ฮวมคึด ฮวมส่าง : บูรณาการความรู้ สู่พลังความคิด ก่อพลังชุมชน


การทำงานของโครงการไม่เน้นการนำเสนอ "สูตรสำเร็จ" สำหรับการพัฒนา แต่เน้นการทำงานในลักษณะ "คิดไป ทำไป แก้ไข ปรับปรุงไปด้วยกัน"

 โครงการพัฒนาชนบทเชิงบูรณาการ ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2544 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาชุมชนและองค์กรชุมชนในเชิงบูรณาการ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพทั้งในด้านแนวคิด การบริหารจัดการกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน

แนวคิดหลักของโครงการ คือ แนวคิดเศรฐกิจพอเพียง เน้นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และการรวมกลุ่มช่วยกันบริหารจัดการเพื่อให้เกิดผลผลิตที่พอเพียงในระดับครัวเรือนและชุมชน

โครงการมีแนวทางการทำงานในลักษณะสหสาขาวิชาการ เน้นการสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อหนุนเสริมกิจกรรมที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาและความต้องการของชุมชนเป็นตัวตั้ง

โครงการจะช่วยหนุนเสริมและประสานให้หน่วยงานในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐ เอกชน กลุ่มและองค์กรชาวบ้าน ได้เข้ามามีส่วนร่วมและสรุปบทเรียนร่วมกันบนพื้นฐานแห่งความสัมพันธ์แนวราบที่ทุกคนคือ "เพื่อนร่วมทาง" การทำงานของโครงการไม่เน้นการนำเสนอ "สูตรสำเร็จ" สำหรับการพัฒนา แต่เน้นการทำงานในลักษณะ "คิดไป ทำไป แก้ไข ปรับปรุงไปด้วยกัน" ทุกคนจึงได้คิด ทำ เรียนรู้ และปรับเจตคติ พฤติกรรมตลอดรายทางของกระบวนการทำงานร่วมกัน

จากผลการทำงานที่ผ่านมา ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด ทัศนคติ มีการวางแผนการดำเนินกิจกรรม และปฏิบัติตามแผนร่วมกัน ทำให้เกิดการเรียนรู้ นำไปสู่การพึ่งตนเอง และเกิดความเข้มแข็งในระดับหนึ่ง ซึ่งต้องมีการพัฒนาต่อไป ภายใต้คำขวัญที่ว่า

"เราจะช่วยให้ชาวบ้านทำในสิ่งที่เขาอยากทำ ไม่ใช่ให้เขาทำในสิ่งที่เราอยากเห็นเขาทำ ทำให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง"

"ฮวมคึด ฮวมส่าง ฮวมทาง ฮวมแฮง เฮ็ดชุมชนเข้มแข็ง หมั่นยืน"

คำสำคัญ (Tags): #การพัฒนาชนบท
หมายเลขบันทึก: 78458เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
นับว่าเป็นเรื่อวงที่ยากมากที่จะเปลี่ยนความคิดของระบบราชการไทยพี่ทำงานอยู่กระทรวงเกี่ยวกับการพัฒนาแท้ ๆ ยังมีบางที่ไม่เข้าใจเรื่องของการพัฒนา มี 20 คนจะเข้าใจอยู่ 2-3 คนเท่านั้นที่ขับเคลื่อนงานนี้ได้ในส่วนอื่นขององค์ที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเขาก็ยังไม่เข้าใจอยู่ดีว่าเหตุผลที่เราทำเพระอะไร อธิบายแล้วก็แล้ว แล้วก็ปลง เดินหน้าฝึกประสบการณ์ให้เด็กและเยาวชนที่สนใจงานพัฒนางานท้องถิ่น งานไทบ้านเขาเดินจะง่ายกว่า มีคนพูดว่าทำงานกับชาวบ้านที่จบ ป.4 ง่ายเสียกว่าทำงานกับคนจบปริญญา เห็นทีจะจริงแฮะ ปราชญ์ชาวบ้านมีเยอะไปหมด และมีเครือข่ายกันมากมาย เทคนิควิธีการทำงานก็ต่างกันตามภูมิสังคมที่เขาเป็นและอยู่ อาจจะขอคำชี้แนะจากน้องชอในการทำงานนะครับอย่างไรก็เดินทางด้วยกันแล้วฝากความคิดถึงอาจารย์บัวพัน และอาจารย์ท่านอื่นด้วยที่สอนดีจริง ๆ จากใจครับ
  • อย่าว่าแต่หน่วยงานราชการเลยครับ มหาวิทยาลัยเองก็มีเพียงส่วนน้อยที่เข้าใจงานพัฒนาชุมชน เวลาผมเขียนงาน คำว่า "องค์กรชุมชน" อาจารย์บางคนยังไม่รู้จักเลย แต่ก็เข้าใจธรรมชาติของอาจารย์ซึ่งบางคนก็อยู่ในตำรา อยู่ในห้องแล็บจริง ๆ เวลาทำงานจริงบางอย่างเราก็ต้องปรับตัวเหมือนกันครับ
  • ผมเองบางครั้งก็ต้องขอคำชี้แนะพี่ฉัตรเหมือนกันครับ...ถ้ามีโอกาสได้ทำงานพื้นที่แถวร้อยเอ็ดอาจจะต้องขอคำชี้แนะจากพี่ฉัตรด้วยเหมือนกันครับ

กิจกรรม กระบวนการที่ ชอลิ้วเฮียง บรรยายมาน่าสนใจมากนะครับ

หากมีกระบวนการใดที่ก้าวหน้า หรือปฏิบัติการอยู่ ช่วยนำมาเล่าสู่กันฟังด้วยนะครับ

  • ยินดีต้อนรับพี่จตุพรครับ
  • หากมีข้อคิดหรือกระบวนการใดที่น่าสนใจ ก็จะพยายามเก็บเกี่ยวมาแลกเปลี่ยนกับพี่พี่ครับ ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท