จุมเรียบซัว(สวัสดี)กัมพูชา ตอน ๘


อาจารย์สาเรนบอกว่า คนเขมรไม่กินอาหารรสจัดแบบคนไทย คุณแม่ของท่านทำแกงหม้อหนึ่งจะใส่พริกก็ใส่สักเม็ดหนึ่ง ไม่ได้ใส่มากมายอะไร

                      

ผู้เขียนไปที่นั่นแล้วรีบอาบน้ำ เนื่องจากไม่ได้อาบมา 1 วันกว่าๆ แล้ว อาบน้ำแล้วรีบสวดมนต์ โดยเฉพาะพระปริตรนี่... จำเป็นมากเวลาไปไหนไกลๆ เพราะกลัวผีมาตั้งแต่เด็กๆ

  • วันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคมเป็นวันที่ผู้เขียนนอนแทบทั้งวันเลย ตื่นมาตอนเช้ากินข้าว ข้าวปิ่นโตที่นั่นมีเศษทรายนิดหน่อย

ภาพที่ 1: ด้านในกุฏิ วัดเวฬุวัน พนมเปญ กัมพูชา....

  • "ราวกับแดนสวรรค์" อาจารย์แม่ชีมาลีกล่าวไว้อย่างนั้น เพราะสงบ สะอาด แถมยังมีห้องน้ำภายในเรียบร้อย... ทว่าที่นี่ยุงชุมมากทีเดียว เพราะหลังกุฏิมีตุ่มเก็บน้ำฝน เปิดฝาไว้แทบทุกตุ่ม พวกเราแนะนำอาจารย์สา เรนว่า น่าจะหาอะไรปิดกันยุง

อีกวันหนึ่งจึงเห็นว่า คนที่ขนปิ่นโตชอบหิ้วปิ่นโตไปคราวละ 10 กว่าเถา ขนไปปิ่นโตตกกระจัดกระจายบนทราย แถวๆ นั้นมีมูลสุนัขด้วย เมื่อเปื้อนแล้วก็ไม่ได้ล้างใหม่ เพียงแต่ใช้ผ้าเช็ดๆ ทรายออกไป

  • อาจารย์สาเรนบอกว่า คนเขมรไม่กินอาหารรสจัดแบบคนไทย คุณแม่ของท่านทำแกงหม้อหนึ่งจะใส่พริกก็ใส่สักเม็ดหนึ่ง ไม่ได้ใส่มากมายอะไร

อาหารมื้อแรกเป็นปลาร้าสับกับหมูทอด... ผู้เขียนไม่ชอบกลิ่นปลาร้า ทว่า... เมื่อเจ้าภาพทำให้แล้วก็ต้องลองชิมดูนิดหน่อย (ประมาณ 1 ใน 5 ช้อนโต๊ะ) กลั้นหายใจ แล้วกลืนไปเลย

ภาพที่ 2: อาหารมื้อแรกที่วัด เป็นปลาร้าผัดหมู โชคดีที่มีแตงกวา

  • รสชาดปลาร้านี่... ถ้าใครชอบแล้วแทบขาดไม่ได้เลย ท่านพระ    อาจารย์สมบัติ นันทิโกเล่าว่า...

พระอีสานรูปหนึ่งไปเรียนไกลบ้าน เรียนไปเรียนมาพักหนึ่งก็ทนไม่ไหว ท่านถามพระรูปนั้นว่า ทำไมถึงทนไม่ไหว พระท่านนั้นบอกว่า "กับข้าวไม่มีปลาร้า"

  • ผู้เขียนชอบทำบุญกับส้มตำ... ถ้าถามผู้รับเลี้ยงคนเมือง (ทางเหนือ) ส่วนใหญ่รายไหนรายนั้นจะขอแบบ "ปู ปลาร้า"

 Cat 9Cat 3

ผู้เขียนไม่คุ้นเคยกับปลาร้าเท่าไหร่... แอบดมดูปรากฏว่า กลิ่นคล้ายๆ กับอาหารแมวแบบแพง

  • อาหารแมวแบบธรรมดามักจะทำขายเป็นก้อนเล็กๆ บางทีมีรูปคล้ายดอกเบญจมาศ(กลมและมีหยัก) บางทีเป็นรูปปลาหางไขว้ ต่างจากอาหารหมา (สุนัข) ที่มักจะมีรูปรีคล้ายไข่ กลม หรือรูปกระดูก

อาหารแมวแบบแพงทำเป็นซองปิดผนึกอย่างดี ภายในเป็นอาหารเปียกๆ ผู้เขียนลองดมซองอาหารแมว ปรากฏว่า... กลิ่นคล้ายปลาร้า

  • ผู้เขียนอาศัยกินข้าวเจ้ากับแตงกวา เสริมด้วยขนุนไปจนอิ่ม ไม่อิ่มไม่ได้ เพราะไปทำบุญคราวนี้ตั้งใจสมาทานศีลแปด

ภาพที่ 3: กับข้าวเขมร หนักไปทางต้ม ที่ต่างจากไทยคือ อย่าเผลอ... ถ้าเผลอจะใส่ปลาร้าไปหน่อยหนึ่ง รสชาดออกไปทางจืด คนเขมรไม่ค่อยกินเผ็ด ซึ่งเมื่อรวมรสนิยมพม่า-ลาว-เขมรแล้ว น่าแปลกที่คนไทยเป็นชาติเดียวที่กินเผ็ด นับเป็นชาติที่แปลกไม่เหมือนเพื่อนบ้าน

(น้ำพริก น้ำส้ม น้ำปลานี่... คุณแม่มาลีขอให้อาจารย์สา เรนเตรียมให้ เนื่องจากอาหารค่อนไปทางจืด)

ภาพที่ 4: แมลงวัน... "ปกติที่นี่ไม่มีแมลงวัน เพิ่งมาวันนี้เอง" อาจารย์สา เรนกล่าวอย่างนั้น นี่อาจจะเป็นบาปกรรมเก่าของคณะเรา ทำให้ถูกรบกวนจากแมลงวัน (โปรดสังเกตทางด้านขวาของถ้วย)

  • ผู้เขียนสังเกตว่า การทิ้งขยะในวัดไม่ค่อยถูกหลักอนามัยเท่าไร เช่น ปอกมะพร้าวแล้วไม่ฝังกลบ ฯลฯ... แมลงวันแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ถ้าช่วยกันฝังกลมให้ดี หรือนำไปทำปุ๋ยให้เป็นระบบ น่าจะช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นมาก

ส่วนพวกแกงนี่... คนเขมรชอบใส่ปลาร้า ใส่ไปหน่อยหนึ่งพอให้ได้กลิ่น ท่านเลยทำแกงเขมรคล้ายๆ กับแกงเลียง หรือแกงแคทางเหนือ ใส่ปลาร้าไปด้วย

  • คุณแม่ชีมาลีบอกให้อาจารย์สาเรนทำน้ำปลาใส่พริกกับมะนาวมาให้... ดูจะได้เป็นน้ำส้มสายชูปนกับพริก ผู้เขียนเลยได้อาศัยพริกผสมกับข้าวไปแทบจะทุกคำ

เรื่องพริกนี่... ทำให้นึกถึงพระภิกษุจากสงขลาที่ไปปฏิบัติธรรมที่วัดแฌมเย่ เมืองย่างกุ้งในเดือนกันยายน 2549...

  • ท่านบอกว่า อาหารพม่าจืดและมัน... ต้องผสมพริกไปทุกคำกลืนจึงจะฉันได้

ภาพที่ 5: อาจารย์สา เรนนำมีดของท่านพระสา แอมมาให้ เผื่อจะปอกผลไม้... เข้าใจว่า น่าจะเป็นมีดทำในจีน และอาจได้ข้อคิด (ไอเดีย) มาจากมีดพกทหารสวิส ใช้ปอก(ผลไม้) ใช้เปิด(ขวด)ได้ ถ้าคนไทยทำเลียนแบบน่าจะดี

ภาพที่ 6: คุณแม่ชีสุ คน... ท่านเป็นผู้มากด้วยเมตตาทั้งที่ผ่านช่วงสงครามเขมรแดงมา เสียดายที่ไม่มีโอกาสสัมภาษณ์เรื่องเขมรแดงไว้

  • ท่านเคยอยู่เมืองไทยแถวๆ ระยอง 10 กว่าปี ท่านเล่าว่า เมื่อก่อนด่านเขาไม่ค่อยตรวจ เวลาเดินมาฝั่งไทยก็เดินไปกับแม่ชี ให้แม่ชีคนไทยพูดไทยนำหน้า เวลาเดินกลับฝั่งเขมรก็พูดเขมร ไม่เคยทำวีซ่า

  • หลังอาหารเช้า... ผู้เขียนเดินสำรวจวัดเวฬุวัน ที่นั่นกำลังสร้างพระเจดีย์สำหรับบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

เหล็กเส้นที่นั่นขายเป็นม้วนกลมๆ ต้องนำมายืดออก ใช้ฆ้อนตีหลายๆ ทีจึงจะได้เหล็กเส้นตรงๆ สำหรับนำไปใช้ก่อสร้างต่อไป ไม่เหมือนบ้านเราที่เหล็กเส้นยาว และตรง

  • วัดเวฬุวันก็คล้ายกับวัดไทยทั่วไป มีโบสถ์ ศาลา ลานต้นโพธิ์ สระบัว ห้องสมุด และมีที่พักของท่านอาจารย์บุด สาวงด้วย

ภาพที่ 7: มื้อนี้มีแกงปลาน้ำน้อย(ขลุกขลิก) มะพร้าวคั่ว ขนุน มะพร้าว ให้ดื่มน้ำมะพร้าวแก้เคล็ดขัดยอกจากการเดินทางคนละลูกเลย

  • พอได้รับน้ำใจ และความเมตตากรุณาจากคนเขมรแล้ว พวกเราก็กลับซาบซึ้งใจรักกัมพูชา และเห็นอกเห็นใจคนเขมรมากทีเดียว

ภาพที่ 8: ปลาเค็มเขมร... กัมพูชา(ประเทศ) หรือเขมร(คน, ภาษา)เป็นมหาอำนาจทางด้านปลาเค็ม ปลากรอบจากตนเลสาบมีชื่อเสียงมากว่าอร่อย

  • ถ้ามองจากแผนที่กัมพูชา... จะเห็นทะเลสาบขนาดยักษ์เชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง กล่าวกันว่า หน้าน้ำ... น้ำจะเอ่อล้นออกจากแม่น้ำโขงเข้าสู่ตนเลสาบ หน้าแล้ง... น้ำจะไหลย้อนกลับ จากตนเลสาบออกไปแม่น้ำโขง

ตนเลสาบเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา นก และงูจำนวนมาก ยามน้ำลด... มีตะกอนดินจากแม่น้ำโขเหมาะแก่การทำนา และปลูกพืชสวนครัว นับเป็นอู่น้ำอู่ข้าวของกัมพูชา...

  • ปัจจุบันมีแนวโน้มว่า ตนเลสาบจะเกิดภาวะตื้นเขิน เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำโขงลดลง ปริมาณสัตว์จะลดลง เนื่องจากมีการจับสัตว์ไปขายจำนวนมาก โดยเฉพาะเมื่องูลดลง อาจเกิดการระบาดของหนูได้... นี่อาจเป็นภัยพิบัติใหม่ของกัมพูชา

ภาพที่ 9: ภาพแผนที่กัมพูชาจากร้านซํมนาง ใกล้ตลาดโรงเกลือ อรัญประเทศ (ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า)... แถบสีฟ้าทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชาคือ ตนเลสาบ

ภาพที่ 10: แผนที่กัมพูชาจากหนังสือ "ผ่าเขมร เห็นไซ่ง่อน" เขียนโดยท่านอาจารย์สัจภูมิ ละออ (ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า)

  • โปรดสังเกตว่า อรัญประเทศ (ตลาดโรงเกลือ) อยู่ใกล้ตนเลสาบ (แถบสีขาว) และเสียมเรียบ (ที่ตั้งนครวัด นครธม)... ถ้าไทยลงทุนทำถนน และรถไฟเข้าไปน่าจะส่งเสริมการค้า และการท่องเที่ยวได้ดีมาก

    แนะนำหนังสือ:

   แหล่งที่มา: 

    เชิญอ่าน:

  • บันทึกย้อนหลังบน Gotoknow ย้อนหลังได้... โดยเลือกจากปฏิทินกิจกรรมด้านขวามือของบล็อก
  • บ้านสุขภาพ > http://gotoknow.org/blog/health2you
  • ดาวน์โหลดบทความ > www.lampangcancer.com > ขอขอบคุณ webmaster โรงพยาบาล > คุณณรงค์ ม่วงตานี.
หมายเลขบันทึก: 72727เขียนเมื่อ 15 มกราคม 2007 13:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

คนขแมรอีสานไต้นั้น ก็ชอบกินเผ็ดนะครับ ผมว่าไม่เกี่ยวกับเชื่อชาติเผ่าพันธุ์ได้อันได มันเกี่ยวเฉพาะกับบุคคลมากกว่า  คนไทยก็ไม่ได้ชอบกินเผ็ดกันทุกคน  คนลาวก็ชอบกินเผ็ด ยิ่งลาวอีสานด้วยแล้ว กินเผ็ดมาก  

ฉะนั้นจะว่า ชาติไดกินเผ็ดกินจืดนั้น น่าจะมองภายในตัวบุคคลมากกว่าที่จะมองโดยภาพรวมไปถึงชาติหรือเชื้อชาติ

ขอขอบคุณอาจารย์ขแมร และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • คน "ขแมร์" อีสานใต้ชอบกินเผ็ด > จริงครับ สังเกตดูจากพระอีสาน และสอบถามจากคนเขมรที่เข้าไปอยู่ในอีสานมาก่อน เช่น อาจารย์สา เรน ฯลฯ ท่านก็กล่าวเช่นนั้น

เรื่องคนพม่ากินพริกน้อย กินอาหารมัน (ใช้น้ำมันุถั่วลิสง) กินถั่ว ไม่กินพริก และกินเครื่องเทศคล้ายแขก...

  • ไม่ใช่เรื่องบุคคล
  • แต่เป็นวัฒนธรรมประจำชาติทีเดียว
  • รศ.วิเชียร นิตยะกุล อาจารย์เกษียณจากคณะมนุษยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ท่านบวช และไปปฏิบัติธรรมที่พม่ากล่าวว่า "สำหรับคนพม่า... ความมันคือ ความอร่อย"
  • ผู้เขียนไปลองกินอาหารพม่าที่เมืองพุกาม มัณฑเลย์ ย่างกุ้งมาแล้ว... ปี 2549, 2550 ทั้งในวัด และร้านอาหาร
  • ลองกินอาหารพม่าที่วัดท่ามะโอ ซึ่งเป็นวัดที่มหาอุบาสกชาวพม่าสร้างไว้ และลูกหลานท่านไปทำบุญเป็นอาหารพม่าแท้ๆ... เข้ากับสูตรนี้
  • แนะนำให้อ่านเพิ่มเติมที่นี่... [ ศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร - Click ]
  • ข่าวจากนักโภชนาการที่เพื่อนท่านไปฝึกงานกับบริษัทมาม่าบอกว่า คนพม่าชอบผงชูรสมากเป็นพิเศษ...

เรื่องคนลาวกินพริกน้อย...

  • ผู้เขียนมีโอกาสไปเวียงจันทน์ 9 กค. 49
  • กินข้าวที่ร้าน "ริมของ (= โขง)" > อาหารที่นั่นรสไม่จัด และไม่ใส่พริก
  • เรียนถามจากคุณเพชร... ไกด์สาวชาวลาวที่เก่งมากๆ ท่านก็ว่า คนลาวกินอาหารรสไม่จัด และไม่ใส่พริก
  • เรื่องนี้ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับท่านอาจารย์ออตที่ชำนาญในเรื่องลาวศึกษาแล้ว
  • แนะนำให้เรียนถามเพิ่มเติมจากอาจารย์ออตที่นี่... [ อาจารย์ออต - เล้าข้าวศึกษา - Click ]

เรื่องคนเขมร (กัมพูชา) กินอาหารคล้ายคนกรุงเทพฯ ทว่า... รสไม่จัด กินพริก (แต่กินน้อย) กินปลาร้า (สุก + กินไม่มากเท่าคนอีสาน)...

  • เรื่องนี้สังเกตจากการไปกัมพูชามา 2 ครั้ง:.. ธันวาคม 2542 + ธันวาคม 2549
  • เรียนถามจากท่านอาจารย์สา เรน ซึ่งเป็นอาจารย์สอนบาลีในวัด และมีสติปัญญาสูงมาก ท่านก็ว่า อย่างนั้น
  • ถ้าต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม... แนะนำให้ลองไปที่วัดเวฬุวัน พนมเปญดู
  • หรือจะสอบถามไปทางศูนย์กัมพูชาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีที่นี่ก็ได้... [ ศูนย์กัมพูชาศึกษา - Click ]

การกินเผ็ดหรือไม่เผ็ด...

  • การกินพริกมีความสัมพันธ์กับเชื้อชาติ ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นทั่วโลกด้วย
  • แน่นอนว่า ประเทศที่กินพริกมากไม่ได้หมายความว่า ทุกคนกินพริก
  • ทว่า... ดูจากค่าเฉลี่ย หรือความนิยมจะโดดเด่นมากเป็นบางภูมิภาค

ประเทศทั่วโลกที่ชอบกินเผ็ดก็มี...

  • (1). อาเซียน (มากที่สุดในไทย)
    (2). อเมริกาใต้ (ชัดมากในเม็กซิโก พริกเผ็ดที่สุดในโลกอยู่ที่นั่น)
    (3). จีนตอนใต้ (เสฉวน... ข้อมูลจากอาจารย์หมอจี๊ด / ทพญ.รัตนาวดี บุปผาเจริญสุข ท่านไปเที่ยว และพูดจีนกลางได้ ท่านพบว่า ที่นั่นเขาภูมิใจกับการกินเผ็ดมาก ถึงกับทำพริกเป็นของที่ระลึก)

ประเทศที่กินพริกมีข้อดีหลายอย่าง...

  • (1). ภูมิภาคที่กินพริกมีแนวโน้มจะมีชื่อเสียงเรื่อง "กับข้าวอร่อย" เช่น อาหารไทย อาหารเม็กซิกัน อาหารจีน ฯลฯ ดังไปทั่วโลก
  • (2). พริกมีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตะมิน สารต้านอนุมูลอิสระ และที่สำคัญ... พริกป้องกันโรคเส้นเลือดดำอุดตัน

ความสามารถในการวิเคราะห์เป็นคุณสมบัติสำคัญที่จะทำให้คนเราประสบความสำเร็จ หรือไม่ประสบความสำเร็จ...

  • ตัวอย่างเช่น บริษัทมาม่าจะไปทำบะหมี่ขายในย่างกุ้ง (2548) ... จะต้องทำการวิจัยอย่างละเอียด จึงจะประสบความสำเร็จ
  • ถ้าไม่วิเคราะห์ ไม่สรุปประเด็น... จะไม่เกิดองค์ความรู้อะไรเลย

คุณหมอว่ามาถูกแล้วขอรับ เรื่องกินเผ็ด

คุณหมอทำงานละเอียด เรียบง่าย และเป็นระบบดีครับ

http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0608010647&srcday=2006/12/01&search=no

C

ขอขอบพระคุณอาจารย์ C และท่านผู้อ่านทุกท่าน...

  • ขอขอบพระคุณสำหรับการแนะนำบันทึกที่ทรงคุณค่าทางศิลปวัฒนธรรม
  • เรียนเสนอให้ท่านผู้อ่านแวะไปชมบันทึกที่อาจารย์ C แนะนำ

โปรดคลิกที่นี่...

ขอขอบพระคุณครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท