์ ปี ฮ.ศ. 13-23 (ปี ค.ศ. 634 – 644) ท่านได้ครอบครองทั้งหมดของชาม ซึ่งเป็นเขตครอบครองของโรม และท่านครอบครองส่วนใหญ่ของอาณาเขตของเปอร์เซีย อิรักและซาวาด และอียิปต์ มีการขยายตัวเรื่อยมาจนสมัยอุสมานบินอัฟฟาน มุสลิมครอบครองเขตทั้งหมดของเปอร์เซีย จากอีรักจนถึงเขตเอเชียกลาง และเขตชายแดนเอเชียใต้ ครอบครองทั้งหมดของอาณาเขตโรม จากชามจนถึงอียิปต์ และบางส่วนของอัฟริกา และบางส่วนของอัฟริกาเหนืออย่างไรก็ตามเมื่อมีการครอบครองอาณาเขตมากขึ้นก็จะทำให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นมา ไม่ว่าทางด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และการเงิน หรือว่าด้านอื่นๆในด้านเศรษฐกิจและการเงินซึ่งที่เกิดขึ้นคือประการแรกทรัพย์สมบัติที่ยึดครองมีความหลากหลาย มีทั้งสิ่งที่เคลื่อนย้ายได้และเคลื่อนย้ายไม่ได้ ถ้าสมัยท่านนบีมีเพียงสิ่งที่เป็นอาวุธสงคราม เงินและยานพาหนะ มาสมัยนี้มีทั้งอาคาร ที่ดินและอื่นๆประการที่ 2 : จำนวนทรัพย์สมบัติที่ยึดครองได้มีจำนวนมาก จนทำให้งบดุลของประเทศมีอยู่อย่างเหลือเผื่อ ในสมัยของอูมัรทรัพย์สมบัติที่ได้มาจะไม่แจกจ่ายให้กับมูญาฮีดีนเลย และจะมีการพัฒนาก่อน จนทำให้มีการจัดตั้งบัยตุลมาลเกิดขึ้นรายได้ของประเทศในสมัยนี้จะประกอบด้วย1.              ซากาต : คือเอามาจากทรัพย์สมบัติของมุสลิมที่ถึงนิศอบ2.              ฆอนีมะห์ : คือทรัพย์สมบัติที่ยึดมาจากการทำสงคราม3.              ฆอรอร : คือทรัพย์สมบัติที่ไม่เคลื่อนที่ เช่น ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง ที่ได้มาจากคนมุชริกหรือกาเฟรจะโดยสงครามหรือสนธิสัญญา4.              ญิซยะห์ : คือภาษีที่ได้มาจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมที่ใช้ชีวิตอยู่ในเขตแดนของมุสลิมโดยสนธิสัญญาความปลอดภัย5.              อูชูร : คือภาษีที่ได้มาจากการบริการทางผ่านการค้าขายในอาณาเขตมุสลิม สมัยอิจญติฮาจ : เรียบเรียงวิชาการอิสลามปัญหาความขัดแย้งได้ประทุขึ้นในสมัยสุดท้ายขอคอลีฟะห์อัรรอชีดีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของอุสมาน บินอัฟฟาน และอาลีบินอบีตอเลบ การขยายตัวของอิสลามได้หยุดชงักลงบ้างเล็กน้อย แต่พอมาถึงช่วงของคอลีฟะห์อุมัยยะห์ การขยายตัวของอิสลามก็ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอีก จนสิ้นสุดสมัยของอูมัยยะห์ ในปี ฮ.ศ. 132 และตามด้วยบนีอับบาซียะห์ การขยายตัวของอิสลามก็ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องถึงแม้นว่าปัญหาภายในจะหมดไป แต่ความขัดแย้งก็ยังคงอยู่ โดยขยายตัวเป็นเชิงความคิด และเกิดแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา เช่น ฆอวาริส ชีอะห์ และมุอ์ตะซีละ มีการปลอมแปลงฮาดีษ และในที่สุดก็มีการรวบรวมฮาดีษจนสิ้นสุดลงในสมัยของอุมัรบินอับดุลอาซีซในเรื่องของการขยายตัวของอิสลามในช่วงนี้ก็มีปัญหาในหลายๆ ด้าน เช่นกันกับด้านเศรษฐกิจ ในช่วงมีการเป็นอยู่ของมุสลิมเริ่มมั่นคง ราบรื่น การก่อสร้าง และสร้างสาธารณบริโภค เริ่มเกิดขึ้นการพัฒนาด้านหนึ่งในสมัยนี้ที่มีการพัฒนาเร็วก็คือ ด้านจัดการทางอิสลามศึกษาและทางโลก ตั้งแต่ศตวรรษที่ 2-5 ฮิจเราะห์ ในสมัยนี้ได้มีการขยายตัวจากแนวความคิดสู่หลักการเชิงปฏิบัติ จนทำให้เกิดกลุ่มทางวิชาการ แต่ละกลุ่มเป็นของตัวเอง เช่นเกิดอูลามะห์ใหญ่ในอิสลาม และการก่อตั้งมัซฮับ เช่น อิหม่ามมาลิก อาบูฮานีฟะห์ อิหม่ามชาฟีอีย์ และอีหม่ามอะห์มัด และคนอื่นๆวิชาฟิกฮ์เป็นวิชาหลักในการดำเนินชีวิตของมุสลิมในสมัยนี้ หรือเราเรียกว่า กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ เช่น วิชาการเมือง และเศรษฐกิจ จะอยู่ในกีตาบมูอามาลาต ส่วนในเรื่องปริญญาส่วนใหญ่จะมาจากยูนานและโรมยิ่งชัดเจนยิ่งขึ้นในเมื่ออิมามบุคอรี ได้เรียบเรียงฮาดีษในรูปแบบใหม่ คือเรียบเรียงตามลักษณะความสำคัญของฟิกฮ์ ซึ่งก่อนจากนี้จะมีการเรียบเรียงตามหลักของผู้รายงานฮาดีษ (มุสนัด)เมื่อเราเข้าใจสถานการณ์ดังกล่าวแล้ว เราสามารถที่จะเข้าใจแนวความคิดเศรษฐศาสตร์มากยิ่งขึ้น เพราะส่วนใหญ่จะรวบรวมอยู่ในกลุ่มวิชาฟิกฮ์ และอูศูลุลฟิกฮ์ณ ตรานี้เราต้องแยกออกระหว่างระบบเศรษฐกิจและวิชาเศรษฐศาสตร์ออกจากกัน เพราะระบบคือวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมหนึ่ง ส่วนวิชาเศรษฐศาสตร์คือ ความพยายามที่จะทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหนังสือที่เขียนขึ้นในสมัยนั้น เช่น รีซาละห์อัลศอฮาบะห์ งานเขียนของอับดุลลอฮฺ บินมุฆอบฟะอ์ (ฮ.ศ. 109 145 / ค.ศ. 727 762) เขียนให้กับคอลีฟะห์ผู้หนึ่งในยุคอับบาซียะห์ คืออบูยะอฺฟาร์ อัลมันซูร (ฮ.ศ. 136 158 / ค.ศ. 754 775) เนื้อหาโดยรวมพูดถึงนโยบายและการบริหารจัดการการเงินของประเทศอัลฆอรอร งานเขียนของ อาบูยูซุฟ (ฮ.ศ. 113 182 / ค.ศ. 731 789) หนังสือเล่มนี้จะเป็นการตอบปัญหา 26 คำถาม ของ ฮารูน อัรรอชีด (ฮ.ศ. 170 193 / ค.ศ. 786 809) เรื่องทั้งในเล่มเกี่ยวกับ อัลฆอรอรอัลฆอรอร งานเขียนของยะห์ยาบินอาดัม อัลกุรอชี (ฮ.ศ. 140 203 / ค.ศ. 757 818) หนังสือเล่มนี้จะมีรูปแบบกระทัดรัดเล่มเล็กจะเป็นการรวบรวมฮาดีษเกี่ยวกับฟิกฮ์ อัล-อัมวาลอัลอัมวาล งานเขียนของอบูอูบัยด์ บินอัล-กอเซ็ม บินสัลลาม (ฮ.ศ. 157 224 / ค.ศ. 774 838) หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงเรื่องนโยบายการเงินอย่างครอบคลุม ถ้าเปรียบเทียบกับเล่มอื่น หนังสือเล่มนี้จะถือว่าครอบคลุมที่สุดอัลอัมวาล งานเขียนของ อาบูฮามิด บินซัลยาวัยฮ์ (ฮ.ศ. 180 251 / ค.ศ. 796 865) เนื้อหาเล่มนี้คล้ายกับงานเขียนของอบูอูบัย. สมัยการหยุดชะงักทางความคิดการเคลื่อนไหวทางวิชาการได้ดำเนินมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 2 5 และอ่อนตัวลงในช่วง ศตวรรษที่ 5 ฮิจเราะห์ กระแสของแนวความคิดที่ว่า ประตูฮิจญติฮาจได้ปิดลง และได้เกิดขึ้น จนกลายมาเป็นความเชื่อโดยรวมเมื่อมีความเข้าใจว่า ประตูฮิจญติฮาจได้ปิดลงสิ่งที่ตามมาก็คือ ยุคของการตักลิด (การตามแบบปิดหูปิดตา) ก็เกิดขึ้น การเรียนการสอนในสมัยนี้ก็สอนตามผลงานของโต๊ะครูที่เขาเขียนมาเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน รวมถึงด้านเศรษฐกิจ จะเห็นได้ว่าไม่มีการพัฒนา ถึงแม้นว่าโลกอิสลามในสมัยนี้จะทรัพยากรอย่างเหลือเฟือ แต่ความคิดในด้านเศรษฐกิจกอิสลามมิได้มีการเคลื่อนตัวอย่างที่ตัวการในการที่มีทรัพยากรอยู่อย่างเหลือเฟือ กลับทำให้เกิดแนวความคิดแบบโซฟีในหมู่นักวิชาการ เมื่อมีความคิดแบบโซฟีมีอิทธิพลมากขึ้น ทำให้การมีส่วนร่วมในสังคมก็น้อยลง ในที่สุดก็ทำให้เกิดความคิดทางโลก และอาคีรัตเกิดขึ้น ในทางวิชาการก็จะแยกระหว่าง วิชาการทางศาสนาและวิชาการทางโลกในสถาบันศึกษาศาสนาจะถือว่าวิชาการทางโลกเป็นวิชาที่สร้างความผาสุกในโลกและพื้นดินเพียงอย่างเดียว ส่วนอูลามาอ์จะมุ่งมั่นเจาะจงเพียงวิชาการศาสนาเท่านั้นอย่างไรก็ตามก็ยังมีงานเขียนของอิบนุฆอลดูนที่เกิดขึ้น แต่เสมือนว่าผลงานของท่านผ่านไปโดยไร้ประโยชน์ในสมัยนั้น เพราะสภาพความเป็นจริงมันไกลแสน ไกลกับแนวความคิดของสังคมสมัยนั้น สมัยการโจมตีทางความคิด : การผสมผสานทางความคิดระหว่างอิสลามสังคมนิยมและทุนนิยมจากสภาพทางความคิดดังกล่าวทำให้โลกอิสลามต้องประสบกับยุคที่แสนมืดที่สุดในประวัติศาสตร์ ในศตวรรษที่ 18 19  และครึ่งหนึ่งของศตวรรษที่ 20 ยุโรป ได้เข้ามาครอบครองโลกของมุสลิม เข้ามาขโมยทรัพยากรที่มาอยู่ เอาวัฒนธรรมเข้ามา เปลี่ยนแปลงแนวความคิดทำให้เกิดลิสซึม (ลัทธินิยม) ต่างๆแนวความคิดที่เกิดขึ้นในขณะนั้นมี 3 แนวคิดใหญ่ๆ ที่ทำการแข่งขันกันอย่างรุนแรง คือ อิสลาม คอมมิวนิสต์ และเซกกุลาริสซึม (ชาตินิยม) ทางด้านเศรษฐกิจก็มีอิสลาม ทุนนิยมและ สังคมนิยม และเราจะเห็นได้ว่า แนวความคิดที่ได้รับชนะในประเทศมุสลิมคือ สังคมนิยมและทุนนิยมการเรียกร้องที่ได้รับเอกราชของประเทศมุสลิมได้เกิดขึ้น แต่มุสลิมได้ถูกแยกออกเป็นสองกลุ่มดังที่กล่าวมาแล้ว มุสลิมถูกรุกรานทางความคิด เช่น บางกลุ่มพยายามใส่ร้ายอิสลามว่าเป็นยาเสพติดสำหรับประชาชนอิสลามเป็นเพียงพิธีกรรมทางศาสนา ทำให้ผู้คนในสมัยนั้นมีความคิดอิสลามไม่มีอะไร ไม่มีความสำคัญเราสามารถเข้าใจได้ว่ามุสลิมในสมัยนั้นมีความมืดมนทางความคิดและวิสัยทัศน์ มีความแตกแยกทางความคิด และในขณะเดียวกันแนวความคิดอื่นมีความเข้มแข็ง พวกเขาสามารถสร้างผู้นำทางความคิดของเขาจากกลุ่มของมุสลิมอิสลามเป็นที่ยอมรับเพียงแค่หลักการ ส่วนการปฏิบัติไม่ได้เป็นไปตามหลักการ จนกาลเวลาผ่านไปสัญญาของแนวความคิดสังคมนิยมก็ไม่ได้แสดงให้เห็นและล้มสลายไปในที่สุด ที่ยังคงอยู่ในขณะนี้ก็คือทุนนิยม ที่ยังคงโลดตันอยู่ใต้ในสังคมปัจจุบัน สมัยของการฟื้นฟูอิสลาม (นำอิสลามมาใช้กับการดำเนินชีวิต)ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเคลื่อนไหวของอิสลามได้แพ้ในหลายสมรภูมิของการเมืองและเศรษฐกิจ แต่ความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวอิสลามก็ยังดำเนินต่อไป ตั้งแต่สมัยของ ญาลาลุดดีน อัล-อัฟฆอนี อับดุลเราะห์มาน อัล-กาวากีฟี มูฮัมหมัดอับดุห์ รอชีดรีฏอ จนถึง ฮาซัน อัลบันนาที่อียิปต์ยามาลุดดีน อัลอัฟฆอนี และอัลกาวากีบย์จะเน้นการเมือง ส่วนมูฮัมหมัด อับดุห์ และรอซีครีฏอ จะเน้นด้านความคิดและการศึกษา ถึงแม้ว่าจะไม่ครอบคลุม แต่การฟื้นฟูก็เริ่มเกิดขึ้นมายุคของฮาซัน อัลบันนา ได้ดำเนินการ 2 ประการหลักคือ
  1. สร้างวิสัยทัศน์อิสลามโดยภาพรวมพร้อมทั้งทุกอย่างในการดำเนินชีวิต
  2. สร้างรูปแบบของการเคลื่อนไหว วิธีการ รูปแบบองค์กรการสร้างและเพิ่มสมาชิกอิสลามคือ ศาสนาสากลที่ไม่มีแนวคิดได้เทียบเท่า ทำให้มุสลิมมีความมั่นใจ
1.        ต่อความคิดของอิสลามด้านหลักการ2.        ต่อความสามารถของอุมัตอิสลามในการฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งจนทำให้เกิดความมั่นใจอย่างเข้มแข็งต่อ อัล-อิสลามสมัยของการทำให้วิชาการเป็นอิสลาม (ทำให้เศรษฐกิจเป็นอิสลาม)-         เมื่อตะวันตกเริ่มที่จะตกเป็น ณ เริ่มวันใหม่ของมุสลิม-         รูปแบบการทำให้เป็นอิสลามมี 2 ชนิด คือ
    1. ทำให้เป็นอิสลามโดยเต็มรูปแบบ
    2. ทำให้เป็นอิสลามโดยด้านการปฏิบัติเท่านั้น
โดยกลุ่มทั่วไปจะเน้นการเผยแพร่อิสลามแบบเต็มรูปแบบ (กลุ่มทางสังคม)วิชาที่มีการพัฒนาเร็ว คือ วิชาเศรษฐกิจ โดยผ่านหลายกระบวนการด้วยกัน คือ ขั้นตอนที่ 1 ขั้นการเปรียบงานเขียนในช่วงต้นของเศรษฐศาสตร์ อิสลามจะเป็นงานเขียนที่เปรียบเทียบระหว่างระบบตรงนี้อิสลามจะเปรียบเทียบกับระบบเศรษฐกิจอื่นๆ เช่น สังคมนิยมและทุนนิยม เป็นการตอบสนองต่อจิตวิทยาและความเป็นเหตุเป็นผล ส่วนหนึ่งของนักเขียนในสมัยนี้คือ-         ซัยยิด กุฏบ เขียนเรื่อง หลักการอิสลามเกี่ยวกับความยุติธรรมทางสังคม (ความยุติธรรมในสังคมอิสลาม)-         ดร. มุสตอฟา อัล-ซีบาอี นักคิดอิสลามจากซีเรียเขียนเปรียบเทียบระหว่างอิสลามกับสังคมนิยมในหนังสือ อิสติรอกียะห์ อัล-อิสลาม (สังคมนิยมอิสลาม)-         เชค มูฮัมหมัด อัลฆอซาลี อูลามะและนักคิดอิสลามจากอียิปต์ ในปี 94 เขียนหนังสือ อัล-อิสลาม วาอัล-เอาฏออ อัล-อิญติศอดียะห์ (อิสลามและสถานภาพทางเศรษฐกิจในยุคปัจจุบัน)-         แล้วยังมี ดร. อับดุลกอดีร เอาดะห์ :อียิปต์-         อบูล อะว์ลา อัลเมาดูดี : ปากีสถาน-         มูฮัมหมัด บากีส อัล-ศอดร : อิรัก-         อบูล ฮาซัน อาลี อัล-ฮาซานี อัล- นาดาวี :
หมายเลขบันทึก: 103998เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

อัลฮัมดูลิลลาฮ จากบทความที่ได้เขียนมานี้หวังว่าสามารถถ่ายทอดประวัติศาสตร์อิสลามโดยเฉพาะด้านเศรษฐศาสตร์ที่บ่งบอกว่า อย่างน้ออิสลามก็มีส่วนในการพัฒนาประเทศ หรือว่าอิสลามสามารถพาโลกเราให้ออกจากฟิตนะให้ได้

หวังว่าสามารถเป็นข้อมูลของนักวิชาการอื่นๆ โดยเฉพาะนักวิชาการ Non Muslim ไว้เป็นที่ศึกษาค้นคว้าต่อไป

อยากให้เขียนลงเป็นตอนทุกๆวัน หรือทุกสัปดาห์ก็ดีนะ อินซาอัลลอฮ ฮีดายะห์จะมาถึงคนที่พระองค์ทรงประทาน

Mar tun Nuwun

อัลฮัมดูลิลาฮฺ ขอให้เอกองค์อัลลอฮทรงประทานผลบุญให้แก่ท่าน (อาจารย์)

หวังว่าคงอื่นจะได้รู้สักทีว่าเศรษฐอิสลามมีอยู่จริง และถึงเวลาแล้วที่เราจะประกาศให้โลกรู้สักที

 

ขออนุญาตคัดลอกไปทำรายงานนะคะ ทั้งสองบทความ

จะอ้างอิงผู้เขียนให้เรียบร้อยค่ะ  ยะซากัลลอฮฺ

ขออนุญาตคัดลอกไปทำรายงานนะคะ ทั้งสองบทความ

ขออนุญาตคัดลอกเพื่อทำรายงานส่งครูนะค่ะ

ขอให้อัลลอฮฺทรงประทานผลบุญให้แก่ท่าน

ยะซากัลเลาะห์

อัลฮัมดุลลิลละฮ์

อาจารย์ค่ะ

อาจารย์มีประวัติอาบู ยุซูฟ หรือป่าวค่ะ

หายากจิงๆๆๆค่ะ

ฝากอาจารย์ด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะอาจารย์

อัลฮัมดูลิลาฮฺ ขอให้เอกองค์อัลลอฮทรงประทานผลบุญให้แก่ท่าน (อาจารย์)

เศรษฐศาสตร์อิสลามคืออะรัยคับ

ได้เขียนบล็อกอีกหรือป่าว หรือว่าหายไปเลย งานยุ่งต้องบริหารเวลาแบ่งปันความรู้นะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท