อาหาร


กินอาหารป้องกันโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูง มักจะเป็นควบคู่กับโรคหัวใจ ค่าความดันโลหิตปกติไม่ควรเกิน 140/90 mmHg ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคความดันโลหิตสูง ควรรับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ และต้องควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การที่มีความดันโลหิตสูงอยู่เป็นเวลานาน จะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่างๆ ได้เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองตีบ ไตเสื่อม จอประสาทตาเสื่อม เป็นต้น  หลักการบริโภคอาหาร และการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง             1. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เนื้อสัตว์ติดมันหรือหนัง อาหารที่ทอดในน้ำมันมาก เช่น ปาท่องโก๋ ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ฯลฯ หรืออาหารที่ใช้น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม หรือกะทิในการปรุงและประกอบอาหาร เพราะการได้รับไขมันอิ่มตัวจากเนื้อสัตว์และอาหารที่มีคลอเลสเตอรอลมากเกินไปจะมีผลทำให้คลอเลสเตอรอลในเลือดสูง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจแทรกซ้อนได้ ควรใช้น้ำมันพืช (น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก ฯลฯ) ในการประกอบอาหาร             2. ควรปรุงและประกอบอาหารโดยการ ต้ม นึ่ง อบ ตุ๋น แทนการผัด การทอด จะช่วยลดปริมาณไขมันในอาหารได้             3. รสชาติของอาหารควรเป็นรสธรรมชาติไม่ควรหวานจัด เผ็ดจัด และโดยเฉพาะเค็มจัด ควรใช้เกลือหรือน้ำปลาแต่น้อย             4. ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร หรือแปรรูป รวมทั้งอาหารหมักดอง เพราะจะมีปริมาณเกลือและน้ำตาลสูง เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน อาหารกระป๋อง ผมไม้แปรรูป หากมีความจำเป็นต้องซื้อสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากที่ติดมากับอาหารก่อนรับประทาน และหลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรส             5. วิธีลดพลังงานจากอาหารที่ร่างกายได้รับ ดังนี้            -  รับประทานอาหารให้น้อยลง เช่น เคยรับประทานข้าวมื้อละ 2 ทัพพี ลดลงเป็น 1 ทัพพี/ถ้วย หรือ(รับประทานข้าวมือละ 20 คำ ลดลงเป็นมื้อละ 15 คำ)            -  เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง            -  รับประทานปลา เต้าหู้ แทนเนื้อสัตว์ (ไก่ หมู วัว) เพื่อให้ได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอ แต่ได้รับพลังงานที่ต่ำกว่า             6. ดื่มน้ำแต่พอควร เมื่อหิวควรจิบน้ำแต่ไม่ควรดื่มมากเกินไป เพราะนำจะไปเพิ่มปริมาณโลหิต ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากยิ่งขึ้น             7. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภท ชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มความดันโลหิต รวมทั้งควรงดสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด             8. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ             9. ทำจิตใจให้แจ่มใส สงบ และสบาย ฝึกการมองชีวิตในด้ายบวกเสมอ 

หัวใจของการรักษาโรคความดันโลหิตสูงอยู่ที่การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องและรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ

คำสำคัญ (Tags): #สม.4
หมายเลขบันทึก: 78457เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2007 13:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท