แนวทางการดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน


การดำเนินงาน กศน. ปี 49

แนวทางการดำเนินกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน
   โดย ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์    ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน

บรรยายที่ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 23 พ.ย. 48
การทำงาน กศน. ปี 2549

มีงานที่ กศน. ได้รับมอบหมายมี 3 ระดับ
  1. ระดับรัฐบาล รัฐบาลโดย นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ กศน. ดำเนินการใน 3 เรื่อง (พ.ศ. 2549-2551) คือ
      1.1 การยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงาน 15 – 59 ปี ได้กำหนดตัวเลขไว้ ในการบริหาร ราชการแผ่นดิน และแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ไปทำคำรับรองไว้กับท่านนายกรัฐมนตรี คือ การยกระดับการศึกษาประชากรวัยแรงงาน เพิ่มจำนวนปี ในการเข้ารับการศึกษาของประชากรโดยเฉลี่ย จาก 8.1 ปีเป็น 9.5 ปี
     1.2 แก้ไขปัญหาความยากจนระดับบุคคล มีอยู่ในโครงการ กศน. เพื่อขจัดความยากจน ระดับบุคคล สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนได้จัดสรรงบประมาณ ให้ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอแล้ว โดยให้ดำเนินการ ศบอ. ละ 110 คน ต่ออำเภอ เรื่องนี้ได้มีคณะทำงานเพื่อคิดรูปแบบ นำโดย นายชัยวัฒน์ ผดุงญาติ ผู้เชี่ยวชาญ กศน. และ กลุ่มส่งเสริมปฏิบัติการ การดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวให้จังหวัด และอำเภอ ดำเนินการ ขอให้เป็นการจัดกิจกรรม ที่จะทำให้คนหายจนจริง ๆ ไม่ใช่ทำแบบโปรยหว่าน ฉาบฉวย แต่ให้ทำในเชิงลึก เป็นการลดรายจ่าย มีรายได้ ให้จังหวัดและอำเภอดำเนินการให้เป็นรูปธรรม
     1.3 การเสริมสร้างสันติสุข ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี
ยะลา นราธิวาส และรวม 4 – 5 อำเภอในจังหวัดสงขลา เรื่องนี้ได้มอบหมายให้กองส่งเสริมปฏิบัติการ กศน. เป็นผู้ดูแล
ทั้ง 3 โครงการดังกล่าวข้างต้น เป็นโครงการสำคัญตามยุทธศาสตร์ของรัฐบาล

   2. จุดเน้นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้ กศน. รับดำเนินการ
     2.1 ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 4 ภาค ตามปรัชญาของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป้าหมาย ที่รับผิดชอบ : จุดเน้นอยู่ที่ การจัดกิจกรรรมกระบวนการเรียนรู้
       ให้นักศึกษา กศน. ที่จะเข้าไปเรียนรู้ในศูนย์ ฯ แห่งนี้ สัปดาห์ละ 200 คน เป็นการนำนักศึกษา เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้ ดังนั้น จึงต้องมีการออกแบบ การจัดกิจกรรม การเรียนรู้ให้เชื่อมโยง เข้าสู่เนื้อหา ในหลักสูตรที่มีอยู่ สิ่งที่น่าจะทำ คือ การจัดทำคู่มือกระบวนการเรียนรู้ เพื่อบอกว่า กระบวนการเรียนรู้นั้น ๆ เชื่อมโยงเข้าสู่เนื้อหาใด ได้บ้าง และในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือการเข้าค่าย กิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (กพช.) ต้องให้ได้ผลการเรียนรู้ตามที่กิจกรรม กพช. กำหนดไว้ ไม่ใช่การไปดูงาน รวมทั้ง ครู กศน. ก็น่าจะได้เข้าสู่ศูนย์ ฯ แห่งนี้ เป็นการเข้าสู่กระบวนการพัฒนาของครู เพื่อที่จะนำความรู้กลับไปสู่การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา
   2.2 ส่งเสริมการเรียนรู้โดยผ่านแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ มีแนวคิดเกี่ยวกับ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งมีแหล่งเรียนรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ผ่านทางวิทยุ โทรทัศน์ และสื่อต่าง ๆ สิ่งที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา คือ ปรับโฉมหน้า รายการ ETV เป็นทีวีเพื่อเด็ก เยาวชนและครอบครัวเจาะกลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะ เพิ่มรายการ เด็ก เยาวชน และครอบครัว มากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเป็น Free TV เป็น TV แห่งปัญญา เป็นรายการ Education
   2.3 ห้องสมุด อยากเห็นห้องสมุด กศน. เป็นห้องสมุดมีชีวิต เป็นห้องสมุดที่เป็น มากกว่า เก็บหนังสือ เรื่องนี้ กศน. ได้มีการปรับห้องสมุด 5 แห่ง ที่จังหวัดอุดรธานี อุบลราชธานี เชียงใหม่ ราชบุรี และ ภูเก็ตที่อำเภอกระทู้ ให้เป็นห้องสมุดที่มีชีวิต (Living Libraly) โดยใช้แนวคิดของ TK Park ห้องสมุดมีชีวิต คือ เป็นห้องสมุด ที่มีกิจกรรม มีการเคลื่อนไหว มีผู้มาใช้บริการ หลากหลาย และตอบสนองต่อความต้องการของใช้บริการ ของกลุ่มเป้าหมายหลายกลุ่ม โดยมีบริการ ที่หลากหลาย เป็นแหล่งให้คนมาพักผ่อนหย่อนใจ มีการจัด บรรยากาศ แบบสบาย ๆ จัดพื้นที่บริเวณให้คนได้ดูหนังฟังเพลง เรื่องนี้ให้ไปดูตัวอย่างห้องสมุดหลักทรัพย์ และขอให้ กศน.ทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรม
     2.4. การเทียบโอน คนที่ไม่ได้เรียนแต่มีองค์ความรู้จากการทำงาน คือ การเรียนรู้จากประสบการณ์ การเทียบโอน กศน. ต้องทำ ประชาชนได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ มาก เรียนด้วยตนเองจากการทำงานก็ได้ กศน. ต้องจัดกลไกในการเทียบโอนให้ เท่ากับเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ในมุมกลับให้คนอยากไปเรียนรู้ กศน. ต้องทำเรื่องนี้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว
     2.5. ศูนย์วิทยาศาสตร์ ต้องทำให้เป็นวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต เพื่อชุมชน ทำอย่าง ไรจะทำเรื่องนี้ ให้คึกคัก ให้รู้ว่า กศน. มีเรื่องนี้ ศูนย์วิทยาศาสตร์ต้องมีการจัดกิจกรรมต่างๆ หลากหลาย การจัดกิจกรรม เคลื่อนที่ ไปแต่ละแห่งในภูมิภาค โดยจัดเป็นสัปดาห์วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต และต้องมีการ ประชาสัมพันธ์ จัดกิจกรรม ให้ถึงใจของคนอยากเห็น

     นี่คือ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และเป็นจุดเน้นอย่างมาก เรามีนวัตกรรมอีกหลายอย่าง ที่อยากให้ช่วยกันคิด เพราะ เป็นจุดเน้น ที่สำคัญของ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และมีการติดตามงานทุกสัปดาห์

3. จุดเน้นของปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีจุดเน้นที่มอบให้หน่วยงาน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้ง กศน. ด้วย คือ
   3.1 การปรับปรุงภูมิทัศน์ของสถานที่ทำงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ต้องมีความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงาม มีการตั้งทีมงานไปถ่ายรูปและนำเสนอในที่ประชุมรัฐมนตรี ฯ
ภาพลักษณ์ของหน่วยงานต้อง
          (1) Clean : สะอาด ต้องทำให้สะอาด ไม่มีฝุ่น และเศษกระดาษ
          (2) Need : ความเป็นระเบียบเรียบร้อย จัดเป็นระบบ ไม่มีของเกะกะ
          (3) สวยงาม คือ การตกแต่งประดับประดา ปลูกต้นไม้ ปลูกหญ้า ให้สวยงาม
     3.2 การพัฒนาการทำงาน ยุคนี้เป็นยุค Digital คือ ยุค IT ผู้ทำงานต้องใช้คอมพิวเตอร์ ให้มีการพัฒนา ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และให้มีการจัดการความรู้ และเผยแพร่ข้อมูล ที่ ศนอ. ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เป็นความคิดที่เยี่ยมมาก ที่นำเอาทั้งรายการทุกวันอังคารและรายการของแอนดรูบิ๊ก มาจัดบอร์ด นี่คือการสร้างองค์กรให้เป็น Knowledge Management มีการแลกเปลี่ยนความรู้
      3.3 การประชาสัมพันธ์งาน การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร หรือ Branding ซึ่งมี 3 ความหมาย
          3.1.1 Brand คือ การสร้างสัญลักษณ์ขององค์กร เราจะมาสร้าง Bran ใหม่ ของ กศน. กันไหม เช่น ภาพที่เคยเห็น คือ งอบ กับหนังสือ
          3.1.2 Brand คือ Value หรือค่านิยม
          3.1.3 Brand คือ Commitment เป็นสัญญาว่า ใครก็ตามที่เข้ามา กศน. แล้วจะได้อะไร

      ทั้ง 3 ตัวนี้ จะเป็นการสะท้อนถึง Branding ภาพลักษณ์ขององค์กร เมื่อเรามี Roadmap ต่อไปเราจะสร้าง Branding ใหม่ มีสัญลักษณ์ทำเป็น Logo อย่างไร ค่านิยม ที่จะ Commitment คืออะไร เราจะสร้าง Brand ว่า กศน. เพื่อการเรียนรู้ Value คือ มหาวิทยาลัยชีวิต

   3.4 ตัวชี้วัด (Indicator) การ ทำ Roadmap ให้ประสบความสำเร็จต้องมีตัวชี้วัด การทำงาน ใช้เพื่อการติดตาม (Monitor) ตรวจสอบความก้าวหน้าในการทำงาน เพื่อการนิเทศ เพื่อดูความสำเร็จ การนิเทศต้องมีกระบวนการเสริม ชี้แนะ แนะนำ มีกระบวนการแก้ปัญหา และในการจัดการศึกษานั้น ใน 1 ภาคเรียน หรือ สิ้นปี 2549 ต้องมีตัวชี้วัดที่พูดถึงความสำเร็จ ขอให้ศึกษานิเทศก์ที่มีความถนัด ในเรื่องนี้ช่วยพัฒนาสำหรับใช้ในการติดตาม นิเทศ ประเมินผล สู่การรายงานความก้าวหน้า

การทำงาน Roadmap ให้ประสบความสำเร็จ
     การดำเนินตาม Roadmap โดยเฉพาะภารกิจของศูนย์ ฯ ภาค และ ศูนย์ ฯ จังหวัด
    1. ICT การทำงานตาม Roadmap ให้สำเร็จ มีหลายอย่างที่ต้องใช้ ICT การทำงานในเรื่องนี้ อยากเห็น การ ผนึกกำลังทำงานทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อยากเห็น ICT Roadmap Team เช่น ระบบฐานข้อมูลโดยเฉพาะ
     1.1 เป้าหมายในตำบลเจาะลึก
     1.2 คลังหลักสูตร ขณะนี้ทำอย่างหลากหลาย แต่อยากเห็นฐานข้อมูลที่
เชื่อมโยง และมีรูปแบบที่แลกเปลี่ยนกันได้ ไปด้วยกันได้ คือ เป็น Format เดียวกัน ถ้ามองถึงองค์ประกอบ ผู้ใช้อยากรู้ว่า มีหลักสูตรอะไรบ้าง จัดแบ่งประเภทอย่างไร การให้บริการมีกระบวนการอย่างไร หลักสูตรนี้อยู่ที่ไหน เชื่อมโยงกันอย่างไร เราจะให้ Credit เขาอย่างไร รวมทั้งคลังสื่อด้วย
   2. ICT Team
     - LMS ที่จะใช้กับของกระทรวงศึกษาธิการใช้กันได้หรือไม่
     - การจัดกระบวนการเรียน CMS (เนื้อหาวิชา) จะหามาได้อย่างไร
     - e-Learning กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยใครบ้างที่จะเข้าสู่ระบบนี้ นักศึกษา ประชาชน บุคลากร และเครือข่าย กศน.
     3. Credit Bank ระบบสะสมหน่วยกิต ICT Team ต้องวางข้อกำหนดต่าง ๆ ระบบบัญชีสะสม การเรียนรู้ ตัวนี้จะเป็นตัวป้อนใน Credit Bank เราอาจดำเนินงานนำร่องก่อน หากทำได้จะทำให้ การเรียนรู้เชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ถ้าเราพัฒนาระบบทั้งหมดจะกลายเป็นระบบการเรียนรู้เราจะสร้าง และนำมาเข้าระบบ อย่างไร ถ้าทำสำเร็จ จะเป็นระบบ Digital อันหนึ่งของ กศน. นี่คือระบบ NFE Online : กศน. Online ซึ่งก็คือ กศน. เพื่อการเรียนรู้ (มหาวิทยาลัยชีวิต) นี่คือ UFI ของ กศน. ถ้าเราสร้างระบบนี้ขึ้นได้ ทุกหน่วยงานของ กศน.ไม่ว่าจะเป็น จังหวัด อำเภอ และห้องสมุด จะต้องเป็น กศน. Online Center คือ ให้บริการการเรียนรู้ Online และให้คนได้เรียนรู้คอมพิวเตอร์

      ในปี 2549 ภาคเรียนนี้ การทำงาน 1 ตำบลนำร่อง เราต้องตอบคำถาม 5 เรื่อง
ให้ได้
     1. กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร มีอยู่เท่าไร
     2. มีนวัตกรรมของหลักสูตรอะไรไปบริการ เป็นหลักสูตรใหม่ หรือได้มาจากคลังหลักสูตร
     3. เราจะเทียบโอนอะไร ให้กับใคร
     4. เราต้องรู้ลึก เจาะลึก มีเครือข่ายใดบ้าง ที่จะมาทำร่วมกับเรา ใน 3 ระดับ คือ
          4.1 ใช้ทรัพยากรร่วมกันกับเครือข่าย
          4.2 ใช้ทรัพยากรของเครือข่าย
          4.3 เครือข่ายรับไปทำเอง
     5 มีนวัตกรรม หรือรูปแบบการทำงานอะไรบ้างที่เห็นรูปธรรม ว่าได้เปลี่ยนแปลง
การทำงาน ว่า เราไม่ทำเอง และเราได้กลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นมาเท่าไร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 10069เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2005 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท