บันทึกบริหาร (1) ต้องเห็นด้วยตา ยอมรับด้วยใจ จึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม ได้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ การพูดคุยระหว่างผู้นำรุ่นใหม่ของ AP (หน่วยพยาธิกายวิภาค) กับเจ้าหน้าที่ห้องต่างๆ ของหน่วย เพื่อหาวิธีการปรับระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  งานนี้ อ.สมรมาส เอาแนวคิดเรื่อง Lean management มาขาย ซึ่งจุดหลักของ Lean คือ ทำให้ flow ของงานเดินได้ลื่นไหลที่สุด ไม่มีจุดคอขวด ลดการสูญเสียด้านการรอคอย และอีกหลายๆ อย่างตามแนวคิดของ Lean  งานนี้เลยมีการบ้านให้แต่ละห้องไปวาดแผนภูมิการ flow ของงาน ทั้งจดเวลาการทำงานในจุดต่างๆ ไว้เป็นข้อมูล เพื่อการวิเคราะห์ก่อนและหลังการปรับกระบวนการ  

อาจารย์เขาย้ำในที่ประชุมว่า กลับไปยังไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร  เขียน flow chart แล้วมาวิเคราะห์กันก่อน

เพราะ… สิ่งสำคัญที่จะให้คนทำงานเขายอมปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของเขาที่ทำกันมานาน ซึ่งเขาคิดว่า ดีแล้ว สะดวกแล้ว สำหรับ….  คือ เขาต้องเห็นด้วยตนเอง ว่าที่ทำอยู่มีจุดอ่อนอย่างไร  และ หากปรับเปลี่ยนแล้วจะเกิดประโยชน์อย่างไร กับใครบ้าง  หากเขาไม่เห็น ก็คงจะยากที่จะทำให้เขาปรับเปลี่ยนด้วยเต็มใจ

ก็ต้องรอฝีมือการบริหารหน่วยงานของคนรุ่นใหม่อย่าง อ.คณิตา และ อ.สมรมาศ เขาหล่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 100398เขียนเมื่อ 3 มิถุนายน 2007 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอต่อยอดค่ะ...
  • เมื่อก่อนนี้เขียนผังการไหลของงานเท่าไรก็ไม่เห็นประโยชน์ เพราะเราเขียนหยาบเกินไปค่ะ จึงใช้ประโยชน์ได้เพียงเป็นเครื่องมืออธิบายขั้นตอนการทำงานเท่านั้น...
  • จนเมื่อศุกร์ที่ผ่านมาพี่เม่ยได้อ่านหนังสือเครื่องมือนักคิดที่ท่านเอื้อให้มา แล้วติดใจเรื่องการเขียน work flow เพื่อนำมาวิเคราะห์งานอยู่ด้วยพอดีค่ะ ในหนังสือแนะนำว่าต้องเขียนกิจกรรม โดยละเอียดยิบ นะคะ ตรงนี้สำคัญมากเพราะถ้าเขียนหยาบเกินไปก็จะกลับไปเป็นเหมือนที่กล่าวมาข้างต้น  เช่นในกระบวนการมีขั้นตอนที่ต้องเดินไปของจากโต๊ะหนึ่งแล้วนำกลับมานั่งทำงานอีกโต๊ะหนึ่ง ก็ต้องเขียนแยกออกมาเป็นกิจกรรมนึงด้วย
  • ที่สำคัญคือ ผู้เขียนต้องวิเคราะห์ให้ได้ด้วยว่ากิจกรรมนั้นๆ "ทำให้เกิดงาน/จำเป็น" หรือไม่(ด้วยสัญญลักษณ์สากล)  และได้ใช้เวลาไปเท่าไร?  ลดลงได้ไหม? ปรับปรุงได้ไหม? เพื่อพัฒนางานให้ดีขึ้นค่ะ 
  • พี่เม่ยเองก็กำลังมองที่กระบวนการ "ก่อนวิเคราะห์" ตั้งแต่รับ สสต. .....จนถึงการลงทะเบียนรับเข้าของห้องแล็บอยู่ค่ะ ถ้าเราวิเคราะห์ออกมาด้วยเครื่องมือนี้ ให้เห็นได้ชัดๆว่า "จุดอ่อน" อยู่ตรงไหน ต้องการให้มีการแก้ไขอย่างไร นำเสนอผู้เกี่ยวข้อง ก็อาจจะช่วยให้มีการปรับปรุงได้บ้างนะคะ

เป็นดังที่พี่เม่ยว่ามาทั้งหมดเลยค่ะ การเขียน work flow ที่เราเคยเขียนกัน มีประโยชน์ในการปรับปรุงงานน้อยมาก  และ การเขียนให้ดี บอกจุดอ่อนได้ ต้องละเอียดมาก 

แล้วที่ให้การบ้านไปวันนั้น ก็เขียนกันไม่ได้จริงๆ  อ.สมรมาศต้องมานั่งเขียนเอง และ ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติว่าเขาทำงานเช่นไร  และ จุดไหนที่เราจะต้อง จดบันทึกเวลากันบ้าง 

ขอบคุณพี่เม่ยมากๆ ที่ช่วยต่อยอด

พี่เม่ยคะ ตะกี้ ไปนอนอ่านหนังสือ เครื่องมือนักคิด เล่มที่ว่า จึงได้รู้ว่าเขามีวิธีการเขียน flow งานอย่างไร   โธ่! อยากเขกหัวตัวเองนัก ซื้อหนังสือมาตั้ง 2 เดือนแล้ว ไม่เอามาอ่าน แถมยังยุให้น้อง (อ.สมรมาศ) และเด็กๆ ในหน่วย งมโข่งเขียน flow chart กันแบบไม่รู้อะไรเลย  

 

แฮ่ะๆ  ขอแซวหน่อยนะคะ.....
  • ท่านเอื้อคงต้องลองเขียน work flow ของกิจกรรมที่มีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ "ซื้อหนังสือ..." และสิ้นสุดกระบวนการตรงที่ "นำไปประยุกต์ใช้" ออกมาดูหน่อยแล้วนะ...แล้วจะเห็นว่า มีการสูญเสียของเวลาที่เกิดขึ้นเนื่องจากวางหนังสือไว้เฉยๆถึงสองเดือน....อิ..อิ
  • ตอนนี้เริ่มมองเห็นกิจกรรมต่อไปของท่านเอื้อ ว่านำหนังสือไปให้ อ.สมรมาศ อ่านแน่ๆเลยค่ะ?....
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท