เรียนรู้จากหน้างาน : การประเมินแบบมีส่วนร่วม (5)


เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทีมงานที่จะต้องเรียนรู้กระบวนการและขั้นตอนต่าง เพื่อให้สามารถดำเนินการทดแทนกันได้
          วันที่ 30 มกราคม  2550  วันนี้ ทีมงานของเราจากสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร  จำนวน 5 คน  ประกอบด้วย หน.สายัณห์  เกียรติกำแหง  ,คุณกมลรัตน  นาคคำ,  คุณสราญจิต  หรุ่นขำ , คุณสายัณห์  ปิกวงค์ และผม ได้เดินทางไปร่วมประเมินกล่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเณรจำ  ตำบลดอนแตง  อำเภอขาณุวรลักษบุรี  จังหวัดกำแพงเพชร
           ส่วนทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุฯ นำทีมโดยคุณสถิตย์  ภูทิพย์ เกษตรอำเภอ  และนักส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอทุกคน ได้เข้าร่วมเรียนรู้กระบวนการประเมินกลุ่มญ แบบมีส่วนร่วม    กิจกรรมที่เราได้ดำเนินการในวันนี้มีดังนี้ครับ
  • ทีมงานของเราไปถึง ก็มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทำการผลิตปลาร้าบ้านเณรจำ  มารอที่อาคารเอนกประสงค์เรียบร้อยแล้ว  แต่ลักษณะการนั่งยังเป็นทางการ   พอเราไปถึงและก่อนจะเริ่มกระบวนการ ก็จัดที่นั่งกันให้ ให้เป็นลักษณะครึ่งวงกลม
 

ลักษณะการนั่งจากเดิม

การนั่งหลังจากปรับเก้าอี้แล้ว

 

ขั้นตอนที่ 1 

           หลังจากปรับเก้าอี้นั่งกันเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้น คุณสายัณห์  ปิกวงค์ก็ดำเนินกระบวนการในลำดับที่ 1 คือขั้นตอนของการทบทวนข้อมูลของกลุ่ม  ซึ่งโดยปกติคุณสมเดช  จะเป็นคนดำเนินการ แต่วันนี้ไม่อยู่ก็เลยเปลี่ยนคนดำเนินการแทน


คุณสายัณห์ ดำเนินการในขั้นตอนที่ 1 ทบทวนข้อมูล
  • ในขณะที่คุณสายัณห์ กำลังดำเนินการอยู่นั้น คุณกมลรัตน์  นาคคำ ก็ถือโอกาส ลปรร.กระบวนการประเมินกับเพื่อน ๆ นักส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี ถึงรูปแบบ และเนื้อหาในการประเมิน

  
 คุณกมลรัตน์ ลปรร.กับทีมของสำนักงานเกษตรอำเภอ

 

ขั้นตอนที่ 2

          ในขั้นที่2  หลังจากการทบทวนข้อมูลของกลุ่มแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนในการประเมินตนเองของกลุ่ม  วันนี้เปลี่ยนคนดำเนินการจากเดิมที่ผมเป็นคนรับผิดชอบดำเนินการในขั้นตอนนี้    วันนี้เปลี่ยนให้คุณกมลรัตน์ นาคคำ ดำเนินการแทนโดยใช้แบบประเมินอย่างย่อ ที่ผมจัดทำไว้เป็นตัวเดินเรื่อง


คุณกมลรัตน์ ดำเนินการในขั้นตอนที่ 2
  • หลังจากการชี้แจงแล้วก็ให้สมาชิกของกลุ่มฯ ทำการประเมินตนเอง

ครั้งแรก/กลุ่มประเมินตนเองไม่ได้
  • วันนี้ เนื่องจากเปลี่ยนคนดำเนินการ  และการชี้แจงอาจไม่ชัดเจน ปรากฏว่า สมาชิกกลุ่มไม่เข้าใจการประเมินตนเอง ต้องเป็นหน้าที่ของคุณประทักษ์  ธรรมนิทัศนา นักส่งเสริมการเกษตรประจำตำบล ต้องทำการชี้แจงเพิ่มเติม  ทางสมาชิกกลุ่มจึงสามารถดำเนินการประเมินตนเองได้
คุณประทักษณ์ ต้องโดดเข้ามาอธิบายเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ 3

          วันนี้จากเดิมคุณสราญจิต เป็นคนดำเนินการเพื่อหาแนวทางพัฒนากลุ่มร่วมกัน    แต่วันนี้เปลี่ยนมาเป็นผมเป็นคนดำเนินการเอง   โดยเริ่มต้นผมใช้การทบทวนและชี้ให้เห็นภาพของกลุ่มว่ายืนอยู่ ณ จุดใด  มีประเด็นใดที่สามารถดำเนินการก่อน และต่อเนื่องจากการผลิตปลาร้าของกลุ่มฯ ได้บ้าง   ซึ่งสมาชิกกลุ่มก็สามารถกำหนดแนวทางพัฒนากลุ่มฯ ได้  โดยมีทั้งประเด็นที่สามารถดำเนินการได้เอง และบางประเด็นก็จะขอรับการสนับสนุนจากท้องถิ่น


          หลังจากกระบวนการในการประเมินกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเณรจำ เรียบร้อยแล้ว  เนื่องจากวันนี้ทางนายก อบต.ดอนแตง และเจ้าหน้าที่ของ อบต. มาร่วมสังเกตการณ์ด้วย  ทางนายก อบต. ดอนแตงได้พบปะและร่วมให้แนวคิดในการพัฒนากลุ่มฯ และพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินการของกลุ่ม 

นายกอบต.ดอนแตง พบกลุ่มวิสาหกิจฯ
  • วันนี้ทีมงานของ อบต. และทางสำนักงานเกษตรอำเภอขาณุวรลักษบุรี เข้ามาสังเกตการณ์ และร่วมเรียนรู้การดำเนินกระบวนการประเมินในครั้งนี้ด้วย

ผู้มาร่วมเรียนรู้

          หลังจากนั้นพวกเราทีมงานนักส่งเสริมการเกษตร ทั้งจังหวัดและอำเภอ ได้ร่วมกันสรุปบทเรียน และทาง นายก อบต. และเจ้าหน้าที่ ได้ร่วมสรุปบทเรียนกับพวกเรานักส่งเสริมการเกษตรด้วย


บรรยากาศการสรุปบทเรียนร่วมกัน


          สรุปบทเรียนของวันนี้

  • วันนี้มีหลายฝ่ายมาร่วมกันเรียนรู้และประเมินกลุ่มฯ ทั้งทาง อบต. , กำนันตำบลดอนแตง และเพื่อนๆ นักส่งเสริมการเกษตรของอำเภอขาณุวรลักษบุรีทุกคน ทำให้บรรยากาศของการมีส่วนร่วมของนักพัฒนาเป็นไปด้วยดี  และทุกจนมองเห็นสิ่งที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินการต่อไป 
  • วันนี้ทั้ง 3 ขั้นตอน มีการปรับเปลี่ยนคนดำเนินการ ซึ่งก็สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี  ซึ่งทีมงานทุกคนสามารถดำเนินกระบวนการทดแทนกันได้  เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทีมงานที่จะต้องเรียนรู้กระบวนการและขั้นตอนต่าง เพื่อให้สามารถดำเนินการทดแทนกันได้
  • ในขั้นตอนที่ 3  จากเดิมที่ดำเนินการโดยให้ประเด็นคำถาม แล้วให้กลุ่มร่วมกันหาแนวทาง และจดลงบนกระดาษฟาง แต่วันนี้ ผมให้กลุ่มร่วมกันคิดเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนมาบันทึกลงบนบัตรคำ  หลังจากนั้นค่อยแยกประเด็นใหม่ว่า ประเด็นใดสามารถดำเนินการได้เอง และประเด็นใดที่ต้องพึ่งพาภายนอก พบว่าการใช้บัตรคำมีความสะดวกต่อการดำเนินการในขั้นตอนนี้มาก
  • ในการให้สมาชิกกลุ่มทำการประเมินตนเอง โดยใช้แบบประเมินที่เขียนลงบนกระดาษฟาง  ในการดำเนินการครั้งต่อไปจะต้องชี้แจงให้ละเอียด-อย่างช้าๆ เพราะบางครั้งสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อาจไม่เข้าใจ ทำให้เกิดเหตุการณ์เหมือนวันนี้ที่ต้องมีการอธิบายเพิ่มเติมกันใหม่
  • ฯลฯ

อ่านต่อตอนที่ 6

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 75541เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะคุณ  สิงห์ป่าสัก

  • บันทึกนี้สะท้อนภาพให้เห็นถึงการทำงานที่มีขั้นตอน  และเป็นระบบอย่างชัดเจน 
  • น่านับถือค่ะ 
  • ครูอ้อยเป็นกำลังใจในการทำงานด้วยนะคะ

เรียน  ครูอ้อย

  • ทำไปก็เรียนรู้ และปรับกระบวนการไปครับ
  • การทำงานกับกลุ่มฯ, เกษตรกรนั้นได้เรียนรู้อยู่ทุกๆ วันเลยครับ เพราะต่างกลุ่มฯ ต่างพื้นที่ก็ต้องปรับให้เหมาะสมอยู่ตลอดเวลา
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยียนและให้กำลังใจ

น้องสิงห์ป่าสักครับ

            ชอบที่ทุกบันทึกของน้องจะต้องมีการสรุปบทเรียน เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบล็อกน้องไปแล้ว พี่คิดว่าเป็นประโยชน์กับพี่มากและคิดว่ากับบล็อกเกอร์อื่นๆด้วยอย่างแน่นอน

เรียน  ครูนงเมืองคอน

  • สรุปบทเรียนไว้เพื่อการ ลปรร. และเอาไว้สรุปภาพรวมเวลาจัดทำรายงานผลวันหลังครับ 
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะเข้ามา ลปรร.และให้กำลังใจ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท