KM มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ตอนที่ 2)


การทำKMไม่ควรเป็นรูปแบบที่ตายตัว หรือแข็งเกินไป สามารถปรับและยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม

        อ่านรายละเอียดวันแรก (ลิงค์)

         วันที่สอง (8 กันยายน2549) เริ่มภาคเช้าด้วยการนำเสนอเรื่อง "การจัดการความรู้สู่งานวิจัย" โดย ผศ.สมพงษ์  บุญเลิศ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร  เป็นการเล่าความเป็นมาตั้งแต่การวิจัย  ไปสู่การจัดการความรู้

          จากนั้น เป็นการเล่าประสบการณ์การจัดการความรู้ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ 


ตัวแทน สพท.1 เชียงใหม่ รับโล่ห์ จาก คณะบดีบัณฑิตวิทยาลัย

          เนื่องจากมีเวลาเหลือเกือบ 1 ชั่วโมง  และผู้เข้าฟังส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ของ อบต.ในเขตจังหวัดเชียงใหม่ และลำพูน  ผศ.สมพงษ์  บุญเลิศ จึงปรับกระบวนการ ให้ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชรนำเสนอเรื่องเล่าที่ได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับ อบต. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เห็นภาพการกลับไปทำงานด้านการจัดการความรู้ในหน่วยงานของตนเอง

          การเล่าก็เริ่มด้วยการให้แนวคิดโดยผม และคุณสายัณห์ ปิกวงค์  และวเป็นการยกตัวอย่างกิจกรรมที่ดำเนินการจริงโดยคุณเชิงชาย  เรือนคำปา โดยได้ยกตัวอย่างการจัดการความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์ปลาร่วมกับ อบต. นาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร (สรุปขุมความรู้โดย ผศ.สมพงษ์ จะนำเสนอในบันทึกต่อไปครับ)

  


ทีมงานของ อบต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ยกทีมมาร่วม ลปรร.


         ภาคบ่าย

  • เป็นการนำเสนอการจัดการความรู้ของคณะครุศาสตร์ มรภ.เชียงใหม่ 
  • การนำเสนอวีซีดีสรุปการนำการวิจัย PAR กับงานส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ประมาณ 10 นาที
  • และสุดท้ายเป็นการสรุปขุมความรู้ของงานครั้งนี้โดยผศ.สมพงษ์  บุญเลิศ จาก มรภ.เชียงใหม่


 ผมและ ผศ.สมพงษ์ บุญเลิศ ถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน (KFCoP ภาคเหนือ)


          การดำเนินกิจกรรมในวันที่สองนี้ เป็นการปรับกระบวนการในบางส่วน เพื่อให้เหมาะสมกับผู้ที่มาร่วมงาน เป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของการทำ KM เพราะกิจกรรมทุกอย่างนั้นขึ้นอยู่กับงานและเป้าหมายของงานเป็นตัวตั้ง  KMเป็นเครื่องมือเพื่อให้เกิดการ ลปรร. ดังนั้นการทำKMไม่ควรเป็นรูปแบบที่ตายตัว หรือแข็งเกินไป  สามารถปรับและยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับว่าเราจะสร้างการ ลปรร.ในตัวคนให้เกิดขึ้นได้มากที่สุดอย่างไร

บันทึกมาเพื่อการ ลปรร.

วีรยุทธ  สมป่าสัก

หมายเลขบันทึก: 49429เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2006 08:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท