KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : (263) การจัดการความรู้กับการวิจัย (4) การตั้งโจทย์วิจัย


ตอนที่ 3

         ผมอ่านข้อเขียนของผู้สมัครมาเข้าร่วม "เวที KM Research" แล้ว   พบว่ามีบางมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรปริญญาโทด้าน KM และมี นศ. ในความดูแลแล้ว   มีหัวข้อวิจัยแล้วด้วย   แต่ไม่รู้ว่าจะทำวิจัย (เพื่อวิทยานิพนธ์) อย่างไร

         เท่าที่ผมสังเกตเห็น (ไม่ทราบว่าเห็นถูกหรือเห็นผิด)   อาจารย์และนศ. ระดับบัณฑิตศึกษามี 2 กลุ่ม
        - กลุ่มแรกเป็นคนที่วิชาการไม่ค่อยแข็ง   แต่แข็งงาน ขยัน  และติดดิน (คือติดกับกิจกรรมของบ้านเมือง)   คนกลุ่มนี้ถ้าจะทำวิจัยในหัวข้อเกี่ยวกับ KM   ควรตั้งโจทย์ด้านการประยุกต์ใช้ KM ในบริบทที่จำเพาะ   ดำเนินการส่งเสริมการใช้ KM เพื่อบรรลุเป้าหมายหนึ่ง   แล้วเก็บข้อมูล (ดีที่สุดโดย AAR) ว่าการใช้ KM อย่างทรงประสิทธิผลมีปัจจัยที่สำคัญอะไร (What) บ้าง   และจะต้องใช้หรือดำเนินการเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านั้นอย่างไร (How)   รวมทั้งตอบคำถามว่า Why หรือเพราะอะไรการดำเนินการเช่นนั้นจึงได้ผล
       โจทย์วิจัยโมเดลนี้สามารถเอาไปทำได้เป็นร้อยเป็นพันวิทยานิพนธ์   โดยควรปรับโจทย์ให้เหมาะตามบริบทนั้น ๆ
        - กลุ่มหลังเป็นคนที่วิชาการแข็งมาก   มีพื้นทางทฤษฎีแม่นยำ   มีประสบการณ์การวิจัยทางทฤษฎีเชิงสังคม   เชิงความสัมพันธ์ระหว่างคน  เชิงการเรียนรู้  เชิงการสร้างความรู้ ฯลฯ   ควรตั้งโจทย์วิจัยเชิงทฤษฎีเพื่อหาทฤษฎีที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นในกระบวนการ KM   เช่น ปรากฏการณ์ที่คนเกิดความมั่นใจตนเอง   เกิดความสามารถในการเรียนรู้ที่เรียกว่า  Personal Mastery,  ปรากฏการณ์ของ Group Learning ที่คนกระตุ้นการเรียนรู้ซึ่งกันและกันอย่างไม่น่าเชื่อ  เป็นต้น

         นี่เป็นแค่อาหารเรียกน้ำย่อยของ "เวที KM Research" นะครับ   ผมเชื่อว่าผู้มาร่วม 20 กว่าคนจะ ลปรร. เกิดแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการตั้งโจทย์วิจัยเกี่ยวกับ KM ได้มากเป็นสิบเป็นร้อยเท่าของที่เขียนมานี้

วิจารณ์  พานิช
 8 ก.พ.50

หมายเลขบันทึก: 78460เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 13:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เรียน ท่านอาจารย์หมอ

รับทราบครับ กำลังทำตามที่อาจารย์แนะครับ และคาดว่าจะเห็นอะไรที่ชัดเจนขึ้น

แต่ผมจะไม่เขียนงานแทนนักศึกษาแน่นอนครับ (ทั้งที่เกือบจะทนไม่ได้แล้วครับ)

เรียน ท่านอาจารย์วิจารณ์

ตอนนี้กำลังจ้องมอง โครงร่างวิจัยของนักศึกษา คูณอุทัย เห็นเค้ารางตามที่ท่านอาจาย์เสนอแนะในประเด็นของกลุ่มแรก คะ

งานวิจัยระดับปริญญาเอกทำแบบแรกได้หรือเปล่าครับ จะขัดแย้งกับความหมายของคำว่า Doctor ในความหมาย authoritative teacher ไหมครับ อาจารย์ที่ดูแลนักศึกษาปริญญาเอกโดยทั่วไปคาดหวังให้ นศ.ป.เอกทีวิจัยเชิงทฤษฎีเพื่อสร้างทฤษฎีที่ใช้อธิบายปรากฏการณ์หรือเปล่าครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท