โค้ชส้ม Citrus
Miss. ปรีดิ์ฤทัย โค้ชส้ม ตั้งจิตญาณพัฒน์

การตามล่าหาโจทย์ของกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่า “น้า”


แต่ละกลุ่มมีวิธีหาโจทย์ และตอบโจทย์ที่ไม่เหมือนกัน ทำไมกลุ่มเราถูกเรียกว่า "น้า"

      เช้าวันที่สองของการเข้าร่วมกิจกรรม Project Based Learning อากาศยามเช้าริมคลองก่อนพระอาทิตย์มาเยือน เย็นสดชื่นดีมาก  สมาชิกหลายคนตื่นมาใส่บาตรพระทั้งทางบกทางน้ำที่หน้าบ้านพัก หลังจากเสร็จภารกิจหาอาหารใส่พุงกันจนเต็มอิ่ม พวกเราก็รวมพลเพื่อรับฟังคำชี้แจงถึงกิจกรรมที่ต้องทำในวันนี้

       กระบวนการที่จะต้องคิดโครงการออกมาให้ได้ จะเลือกโจทย์แบบไหน เอาแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยปรับวิธีการของการทำงานในบริษัทมาประยุกต์กับอัมพวา หรือจะนำสิ่งที่ได้จากอัมพวาไปคิดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับบริษัท  อาจารย์เองใช้คำพูดเตือนพวกเราบ่อยๆ ให้เน้นที่กระบวนการ ไม่ได้เน้นที่ผลลัพธ์ จากสิ่งที่ได้รับมอบหมาย บวกกับคำพูดของอาจารย์ นำพาให้พวกเราที่ได้ยิน ได้ฟังมาเหมือนๆ กัน ตีความและคิดแตกต่างกันไปหลายแง่มุม <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       กลุ่มอื่นเป็นอย่างไรบ้างสุดคาดเดา เพราะหลังจากรับทราบว่าใครอยู่กับใคร ต่างคนก็เริ่มจับกลุ่มคุยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็น และร่วมกันคิดว่าจะทำเรื่องอะไรดี แรกเริ่มกลุ่มเรามีข้อมูลน้อยมาก หนังสือก็คว้ามาไม่ทันเด็กๆ โชคดีมีพี่คนหนึ่งต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือได้ จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับอัมพวา และจากการพูดคุยกับบุคคลต่างๆ มาเล่าให้กลุ่มฟัง ซึ่งโจทย์แรกที่คิดบอกว่าจะทำเรื่องพัฒนาที่พักนักท่องเที่ยว แต่หลังจากคุยกันไปมา แล้วพี่เขาก็เสนอหัวข้อใหม่ คือ พัฒนาสังคมอัมพวาให้ยั่งยืน ดังนั้นตอนที่อยู่ในบ้านกลุ่มเราจึงกะว่าวันนี้จะออกไปคุยกับคนที่ทำการค้า  กับชาวบ้านละแวกคลองนี้ รวมถึงในตลาดบก เกี่ยวกับความเป็นมาของตลาดน้ำยามเย็นช่วงวันหยุด และทำไมเกิดมานานแล้วจึงซบเซาไปหลายสิบปี เพิ่งกลับมาบูมเมื่อสองถึงสามปีนี้เอง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       แหละแล้ว กระบวนการตามล่าหาข้อมูลเพื่อมาสร้างโจทย์ที่แท้จริง ก็เริ่มขึ้นจากการพูดคุยกับเจ้าของรีสอร์ทที่เราพักก่อน จากนั้นก็ไปบ้านคั่วกาแฟ ร้านขนมเปี๊ยะโบราณแบบคนจีน แล้วก็ตามกลุ่มอื่นไปร้านกาแฟลุงสมาน แต่ละร้านมีประวัติทำธุรกิจยาวนานมามากกว่า 60 ปี ตกทอดมาจากรุ่นพ่อ ต้องซื้อกินด้วยเมื่อไปคุยกับเจ้าของร้าน แม้เขาจะกำลังยุ่งกับงาน เขาก็ยังยินดีที่จะตอบคำถามที่เราต้องการคำตอบ หลังชิมกาแฟเย็น ชาเย็นรสเลิศบวกด้วยกล้วยหอมเบรคแตก ก็เดินเรื่อยเปื่อยไปตามทางกะจะเข้าไปตลาดบกใกล้เทศบาล ปรากฏว่าเห็นคุณยายคนหนึ่งนั่งเกาะประตูลูกกรงดูหงอยๆ อายุน่าจะเยอะแล้ว มารู้ทีหลังว่าแปดสิบกว่า แรกๆ ดูคุณยายก็คุยแบบเหงาๆ พอเราจะเดินจากไปแกเกาะแขนเราไว้ พี่ผู้ชายสองคนในกลุ่มที่เดินไปก่อนหน้านั้นเลยต้องเดินย้อนกลับมานั่งคุยกันทั้งกลุ่ม  เราก็ซักถามความเป็นมาของบริเวณรอบบ้านที่คุณยายอยู่ว่าคึกคักมากน้อยแค่ไหน คุณยายชอบไหม พอคุยไปสักสิบนาที คุณยายเริ่มเปิดเผยความเป็นมา และบอกว่าเคยทำการค้าข้าวสมัยที่ตลาดน้ำยังคึกคักเมื่อหลายสิบปีก่อน จะมีคนออกมาค้าขายทางน้ำกัน เพราะเมื่อก่อนไม่มีถนน พอสามีตายก็เลิกกิจการ สามีแกเคยทำยาหอม ยาสมุนไพรป้ายปากขาย แล้วคุณยายเริ่มเปิดเผยว่ายายังมีอยู่ เราก็ขอดู แกลุกขึ้นอย่างกระฉับกระเฉง ผิดกับตอนนั่งหงอยอยู่ที่ประตู  ในที่สุดแกก็ได้เงินจากพวกเราไป 70 บาท เป็นค่ายาหอม 20 บาทจากพี่แบล็ค ค่ายาป้ายปาก 50 บาทจากเราเอง ยาก็น้อยกว่าแต่ทำไมแพงกว่าก็ไม่รู้เหมือนกัน</p>

  คุณยาย

       เสร็จจากบ้านคุณยายก็เดินไปตามทางเข้าตลาด พี่คนนึงแวะกินไอศครีมมะพร้าว แล้วพวกเราก็เดินต่อจนไปเจอร้านขายอาหารสัตว์หน้าที่ทำการเทศบาลอัมพวา คุยไปเรื่อยๆ ซักถามความเป็นอยู่ สภาพการเปลี่ยนแปลงจากอดีตมาถึงปัจจุบัน ได้ข้อมูลจากที่นี่มากมาย รวมทั้งแหล่งท่องเที่ยว รู้เพิ่มเติมมาอีกว่า ภาครัฐสนับสนุนการพัฒนาให้ความรู้แก่คนที่อยากมาเป็นไกด์พาเที่ยว รายนี้ไปเข้าอบรมมาเหมือนกัน เขาบอกเล่าข้อมูลมากมายจนเราได้ขึ้นไปไหว้ศาลเจ้าพ่อกวนอู  เทพเจ้าที่ชาวอัมพวาให้ความเคารพนับถือมาช้านาน เมื่อเทศบาลตำบลย้ายมาตั้งที่นี่ ก็นำมาตั้งไว้ชั้นบนของที่ทำการเทศบาลด้วย จากที่นี่ก็คุยกับเจ้าหน้าที่หน้าห้องนายกเทศมนตรี เสียดายไม่ได้เจอตัวจริง จะได้คุยกันมากกว่านี้ เพราะจุดพลิกผันของอัมพวาก็เกิดจากท่านนี้นี่เองที่มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและอนุรักษ์บรรยากาศเก่าๆ ไปพร้อมกัน

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       ออกจากเทศบาลเที่ยงครึ่ง เดินหาอาหารกลางวันใส่ท้อง จะไปไหนดี ถามชาวบ้านร้านตลาด ร้านที่เขาแนะนำก็ไม่เปิดทำการ อ้อ! ที่นี่ร้านส่วนใหญ่เปิดเฉพาะเสาร์-อาทิตย์ เรามาวันธรรมดาร้านค้าที่เปิดมีไม่มากนัก ได้ไปรับประทานผัดไทย หอยทอด หมี่กรอบ สี่คนสั่งมาสามอย่างแบ่งกันกินให้ครบทุกอย่าง อร่อยมาก ๆ จากที่นี่เองได้พบกับน้องไกด์ที่พาเที่ยวเมื่อวาน เขานั่งอยู่อีกโต๊ะหนึ่งกับน้องๆ คณะเดียวกับเรา เขาหันมาถามว่าจะทำเรื่องอะไร เราก็บอกว่า ยังไม่รู้เลย เขาหันกลับไปคุยกับกลุ่มน้องๆ แล้วบอกว่า พวกน้าเขายังไม่รู้เหมือนกันว่าจะทำเรื่องอะไร เท่านั้นแหละ กลายเป็นประเด็นให้คุย ให้กระเซ้าเย้าแหย่กันไปได้หลายวัน</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       จากนั้นเราก็เดินไปต่อ กะว่าจะไปคุยกับชาวบ้านที่มารอรถที่ท่ารถเมล์ เพราะตอนนั้นบอกว่าคนที่เราคุยส่วนใหญ่มีแต่คนจีน อยากได้ชาวบ้าน ชาวสวนที่เป็นคนไทย พอไปถึงท่ารถ พี่คนหนึ่งในกลุ่มไปคุยกับคนขับมอเตอร์ไซค์ เลยได้ข้อมูลมาว่าเขาไม่ได้ประโยชน์อะไรจากความเจริญของอัมพวา หรือนักท่องเที่ยว เพราะลูกค้าของเขาคือ ชาวบ้านที่มาซื้อของในตลาด ส่วนเราเองไปนั่งคุยกับพี่สาวคนหนึ่งที่นั่งรอรถเมล์ รายนี้อัธยาศัยดี เราก็ถามว่าจะไปแม่กลอง วัดหลวงพ่อบ้านแหลมขึ้นรถตรงนี้หรือเปล่า แล้วเราก็ชักชวนกันไปวัดที่แม่กลอง เพื่อไปดูให้เห็นว่าข้อมูลที่คนอัมพวาบอกว่า ความเจริญย้ายจากอัมพวาไปแม่กลองเพราะมีการตัดถนนเมื่อหลายสิบปีก่อน สภาพจะเป็นอย่างไร</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">       จำไม่ได้แน่ชัดว่า เราตัดสินใจจะไปแม่กลองตอนไหนกันแน่ รู้แต่ว่าคุยไปเรื่อย คิดต่อไปเรื่อย ไม่มีแผนการที่แน่นอน เจออะไรก็ค่อยคิดต่อยอด share vision และทำ reflection กันไปตลอดทาง ในที่สุดความรู้สึกเป็นเด็กของพวกเรานำพาเราให้อยากทำแบบชาวบ้านลองนั่งรถเมล์ประจำทางเพื่อดูชาวบ้านที่อาศัยรถประจำทาง และอยากประหยัดเงินของกลุ่มด้วย พวกเราไปถึงวัดเพชรสมุทร นมัสการหลวงพ่อบ้านแหลม และไปทดลองยกช้างเสี่ยงทายกัน เป็นที่สนุกสนาน แม่นๆ ไหม ต่างคนต่างเก็บไว้ ไม่บอกว่าอธิษฐานอะไร</p>

        พอออกจากวัด พี่อาวุโสสุดของกลุ่มเกิด     ไอเดียอยากซื้อปลาทู เพราะพี่เขาเคยมางานเทศกาลกินปลาทู บอกว่าอร่อยมากๆ กระบวนการตามล่าหาปลาทูที่อร่อยที่สุดในแม่กลองก็เริ่มขึ้น แม้แดดจะร้อน เราจะเหนื่อยขนาดไหน ก็ไม่ได้หยุดพักกินน้ำกัน หรือแวะกินอะไรกันเลย ในที่สุดก็มีแม่ค้าในห้องแถวพาพวกเรามาส่งทางเข้าตลาดสดที่มีส่วนหนึ่งตั้งบนรางรถไฟเป็นระยะทางยาวหลายร้อยเมตร โชคดีอีกสิบนาทีรถไฟจะออกจากสถานีแม่กลอง แม่ค้าแถวนั้นช่วยส่งสารเหมือนรู้ว่าเราอยากเห็นว่ารถไฟจะแล่นผ่านกองสินค้าต่างๆ ไปได้อย่างไร พวกเรายืนรออยู่ไม่นานก็เห็นกระบวนการเก็บของให้รถไฟวิ่งไปได้ เขาทำกันชำนาญมากอย่างไม่น่าเชื่อ หลังจากรถไฟวิ่งผ่านไปแล้วของทุกอย่างรวมทั้งคนก็กลับมาอยู่บนรางรถไฟเหมือนเดิม หลายคนที่ไม่เคยเห็นรู้สึกตื่นเต้น แกมทึ่งเลยต้องถ่ายรูปมาให้ดูกัน ในที่สุดเราก็เจอร้านปลาทูร้านใหญ่ที่สุด ได้ปลาทูห้าเข่งร้อยกลับไปให้ที่พักช่วยทอดให้ กลับถึงที่พักดื่มน้ำ พักเหนื่อยแล้ว เรายังเดินต่อไปในคลองคุยกับลุงร้านยา  เจ้าของร้านนกมะพร้าว เดินไปดูศาลเจ้าแม่กวนอิมขนาดใหญ่ แล้วก็เดินไปวัดพระยาญาติเพื่อมาข้ามสะพานอีกฝั่งให้เห็นบรรยากาศที่แตกต่าง               

     แม่กลอง

      ตอนกลางคืนมีการเล่าให้แต่ละกลุ่มฟัง ว่าใครไปไหน ไปยังไง  ได้ข้อมูลอะไรกันมาบ้าง แทบทุกกลุ่มต้องการเวลาย่อยข้อมูล เพราะยังตอบไม่ได้แน่ชัดว่าฉันจะทำโครงการอะไร ยังไงดี กลุ่มของเราเองก็บอกว่า ขอสรุปความคิดเห็นเอาไว้ก่อน พรุ่งนี้เช้าค่อยมาทำสไลด์นำเสนออีกที เพราะสายๆ จึงได้เวลานำเสนอ          

      แม้จะมีเวลาเพียงวันเดียว แต่ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก ประสบการณ์ที่ได้เป็นสิ่งที่ไม่เคยคิดมาก่อนว่าชีวิตนี้จะได้เจอ  เพราะในสภาพการณ์ที่ทำงานบริษัท ซ้ำเวลาไปเที่ยวไหนก็เป็นแบบโฉบๆ ไม่มีวันที่จะได้เรียนรู้อะไรลึกซึ้งอย่างนี้แน่ ความรู้สึกที่มียายอายุแปดสิบมาเกาะแขนยังฝังแน่นอยู่ในใจเราจะไม่มีวันลืม ภาพที่ได้นั่งรถเมล์ข้ามอำเภอราวกับเป็นชาวบ้าน การเดินในตลาดสดที่มีรถไฟวิ่งผ่าน ได้เห็นตัวตนของตัวเองอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่หงุดหงิดแม้จะเหนื่อยและร้อนเพราะมีแต่ความอยากรู้อยากเห็นเป็นตัวผลักดัน  และได้เห็นความไม่ดีของตัวเองที่หงุดหงิดเวลาหาข้อสรุปที่แน่ชัดในกลุ่มไม่ได้      

      ให้สัญญากับตัวเองว่า ต่อไปนี้เวลาไปเที่ยวที่ไหน จะลองใช้วิธีการ กระบวนการเรียนรู้ เหมือนหาโจทย์ พร้อมคิดที่จะตอบโจทย์ด้วย เพื่อเป็นการสร้างสีสันให้กับการท่องเที่ยวและได้ฝึกตัวเองให้คิดเก่งยิ่งขึ้น คงยังไม่สายเกินไปนะสำหรับคนที่ถูกเรียกว่าน้าซึ่งจะหมดแรงเที่ยวลงไปทุกวัน

 

</span>

คำสำคัญ (Tags): #problem-based learning
หมายเลขบันทึก: 100218เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)
  • เยี่ยมเลยครับ
  • เหมือนผมได้ไปด้วย
  • ดีจังเลย
  • ชอบการเรียนรู้แบบนี้ครับ
  • Project Based Learning 
  • เป็นปริญญาเอก ของผมเลยครับ
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีค่ะ อาจารย์

P
ไม่ได้คุยกันนานเลยนะคะ  ขอบคุณค่ะที่มาแสดงความคิดเห็น
อาจารย์คงทำ Thesis ใกล้เสร็จแล้วใช่ไหมคะ แค่ฟังว่าเกี่ยวกับเรื่อง project based ก็น่าสนใจมาก พอจะเล่าได้ไหมคะ ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร รายละเอียดเป็นยังไงบ้างคะ
  • เอาเรื่องโครงงานภาษามาฝากครับ
  • ที่นี่ครับผม
  • มีคนอ่านมากเลยครับ
  • แต่ผมไม่ค่อยได้มีเวลามาตอบ

Project base learning เนี่ย

ถ้าทำเป็น team  จะเรียนรู้ได้เร็วมาก

แต่  ก็ต้องผ่าน กระบวนการต่างๆ  บ่มเพาะ ปลูกฝัง (ที่ใจ) มามากพอสมควร

ไม่ใช่ จู่ๆ  ก็ ลุยทำ โครงงานกันเลย

 

ภูมิใจ ดีใจ  กับ คุณส้มมากๆ ที่ ค้นพบ

ถ้าคุณส้มเป็นน้า   ผมคงเป็น ลุง ของพวกเราในทีม แน่ๆ

  • เย้ๆๆๆๆ
  • อาจารย์ไร้กรอบมา
  • สวัสดีครับอาจารย์

สวัสดีค่ะ อาจารย์

ดีใจมากๆ เลยค่ะ ที่อาจารย์แวะมาอ่าน แล้วช่วยให้ความเห็น จริงทีเดียวค่ะ กว่าจะมาถึงวันนี้ เราต้องผ่านกระบวนการพัฒนาความคิด จิตใจมาหลายขั้นตอน เรียกได้ว่าถ้าเราเป็นต้นไม้ ก็ต้องผ่านการบ่มเพาะด้วยวิธีพิเศษ จึงเติบโตได้ และก็ยังคงต้องการน้ำกับปุ๋ยมาช่วยหล่อเลี้ยง ซึ่งก็ต้องเป็นทีมที่ช่วยกันประคับประคองกันต่อไปค่ะ มิเช่นนั้นคงไม่สามารถต้านทานแรงลมและ แสงแดดอันร้อนแรงได้

สวัสดี อ.คนไร้กรอบ อีกรอบค่ะ

เมื่อกี้ยังตกไปค่ะ เป็นบุญของพวกเราที่ได้มาพบอาจารย์และได้รับคำสั่งสอนที่ดีมากๆ ค่ะ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์และ BU Inno Fa I ที่ดูแลพวกเรารุ่น II เป็นอย่างดี สรรหาสิ่งดีๆ มาให้พวกเรา มีโอกาสก็อยากจะไปช่วยงานส่วนกลางบ้าง

เสียดายทำสมุดจดบันทึกหาย ที่ได้บันทึกเรื่องราวคำสอนคมๆ ของอาจารย์ ที่วัดกับบันทึกที่อัมพวา เข้าใจว่าคงตกหล่นที่บ้านพัก อธิษฐานทุกวันขอให้ได้คืน จิตตกเพราะยังทำใจไม่ได้ค่ะ 

ไม่ได้เขียนหลายวัน (รวมถึง blog ของตัวเองด้วยสิ) วันนี้ตอนนั่งรถกลับมาที่บ้านกะว่าจะเขียนสิ่งที่ค้างไว้ให้เสร็จเสียที หลังจากที่เขียนแล้วกดผิดทำให้ข้อมูลหายไปหมด หุ หุ หุ

ในส่วนของ Project Base รุ่นหน้าผมไม่พลาดแน่ๆ ครับ มีอะไรน่าสนุกเยอะครับ และหลังจากที่คุยกันวันศุกร์ วันนี้ผมไปที่ศูนย์หนังสือจุฬามาเห็นมีหนังสือเกี่ยวกับอัมพวาด้วยครับเป็นเล่มเลย แต่เมื่อลองพลิกดูเหมือนกับรูปที่ทีม Project Base ถ่ายมาเลยครับ โดยผมเองไม่ต้องดูรายละเอียดในนั้นลดเวลาไปได้มากเลยครับ

ข้ออ้างอิงจากข้อความของท่านอาจารย์ขจิต ทำให้ผมนึกขึ้นมาได้ว่าโดยปกติการฝึกอบรมของเราที่ผ่านๆ มาจะเป็นการอบรมในห้องเกือบ 100% ซึ่งการซึมซับก็จะมีเพียง 5% ที่ผ่านเข้ามา ซึ่งยังไม่รวมถึง Duration นะครับที่มันจะค่อยๆ หายไป (อ้างถึงคำพูดพี่ส้ม และท่านอาจารย์ไร้กรอบครับ) แต่การอบรมโดยลงมือทำจะช่วยให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น และจำได้ดีมากขึ้น รวมถึงทำให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันในกลุ่ม เกี่ยวการพูดคุย แลกเปลี่ยน  ฝึกทักษะของการพูดคุย มีการใช้สมองในการคิด และที่สำคัญเกิดความสนุกอย่างที่คาดไม่ถึง ผมเองโดยปกติถ้าเจอบุคคลที่ไม่รู้จักครั้งแรกๆ จะเงียบไม่ค่อยคุย ซึ่งเป็นส่วนที่คงต้องปรับปรุงอย่างมากครับ เพราะการที่จะได้ข้อมูลอะไรมา การฝึกในส่วนของ Story Telling คงต้องนำมาใช้เป็นอย่างมากครับ

จะลองดูว่าอบรมที่บริษัทครั้งต่อๆ ไป เราจะเปลี่ยนการอบรมให้เป็น Play & Learn (Plearn) ให้จงได้ครับ

เขียนมาเยอะแล้วรู้สึกงง งง ยังไงชอบกลไม่รู้ครับ (สิตเริ่มตก ฮิ ฮิ)

สุดท้ายวันนี้อ่านหนังสือ เรื่องธรรมโดน น่าสนใจครับ เป็นการนำเรื่องสิ่งที่เกิดขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวัน มามองในมุมของธรรมะครับ เข้าใจง่ายดี 

บันทึกหายได้  สติอย่าหาย

ผมเคยเขียนหนังสือ Quality in sevices เอาไว้ ครึ่งค่อนเล่ม    ปรากฏว่า ลูกน้องผู้หวังดี   มา format เครื่องให้  แล้ว ลืม   จึง delete หายไป    ทั้งๆที่ผมเตือนแล้ว

แต่ ผม ก็ไม่โกรธนะ    กลับ ดีใจสะอีก  เช่น   ดีสิ เขียนรอบสองย่อม ตรอง ตกผลึก ได้มากกว่าเก่า

ลองนั่งนิ่งๆ   รวมรวบเรื่องที่ผ่านมา  ออกมาเป็น ภาพ  จะช่วยดึงบันทึกออกมาได้  ก็บันทึกในตัวเรา  นี่แหละ

ดึง sensing ที่พบทั้งหมดออกมาใช้

ลืม เรื่องที่เป็น founds ออกไป ก็ได้นะ    เอา feel และ  สะสม feel   จนวันหนึ่ง  มันจะ โผล่ออกมาเป็น sense  ในยามที่จำเป็น

 

ขอบคุณมากครับท่านอาจารย์ ตอนกดผิดก็มีอาการนิดหน่อยคือกังวล ตกใจเล็กน้อย และพยายามดูว่ามีทางได้กลับมาหรือไม่ครับ แต่ก็ไม่ได้ แต่เนื่องจากเพิ่งกลับมาจากวัดครับ เลยทำให้ใจบอกว่าไม่เป็นไร หาเวลามาเขียนใหม่ครับ

และคงเป็นจริงอย่างที่ท่านอาจารย์ว่าไว้ในการที่จะเริ่มเขียนทั้งที่สองเรื่องจะกระชับลง โดยการดึงจากภาพ และมีการตกผลึกมาขึ้น เข้าใจบางเรื่องมากขึ้นครับ

 

ผมเห็นด้วยกับพี่ส้มครับ ว่ากระบวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาของ FA II ตั้งแต่ต้นจนจบนี้ เป็นกระบวนการที่จะค่อย ๆ เพาะบ่มความรู้ขึ้นมาจากตัวเอง ทำให้ตัวเองได้คิด ไม่ใช่การป้อนเพียงอย่างเดียวเหมือนกับการอบรม-สัมมนาปกติทั่วไป สังเกตจากความรู้ที่ได้ของแต่ละคนต่างกัน เกิดจากการจับแก่น และตกผลึกด้วยตัวเองทั้งนั้น

ถ้าจะให้เปรียบเทียบการสัมมนาแบบเดิม ๆ ก็คงเหมือนกับ "การพยายามเก็บผลไม้จากปลายยอด" นั้นแหละครับ พยายามเก่งก่อนแล้วค่อยปฏิบัติครับ   

 ซึ่งต่างจากที่พวกเราเรียนรู้มาคือ ลองทำดูก่อนแล้วค่อย ๆ เรียนความรู้กัน คือ "ค่อย ๆปีนจากโคนถึงยอดไม้" ครับ

แต่สุดท้ายก็ไม่ อะไรถูก อะไรผิดครับ ขึ้นอยู่กับบริบท ไม่อะไรเป็นคำตอบสุดท้ายของปัญหาเสมอไปครับ แต่ส่วนใหญ่ชอบเลือกเก็บผลไม้จากปลายยอดนะครับ เพราะมันลำบากน้อยกว่าครับ

 

 

 

 

 

สวัสดีค่ะ
P

ตกลงไปดูหนังสืออัมพวา แล้วซื้อหรือเปล่าคะ ถ้าซื้อแสดงว่าเตรียมไปทำ project ตั้งแต่วันนี้ ระวังเขาเปลี่ยนที่นะคะ ได้ยิน อ.บอกว่าไปภูกระดึง จริงเปล่า ไม่รู้

ส่วนเรื่องการอบรม พี่เคยออกแบบ หลักสูตร Train the trainer โดยใช้วิธีดึงผู้เรียนออกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ไม่บรรยาย แต่สอนด้วยกิจกรรมทั้งหมด ผู้เรียนบางคนก็ชอบมาก บางคนก็ใจร้อน อยากกินอาหารจานด่วน บอกว่าชอบให้บอกๆ มาเลย จะได้ลดเวลาสัมมนา แต่เคยแลกเปลี่ยนกับ อ.ประพนธ์ ก็เจอปัญหาคล้ายๆ กัน คนไม่สนใจ process มุ่งแต่จะเอา result

สวัสดีค่ะ อาจารย์

P

ขอบพระคุณอาจารย์สำหรับคำแนะนำค่ะ ชอบมากเลยค่ะ สมุดหายได้ แต่สติต้องไม่หาย และสำหรับท่อนนี้ก็เป็นคำแนะนำที่ดีมากๆ ค่ะ

"ลองนั่งนิ่งๆ   รวมรวบเรื่องที่ผ่านมา  ออกมาเป็น ภาพ  จะช่วยดึงบันทึกออกมาได้  ก็บันทึกในตัวเรา  นี่แหละ"

ตอนนี้เลยพยายามนั่งทบทวน ทำ self reflection ว่าที่ผ่านมาเรารับรู้อะไร เรียนรู้อะไรไปบ้างในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา แล้วชีวิตเรามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างไหม

ที่น่าแปลกคือ วันนี้นั่งจัดระเบียบห้องทำงานที่แสนรกมานาน เจอหนังสือธรรมะของท่านปัญญา หนังสือ คุยกันเรื่องความคิดของ อ.หมอประเวศ พอเปิดอ่านดู เอ! ทำไมอ่านเข้าใจง่ายขึ้น เนื้อหาคุ้นๆ เหมือนที่เราเรียนมา แต่ก่อนหน้านี้ อ่านแล้วไม่ get ค่ะ

สวัสดีค่ะ
ไม่มีรูป
Linginkun

พี่ดีใจมากเลยค่ะ ที่พวกเราเหมือนแกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน ชอบที่บอกว่าเราตกผลึกและเรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งมองออกมาได้แง่มุมหลากหลาย พอเอามาแลกเปลี่ยนก็เลยเป็นการต่อยอดต้นไม้ของเราให้เติบโตขึ้น

ตัวเองพอผ่านหลักสูตรนี้ นั่งรถประจำทางอย่างมีความสุขขึ้น เพราะสังเกตมากขึ้น เมื่อวานนั่งรถตู้จากบ้านไปจตุจักร รถน้ำมันหมด แวะปั๊ม พี่เหลือบไปเห็นคำว่าตั้งศูนย์ถ่วงล้อ ภาษาอังกฤษเขาเขียนว่า wheel alignment and balance เกิดมาก็เพิ่งเคยรู้ เลยรีบจดไว้ค่ะ

P
สวัสดีค่ะ อ. ขจิต ฝอยทอง
ขอขอบคุณสำหรับการ share บันทึกเรื่อง project based ที่ทำ link ไว้ให้ค่ะ เข้าไปอ่านมาแล้วดีมากๆ ค่ะ เพิ่งเคยเห็นว่าบันทึกนี้มีผู้เข้ามาชมถึง 4000 กว่าคน แสดงว่า สมาชิก gotoknow เป็นอาจารย์เยอะมาก และเป็นเรื่องที่กำลังน่าจับตามองอย่างมากในแวดวงการศึกษา ในบริษัทเองก็มี โครงการพัฒนาพนักงานโดยใช้ project based เหมือนกัน เพราะใช้หลักการเรียนรู้แบบ constructivism ค่ะ

ดีใจจัง อ่านแล้วได้รำลึกความหลัง ที่ไปผจญภัยด้วยกัน

 

ได้เข้ามาอ่านแล้ว ตามคำแนะนำของป๋าดันนะ... วันนี้หมองตื้อๆอีกแล้วค่ะ เจอหลายโจทย์เลยค่ะ (อ่ะ...เบต้าขึ้น) มีคิดจะเอาวิธีการแบบกลุ่มน้า มาหาข้อมูลในงานด้วยนะ แต่ยากส์จัง สงสัยถ้าไม่ไหวจะถอยกลับมาแบบเดิม อยากตั้ง cop marketing จัง... จะได้ฟังlearning point จากกลุ่มอื่นๆ เหมือนที่อัมพวานะ

คิดไว้เหมือนกันครับ ว่าต่อไปจะท่องเที่ยวแบบนี้แหละ อยู่ที่เดียวนานๆ หมั่นสอบถามมากขึ้น

ว่าจะขยายผลไปยังลูกๆ ให้หัดเที่ยวแบบนี้ด้วย น่าจะดี

สวัสดีค่ะ น้อง Virisj

อยากมีโอกาสเจอกัน แล้วผจญภัยร่วมกันอีกนะคะ โดนคนที่บ้านว่า เหมือนเด็กใจแตกไปแล้วอ่ะ

สวัสดีค่ะ น้องปรีดิ์

พี่ขอแสดงความชื่นชม ยินดี ปรีดา ที่พ่อไปเรียน ได้ความรู้ไปใช้ทั้งเรื่องการงานและชีวิตส่วนตัว แล้วยังได้นำไปสอนลูกอีกด้วย  ช่วยกันสร้างอนาคตของชาติ แม้เป็นส่วนหนึ่งก็ยังดี

ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ จะได้ไม่ต้องทำแบบญี่ปุ่นที่ต้องสร้างเมืองในยุคอดีตจำลองขึ้นมา เพราะหาชีวิตแบบนั้นไม่ได้แล้ว น่าจะตื่นตัวกันซะที

สวัสดีค่ะ น้อง Mudcha IF1.5

ทำให้พี่คิดอยู่ตั้งนานว่าใครนะ ตอนนี้รู้แล้ว ต้องขอขอบคุณอีกครั้งที่ช่วยเก็บสมุดโน้ตมาส่งคืนให้ ทำให้คำอธิษฐานของพี่เป็นจริง

สำหรับเรื่องการทำ Marketing พี่ว่าประยุกต์ใช้วิธีที่อัมพวามาหาข้อมูลได้สบายเลย ตอนที่ไปฟังเขาทำ Presidential Diagnosis   Big Boss ของเครือฯ ก็ให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิตคลุกคลีกับลูกค้าเพื่อหา latent needs ให้เจอ

ไว้จะส่ง link เรื่อง CoP ที่อาจารย์ประพนธ์ พูดถึง เผื่อจะได้ไอเดียการทำ CoP ให้ยั่งยืนมีชีวิตชีวา

  • ตามมาขอบคุณทำให้ผมทราบว่า
  • ไม่เพียงแต่การศึกษาเท่านั้นที่ทำ Project Based Learning
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท