บุหรี่ ผู้หญิง และมะเร็งปอด


ผู้ชายในสหรัฐฯ สูบบุหรี่น้อยลง...มะเร็งปอดในผู้ชายลดลงตั้งแต่ปี 2533 ส่วนผู้หญิงสหรัฐฯ กลับสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น...ส่งผลให้มะเร็งปอดในผู้หญิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ผู้ชายในสหรัฐอเมริกาสูบบุหรี่น้อยลงนับตั้งแต่มีการรายงานผลกระทบจากบุหรี่ (First Surgeon General’s Report) ในปี 2507 และส่งผลกระทบให้มะเร็งปอดในผู้ชายลดลงตั้งแต่ปี 2533

ส่วนผู้หญิงสหรัฐฯ กลับสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงปี 2503-2513 ส่งผลให้มะเร็งปอดในผู้หญิงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

...

สาเหตุที่ผู้หญิงสูบบุหรี่เพิ่มขึ้นอาจเป็นผลจากความเชื่อว่า บุหรี่มีส่วนช่วยควบคุมน้ำหนัก และผู้หญิงมีแนวโน้มจะเลิกบุหรี่ได้ยากกว่าผู้ชาย

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งปอดที่สำคัญได้แก่

  • การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุของมะเร็งปอด 85-90 %
  • การสูดควันที่คนอื่นสูบบุหรี่เข้าไป (secondhand smoke)
  • ประวัติครอบครัว(ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งปอดจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น)
  • ประวัติโรคปอด เช่น วัณโรค ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ
  • การหายใจฝุ่นละอองแร่ใยหิน (asbestos) เข้าไป (เช่น ฝุ่นจากผ้าเบรครถยนต์ ฯลฯ)
  • แก๊สเรดอน(radon) ซึ่งเป็นแก๊สจากการสลายตัวของเรเดียม พบในประเทศตะวันตก ซึ่งมีแหล่งแร่ และบ้านเรือนอับอากาศ
  • สารก่อมะเร็งบางชนิดในอากาศ โดยเฉพาะในเมืองที่มีมลภาวะ
  • การกินธัญพืช เช่น ขนมปังโฮลวีต ข้าวกล้อง ฯลฯ ผัก และผลไม้น้อย
  • อาหารที่มีไขมันสูง
  • อาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง (โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ฯลฯ ไม่มีในผลิตภัณฑ์จากพืช – ผู้เขียน)

...

มะเร็งปอดในผู้หญิงมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจหลายประการได้แก่

  • ผู้หญิงที่สูบบุหรี่เป็นมะเร็งปอดเร็วกว่าผู้ชาย:
    ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะเป็นมะเร็งปอดเร็วกว่าผู้ชาย เริ่มเป็นมะเร็งปอดเมื่อสูบบุหรี่จำนวนน้อยกว่าผู้ชาย มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (small cell carcinoma) เพิ่มขึ้น มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กมีการแพร่กระจายไปเร็ว และมีพยากรณ์โรคเลว คนที่เป็นมะเร็งปอดในสหรัฐฯ มีโอกาสอยู่ได้ถึง 5 ปีประมาณครึ่งหนึ่ง (5 year survival rate = 50 %) แต่ถ้ามะเร็งปอดกระจายออกไปนอกปอดจะมีโอกาสอยู่ได้ถึง 5ปีประมาณ 15 %
  • อาการชัดเจนน้อยกว่า:
    มะเร็งปอดในผู้หญิงมักจะเป็นชนิดอะดีโนคาร์ซิโนมา (adenocarcinoma) ซึ่งมีอาการไม่ชัดเจน ต่างจากมะเร็งปอดในผู้ชายมักจะเป็นชนิดสควอมัสเซลล์ (squamous cell carcinoma) ซึ่งมีอาการชัดเจน ทำให้มะเร็งปอดในผู้หญิงตรวจพบได้ช้ากว่า กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้มากกว่า และพยากรณ์โรคเลวกว่า
  • บุหรี่กับพันธุกรรม:
    ผู้หญิงที่สูบบุหรี่มีการทำลายสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA damage) สูงกว่า ร่างกายผู้หญิงมีความสามารถในการซ๋อมแซมดีเอ็นเอน้อยกว่าผู้ชาย เช่น มียีนส์ที่พบในผิวเซลล์มะเร็ง (GRPR / gastric-releasing peptide receptor) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการทำให้เซลล์ปอดที่ผิดปกติเติบโต ทำให้มะเร็งปอดโตเร็ว ฯลฯ
  • ยีนส์กลายพันธุ์:
    การศึกษาหนึ่งรายงานพบผู้หญิงมียีนส์กลายพันธุ์เค-ราส (K-ras) มากเป็น 3 เท่าของผู้ชาย ยีนส์นี้มีส่วนทำให้มะเร็งปอดก้าวร้าว(โตเร็ว และกระจายไปได้เร็ว)มากกว่าในผู้ชาย
  • ...

    •  
      • อาการที่บ่งว่าอาจจะเป็นมะเร็งปอดได้แก่ ไอเรื้อรังและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เจ็บหน้าอก ไอเป็นเลือด หายใจไม่อิ่มหรือหายใจขัด (breath shortness) มีเสียงวี้ซ (wheezing) พร้อมกับการหายใจ เสียงแหบ กลืนลำบาก เป็นปอดบวมหรือหลอดลมอักเสบซ้ำซาก หน้าบวมหรือลำคอบวม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และเหนื่อยเพลียเรื้อรัง
      • ควรไปตรวจกับแพทย์และเอกซเรย์ปอดถ้าไอเรื้อรังติดต่อกันตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อจะได้ตรวจหาวัณโรคไปด้วย (ผู้เขียน)
      • การตรวจคัดกรอง (screening) ด้วยเอกซเรย์ปอด และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ปอดไม่ได้ผล และไม่ช่วยลดอัตราตายจากมะเร็งปอด
      • การเลิกสูบบุหรี่มีผลอย่างชัดเจนที่สุดในการลดมะเร็งปอด มีส่วนในการลดความเสี่ยงจากมะเร็งในช่องปาก มะเร็งลำคอ (throat cancers) มะเร็งปากมดลูก มะเร็งไต มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ลดโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคกระดูกผุ (osteoporosis)
      • การไม่สูบบุหรี่ และการไม่สูดควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบ (secondhand smoke) เข้าไปเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุดในการป้องกันมะเร็ง และโรคร้ายนานาชนิด
      • บุหรี่ทำให้ผู้หญิงเป็นมะเร็งปอดเร็วกว่าผู้ชาย (ถ้าเริ่มสูบพร้อมกัน)

    สาระสำคัญสำหรับมะเร็งปอด:

    แหล่งข้อมูล:

หมายเลขบันทึก: 10072เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2005 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 เมษายน 2012 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท