(R)AAR : "ธรรมาภิบาลกับความพอเพียง" ที่ มมส. (25 ก.ค. 2550)


"กิจกรรมใดก็ตาม ที่เสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว ไม่มีความต่อเนื่อง ...ถือเป็นการอบรมสัมมนาทั่วไป"

RAAR : Reflection & After Action Review : ผมขอใช้โอกาสนี้ เพื่อเป็นการ Reflection ไปพร้อมๆ กับ AAR (RAAR) เลยแล้วกันครับ ดังนี้ :-

กิจกรรมที่เกิดขึ้นจากงานสัมมนาที่ผ่านมา (25 ก.ค. 2550) เรื่อง "ธรรมาภิบาลกับความพอเพียง" โดยมี ดร.ถวิลวดี  บุรีกุล ให้เกียรติเป็นวิทยากร ...นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการขับเคลื่อน KM และอีกส่วนหนึ่งก็เป็นเจตนาและความหวังลึกๆ ที่ผมอยากเห็นความเปลี่ยนแปลงที่อยากให้เกิดขึ้นกับกระบวนการทำงานของ Team-B ในการดำเนินงานขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยด้วย KM สิ่งที่เกิดขึ้นก่อนหน้า-ระหว่างการดำเนินกิจกรรม-และภายหลังกิจกรรมเสร็จสิ้นลงไป สิ่งที่ผมพอจะรับรู้ได้ตลอดการร่วมงานกัน ผมคิดคำถามเพื่อกระตุกต่อมความคิดเล่นๆ ว่า การทำงานเป็นทีม ที่เป็นทีมแบบจัดตั้ง ทีมเฉพาะกิจ ย่อมมีช่องว่างระหว่างการทำงานอยู่ไม่น้อย ลำพังทีม B เองคงไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ขนาดนี้

ก่อนหน้า

เมื่อกลับไปดู  ABC โมเดล คำถามต่อมาคือ แล้วมีใครบ้างล่ะที่มีส่วนร่วม (C) ก็เห็นจะมี ทีม B เอง ที่เริ่มผมเสนอว่านับจากวันประชุมเหลือเวลาอีกไม่เกิน 4 เดือนก็จะสิ้นสุดปีงบประมาณ ควรจัดกิจกรรม KM อย่างไรบ้าง และจากการคุยกันในที่ประชุมจนกระทั่งได้ข้อยุติและแบ่งงานกันไปทำตามที่ได้รับมอบหมาย

  • โครงการนี้ต้องยกความดี(ทำดีต้องยกย่อง) ให้กับ "คุณแต้ว" .... เพียงแต่เมื่อโครงการผ่านแล้วเจ้าตัว
    ก็ไม่ได้มาร่วมงาน ซึ่งน่าเสียดายมากๆ เสียดายโอกาสที่จะพัฒนาบุคลากรทั้งๆ ที่เป็นคนคิด
  • เจ้าหน้าที่ ที่มาร่วมงานจากหน่วยงานอื่นๆ ของมหาวิทยาลัย อาจมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ได้รับความสะดวกในการเตรียมความพร้อมไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม ...จะช่วยลดหรือขจัดสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร

ระหว่างการดำเนินกิจกรรม

  • ระหว่างการดำเนินกิจกรรมเท่าที่ผมทราบจากคนที่อยู่ท้ายสุดของเวที และรอบๆ เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยน อยู่บ้าง (หลายท่านปลอบใจว่าธรรมชาติ) วิทยากรก็พูดไปตามความเชี่ยวชาญเท่าที่มีอยู่
  • ถึงแม้คุณอำนวยจะดำเนินกิจกรรมกระบวนการให้ "ลื่นไหล" ได้ดีเพียงใดก็ตาม แต่นั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกคนจะได้ความรู้อย่างเท่าเทียมกันทั้งหมด ..ในเวลาอันสั้น หากแต่เพียงเป็นการ ชี้ให้เห็นว่า ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการเพื่อ "ดึง ดูด และซับ" เอา tacit ออกมาสู่ Explicit ให้ง่ายขึ้นเท่านั้น ...จะได้ผลมากน้อยเพียงใด
    ผู้เข้าร่วมฯ จักต้องนำหลัก "ธรรมาภิบาล" ไปลงมือปฏิบัติให้ได้ และทำอย่างไรจะได้อย่างพอเพียง
  • คุณวุฒิ ความอาวุโส ตำแหน่งหน้าที่การงาน ...ต้องยอมรับความจริงของสังคมไทย เป็นสิ่งที่ยังฝังติดอยู่ในหัวของผู้เข้าร่วมฯ จากกระบวนการกลุ่ม หากไม่เปลี่ยนหรือฝึกการสนทนา การเล่าเรื่องแม้กระทั่งคุณลิขิต และคุณอำนวย แต่ละกลุ่ม สิ่งนี้ย่อมมีความแตกต่างกันในเรื่องทักษะ ซึ่งแต่ละคน แต่ละกลุ่มก็ไม่เหมือนกัน ...ทำให้ tacit ออกมาสู่ explicit ก็ไม่มีความแตกต่างด้วย
  • ท้ายของกระบวนการก็มีการให้ทำ AAR แต่ละคนที่เข้าร่วมฯ

หลังกิจกรรม

  •  ทีม B ต่างแยกย้าย (โดยไม่รู้ว่าจะต้องทำ AAR กันจริงๆ อีกเมื่อไร ผ่านทาง Blog สอง Blog) ผู้เข้าอบรมก็ต่างแยกย้าย ...ดุจดังนกหลุดออกจากกรง(อะไรสักอย่าง) ซึ่งก่อนที่จะแยกย้ายกันทุกๆ ฝ่าย โดยที่ Team-B ต้องแจ้งให้ทราบ
    และการที่จะแจ้งให้ทราบว่าอะไร อย่างไรนั้นได้ ถ้าให้ดี Team-B ควรจะต้องใช้การ BAR กันก่อน ...ซึ่งผมก็พยายามจะทำสิ่งนี้ แต่ก็ไร้ผล ...ควรแก้ไขหรือไม่?
  • KA ที่ได้จากงานครั้งนี้ นอกจากที่ อ.JJ (ต้องขอบคุณครับ) ที่ได้ทำเป็น digital files แล้ว ก็ยังมี VDO ที่ทางทีมงาน CARD ได้บันทึกเอาไว้ ...จุดนี้ Team-B จะมีการจัดการเรื่อง KA กันอย่างไร
  •  การเผยแพร่และส่งมอบ : เมื่อได้ KA ในรูปแบบต่างๆ ข้างต้นแล้ว ควรมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางไหนและส่งมอบอย่างไร ..ตรงนี้ Team-B ก็ไม่ได้แจ้งผู้เข้าร่วม
    ถ้าหาก BAR ก่อน ก็จะเป็นประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมฯ อย่างยิ่ง ....เข้ากับหลัก "ธรรมาภิบาล" เรื่องความโปร่งใสหรือไม่ประการใดครับ?
  • AAR ของ Team-B : การทำ AAR ทราบดีว่า ถ้าจะให้กระบวนการ KM สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ควรจัดทำการ AAR ซึ่งทุกคนควรได้ทำแล้วนำมาปรับปรุงแก้ไข ไม่ว่าจะผ่านช่องทางใดก็ตาม อาจเป็น กระดาษ(ตามฟอร์ม) Blog ซึ่งช่องทางของ Blog เห็นว่ามีอยู่น้อยมาก และไม่ค่อยไปในทางเดียวกัน หัวปลาหันไปคนละทิศ
    บ้างก็เอา ที่มีอยู่ใน slide มาสื่อสารต่อ เพียงเพื่อได้ชื่อว่า "ได้ทำหน้าที่บางอย่างแล้วนะ" โดยที่ไม่ได้สังเคราะห์ ...การสังเคราะห์สำคัญอย่างไร Blog หรือเครื่องมือ
    ทาง IT ในโลกนี้ไม่อาจจะ "สังเคราะห์" องค์ความรู้จากคนได้ดีเท่ากับคนด้วยกันเอง อย่างมาก็ใช้ "keyword" หรือ "คำหลัก" เท่านั้นเอง
  • AAR ของผู้เข้าร่วมฯ : สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมอยากเห็น อยากเห็นตั้งแต่คิดเรื่องของ ABC model แล้ว ทุกๆ ครั้งที่จัดกิจกรรม จะไม่ได้เห็นเลยครับว่า มี AAR หรือการมีส่วนร่วมหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ซึ่งอย่าเพิ่งเข้าใจผิดนะครับว่า "ก็กิจกรรมวันนี้เสร็จแล้ว และได้ทำ AAR ตอนท้ายแล้วด้วย" ...ลองมองต่อไปสิครับว่า กระบวนการมีส่วนร่วม (C) จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้อย่างไร จะใช้ตัวชี้ไหนเพื่อมาวัด ซึ่งตัวชี้วัดของ กพร. และ สมศ. เองก็เป็นอะไรที่ไม่สมกับความเป็นจริง ...ตรงนี้ "เซียน" ตัวชี้วัดต่างๆ คงทราบดี นอกจากนั้นยังมีเครื่องมืออะไรหรือไม่ที่จะช่วยเรื่องนี้ได้ เรื่องนี้ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ได้กรุณาแนะนำเครื่องมือ "Outcome mapping" ให้ไว้เมื่อครั้ง UKM-10 ที่ ม.วลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เป็นเจ้าภาพ ...Team-B ควรทำหน้าที่ตรงนี้อย่างไร?

ท้ายสุดนี้ หวังว่าคงได้ AAR แบบ B2B กันอีกครั้ง (ซึ่งก็ไม่รู้เมื่อไร)

ด้วยความเคารพและขอบคุณทีมงานทุกท่าน

วิชิต ชาวะหา

หมายเลขบันทึก: 114945เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007 02:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับพี่วิชิต

  • หลังจากกลับมาท่านอาจารย์จิตเจริญ JJ ก็เฝ้าเพียรถามว่า "จะAAR ในภาพของผู้จัดเมื่อใด" ผู้ก็ตอบไม่ได้ เพราะคงไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ
  • แต่อย่างผมกับท่านก็ AAR กับไประดับหนึ่งแล้ว แต่ก็ต้องรอทีมทั้งหมด
  • ได้ยินข่าวว่าหลังจากปิด 4 วัน เปิดมาวันที่ 1 สิงหา จะมีการนัด AAR ถึงจะไม่ทันใจนัก คงพอรับกันได้

ขอบคุณครับสำหรับการสะท้อนภาพที่ตรงใจเช่นกัน

สวัสดีค่ะพี่วิชิต

  • ไม่ได้เข้ามาทักทายใน g2k ซะนานได้แต่ทักกันภายนอก
  • ที่ไม่สามารถ "สานต่อความคิดได้" หวังว่าทีม MSUKM  คงเข้าใจ
  • ขอขอบคุณสำหรับคำชม แล้วพบกันในโอกาสต่อไปค่ะ

 

 

  • ท้ายสุดนี้ หวังว่าคงได้ AAR แบบ B2B กันอีกครั้ง (ซึ่งก็ไม่รู้เมื่อไร)

  • คงจะหมายถึง แบบ F2F มากกว่านะครับ

  • เรื่องนี้คงต้องขึ้นอยู่กับ CKO มีช่องที่ไม่ติดภาระกิจครับ ซึ่งก็หวังว่าคงไม่นานเกินรอ

  • KSF ก็อยู่ที่ ท่านเลขาฯ ครับ.....ท่านวิชิต ก็คงทราบดีอยู่แล้ว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท