เนื้อใน - ไอที เพื่อการพัฒนาสังคมอุดมปัญญา


ทำให้เข้าล็อก ที่ สคส. จะได้มีโอกาสทำความเข้าใจ ทั้งกับกระทรวง ไอซีที ของไทย และกับนัก ไอซีที ของประเทศอิ่นๆ ในอาเซียน ว่าเมื่อมอง public domain กับการสร้าง "เนื้อใน" (content development) สำหรับ ไอซีที โยงกับขบวนการเศรษฐกิจพอเพียง ของประเทศไทย เราต้องไม่ลืม การสร้างความรู้ หรือ "เนื้อใน" โดยชาวบ้านเอง

เนื้อใน - ไอที เพื่อการพัฒนาสังคมอุดมปัญญา

        กระทรวง ไอซีที มาชวนผมไปร่วมประชุม เรื่อง "เนื้อใน - ไอที" ที่นครมานิลา ฟิลิปปินส์     ในวันที่ ๗ - ๘ ธค. ๔๙     เป็นโอกาสที่จะแสวงหาความร่วมมือเป็นเครือข่ายกัน     เพื่อสร้างสังคมไทยเป็นสังคมเรียนรู้ สังคมอุดมปัญญา      โดยใช้พลัง ไอซีที เป็นพลังหนึ่งที่ช่วยเอื้ออำนวยความสะดวก ในการขับเคลื่อน

        ที่จริงชื่อการประชุมเขาเป็นทางการกว่าชื่อที่ผมตั้งให้ข้างบนมาก    คือชื่อ ASEAN Workshop on Public Domain and Content Development   จัดโดย The Commission on Information and Communications Technology (CICT) ของอาเซียน    ได้รับการสนับสนุนจาก  the UNESCO National Commission of the Philippines (UNACOM) และ Intel Microelectronics, Phils (Intel)

        เขาบอกวัตถุประสงค์ของ workshop ดังนี้      "This Workshop will provide a venue for the exchange of experiences and ideas on developing the public domain that is more relevant and beneficial to the development needs of ASEAN countries. During the workshop, there will be invited speakers who will discuss the concept the public domain and provide case studies of community-based content development. A panel discussion and country paper presentations will also allow workshop participants generate ideas on how to implement similar initiatives in the region. Finally, the workshop will allot a special time for participants to discuss areas of cooperation and formulate a regional work plan for a public domain project in ASEAN."  

        เขาเชิญผู้แทนเข้าร่วมประชุมประเทศละ ๒ คน     ทางกระทรวง ICT ส่งคุณพุทธชาดไป     และเชิญผมไปด้วย คงจะเห็นว่าผมทำเรื่อง KM     ทำให้เข้าล็อก     ที่ สคส. จะได้มีโอกาสทำความเข้าใจ     ทั้งกับกระทรวง ไอซีที ของไทย     และกับนัก ไอซีที ของประเทศอิ่นๆ ในอาเซียน     ว่าเมื่อมอง public domain กับการสร้าง "เนื้อใน" (content development) สำหรับ ไอซีที  โยงกับขบวนการเศรษฐกิจพอเพียง ของประเทศไทย     เราต้องไม่ลืม การสร้างความรู้ หรือ "เนื้อใน" โดยชาวบ้านเอง 

       คุณพุทธชาด แห่งกระทรวง ไอซีที จะเป็นผู้เตรียม และนำเสนอ country report     ผมคุยเรื่องการเตรียม country report กับคุณพุทธชาด     โดยผมบอกว่าผมมีมุมมอง ที่ ๓ จุด      คือ (๑) เรื่อง public domain   (๒) เรื่อง content development   และ (๓) เรื่อง community-based content development   

       ผมมีความเห็นต่อคำว่า public domain     ว่าต้องตีความในความหมายที่ไม่ใช่แคบ ว่าหมายถึงภาคราชการเท่านั้น     ต้องตีความว่าหมายถึงภาคสาธารณะในวงกว้าง     ผู้แสดงบทบาทในภาคสาธารณะจึงได้แก่คนทุกคนในสังคม     และต้องการเน้นบทบาทของคนธรรมดา หรือชาวบ้านทั่วๆ ไป

        ผมตีความคำว่า content development ตามแนว KM     ว่าต้องเน้นการสร้าง content หรือความรู้เพื่อการใช้งาน โดยผู้ใช้งานความรู้นั้นเอง   ดังนั้น จึงควรเน้น content development by content users    มากกว่า content development by knowledge provider      กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราเน้น demand-side content development  มากกว่า supply-side content development

       ก็จะมาบรรจบกับประเด็น  community-based content development     ว่าถ้าเราต้องการความรู้เพื่อการพัฒนาชุมชน ก็ต้องเน้น content หรือความรู้ ที่สร้างขึ้นใช้โดยชุมชนนั้นเอง เป็นสำคัญ   

        ผมบอกคุณพุทธชาด ว่า สคส. จะช่วยให้ข้อมูลเรื่องการสร้างความรู้ (content) ในชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน     โดยกระบวนการ KM ชุมชน  หรือ KM ท้องถิ่น     เช่น โรงเรียนชาวนาของมูลนิธิข้าวขวัญ สุพรรณบุรี     เครือข่ายเกษตรยั่งยืน จ. พิจิตร     เครือข่ายโรงเรียนชาวนา จ. นครสวรรค์  เป็นต้น     รวมทั้งกิจกรรมที่ สรส. ไปส่งเสริม     คุณอ้อม (อุรพิณ) จะช่วยให้ข้อมูล และรูปภาพประกอบการจัดทำ PowerPoint แก่คุณพุทธชาด     สำหรับให้คุณพุทธชาดแสดงแก่ที่ประชุมว่า community-based content development นั้น มีอยู่แล้วอย่างกว้างขวางเข้มข้นในประเทศไทย      แต่วงการ ไอซีที ต้องมาช่วยกันหาทาง นำ content เหล่านั้นให้ไหลเวียนระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ content ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดียวกัน     ให้เหมาะต่อการใช้งานของคนเหล่านั้น    ในลักษณะที่คนที่อยู่ไกลกัน ก็เหมือนอยู่ใกล้     เพราะ ไอซีที ช่วยย่นระยะทาง      ให้สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางไกลกันได้

        หวังว่า การประชุมที่มานิลา จะช่วยเป็นสะพานเชื่อมความร่วมมือ     ให้กระทรวง ไอซีที ได้มีโอกาสสร้างผลงาน ในการนำเอาเทคโนโลยี ไอซีที มาเป็นถนนอีเล็กทรอนิกส์     ให้มีการเคลื่อนย้ายแลกเปลียนความรู้ที่สร้างขึ้นเองในท้องถิ่นไทย  อย่างกว้างขวางทั่วประเทศ

วิจารณ์ พานิช
๒๑ พย. ๔๙
บนรถไปสนามบินสุวรรณภูมิ

หมายเลขบันทึก: 61587เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 12:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
    ชอบ และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับมุมมอง 3 ประเด็นของท่านอาจารย์ครับ
    ผมเคยฝากไว้ในที่ประชุม ที่ มช. โดยมี UNESCO สนับสนุน ว่า ICT for ICT น่าจะพอได้แล้ว ควรหันมาทำให้เกิด เป็น ICT for LIFE กันให้มากๆ ไม่ว่าในวงการใด  มุมมอง ๓ จุด  ผมว่าคือเส้นทางสู่ ICT for LIFE ครับ   
เห็นด้วยกับมุมมองขอท่านอาจารย์ครับ พร้อมกับได้รับทราบถึงวิสัยทัศน์ของกระทรวง ICT ของไทยเราเองด้วย
การนำ IT มารวมองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในท้องถิ่นต่างๆ ไม่ใช่เรื่องยากเลย ขอเพียงแค่เริ่มต้น แต่กระทรวงหลักด้าน IT อย่าง ICT กลับไม่ได้ทำอะไรให้เห็นเลย
ผมขอชื่นชม KMI และทุกท่านใน http://gotoknow.org เห็นความสำคัญและที่เป็นตัวหลักในเรื่องนี้อย่างจริงจัง และยังช่วยแสดงวิสัยทัศน์ หรือจัดกิจกรรมกระตุ้นคนอื่นๆให้ตระหนักให้เห็นความสำคัญของ KM ให้มากๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท