เมื่อกระแสการเกษตรรุนแรงดุจน้ำป่าไหลหลาก


เมื่อกระแสการเกษตรรุนแรงดุจน้ำป่าไหลหลาก

สวัสดีครับ วันนี้ผมขอเอากระแสเรื่องการเกษตรที่กำลังมาแรงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ เพราะว่าช่วงตั้งแต่ต้นปีมากระแสการเกษตรรุนแรงมาก โดยพืชที่เกษตรกรให้ความสนใจก็มีอยู่หลายอย่างเช่น

ชนิดที่ 1 ยางพารา เพราะว่าช่วงนี้ราคาดีมากและดีอย่างต่อเนื่องมาตั้งหลายปีแล้ว ใครมีสวนยางกำลังเปิดกรีดก็เฮเลยครับ ขนาดนายก อบต.บางแห่งที่รู้จักยังลงทุนกรีดเองเลย

ชนิดที่ 2 ปาล์มน้ำมัน ช่วงปีสองปีที่ผ่านมาราคาแสนแพง ตอนเรียนอาจารย์ผมบอกว่าปาล์มน้ำมันที่มาเลเซียหากเกินกิโลกรัมละสองบาทชาวสวนก็เฮแล้ว ตอนนี้ที่ปีเทศไทยตั้ง 6 บาทไม่รู้ว่าคนมีสวนปาล์มจะเฮกันหรือเปล่า ยิ่งรัฐบาลส่งเสริมและราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงอย่างนี้ ใครมีสวนปาล์มก็สบายตัวไป

ชนิดที่ 3 ข้าว ตอนนี้ข้าวเจ้าตันละเกินหมื่น ชาวนาเริ่มยิ้มได้ แต่ไม่รู้ว่ายิ้มได้นานหรือเปล่าเพราะว่าปุ๋ยแพงมากๆๆๆๆ พวกที่ทำนาปีบางส่วนอาจจะโอดโอยบ้างเพราะว่าขายไปข้าวสดราคาตันละ 5,000 - 6.000 บาทไปนานแล้ว หากจะลดต้นทุนใช้ปุ๋ยพืชสดในนาข้าวก็ดีนะครับ เช่นปลูกโสนแอฟริกันในนาข้าว ช่วยลดการใช้ปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนได้มหาศาล

ชนิดที่ 4 กระถินเทพา ได้รับความสนใจจากเกษตรกรเยอะมาก โดยเฉพาะเกษตรกรที่มีที่ว่างเปล่า ไม่รู้จะปลูกอะไร ปลูกกระถินเทพาทิ้งไว้ 5-6 ปี ตัดขายได้ไร่ละหลายหมื่น

ชนิดที่ 5 ตะกู ไม้นี้กระแสแรงตั้งแต่นายกสมัครออกมาแนะนำในรายการพูดจาประสาสมัคร ใน Blog ของผมบันทึกเก่าๆก็ได้เขียนไว้ อันนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจนะครับว่าจะเจ๋งจริงตามที่เขากล่าวขวัญหรือเปล่า ส่วนราคาซื้อขายยังไม่รู้ว่าราคาสักเท่าไร

นอกจากนี้ยังมีพืชอีกหลายชนิดที่อยู่ในกระแส แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ก่อนที่พี่น้องเกษตรกรจะเชื่อควรทำการศึกษาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนซะก่อน เพราะว่ามีพืชและสัตว์หลายต่อหลายชนิดที่สร้างกระแสขึ้นมาเพียงเพื่อต้องการขายพันธุ์ให้แก่เกษตรกรด้วยราคาที่สูง แต่ไม่มีระบบตลาดรองรับ หรือรองรับได้เพียงเล็กน้อย ทำให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

อีกประเด็นที่มีการพูดกันมากในเรื่องของการเกษตรคือเรื่องของนโยบายพืชอาหารกับพืชพลังงาน ว่าสัดส่วนควรเป็นเท่าไรถึงจะเหมาะสม ตามแนวความคิดของผม ผมคิดว่า

ในเรื่องของพืชอาหารควรทำการพัฒนาในเรื่องของศักยภาพการผลิตมากกว่าที่จะเพิ่มพื้นที่ปลูก เพราะปัจจุบันข้าวมีผลผลิตเฉลี่ยยังไม่ถึง 500 กิโลกรัมต่อไร่ ทำอย่างไรถึงจะทำให้อยู่ที่ 700 กิโลกรัมต่อไร่ขึ้นไป รวมถึงทำอย่างไรจะปลูกข้าวได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี ทำอย่างไรพื้นที่ชลประทานจะมีถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด โดยสรุปแล้ว พืชอาหารนั้นทำอย่างไรถึงจะทำให้ผลผลิตเพิ่มได้

ส่วนในกรณีของพืชพลังงาน สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่า น่าจะส่งเสริมให้มีการเพิ่มพื้นที่การปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานภายในประเทศไปก่อน เพราะว่าเทคโนโลยีการผลิตของไทยยังไม่ก้าวหน้านักในพืชบางชนิดเช่น ปาล์มน้ำมัน ที่ยังขาดความรู้ในเรื่องของพันธุ์ ซึ่งในปัจจุบันพันธุ์ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก(พันธุ์ที่เกษตรกรเชื่อถือ) ส่วนในพืชบางชนิดเช่นอ้อยและมันสำปะหลังที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าแล้วควรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควบคู่ไปกับการเพิ่มพื้นที่ปลูกเพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน กลับมาที่ปาล์มน้ำมัน การส่งเสริมควรส่งเสริมให้มีการปลูกทดแทนผลไม้ที่มักมีปัญหาด้านราคา โดยควรลงทุนให้แก่เกษตรกรในขั้นต้นเช่นการสนับสนุนพันธุ์หรือค่าชดเชยในการเปลี่ยนอาชีพ เพราะน่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาผลไม้แบบยั่งยืนมากกว่า ไม่ใช่เอาเงินมาแก้ไขปัญหาผลไม้กันรายปีเช่นปัจจุบัน เพราะว่าเกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนจากการปลูกผลไม้มาปลูกปาล์มน้ำมันนั้น ย่อมที่จะต้องมีการลงทุนที่สูงกว่าการปรับเปลี่ยนการปลูกพืชไร่ รวมทั้งในช่วงที่ปาล์มน้ำมันยังไม่ให้ผลผลิตก็เป็นช่วงที่เกษตรกรประสบปัญหาเช่นกัน อันนี้ต้องดูนโยบายกันยาวๆว่ารัฐบาลจะเอาอย่างไรในเรื่องนี้ ในฐานะนักส่งเสริมในปัจจุบันสิ่งที่ให้แก่เกษตรกรได้นั่นก็คือข้อมูลการตัดสินใจ แต่ไม่ใช่การตัดสินใจแทนเกษตรกร เพราะเราไม่มีระบบรับประกันความเสี่ยงให้แก่เกษตรกร แม้ในระยะหลังเกษตรกรมักจะชอบเรียกร้องให้เราฟันธงก็ตาม

 

หมายเลขบันทึก: 179176เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 11:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ ท่าน

P สุดทางบูรพา

 

* นับเป็นนิมิตหมายที่ดี นะคะ

* ส่งเสริมอะไร ก็ส่งเสริมกันไปเถอะคะ ขอแค่ ความจริงใจ จากรัฐ ก็พอ .. เราก็เชียร์เต็มที่

* เพราะต้องให้ความสำคัญกับการเกษตร และ เกษตรกร คือ คนส่วนใหญ่ ของประเทศ

* ได้อ่านแล้ว ชื่นใจแทน พี่ๆ น้อง ๆ ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

สนใจเรื่องข้าวๆๆๆครับ อิอิๆๆ หายไปนานมากๆๆๆๆจนคิดถึงๆๆๆ

สบายดีไหมครับ ไม่ได้คุยกันเลย :)

สวัสดีครับน้อง X

    ขอบคุณมากๆ เลยนะครัีบ ที่นำเสนอพืช Thai Sexy HOT ร้อนแรงทุกๆ ตัวครัีบ

    น้องได้นำเสนอปัญหาวิจัยสำหรัีบ นักวิชาการเกษตรของประเทศเลยครัีบ

  • มีพื้นที่เป็นของตัวเอง
  • จะปลูกอะไรในพื้นดินที่มี
  • พืชดั้งเดิมคืออะไร สมบูรณ์หรือไม่
  • ปัจจุบันปลูกอะไร ว่างเปล่าหรือไม่
  • จะปลูกอะไรต่อไป สำหรัีบดินที่มีและุคุณสมบัติดินแบบนี้
  • จะฟื้นฟูดินให้สมบูรณ์ หรือจะปลูกพืชที่มันอยู่ได้ในดินนั้น
  • ปลูกในสภาพแวดล้อมนั้นแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง ส่งผลอย่างไร
  • พืชที่จะปลูก มีกี่ประเทศ จะกระจายตัวในภาพรวมของประเทศอย่างไรให้สมดุลในภาพรวม
  • เกษตรกรรมไทย จะเดินไปทางไหน เราจะให้ชาวบ้านคิดอย่างมีภูมิคุ้มกันได้อย่างไร
  • เราจะเป็นเพื่อนกับชาวบ้านในการเดินไปในทางยั่งยืนได้อย่างไร
  • เราปลูกพืชหรือทำเกษตรเพื่ออะไร
  • มีนักศึกษาที่จบเกษตรแล้ว มีใครอยากลงพื้นที่ไปทำนาทำสวนส่งเสริม นำแนวทาง ร่วมเดินไปกับชาวบ้านบ้าง
  • มีนักศึกษาที่จบแล้ว อยากทำงานกับบริษัทผลิตภัณฑ์เกษตรดังๆ ของไทย บริษัทต่างๆ บ้าง ยกมือขึ้น
  • ใครเรียนเกษตรจบแล้วอยากเป็นเซลแมนบ้าง
  • กว่าจะมาเป็น NPK ข้างกระสอบสามตัวของสูตรปุ๋ย มีที่มาอย่างไร อธิบายหรือร่วมเรียนพร้อมๆ กับชาวบ้านไปได้อย่างไร มีทางออกอื่นไหมที่ได้ผลทางเดียวกันและยั่งยืน
  • และอื่นๆ มากมายนะครัีบ ตลอดการนำไปสู่การวางแผนการตลาดให้กับชาวบ้านแบบจริงใจ นำไปสู่แผนงานรวมทั้งประเทศ เพราะแขนขาของรัฐทางการเกษตรกระจายอยู่ทั่วประเทศ จะทำแขนขานี้ให้มีศักยภาพและเป็นที่พึ่งของชาวบ้านอย่างแท้จริงได้อย่างไรครัีบ
  • ตอนนี้ หากเอาแผนที่ประเทศไทย ขึ้นมาแสดงผลในหน้าจอคอมพิวเตอร์ ผมกดเลือกพืชต่างๆ ที่น้องเอ็กซ์เสนอมาและพืชตัวอื่นๆ เป็นไปได้ไหมที่จะแสดงพื้นที่ปลูกพืชเหล่านั้นขึ้นมา และบอกปริมาณต่างๆ ให้เราทราบ นำไปสู่การวางแผนให้กับชาวบ้าน กรณีที่เกินจากการบริโภคพื้นฐาน
  • และอื่นๆ นะครับ
  • ด้วยส่วนตัวพี่แล้วนั้น ตั้งแต่เรียนเกษตรที่แฝงอยู่ในวิชาพื้นฐานของสายวิทย์มา ยอมรับว่าคาดหวังการทำงานร่วมกันของหน่วยงานวิชาการทางเกษตรของรัฐมากๆ ครัีบ และเพิ่งมาทราบตอนหลังว่ามีกรมส่งเสริมขึ้นมาด้วย ทำให้รู้สึกว่า เกษตรกรมีทางออกมากขึ้นครับ
  • เป็นกำลังใจในการทำงานนะครับ ผมก็จะร่วมช่วยในแบบที่ช่วยได้ครัีบ แต่ไม่อยากให้แนะนำชาวบ้านแบบแห่ยอดเหมือนต้นถั่วงอกนะครัีบ
  • ขอบคุณมากครับน้อง ต้องขอโทษด้วยครัีบ หากความเห็นอาจจะออกแรงๆ หนักๆ ไปหน่อยครัีบ

รักษาสุขภาพ และโชคดีในการทำงานครัีบ

สวัสดีครับ

สบายดีไหมครับ

  • สวัสดีครับคุณปู
  • ปัจจุบันที่ภาคเกษตรมันขึ้นๆลงๆเพราะว่านโยบายไม่ค่อยนิ่งครับ หากนิ่งกว่านี้การเกษตรไทยไปโลดครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีกัลยาณมิตรทุกท่านที่เข้ามาทักทายครับ
  • ขอบคุณสำหรับความคิดถึงครับ
  • สวัสดีครับอาจารย์เม้ง
  • ผมเองก็มีกรณีศึกษาของตัวเองครับว่าจบเกษตรแล้วทำไมไม่ชอบทำเกษตร คำตอบของผมคือผมเรียนเพราะขี้เกียจทำงานหนักครับ
  • ประเทศไทยยังไม่มีทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนาการเกษตรครับ
  • ขอบคุณครับ
เทคโนโลยีการผลิตของไทยกับต่างประเทศต่างกันอย่างไรค่ะ

รบกวนถามเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตของไทยต่างกับต่างประเทศอย่างไรค่ะ

สวัสดีครับ

จากคำถามข้างต้น สามารถจำแนกได้หลายประเด็นครับ ขึ้นอยุ่กับว่าเราจะเปรียบเทียบกับประเทศอะไร

หากเราเทียบกับประเทศที่มีความเจริญทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรสูงๆเช่นอิสราเอล อเมริกา เนเทอร์แลนดื ญี่ปุ่น เทคโนโลยีการผลิตของเขาคือการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงที่สุด คือการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ หากเราเทียบกับประเทศที่ยังมีเทคโนโลยีไม่สูงนัก ประเภทพวกนี้มักจะมีพื้นที่การเกษตรค่อนข้างมาก การผลิตมักใช้เลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สูงนัก เน้นการผลิตด้วยต้นทุนที่ต่ำ

โดยภาพรวมแล้ว การใช้เทคโนโลยีการเกษตรของไทย ส่วนใหญ่จะคล้ายกับประเทสเกาตรกรรมทั่วไปมากกว่า คือมีพื้นที่การเกษตรเยอะ ใช้เทคโนโลยีการเกษตรที่ไม่สูงมาก เน้นการปลูกในพื้นที่ใหญ่ๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตเยอะๆมากกว่าจะลงทุนด้านเทคโนโลยีที่มีราคาแพงเพื่อเพิ่มผลผลิต

ไม่รู้ว่าจะตอบตรงคำถามหรือเปล่านะครับ

ขอบคุณครับ

ประดิษฐ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท