คะแนนชีวิต ส่งเสริมคนดี เพื่อได้คนเก่งและดี


คนที่ได้ทำอะไรดี เพื่อครอบครัว เพื่อสังคมแล้ว และเราก็ได้ส่งเสริมเค้า เค้าก็จะมองแต่สิ่งดีๆต่อไปในอนาคตด้วย

วันนี้ ขอคุยในฐานะคนไทย ที่รับราชการ แต่ไม่ได้สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ มองยังการศึกษาไทย
ขอ มองนักเรียน ระดับ ม.ปลาย ก่อนนะครับ ระดับอื่นจะต่อเนื่องต่อไป
.นิยาม
นักเรียน =นักเรียน ที่เรียนอยู่ในระดับม.ปลาย
ent =การสอบเข้ามหาวิทยาลัย
มหาลัย =มหาวิทยาลัย
.
ทุกวันนี้ ชีวิตนักเรียน 
วันปกติ อยู่โรงเรียนเรียนหนังสือ เฉลี่ย วันละ 8 ชม (8.00-16.00)
อยู่บ้าน รวมภาระกิน ส่วนตัว คิดแบบเต็มที่ วันละ12 ชม(19.00-7.00)
ที่เหลือ เป็นเวลาเดินทางไปเรียน และว่าง
วันหยุด
ภาระกิน ส่วนตัว เท่าเดิม 12 ชม(19.00-7.00)
ที่เหลือของวันหยุด คือว่าง

ที่ว่าว่างนี้ ว่างจากเวลาหลัก แล้ว ว่างนี้นักเรียนทำอะไรกันบ้าง
...นอน ดูทีวี อยู่บ้าน
...เกม เกม
...สันทนาการ ในห้าง
...เรียนพิเศษ
..เล่นกีฬา
..ดนตรี
..ศิลปะ
.ทำงานพิเศษ
.ดูแล บุพการี(กรณีเจ็บป่วย)

แล้วคิดว่ากลุ่มไหน จะสอบ ent ได้มากกว่ากัน

ปัจจุบัน ระบบ ent มีเกณฑ์คือใช้
GPAX 10%
GPA กลุ่มสาระภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ กลุ่มละ 4% รวม 20%
- คะแนน O-NET รวม 35-70%
- คะแนน A-NET รวม 0-35%
หรือ คิดแล้ว O-NET + A-NET 70%
การจะent คือวัดกันที่ความรู้ แต่ไม่ได้วัดกันที่ความดีเลย

แล้ว แบบปัจจุบัน เป็นอย่างไร
นักเรียน ที่บ้านมีเงิน เรียนเก่งด้วย ว่างอาจเรียนพิเศษเพิ่ม entได้
นักเรียน ที่บ้านมีเงิน เรียนไม่เก่ง ว่างอาจนอน เล่นเกม ไปเรียนพิเศษเพิ่ม entได้
นักเรียน ที่บ้านไม่มีเงิน เรียนเก่ง ทำงานพิเศษ ไม่ได้เรียนพิเศษ ยังพอ ent ได้
นักเรียน ที่บ้านไม่มีเงิน เรียนไม่เก่ง ทำงานพิเศษ ดูแลบุพการี(ถ้าที่บ้านมีเงินคงจ้างคนอื่น)ไม่มีโอกาสเรียนพิเศษ ไม่มีวัน ent

อาจมองเห็นว่า ถ้ามีโอกาสเรียนพิเศษบ้าง คงได้แนวคิด วิธี เพื่อ ent ได้


แต่ที่ผมให้ดู และให้คิด แบบภาพรวมนะครับคือ
ถ้า นักเรียน ใช้เวลาที่ว่างเป็นประโยชน์ ไม่นับการเรียนพิเศษ
เล่นกีฬา ดนตรี ทำงานพิเศษ ดูแลบุพการี ยังมองเห็นว่าคนเป็นคนดีของสังคมได้ ทำตนให้เป็นประโยชน์
เล่นกีฬา ดนตรี  ศิลปะ อาจเป็นนักกีฬา หรือนักดนตรี หรือนักศิลปะตัวแทนระดับเขตระดับประเทศได้ ถ้าต้องent มักต้องเข้าคณะที่เกี่ยวข้องกับกีฬาหรือดนตรี ศิลปะนั้นๆด้วยหรือเปล่า
ทำงานพิเศษ ดูแลบุพการี อาจมองว่าไม่ได้ทำงานเพื่อส่วนรวม แต่ทำงานเพื่อส่วนตัว แต่เค้าก็มักเป็นเด็กดีของสังคมกันนะครับ ไม่คิดที่จะหาเงินด้วยวิธีที่ไม่ดีผิดกฏหมาย เป็นลูกที่ดีกตัญญู
นักเรียนแบบนี้ ถ้าเค้าคิดว่าถ้าจะให้ent ติดต้องเรียนพิเศษ เค้าไม่มีเงิน แต่เค้าอยากเรียนเค้าอาจคิดหาเงินในทางที่ผิดก็ได้

นักเรียนอีก กลุ่ม ใช้เวลาว่าง แบบไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ไม่นับการเรียนพิเศษ
นอน เล่นเกม สันทนาการในห้าง พวกนี้ทำอะไรให้สังคมบ้าง ใช้แต่เงินพ่อแม่ ถ้าต้องent ก็ไปเรียนพิเศษ

ลองมองทั้ง 2 กลุ่มแล้วคิดว่าเด็กไทย ควรจะให้เป็นกลุ่มไหนได้เรียนต่อมหาลัยมากที่สุดละครับ

นักเรียนที่ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์ จะพอมองเห็นได้ว่าเค้าก็เป็นคนดีนะ แต่ลองคิดนะครับว่า เป็นดีแบบพวกนี้ โอกาส ent ได้ กี่คน ถ้าเทียบกับอีกกลุ่มที่พ่อแม่พร้อมให้เงินไปเรียนพิเศษ
แล้วการ ent ไม่คิดจะรับและส่งเสริมคนดีที่ทำตัวเป็นประโยชน์บ้างหรือ

อนาคตเราจะได้คนที่มีความรู้และเป็นคนดีด้วย
แล้วทำไมเราไม่ทำ ให้คนดี คนที่ทำประโยชน์ต่อครอบครัว ต่อสังคม ต่อประเทศ ให้ได้รับคะแนนชีวิต

เป็นคะแนนที่มาจาก ชีวิต ของเค้า จริงๆ 


ลด O-NET + A-NET จาก 70% เป็นซะ 50 หรือ 40 แล้วให้
มีคะแนนชีวิต ซะ 20% หรือ 30% กันไม่ได้หรือ
สมมุตินะครับ ถ้าent ให้มี
1.GPAX + GPA เป็น 30%
2.O-NET + A-NET เป็น 40%
3.คะแนนชีวิต เป็น 30%

ตัวอย่าง1 แดงเป็นนักกีฬาจักรยาน BMX ชอบแสดงลีลาผาดโผน แต่ก็ได้ฝึกฝนจนเป็นตัวแทนประเทศไปแข่งขันระดับนานาอยู่เป็นประจำ
เมื่อต้องent คะแนนชีวิต เค้าจะได้จากสมาคมจักรยาน BMX หรือการกีฬาแห่งประเทศไทย เป็นผู้มีสิทธิให้ว่า จะได้คะแนนชีวิตเท่าไร จาก 30 เช่นได้ 28 เพราะได้แข่งระดับนานาชาติ
(เป็นประโยชน์ระดับประเทศ)

ตัวอย่าง2 แหม่มเป็นนักดนตรี ชอบเล่นเปียโน ฝึกฝนได้แสดง ในประเทศจนเป็นที่ยอมรับ
เมื่อต้องent คะแนนชีวิต เค้าจะได้จาก หน่วยงานด้านดนตรี เป็นผู้มีสิทธิให้ว่า จะได้คะแนนชีวิตเท่าไร จาก 30 เช่นได้ 16 เพราะมีชื่อเสียงอันเป็นประจักษ์
(เป็นประโยชน์สังคม(สันทนาการชุมชน) และเฉพาะตนเอง)

ตัวอย่าง3 เขียว ต้องไปทำงานร้านซ่อมรถ และทำงานเป็นพนักงานบริการในร้านอาหาร เพื่อช่วยเหลือครอบครัวเพราะฐานะยากจน ซึ่งในชุมชนและโรงเรียนรับรู้
เมื่อต้องent คะแนนชีวิต เค้าจะได้รับการรับรองจากโรงเรียน และมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้มีสิทธิให้ว่า จะได้คะแนนชีวิตเท่าไร จาก 30 เช่นได้ 23 เพราะหาเงินช่วยเหลือครอบครัวด้วยวิธีสุจริต เป็นลูกกตัญญู
(เป็นประโยชน์สังคม(ส่งเสริมคนดี)และครอบครัว)

ตัวอย่าง4 แม้ว ไปเป็นอาสาสมัคร ในมูลนิธิเกี่ยวกับคนพิการ เพื่อช่วยเหลือคนพิการ ซึ่งในมูลนิธิและโรงเรียนรับรู้
เมื่อต้องent คะแนนชีวิต เค้าจะได้รับการรับรองจากโรงเรียน การรับรองจากมูลนิธิและมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้มีสิทธิให้ว่า จะได้คะแนนชีวิตเท่าไร จาก 30 เช่นได้ 22 เพราะทำตนให้เป็นประโยชน์
(เป็นประโยชน์สังคม(ส่งเสริมคนดี,จิตอาสา))

ตัวอย่าง5 อ๋อง ชอบเล่นเกม นอนอยู่บ้าน ถึงเวลาจะent ก็ไปเรียนพิเศษ
เมื่อต้องent คะแนนชีวิต เค้าจะไม่ได้จากใครเลย 30 ได้ 0 เพราะไม่ได้ทำประโยชน์อะไรต่อใคร
(ไม่เป็นประโยชน์)

เกณฑ์คะแนนชีวิต คงต้องมีการวางกรอบการให้คะแนนกันชัดเจนอีกครั้ง ถ้าแนวความคิดนี้เกิดขึ้นจริงๆ

จากแนวคิดนี้ อย่างน้อย เป็นการส่งเสริมคนดี ให้ได้อยู่ร่วมกับสังคม และกระตุ้นให้คนที่ไม่ค่อยทำตัวให้เป็นประโยชน์ มาทำตัวให้เป็นประโยชน์ให้เค้ามีจิตอาสา
คนที่ได้ทำอะไรดี เพื่อครอบครัว เพื่อสังคมแล้ว และเราก็ได้ส่งเสริมเค้า เค้าก็จะมองแต่สิ่งดีๆต่อไปในอนาคตด้วย
เราก็ไม่ได้ทิ้งการสอบความรู้แต่อย่างใด แต่ผมคิดว่าอย่างน้อยวิธีนี้เราคงได้คนดีบวกคนเก่ง(เรียน)ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 95092เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2007 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (45)

สวัสดีครับ ท่านหยู

เข้ามาศึกษาซักพัก  ขอบคุณครับ

ขอบคุณ คุณสิทธิรักษ์ที่แวะมาทักทายครับ
  • คิดได้ชัดเจนจังน้องเรา
  • เยี่ยมมาก
  • ขอบคุณที่ไปเยี่ยมผมและน้องสาวครับผม

นี่คือช่องว่างของการศึกษาไทย และนี่บอกได้เต็มปากว่าจะพัฒนาอย่างไรก็ไม่ขึ้นเลยเพราะคนร่างก.ม ไม่ค่อยได้มองปัญหาตรงนี้เลย  สังคมเรามองแต่ตัวเลขที่สูงค่ะ  แต่ระดับจิตใจมันวัดไม่ได้ค่ะ ตีค่าเป็นคะแนนก็ไม่ได้ เลยว้าเหว่ค่ะ ดีใจที่มีคนเห็นประเด็นนี้ค่ะ 

นี่แหละค่ะ  การศึกษาเพื่อการสอบ  ทุกคนก็มุ่งแค่ให้สอบได้ สอบผ่าน  วัดกันแค่ตรงนั้น...

สังคมจึงมีแต่คนมีความรู้  แต่ความรู้ไม่พอใช้อ่ะค่ะ  ปัญหาต่างๆมากมายจึงแก้ไขไม่ตกซะที

คุณตาหยูค่ะ ขอเรียกพี่นะคะ

พี่เป็นคนคิดอะไรเป็นระบบมากๆ
ชัดเจนมากเลยค่ะ นับถือๆ

ชอบมากๆที่เริ่มต้นบันทึกด้วยนิยาม เพราะหลายๆทะเลาะกันเพราะคุยคนละเรื่องเดียวกัน มานักต่อนักแล้ว : )

เรื่องคะแนนชีวิตแบบที่ 4 นี่มีการนำมาใช้ที่แคนาดาค่ะ  ไม่รับรองว่าวัดความดีนะคะ แต่รับรองว่าผ่านการฝึกฝนการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มาแล้ว นั่นคือ เด็กมัธยมที่นี่ต้องเก็บช่ัวโมงการเป็นอาสาสมัครค่ะ จะไปเป็น volunteer ที่ไหนก็ได้แต่ต้องครบ 100 ชั่วโมงต่อปี

บางคณะจะเจาะจงไปเลยว่าต้อง volunteer ที่ไหนมาก่อน เช่น คณะกายภาพบำบัด มีกฎว่าต้องเคยเป็นอาสาสมัครทำงานกับคนพิการ หรือผู้สูงอายุมาก่อน 70 ชม. 

แบบนี้น่าทำที่บ้านเรานะคะ ทำให้ชุมชนมีความสัมพันธ์ที่ดีกันเพิ่มขึ้นด้วย 

ส่วนตัวอย่างที่ 1 กับ 2 นี่มัทว่าในระบบเค้ามีข้อได้เปรียบเด็กคนอื่นอยู่แล้วค่ะ พวกนี้เข้าเรียนได้ ไม่มีปัญหา แถมเข้าไปก็ลาไปแข่งได้ อ.ลดหย่อนให้เรื่องเรียน จะมีปัญหาก็แต่เรื่องค่านิยมคนไทย ที่ไม่ค่อยให้เป็นนักกีฬา/นักดนตรีอาชีพ ให้เรียนให้หางานประจำ มากกว่าไปทางนั่นให้สุดๆไปเลย

ตัวอย่างที่ 3 และ เด็กที่ต้องดูแลทางบ้านนี่สิค่ะ ที่เราน่าจะหาทางช่วย มัทว่านอกจากให้คะแนนชีวิตเค้าให้เข้ามหาวิทยาลัยได้แล้ว อาจจะไม่พอ เพราะพวกนี้ก็ยังต้องใช้เวลาไปกับความรับผิดชอบที่นอกเหนือไปจากการเรียนอีก ทำให้เรียนได้ไม่เต็มที่ คงต้องมีโปรแกรมเรียน part-time ระดับปริญญาตรีที่ดีๆ? และที่สำคัญที่มัทอยากให้ค่านิยมคนไทยเปลียนคือ ไม่ต้องจบมัธยมปุ๊บแล้วเข้ามหาวิทยาลัยเลยก็ไม่แปลกค่ะ

ไปทำงาน ไปเดินทางค้นหาตัวเอง หรือไปทำหน้าที่ที่ต้องทำ มาเรียนเมื่อพร้อมก็ได้ อยากให้ในห้องมีเพื่อนที่ต่างอายุมาเรียน

ป.ตรีนี่ อายุ 30 ก็สมัครสอบเข้าเรียนได้ตามกฎใช่ไม๊ค่ะ ไม่แน่ใจแต่คุ้นๆว่าเป็นอย่างนั่นที่คณะ(เพราะที่คณะรับเด็กที่จบป.ตรีสาขาอื่นมาเรียนด้วย) 

วันนี้ฝากไว้เท่านี้ก่อนค่ะ ไว้จะตามมาอ่านต่อค่ะ : ) 

 

มาต่อยอดคุณ Ranee นิดค่ะ กรณีวัดจิตใจ

จริงมัทว่าทำได้นะคะ แต่จะได้ผลระยะยาวรึเปล่านี่ไม่แน่

ืคือให้สอบการเขียน reflective report   ให้สถานการณ์จำลองเค้าไป แล้วให้เด็กคิดสะท้อนใจตัวเองแปลเหตุการณ์ออกมาว่าคิดเห็นอย่างไร มีทางแก้อย่างไร

การตรวจจะใช้เวลานานแต่มีวิํธีให้คะแนนที่เป็นระบบได้ค่ะ ไม่ยากมาก

แต่โจทย์ต่องเปลี่ยนทุกปี ไม่ให้เด็กท่องๆมาตอบได้ มัทเคยตรวจการบ้านแนวนี้มา 2 ครั้งเอง

  1. เป็นเด็กไทยเขียน field note บันทึกเหตุการณ์ที่ไปเยี่ยมช่าวบ้านที่ป่วยอยู่ที่บ้าน ดูสภาพความเป็นอยู่ ดูเหตุปัจจัยโดยรวม เกี่ยวกับครัวเรือนนั่นๆ
  2. ้เป็นเด็กที่แคนาดา ปี 4 ทันตะเขียน reflective report รายงานประสบการณ์ที่ไปบ้านพักคนชรา ไปเห็นความเจ็บ ความแก่ ความตาย

มัทเป็นคนตรวจงาน 2 ชิ้นนี้ เห็นจริงๆนะคะ ว่าเด็กแต่ละคนจิตใจเป็นอย่างไร มันออกมาให้ตัวอักษรจริงๆ บางคนก็ตื้นๆ ไปค้นตำรามาตอบ บางคนก็ตอบได้ลึกซึ้งมาก

ถ้าทำระดับประเทศในระบบ entrance ไม่ได้ก็น่าจะทำกันระดับคณะนะคะ คู่ไปกับการสอบสุัมภาษณ์

สวัสดีอีกครั้ง

มาสนับสนุนคุณ ราณีครับ กม.ไม่ได้ร่างโดยนักการศึกษา(ขออนุญาติใช้คำนี้) ช่องทางการแก้ปัญหาเลยยังไม่มี เจ้าภาพตัวจริง ครับผมว่า

ขอบคุณครับ

  • สวัสดีครับคุณตาหยู
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับสำหรับบทความคะแนนชีวิต
  • เห็นด้วยครับ ว่าให้มีคะแนนความดี คะแนนทางความเป็นคน คนดี มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ
  • สำหรับตัววัดนั้น ดูเหมือนจะยาก แต่ก็ทำได้ไม่ยากอย่างที่คุณมัท ยกตัวอย่างมานะครับ
  • หากจะให้ความดีนั้นต่อเนื่อง ก็ทำได้โดยให้เด็กแต่ละคนมีตารางความดีของตัวเองครับ โดยเริ่มตั้งแต่ก่อนเข้าโรงเรียนกันไปเลย
  • โดยตารางความดีนี้จะมีผลต่อการเรียนสูงขึ้น ในชั้นอื่นๆ โดยมีการจูงใจให้เด็กสร้างความดี เป็นคนดี มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อต่อสังคม จิตสาธารณะ มันมาตั้งแต่เด็กเลยครับ
  • เหมือนเป็นผลงานทางวิชาการนะครับ แต่อันนี้เป็นผลงานทางความดีที่ได้ทำ โดยรายการของคุณความดีที่เด็กได้ทำ อาจจะได้รับคำรับรองจาก พ่อแม่ หรือครูประจำชั้นหรือครูใหญ่ในโรงเรียนก็ได้ (อันนี้แล้วแต่ความเหมาะสม)
  • อย่างน้อยผมเชื่อว่าเป็นแรงจูงใจ ช่วยให้เด็กหันมาสนใจความดี เพราะการทำความดีนี้ต้องจริงใจทำตั้งแต่เด็กๆ ทำให้พ่อแม่ที่อยากให้ลูกได้เรียนเข้ามหาวิทยาลัยดีๆ หรือว่าจะเรียนสูงขึ้นนั้น พ่อแม่จะให้สร้างกระบวนการสอนและดูแลเด็กกันอย่างจริงจังตั้งแต่เริ่มแรกครับ
  • ส่วนการสอบเข้าแต่ละที่ หากมีปัญหาต้องคัดเลือกคน ก็ต้องใช้หลักการที่วางไว้ โดยใช้ ใบตารางความดีของตัวเอง ประกอบกับ เรียงความบางอย่างให้เด็กประมวล และประเมินตัวเองทางการมีจิตใจเป็นคนจิตสาธารณะ (อันนี้ทำเพื่อให้เด็กรู้จักการประเมินตน) ส่วนการตรวจสอบเด็กอีกรอบ ทำได้โดยผ่านกระบวนการสอบสัมภาษณ์ หรือมีข้อสอบเรียงความอย่างที่คุณมัท ว่าก็ได้ครับ ซึ่งผมเชื่อเหลือเกินว่า จะได้แนวทางต่างๆ กันแน่นอน แล้วสามารถวัดอะไรได้เยอะพอสมควรครับ
  • ดังนั้น ตารางคุณความดีของตัวเอง ประกอบกับรายงานการประเมินตัวเอง จะมีส่วนในการสนับสนุนในส่วนของ คะแนนชีวิต ที่คุณตาหยู คิดไว้ด้วยครับ
  • โดยตารางความดีและบทความสรุปชีวิตตัวเอง จะมีผลต่อการสมัครหางานทำด้วย ไม่ว่าจะเป็นรัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และอื่นๆ
  • ดังนั้น จะมีคนหันมาสนใจเรื่องความดีด้วย นอกจากเกรดที่ให้สูงๆ
  • คุณคิดว่าทำได้ไหมหล่ะครับ เวลาจะไปสมัครงาน
  • เมื่อก่อนเค้าบอกว่า ดูเกรด คะแนน แล้วต่อมา ให้ดูกิจกรรมที่เคยทำ  เราก็เพิ่มตารางคุณความดีเข้า พร้อม ใบประเมินชีวิตตัวเอง เข้าไป
  • ดังนั้น เด็กที่โตขึ้น ก็จะโตพร้อมกับเก็บคะแนนชีวิตเข้าไปด้วย ตารางความดีนี้ จะเป็นตัวคานให้กับคนหรือเด็ก หากเค้าจะทำผิด เพราะคุณความดีเหล่านั้น จะถูกบันทึกไว้ในสมองแล้ว หากคิดจะทำอะไรในด้านลบ จะส่งผลต่อคุณค่าความดีของเค้าด้วย เช่นอาจจะบันทึกจุดบอร์ดของตัวเองลงไปด้วย
  • หากคิดให้ลึกเข้าไปอีกคือ สามารถทำความดีบริการสังคมเพื่อลดรายการติดลบในกิจกรรมที่ผิดพลาดได้ด้วย อย่างที่เมาแล้วขับ ก็อาจจะตามด้วยการบริการสังคม หนึ่งเดือนต่อสังคม ด้วยวิธีการต่างๆ โดยใช้ความดีในการทดแทน
  • ดังนั้น ครอบครัวจะหันมาให้ความสำคัญทางด้านนี้มากขึ้น แทนที่จะส่งลูกไปเรียนติวสมอง ก็จะส่งลูกไปเรียนติวจิตใจดี อาจจะมีโรงเรียนติวคุณธรรมเกิดทั่วประเทศ พ่อแม่อาจจะส่งลูกไปศึกษาธรรมมากขึ้น หรือในด้านศาสนาอื่นก็ตามครับ
  • ดังนั้นในใบเกรดของเด็กก็จะมีบันทึกคะแนนสมอง คะแนนจิตใจ คะแนนร่างกาย(ความพร้อมตามที่วางไว้) ก็น่าจะพร้อมแล้วผมเชื่อว่าทำได้ เริ่มกันตั้องแต่ ครอบครัว อนุบาล ประถม มัธยม มหาวิทยาลัย การทำงาน ไปจนถึงวันตาย  วันตายก็เอาใบคุณค่าชีวิต มาเปิดให้คนรับรู้เลยครับ แจกในงานก็ได้ เป็นใบสรุปตารางความดีของคนๆ นั้นๆ ไปเลยครับ
  • คุณคิดว่า ผมเพ้อ....หรือว่า...ผมฝันครับ แล้วคุณคิดว่าทำได้ไหมครับ
  • ตอนนี้มีโรงเรียนหลายๆ ที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างคุณธรรม แต่เราจะเริ่มทำก็ไม่ได้เสียหายอะไร คุณว่าอย่างไร เพ้อหรือฝัน เชิญร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นนะครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยนะครับ

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

มายิ้ม...ม ให้ค่ะเพราะชอบใจนัก

ความดี..ความรับบผิดชอบ  ทางเลือกในการศึกษาที่มากขึ้น..เปลี่ยนค่านิยมที่จบแล้วต้องเรียนต่อเลย..ล้วนควรทำทั้งสิ้น..เห็นด้วยกับคุณมัทร้อยเปอร์เซ็นต์ค่ะว่าการสอบแบบอัตนัยน่ะบอกอะไรเราได้เยอะเลย

และเห็นชอบกับคุณเม้งว่าควรทำ..ทำไปเหอะน่าร่วมกับความคิดธนาคารความดีของคุณไงคะ.. เดี๋ยวเบิร์ดจะเขียนเรื่อง " คนไทย.. โตกับคลื่นความถี่ช้าๆ "..ให้ค่ะ..โลกกว้างแต่ทางแคบนะคะ เพราะคนที่เห็นแบบเดียวกันมักจะเดินบนเส้นทางเดียวกันเสมอ อิ อิ

 

ขอบคุณ อ.มัท มากๆครับที่มาติชม

คะแนนชีวิต ที่เสนอมา เพื่อให้เปิดช่องทางการศึกษาให้กว้าง แต่มองในประเด็นชีวิต นักเรียนไปด้วย

เราสามารถนำกระบวนการ วิธีของประเทศต่างๆมาใช้ประกอบ หรือมาคิดต่อยอดให้เหมาะสมกับประเทศเราได้

ต้องขอบคุณ อีกครั้ง ที่ส่งเสริมสร้างแนวคิด กันต่อครับ

มาเยี่ยม...คุณ

P

คิดได้ไง...ปรบมือให้เลยครับ...

เป็นเพราะเราเอาอย่างเขา...ยุคแห่งการแข่งขัน...สูงมาก ๆ เลยลืมคุณธรรมจริยธรรม...

ขอบคุณ คุณเม้ง

ที่แวะมาติชม และแสดงความคิดเห็น

ได้เยอะมากเลย ถ้าจะให้มีคะแนนชีวิต ตัววัดหรือกฏเกณฑ์ ต้องมาตั้ง มากำหนดอีกที่

แบบว่าขอมองเรื่องใหญ่ๆ ให้เป็นเรื่องเล็กๆ แล้วค่อยทำเรื่องเล็กๆ ให้ละเอียดอีกที่

คะแนนชีวิตนี้ ผมก็ยังมิได้กล่าวถึงตอนเรียนในมหาลัย และตอนจบ

ที่เริ่มจาก ม.ปลายก่อนเพราะคิดว่า น่าเป็นจริงได้ ใกล้ตัว พอมองภาพออก

คะแนนชีวิต คงต้องมาต่อ ตั้งแต่ รับเข้า ระหว่างศึกษา ตอนสำเร็จการศึกษา  มองเป็นระบบ

ขอบคุณอีกครั้ง แวะมาเพิ่มเติมอีกนะครับ

สำหรับคุณเม้ง เรื่องคะแนนความดี ผมมีในธนาคารความดีด้วยนะครับ

คุณเบิร์ดครับ

ธนาคารความดี ผมว่าควรมีทุกระดับชั้น อนุบาลยันม.ปลายก็จะดี

ส่วนคะแนนชีวิต ควร เริ่มมี ตั้งแต่ ม.ปลายยันจบ มหาลัย จะให้มีบ้าง ตั้งแต่ม.ต้นก็ได้

ให้มีหลัก ส่วนการปฏิบัติเป็นเรื่องที่ควรคิดต่อเลยครับ

การศึกษาเป็นสิ่งที่สะสม กว่าจะตกผลึกความรู้ของแต่ละคนก็ใช้เวลา

เช่นเดียวกับความดี ทำกันครั้งสองครั้งคงไม่ได้ ต้องทำทั้งชีวิตกันเลย

ขอบคุณที่มาแนะนำครับ

ครับผม

  • เอ...ถ้าเอาความดีไปฝากจนไม่เหลือทำไงดี
  • ถ้าคนไม่มีความดีจะขอกู้ความดีได้ไหม
  • ธนาคาร เหลือความดีในธนาคารเยอะไปทำไง(ขนาดทำโปรโมชั่นนะเนี่ย)
  • ถามเล่นๆ ไม่ตอบก็ไม่เป็นไรนะครับ
  • แวะมาหาน้ำชาดื่ม
  • ขอบคุณครับ
  • " คนไทย.. โตกับคลื่นความถี่ช้าๆ ".
  • .โลกกว้างแต่ทางแคบนะคะ
  • วลีคุณเบิร์ต  นักจิตวิทยาผู้ยิ่งใหญ่(แน่ๆ)

 

สวัสดีค่ะ คุณตาหยู

ดิฉันตามมาจากบันทึก คุณเม้ง ค่ะ  ตั้งใจว่าต้องอ่านบันทึกนี้ของคุณตาหยูก่อน   ก่อนที่จะกระโดดเข้าไปร่วมวงสนทนากับพี่ๆน้องๆในบันทึกต่อๆไป

เพราะชื่อบันทึกสะกดใจมาก   เนื้อหาก็ถูกใจจริงๆ (ชอบวิธีเขียนมากค่ะ  อยากเขียนได้อย่างนี้มั่ง) เพราะเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ  ตรงตัว  สื่อแนวคิดชัดเจน จัดประเด็นดี มีตัวอย่างเป็นรูปธรรม  น่านำไปปฏิบัติ 

เพราะผลที่ได้คือ  "กระตุ้นให้คนที่ไม่ค่อยทำตัวให้เป็นประโยชน์ มาทำตัวให้เป็นประโยชน์" และที่ลึกซึ้งมากก็คือ  ทำให้เกิด จิตอาสา  ซึ่งแปลว่า  เป็นจุดเริ่มของการเกิดคุณธรรม  คือ ความเสียสละ  อันเป็นคุณธรรมขั้นสูงของมนุษย์   ซึ่งมิใช่เรื่องที่จะปลูกฝังได้โดยง่าย  .........สรุปว่าชอบมาก  แล้วก็ต้องตามไปอ่านธนาคารความดี ด้วย  

วันนี้ทำงานแต่เช้า ข้าวเที่ยงยังไม่ได้ทาน  สงสัยจะได้ทานหน้าบันทึกคุณตาหยูนี่แหละค่ะ : )

  • มาเปิดบัญชีค่ะ
  • ฝากหมดตัว  ไม่กลัวหมดใจ
  • ดีใจที่  คุณตาหยูมีคะแนนชีวิตเผื่อเด็กๆ  และblogger ทุกๆท่านอ่านแล้วซึ้งใจแทนเด็กๆที่ขาดโอกาส  และไม่เคยได้ดอกเบี้ยความดีจากกระทรวงศึกษาตาถั่ว   
  • เคยมีโอกาสเห็น   สมุดบันทึกความดีของหน่วยงานหนึ่ง  ส่งให้ทุกโรงเรียนเพื่อแจกนักเรียนทั้งในระดับประถมและมัธยม   แต่นักเรียนและครูในหลายๆโรงเรียนไม่กล้าแตะต้อง  เศร้าจัง
ขอบคุณ ท่านอาจารย์อุทัย
P
ที่แวะมาแนะนำติชม ครับ
ที่คิด ก็เพื่อชาติ เพื่อคนไทย รุ่นน้อง รุ่นลูก ต่อๆไปครับ
แอบมาเยี่ยมแล้วหรือครับ คุณ
P

คุณสิทธิรักษ์

ความดี เหมือนการออมเงิน

ที่ต้องใช้เวลา ความอดทน สะสม รอคอย

ผลลัพธ์ ความดีมันนับไม่ได้เท่าเงิน

แต่ดอกผล มันมากมายกว่าดอกเบี้ย เยอะเลยครับ

ขอบคุณ ท่านอาจารย์ สุขุมาล

P

ที่แวะมาให้คำติชม

เพื่อเป็นเครื่องหมายแห่งการเตือนสติ

คิดเพื่อให้มีสิ่งดีๆในสังคม

.

เห็นด้วยเลยครับ ความเสียสละ  อันเป็นคุณธรรมขั้นสูงของมนุษย์   ซึ่งมิใช่เรื่องที่จะปลูกฝังได้โดยง่าย

แนวคิดนี้ผมก็อยากให้เป็นจริงเหมือนกัน คิดไว้หลายเดือนแล้ว

เห็นด้วยครับกับ คะแนนชีวิต คะแนนความดี...

ขอบคุณมากครับ...

ขอบคุณ พี่องุ่น ครับ
P

การศึกษาไทย ควรลดช่องว่างทางโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

และควรส่งเสริมคนดี เพื่อสังคมไทยเราต่อไปครับ

..

ขอบคุณที่แวะมาครับ

เฮฮาศาสตร์ 2  มียอดแจ้งเท่าไรแล้วเนี้ย อิอิ

ขอบคุณที่แวะมาติชมครับ คุณ
P

 

วันอาทิตย์เจอกันครับ

-_-" เหมือนเราจะเพ้อเจ้อ แต่เรื่องในอดีตกับอนาคตกันมากเกินไป ประเด็นมันเลยมีให้คิดกันเยอะ "คิดย้อยกลับไป(-) คิดเผื่อไปไกล(+...) คิดมากไป(error)" เราน่าจะคิดแค่เวลานี้ตรงนี้ แต่ในเส้นทางแนวทางทิศทางที่ดี ปลายทางเราจะพบกับคำว่า สุดเขตความรับผิดชอบของความดี ขอให้โชคดี เดินทางโดยสวัสดีภาพ -_-" (ไม่โกรธผมนะที่ผมมีหัวคิดแค่นี้...)

ประทับใจ ที่ยังมีประเด็นมาคุยกัน 

ประทับใจ คุณเม้งที่ทำให้ผมไม่งงกับตัวเลข -_-"

ประทับใจ สำหรับ"คนที่เห็นแบบเดียวกันมักจะเดินบนเส้นทางเดียวกันเสมอ"

ประทับใจ ทุกคนที่นำเสนอความแตกต่าง

และที่สุดประทับใจตัวเองที่เริ่มมี "วิสัยทัศน์" กะเค้าบ้างแล้ว...(LO อยู่ตรงนี้ KM อยู่หนใด) -_-"

  • สวัสดีครับทุกท่าน
  • ต่อคุณตาหยูอีกนิดครับ นอกจากจะมีธนาคารความดีแล้ว
  • น่าจะมี สหกรณ์ความดี ด้วยนะครับ จะได้หันมาร่วมกันทำความดีเป็นทีมด้วย เพราะแต่ละคนมีบัญชีความดีกันทุกคนแล้ว มีตารางความดีกันแล้ว ก็อาจจะมีบัญชีกลุ่มความดี บัญชีร่วม เพื่อบูรณาการเส้นทางที่เดินกันแบบแน่นแฟ้นกันมากยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
  • ขอให้ทุกคนสนุกในแนวทางนี้ครับ
  • สิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่สุด และรักษาโรคต่างๆ ได้คือ พลังของจิตใจที่ดีงาม (ผมมั่วเอาเองนะครับ อย่าชื่อโดยการอ่านเพียงรอบเดียวนะครับ)
  • ขอบคุณมากครับ

ว้าว

ขอปรบมือให้ คิดได้เยี่ยมมากค่ะ

ถ้ามีการวัดความดี ที่ยุติธรรมได้ก็ดีนะ

แต่กลัวว่าจะมีการโกงคะแนนชีวิต คะแนนความดีเนี่ยหน่ะสิ เหมือนเป็นการมองในแง่ร้ายนะ

 

ค่านิยมของคนไทยคือ คนเรียนต่อ ent ได้ คือคนเก่ง คนที่จะหางานทำได้ แล้วทุกวันนี้คนเหล่านั้นก็ยังคงตกงานกันอยู่มากมาย

 

ที่ออสเตรเลีย วัยรุ่นเรียนจบระดับเทียบ ปวช ปวส บ้านเรา ก็หางานทำแล้ว เลี้ยงตัวเองด้วยอาชีพสุจริต ไม่มีการดูถูกกัน ทำงานเหมืองได้เงินเดือนมากกว่าทำงานแบงค์ซะอีกนะ

เด็กออสซี่ที่เรียนต่อมหาวิทยาลัยจริงๆ แค่ 50% รัฐบาลแทบจะจ้างเรียน เพราะถ้าคุณเรียน คุณจะได้เงินเดือนจากรัฐด้วยนะ ก็คนไม่ค่อยเรียนกัน จบวิชาชีพ ก็ประกอบอาชีพได้ ตกลงรัฐฯ ก็เลี้ยงดู เหมือนจะเป็นปัญหาของเค้าเหมือนกัน

 

ย้อนกลับมาที่คะแนนความดี คะแนนชีวิต

 

ถ้าเด็กคนนั้นได้คะแนนชีวิตสูง เรา...คนในสังคมเรา สามารถที่จะนับถือ ยอมรับ เค้าได้ใช่มั้ยคะ ไม่ว่าเค้าจะ ent ได้ หรือ ent ไม่ได้

เพราะไม่งั้นก็วนเวียนกลับมาที่ปัญหาเดิมๆ คือ ถ้า ent ไม่ติด เหมือนชีวิตนี้จะดับสิ้นไปซะอย่างงั้น

...

คิดไปคิดมา เขียนเท่าไหร่ก็ไม่จบ เรื่องนี้มันโยงใยไปหลายปัจจัย

เอาเป็นว่า การส่งเสริมคนให้ทำความดี เป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่การจะทำความดีเพื่อจะให้ได้คะแนน สุดท้ายจะได้ความดีที่ดีจริงๆ รึไม่ ฝากไว้ด้วยนะคะ

อยู่ดีมีสุขนะคะ

 

^___^

สวัสดีค่ะคุณตาหยู


แนวความคิดดีจังเลยค่ะ ขอชื่นชมค่ะ

ชอบที่อ.มัทนากับที่น้องเม้งเสนอไว้เหมือนกันเลยค่ะ

อยากให้แนวความคิดการสะสมความดี จริยธรรมคุณธรรมนี้แพร่ออกไปเรื่อยๆ ค่ะ สังคมจะได้เป็นสุขขึ้น

ถ้าเราได้เด็กที่มีการสะสมสิ่งเหล่านี้อยู่เป็นประจำแล้ว ต่อไปเราก็จะมีผู้ใหญ่ที่ยังสะสม และสร้างสิ่งดีๆ เหล่านี้เพิ่มขึ้นไปอีก

ขอบคุณนะคะที่นำมาเป็นประเด็นให้เรียนรู้ค่ะ..

  • สวัวดีครับ
  • ขอร่วมปรบมือให้กับบลันทึกแห่งความคิดอันสร้างสรรค์นี้,
  • การศึกษา  คือ  กระบวนการบ่มเพาะให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่สำคัญคือ  เป็นคนที่มีคุณภาพ  คุณธรรม  และคุณค่า  เติบโตเป็นทรัพยากรที่มีศักยภาพของสังคมสืบต่อไป
  • ...

มหาวิทยาลัย

ตึกสูงใหญ่ตระการฟ้า

หนุ่มสาวกรีดกรายไปมา

ดื่มเสพปรัชญา...ปรัชญาชน

  • ขอบคุณอีกครั้ง ครับ

ขออภัย  ครับ...

ขออนุญาตแก้คำผิดในบทกลอนข้างต้น ใหม่ดังนี้ นะครับ

 

มหาวิทยาลัย

ตึกสูงใหญ่ตระการฟ้า

หนุ่มสาวกรีดกรายไปมา

ดื่มเสพปรัชญา...ปัญญาชน

 

ขอบคุณครับ...และขออภัยอย่างยิ่ง

P
IS

สวัสดีครับคุณอิส

  • ขออนุญาตถกเรื่องนี้ด้วยนะครับ
  • เรื่องที่คุณฝากไว้ และตัววัดว่าจะวัดอย่างไร คงเป็นสิ่งที่ต้องคิดกันต่อ ใช่เลยครับ
  • เอาเป็นว่า การส่งเสริมคนให้ทำความดี เป็นสิ่งที่ดีค่ะ แต่การจะทำความดีเพื่อจะให้ได้คะแนน สุดท้ายจะได้ความดีที่ดีจริงๆ รึไม่ ฝากไว้ด้วยนะคะ
  • ผมขอสมมติว่า มียายตาบอดคนหนึ่ง ยืนอยู่ที่ทางม้าลาย ต้องการจะข้ามถนน แล้วมีเด็กคนหนึ่งเห็น เค้าอาจจะคิดภายในว่า เอช่วยดีไหม ไปช่วยดีกว่า ได้คะแนนความดีด้วย (หรือว่าเค้าอยากจะช่วยด้วยใจจริง) ก็ตาม
  • แต่ท้ายที่สุดแล้ว คุณยายคนนั้น ก็ได้ข้ามถนนอย่างปลอดภัยใช่ไหมครับ คุณยายก็ประทับใจคนช่วย หากสังคมเห็นว่าเออ เด็กคนนี้ทำดี ก็เกิดรู้สึกดีๆ ได้อีกครับ
  • ต่อให้เค้าเสแสร้งทำความดี แต่นี่คือความดีครับ ส่วนดีเทียมหรือปลอม หรือแท้ เราไม่ต้องคิดมากครับ ว่าเค้าจะแกล้งทำ เพราะผลมันคือความดีครับ แกล้งทำหลายๆ ครั้งเข้า จนกลายเป็นนิสัย ผมก็เชื่อว่า เค้าคงได้แนวคิดอะไรดีๆ ไปเองครับ
  • ขอบคุณมาก นะครับ ส่วนตัววัด ก็ให้เค้าเขียนนิยมตัวเค้าเป็นเรียงความได้ครับ เราทดสอบได้ว่าเด็กคนนี้อ่อนน้อมแค่ไหนครับ และมีวิธีการอื่นๆ มากมายครับ
  • ขอแลกเปลี่ยนแค่นี้ก่อนนะครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ และขอบคุณคุณตาหยูด้วยครับ

        ขอคิดด้วยคนนะครับ  เห็นด้วยกะคุณ IS นะครับ ว่ามันก็วน อยู่ ถ้ายังคิดเรื่องเอนทรานซ์   แต่ก็ชื่นชม ตาหยูครับ เพราะยังไงเราก็น่าจะหาวิธีอะไรออกมาเป็นรูปธรรมได้บ้าง  แต่ผมว่าถ้าเรายังพูดถึงคะแนน ก็คือการวัด  แล้วอะไรจะเป็นตัวชี้วัด ให้คนโวท หรือ ไม่ได้แน่  เหมือนในเรียลลิตี้โชว์ค้นฟ้าคว้าลมอะไรนั่น   ค้านสายตาอยู่ดี ในความรู้สึกแต่ละคนไม่เหมือนกัน

               สำหรับผม เลิกระบบเอ็นท์ไปเลยให้เด็กได้เรียนมหาวิทยาลัยทั้งหมดนั่นล่ะ  ก็ทุกวันนี้ ทุกคนก็ได้เรียนมหาลัยกันหมดอยู่แล้ว ระบบรองรับได้ ม.เอกชนก็เยอะ ปัญหาคือ ม.ดัง ๆ เนี่ย กับค่านิยมผู้คนก็แค่นั้น

              เพราะถ้าจะพูดถึงมาตรฐาน ผมว่า ม.ทุก ม.ก็ว่ามาตรฐานตัวเองเจ๋งอยู่แล้ว  ส่วนถ้าจะพูดว่าการคัดคนเพื่อดูคุณภาพคน ยิ่งผิดประเด็นไปใหญ่ เพราะคนทุกคนมีคุณภาพอยู่แล้วหากเรายังเชื่อในความเป็นมนุษย์ด้วยกัน

             จับฉลากครับ  เหมือนเกณฑ์ทหารไปเลยใครจับได้ ม.ไหน ก็ไป   ทำแยกไว้หน่อย กล่อง ม.แถบอีสาน  ม.แถบเหนือ กลาง ใต้ ว่ากันไปเลย

              ขอบคุณครับ

            แต่ประเด็นจารย์เม้ง ผมไม่เห็นด้วยครั้งแรกนะนี่  ผมว่าการเสแสร้งทำดี แม้ผลมันจะดีแต่มีผลร้ายแฝงอยู่ครับ  ค่านิยมเรื่องความดีเสียไปหมดแน่ผมว่า

คิดดู  หากผมแกล้ง ทำดีมาตลอดเพื่อให้ตัวเองได้อะไรบางอย่าง จนโต ผมก็คงจะติดนิสัยการหลอกลวงผู้คนไปเลย คราวนี้ไม่แกล้งทำดีอย่างเดียวครับ มันแกล้ง มันเสแสร้ง ไปหมดเพื่อให้ได้อะไร สิ่งหนึ่งมาเป็นประโยชน์แก่เรา   แล้วเราจะบอกลูกหลานต่อไปได้ไงล่ะว่า ทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน

                อันตรายนะครับอาจารย์

สวัสดีค่ะพี่หยู

ขอบคุณสำหรับบันทึกนะคะ แต่ณิชอาจจะมีความเห็นแตกต่างจากคนอื่นสักหน่อย .. จริง ๆ ก็ไม่หน่อยล่ะ ฮ่าๆ..

วิธีที่เสนอเรื่องให้คะแนนเพื่อส่งเสริมคนดีนั้น ถ้ามองแบบที่หลาย ๆ คนแสดงความคิดเห็นมา ก็คงถือได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งที่น่าสนใจ แต่สำหรับณิชแล้ว ณิชคิดว่ามันยังไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะอะไรหนะหรือค่ะ ก็เพราะว่ามันยังมีอะไรหลายอย่างขัดแย้งอยู่ในตัวมันเอง ยกตัวอย่างนะคะ

สำหรับตัวณิชเอง ณิชไม่ดูคนที่คะแนนค่ะ ไม่เคยคิดว่าคนที่ได้คะแนนสูงสุดหรือคนที่สอบเอนทรานซ์ได้ที่ดี ๆ คือคนที่จะประสบความสำเร็จค่ะ สิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงอะไรสักอย่างที่สังคมยกขึ้นมาเท่านั้น และสำหรับณิชมันเป็นเพียงแค่สิ่งภายนอกค่ะ

คะแนนเป็นเพียงแค่สิ่ง ๆ หนึ่งที่คน ๆ หนึ่งมอบให้กับอีกคนหนึ่งเท่านั้น ในการกระทำอย่างเดียวกัน คนให้คะแนนต่างกัน คะแนนที่ได้รับก็ต่างกัน มันไม่มีมาตรฐานในตัวมันเอง เช่นคนที่ได้ 4.00 เท่ากัน แต่จากต่างที่ต่างวาระ คงเอาคะแนนนี้มาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ยิ่งให้คะแนนความดีที่ใช้ความรู้สึกเป็นตัวตัดสิน แน่นอนว่ามาตรฐานของคนต่างกัน คะแนนจากการทำความดีอย่างเดียวกันก็ต่างกัน และไม่แน่ว่าอาจจะมีการแสร้งทำความดีต่อหน้าเพื่อประจบเอาคะแนนด้วยค่ะ ..

อีกอันที่ณิชคิดว่าสำคัญคือ การทำความดีควรทำมาจากใจจริง ไม่ได้ทำเพราะหวังผลตอบแทน ไม่ได้ทำเพราะอยากได้คะแนน ถ้าคนทำความดีเพื่อให้คนอื่นเห็นแล้วให้คะแนน คนที่ทำดีแบบที่เรียกว่าปิดทองหลังพระคงน้อยลง

บ่นมาตั้งนาน รู้สึกจะนอกเรื่องไปแล้ว และเป็นการเป็นงานมากไป ฮ่าๆๆๆ จบก่อนล่ะกัน นึกอะไรได้จะมาเขียนเพิ่มค่ะ :D

ณิช

 

แวะมาเตืิอนความจำนิดเดียวค่ะ

ว่าการวัด การให้คะแนนมีหลายจุดประสงค์

บางคนเห็นต่างกันเรื่องการวัดเพราะคุยคนละเรื่องเดียวกันรึเปล่าค่ะ

  1. วัดไปเพื่อเอามาตัดสินใจว่าจะรับเข้าเรียนหรือไม่รับ วัดคุณภาพแบบ summative แสดง accountability (มัทไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร ให้ตาหยูมาแปลนะคะเห็นว่าเรียนมาทางนี้พอดี)
  2. วัดเพื่อเป็นเครื่องมือส่งเสริมให้คนฝึกทำความดี ด้วยการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เป็น  อุบายเพื่อการพัฒนาคุณภาพ (quality improvement)
มัทเข้าใจถูกผิดอย่างไรก็แนะนำได้เลยค่ะ
P

สวัสดีครับคุณสุมิตรชัย และคุณตาหยู

  • ขอบคุณมากเลยครับ สำหรับความเห็นแย้ง ชอบเลยครับ อิๆ
  • จริงๆ ยอมรับเลยครับ เรื่องการแกล้งทำดีนี่ อาจจะส่งผลเสียได้เลยครับ และอันตรายอย่างที่คุณสุมิตรชัยว่านะครับ
  • แต่เผื่อว่าใครไม่กล้าผ่าชิ้นส่วนนี้ ผมเลยจะลองผ่าให้คุณดูไงครับ อิๆ แบบมาลองชั่งกันระหว่าง แกล้งทำดี กับ ทำชั่ว
  • หากเริ่มกันที่ตัวตั้งที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นจริงเสมอ 
  • ดังนั้น การทำชั่ว ได้ชั่วแน่นอน ส่วนการแกล้งทำดี อาจจะได้ดีครึ่งชั่วครึ่ง หรือได้ดีก็ได้หากเค้าไม่ทำชั่วเลย (แม้ว่าจะเป็นคนหลอกลวง แต่เค้าลวงตัวเค้าเอง โดยคนอื่นไม่ทราบ)
  • ให้ชัดๆ ยกตัวอย่าง เรื่องยกพวกตีกัน กับ จูงคนชราข้ามถนน(แกล้งทำดี) นะครับ
  • เป็นสิ่งที่ผมพยายามชั่งดูนะครับ ระหว่างคนที่ทำไม่ดี กับคนที่ทำดีแบบแกล้งทำ ว่าแบบไหนมันจะส่งผลดีกับสังคมได้บ้าง แบบใดดีกว่า
  • ทำไม่ดี อันนี้คงส่งผลเสียต่อสังคมแน่ๆ ใช่ไหมครับ
  • ส่วน แกล้งทำดี อาจจะส่งผลดีต่อสังคมได้หรือเปล่าครับ หากคนที่แกล้งทำดี คือเค้ารู้ตัวเองว่าเค้าเป็นคนหลอกลวง แต่หากเค้าทำดีด้วยใจจริง ใจเค้าจะสุขครับ อาจจะส่งผ่านออกมาทางภายนอกให้เราเห็นทางรอยยิ้ม ดังนั้น ทำดีแบบจริงใจ กับทำดีแบบหลอกลวง รอยยิ้มภายในน่าจะต่างกัน
  • แล้วลองดูครับในสังคมปัจจุบัน คนที่แกล้งทำดีใครทราบไหมครับ ว่าเค้าแกล้งหรือเปล่า เราก็หลงว่าเค้าทำดีกันทั้งนั้น จะเรื่องมันแดงขึ้นมาว่า ออท้ายที่สุดคือทำดีจอมปลอม หรือว่าเค้าทำผิดครั้งสุดท้ายครั้งเดียว หรือว่าเราจะไปสรุปว่าการที่เค้าทำผิดครั้งสุดท้ายไปลบล้างความดีที่เค้าทำมาในครั้งแรกๆ หมด
  • ใครจะทราบครับ ว่าเค้าแกล้งหรือไม่แกล้งทำดี เราแค่คิดไปเองเท่านั้น แต่ตัวผู้กระทำจะทราบในเจตนาของเค้าแน่ๆ คนเดียว
  • บางทีผมก็อยากเห็นเด็กแกล้งทำดีตั้งแต่เด็กๆ ไปจนตายเลย ก็น่ายกย่องครับ เพราะผลที่เค้าทำมันคือดี ส่วนเจตนาคนทำจะรู้ด้วยตัวเอง
  • แต่หลอกลวงว่าตัวเองกำลังทำดี แต่ผลมันออกมาดี แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าเค้าเป็นคนดี เราไปสรุปกันที่เชิงตะกอนนะครับ เพราะตรงนั้นคือความจริง ที่จะสรุปได้ เพราะลาโลกไปแล้ว เหลือแต่ตารางความดีเอาไว้ถ่วงกับตารางความชั่ว
  • ผมเองในใจลึกๆ ก็ขัดแย้งกับสิ่งที่นำเสนอนี้ แต่เพียงจะชั่งให้เห็นนะครับ ว่าผลมาเกิดอาจจะต่างกัน
  • การแกล้งทำดีนั้น หากมาทำเลวในครั้งสุดท้าย ผลร้ายก็เกิดครับ แต่หากแกล้งทำดีทั้งชีวิต ไม่เคยทำชั่วเลย ผลดีน่าจะเกิด การสรุปผลความดีที่เชิงตะกอน น่าจะได้ออกมาเป็นบวกหรือเปล่าครับ
  • แนวทางที่ผมเสนอไว้ ผมเน้นว่าต้องครอบคลุมทั้งชีวิตของคนเลยนะครับ คือทำดีเพื่อนำผลความดีนั้นไปใช้ได้ในอนาคต
  • นั่นคือเหตุผลที่ผมมอง ว่าผลมันน่าจะดีกว่า เพราะหากวันไหนผลที่เค้าเสแสร้งมาตลอด แล้วเกิดทำชั่วขึ้นมาหนึ่งครั้ง จะเกิดอะไรขึ้นครับ และอีกอย่างที่ผมมองคือ การแกล้งทำดีเหล่านั้น อาจจะสะสมขึ้น ทำให้คนทำดีขึ้นก็ได้ครับ เปลี่ยนนิสัยไปเลยก็ได้ครับ
  • ส่วนการทำความดีนั้นหากเอากันจริงๆ แล้ว ต้องไม่ต้องมีคะแนนหรอกครับ หากคนจะดีก็ดีเองได้แต่หากคนคิดที่จะดีด้วยตัวเองไม่ได้ ก็ควรจะมีวิธีการส่งเสริมให้คนทำดีได้นะครับ เหมือนเราก่อกองไฟ จำเป็นต้องมีเชื้อเพลิงเริ่มต้นใช่หรือเปล่าครับ ตัวเชื้อเพลิงนั่นหล่ะครับคือตัวที่จะส่งเสริมให้คนทำดี พอไปลุกติดไปแล้ว เชื้อเพลิงที่จะใส่เพิ่มเข้าไปก็ไม่ได้จะมีความหมายใดมากนัก เพราะเพลิงได้ติดอยู่แล้ว
  • หากคนทำดีกันได้จากใจจริง อย่างจริงใจ นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุด
  • ปัญหาคือ เราจะสร้างเด็กอย่างไร ให้ทำดีอย่างจริงใจ แล้วผู้ใหญ่ในบ้านเมืองก็ต้องทำดี นำดี ให้เป็นตัวอย่างต่อสังคมด้วย
  • แล้วความเป็นจริงคืออะไรครับ
  • แต่ท้ายที่สุด แล้วก็ยังมีความจริงตัวหนึ่งกำกับอยู่คือ ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
  • ทำดีโดยไม่หวังผลตอบแทน สำหรับเรื่องนี้เองเราก็ได้แค่สอนเท่านั้นครับ แต่เราไม่สามารถไปวัดได้เลยนะครับ ว่าคนที่ทำดีนั้น เค้าหวังหรือไม่หวังผลตอบแทนในใจลึกๆ คุณจะทราบได้อย่างไร
  • สิ่งที่เราสอนลูกศิษย์ไป หรือแนะนำไป เราจะทราบได้หรือเปล่าครับ ว่าเค้าหวังผลหรือไม่หวังผลจากความดีที่เค้าทำ ดังนั้นหวังผลหรือไม่หวังผลผมเองไม่เน้นมากครับ ขอให้ผลความดีที่เค้าทำนั้น กระทบต่อสังคมแล้วนำพาสังคมให้ร่มเย็น เกื้อกูล
  • ส่วนเรื่องคะแนนชีวิต ผมว่าหากจะทำจริงๆ ต้องเล่นกันตั้งแต่คนดีสองคนหญิงชายมาจีบกันเลยครับ จนได้เชื้อดีมาปฏิสนธิกันอย่างดี กันไปเลยครับ แล้วให้คะแนนชีวิตไปจนตายเลยครับ อันนี้หล่ะครับ ถึงจะครบวงจรที่สุด
  • ผมเคยคิดหนักไปกว่านี้ (แบบบ้าไปเลยเถิดไปเลยครับ เช่น การดื่มน้ำสั่งความดี โดยน้ำนี้จะไปเชื่อมโยงกับการทำความดี น้ำนี้คล้ายๆ เหล็กไหลนะครับ คือว่าหากทำดีแล้วจะส่งผลดีต่อร่างกาย แต่หากวันใดคิดชั่วจะรู้สึกได้ แต่หากได้ทำชั่วน้ำนี้จะเข้าไปเผาผลาญภายในให้ร้อนจนกว่าจะกลับตัวไปคิดในสิ่งดีๆ ห้าๆๆๆ เพี้ยนไหมครับ แบบนี้ น้ำนี้จะมีประโยชน์มากๆ สำหรับบางอาชีพ)
  • อิๆ คุณสุมิตรชัยลอง ถกกันต่อดูนะครับ ผมว่าน่าสนใจดีครับ เรื่องนี้ คือ
  • การทำความดี   การแกล้งทำความดี  และการทำความชั่ว
  • อิๆๆ เผลอๆ ลองถกกันดูครับ ตามหลักตรรกศาสตร์ น่าสนใจดีครับ
  • ขอบคุณมากๆครับ ที่ช่วยทำให้ได้คิดต่อเพิ่มในส่วนนี้ และขอโทษด้วยที่เขียนอธิบายไว้สั้นๆ ในความเห็นก่อน (กรณีที่ความเห็นนี้ คุณเห็นด้วย)

ขออนุญาตเสริมนะครับ

  • ผมเห็นด้วยกับเจ้าของบล็อกครับ  แต่...
  • เราต้องทำเรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติให้ได้
  • ต้องยอมรับกันว่าสังคมไทยเรามีการคอรัปชั่นสูง  พวกคะแนนที่คล้ายๆ คะแนนจิตพิสัยนี้ อาจหาซื้อกันได้ครับ
  • ส่วนการส่งเสริมให้ทำดีโดยบังคับให้ทำ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ผมว่าก็ทำไปเถอะครับ ดังที่ อ.เม้ง สาธยายไว้ยาวๆ นั่นแหละครับ
  • ให้แกล้งทำทั้งชีวิตกันไปเลยครับ ปิดทางอบายมุขทั้งหมด(เท่าที่ทำได้) มันต้องได้คนดีเพิ่มขึ้นบ้างแหละ
  • อย่าลืมนะครับ คนเรามักเข้าข้างตัวเองกันทั้งนั้น  บางคนเขาคิดว่าเขาทำดี ทั้งๆ ที่สังคมว่าทำเลว
  • ซึ่งอาจเป็นว่าเขาทำดีจริงก็ได้ สังคมอาจมองผิดก็ได้  หรือเขาเข้าใจผิดก็ได้  แต่ถ้าเราได้ให้โอกาสเขาให้รู้ว่าการทำดีคืออะไร  เขาอาจเปลี่ยนใจมาทำก็ได้ (ก็เขาไม่รู้นี่ว่าความดีมันเป็นยังไง)
  • เมื่อเขาได้ซึมซับคุณค่าของความดีตั้งแต่เด็กๆ  โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ให้โอกาส  ถ้าเขาจะชั่วขึ้นมาอีก  ก็เป็นเรื่องของเขาเองแล้วครับ
ขอบคุณครับ

ขออนุญาตเสริมนะครับ

  • ผมเห็นด้วยกับเจ้าของบล็อกครับ  แต่...
  • เราต้องทำเรื่องนี้ไปสู่การปฏิบัติให้ได้
  • ต้องยอมรับกันว่าสังคมไทยเรามีการคอรัปชั่นสูง  พวกคะแนนที่คล้ายๆ คะแนนจิตพิสัยนี้ อาจหาซื้อกันได้ครับ
  • ส่วนการส่งเสริมให้ทำดีโดยบังคับให้ทำ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ผมว่าก็ทำไปเถอะครับ ดังที่ อ.เม้ง สาธยายไว้ยาวๆ นั่นแหละครับ
  • ให้แกล้งทำทั้งชีวิตกันไปเลยครับ ปิดทางอบายมุขทั้งหมด(เท่าที่ทำได้) มันต้องได้คนดีเพิ่มขึ้นบ้างแหละ
  • อย่าลืมนะครับ คนเรามักเข้าข้างตัวเองกันทั้งนั้น  บางคนเขาคิดว่าเขาทำดี ทั้งๆ ที่สังคมว่าทำเลว
  • ซึ่งอาจเป็นว่าเขาทำดีจริงก็ได้ สังคมอาจมองผิดก็ได้  หรือเขาเข้าใจผิดก็ได้  แต่ถ้าเราได้ให้โอกาสเขาให้รู้ว่าการทำดีคืออะไร  เขาอาจเปลี่ยนใจมาทำก็ได้ (ก็เขาไม่รู้นี่ว่าความดีมันเป็นยังไง)
  • เมื่อเขาได้ซึมซับคุณค่าของความดีตั้งแต่เด็กๆ  โดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้ให้โอกาส  ถ้าเขาจะชั่วขึ้นมาอีก  ก็เป็นเรื่องของเขาเองแล้วครับ
ขอบคุณครับ

ต้องขออภัยที่เข้าบันทึก ช้านะครับ

และต้องขอขอบคุณ

ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน

น้องแนน

P
IS

P

P

P

P
P
P
P

ทั้งนี้ ผมเปิดบันทึก คะแนนชีวิต ภาค 2 (ภาคยังไม่ต่อ) 

แต่ยังขอรับความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อครับ

           ผมขอแลกเปลี่ยนกะอาจารย์เม้งต่อนิดนึง อาจารย์ตาหยู ปิดประเด็นไปเปิดใหม่อีกบันทึกแล้วครับ 

           อาจารย์ ผมว่าเรากำลังพูดกันในเรื่องที่ต่างคนต่างรู้จำกัดหรือเปล่านะ

           ผมก็เลยไม่กล้าถกกันเรื่องนี้ต่อ  เพราะมันค่อนข้างเกี่ยวข้องกับระบบศิลธรรม และศาสนานะครับ(นามธรรม)  แต่ว่าหลายคนอยากจะนำออกมาให้เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ความห่วงใย และรีบร้อนนะครับผมว่า

           ผมว่าการสอนหรือให้ค่าของความดีของผู้คนนั้นสังคมส่วนรวม ต้องสร้างระบบความดีที่แยบยลมาก ๆ ขึ้นมาก่อนครับแล้วค่อยให้ค่า ความหมายหรือตัดสินการกระทำของผู้คนได้

           1. ในบรรยากาศเก่า ๆ สังคมเรามีระบบความดีที่แยบยลเช่น  กลอนสอนหญิงของสุนทรภู่ การเคารพผู้ใหญ่  ขณะเดียวกันก็ไม่ถือโทษเด็กๆ การมีบทคำพังเพย สุภาษิตขึ้นมามากมาย มีบทละครร้องรำ เนื้อเรื่องที่กล่าวถึงคุณค่าการทำดีมากมาย   กำหนดนรกสวรรค์  จารีตปฏิบัติเกี่ยวกับ วัด พระ คนแก่

            2. เมื่อมีระบบที่แยบยลจนเป็นจารีต หรือวัฒนธรรมแห่งความดีแล้ว  จึงปรากฎเป็นรูปธรรมได้ไม่ยากนัก เช่น สมัยก่อนผมเป็นเด็ก ๆ มีคนเก็บดินสอแท่งสั้น ๆ ได้ เก็บยางลบได้ เก็บตังค์ได้บาทนึง ก็เอาไปส่งครู เพราะครูและเพื่อน ๆ จะให้คุณค่าความดีที่เป็นคำกล่าวสรรเสริญและเสียงปรบมือและคำโจษจันชื่นชมของเพื่อน ๆ และคำขอบคุณของเจ้าของ  ไม่ได้มีมูลค่าที่เป็นคะแนนหรือผลตอบแทนอื่น ๆ ที่มากกว่านี้ นอกจากว่าจะไม่มีเจ้าของแล้วครูให้ของนั้นแก่เด็กที่เก็บได้

              3. เมื่อความดีเป็นระบบและเคลื่อนไหวด้วยตัวมันเองแล้ว คนในสังคมก็จะปกป้องคนทำความดี สังเกตได้จากเพื่อนๆ จะยกย่องและเห็นเด็กที่เก็บของได้ส่งครูเป็นแบบอย่าง อาจถึงปกป้องหากเพื่อนคนนี้ถูกรังแก

               4. มีคนช่วยตรวจสอบว่าดีจริงหรือไม่ดีจริง เช่นผมเคยรู้มาว่า มีเด็กบางคนไม่ได้เก็บของได้หรอกแต่เอาของที่ไม่ใช้แล้วของตัวเองไปส่งครู เพราะอยากจะได้การยอมรับเช่นนั้นบ้าง  ก็จะมีเพื่อนที่ล่วงรู้ความลับนั้นเสมอ และเขาเองก็จะกลายเป็นคนหลอกลวงไปในที่สุด

                5. การวัดความดีกันสมัยก่อนก็มีครับ ผมยังเคยได้รับประกาศนักเรียนมีความประพฤติดีเด่นประจำปี  เคยได้โบว์สีเขียวที่ติดไว้ปกเสื้อเป็นเครื่องหมายว่าเป็นเด็กเรียบร้อย  เพื่อนที่ติดโบว์สีเหลืองคือเด็กเรียนเก่งที่สุดในห้อง โบว์สีชมพูคือหัวหน้าห้อง

                 สมัยก่อนเราลุ่มลึกและแยบยลกว่านี้จริง ๆ ครับผมขอยืนยัน   และไม่เข้าใจว่าทำไมสมัยนี้เราขาดความละเมียดละไม  และมองแบบเป็นวัตถุกันมากขึ้น

                  ด้วยความเคารพครับ อ.เม้ง

ผมก็ยังไม่ได้ปิดประเด็นนะครับ

แต่กำลังแสวงหา พันธมิตรความคิด อยู่นะครับ

สวัสดีครับท่าน

P
ขออนุญาติตัดข้อความบางส่วนไปใช้นะครับไปที่  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/99502

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท