กระบวนการทำงานในหน่วยเคมี


   มีหลายคนในภาคพยาธิคิด labเคมีเป็น labที่ง่ายเพราะใช้เครื่องตรวจเป็นส่วนใหญ่วันนี้ผมจะมาชี้แจงพร้อมทั้งแถลงให้ทุกคนทราบว่าที่แท้จริงเป็นอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า งานเยอะหรือเปล่าตอนนี้ไม่มากครับแค่ 600-800 ราย(คนในหน่วยพูดครับ)แต่คนทำงานทุกคนไม่รู้คิดเหมือนกันหรือเปล่าไปหาคำตอบกันได้ที่หน่วยเคมีครับ แต่ที่ทราบทุกคนสนุกกับงานครับเพราะทุกคนทำงานเป็นที่ดีมาก(tiger team) และทุกคนจะพัฒนางานให้ไปสู่ ระบบ ISO 15189 ให้ได้

ขั้นตอนการทำงานในหน่วยเคมี

1.การรับสิ่งส่งตรวจ ใช้บุคลากร 2 คน คือ patch barcode และ run lab number

     

2.นำสิ่งส่งตรวจไปปั่นแยก serum พร้อมกับจัดเรียง number เพื่อรอตรวจวิเคราะห์ ใช้บุคลากร 2 คน

3.เขียน cup ตรวจ Electrolyte และเขียน lab no.ที่ตรวจเป็น test พิเศษคือทำสัปดาห์ละครั้งเพื่อสะดวกสำหรับการจักเก็บ  Sample ใช้บุคลากร1 คน

4.ลงทะเบียนรับในระบบ lanของโรงพยาบาล วันละ600-800 ราย.ใช้บุคลากร 1 คน

 

5.ตรวจวิเคราะห์ใช้บุคลากร 1 คน(ทั้งวัน)

 

 

6.ออกผล labใช้บุคลากร 1 คน(ทั้งวัน)

 หลายคนถ้าได้เห็นภาพพอจะทราบแล้วนะครับว่า labเคมีง่ายหรือเปล่า

แล้ว labด่วนไปอยู่ตรงไหน ถ้าผมมีเวลาจะมาเขียนต่อครับขอตัวไปให้ข้อมูลเรื่อง ISO ก่อนครับ

หมายเลขบันทึก: 13292เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2006 11:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
อยากทราบว่า ระบบที่แสดงข้างต้น เป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนา หลังจากที่ specimen เพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือเป็นระบบเดิม และถ้าปรับ ปรับตรงไหน เพราะอะไร

อ้อ อยากให้นานดำ ช่วยเคาะ space bar ระหว่างคำภาษาไทย และอังกฤษ จะทำให้อ่านข้อความได้ง่ายขึ้น

ขออนุญาตแสดงความเห็นตรงนี้ ที่ต้องบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัวไม่ค่อยแน่ใจว่าถูกต้องตามความเป็นจริงไหม คือระบบที่เห็นและเป็นอยู่นี้คือการจัดตามจำนวนคนที่มีอยู่ (ซึ่งน้อยไป เมื่อเทียบกับปริมาณงาน)มากกว่า ซึ่งจำนวนคนที่กำหนดแต่ละจุดนั้น เพียงพอสำหรับการทำงานในกรณีที่งานปริมาณระดับหนึ่ง (น่าจะในอัตราไม่เกิน 50 รายต่อชั่วโมง) แต่ปัจจุบันในช่วงเช้า (7.30 - 10.00) ปริมาณงานของหน่วยเคมีจะอยู่ที่ประมาณ 200 ราย/ชั่วโมง ดังนั้นจุดตั้งต้นจะเป็นส่วนที่งานโหลดมาก พวกเราทุกคนที่เหลือต้องช่วยกันลงมือ

สิ่งที่พวกเราเห็นตรงกันก็คืองานลงทะเบียนควรให้ผ่านเครื่องให้เร็วที่สุด เพราะให้คน key ในอัตราใบส่งตรวจ 200 ราย/ชั่วโมงนั้นเป็นเรื่องที่หนักหนามาก โอกาสผิดพลาดสูง ซึ่งจะไปมีผลตอน interphase ผลออกจากเครื่อง ซึ่งคน verify ก็จะเสียเวลามานั่งแก้ แทนที่จะได้เอาใจใส่เฉพาะการวินิจฉัยผลว่า ถูกต้องเป็นจริง มีค่าผิดปกติควรต้อง repeat หรือไม่ มากกว่ามานั่งตรวจว่าลงทะเบียนผิด ward ลง test ขาดๆเกินๆบ้าง

ส่วนการที่จะมีเครื่อง automate เพิ่มนั้น ก็หมายถึงว่าเราต้องมีคนเพื่อจะไปควบคุมเครื่อง และดำเนินการ process sample เข้าเครื่อง ในปัจจุบันเรามีเครื่องอ่าน barcode แต่เราต้องใช้คนติดเบอร์ที่ tube เลือดก่อนเอาไปปั่น ซึ่งคนเดียวติดเบอร์ 200 ราย/ชั่วโมงไม่ทันแน่นอน เรามีเครื่อง Hitachi แต่เราต้องใช้คนเอา tube ไปเข้าเครื่อง ดูว่ามีเลือด clot หรือไม่ ต้องทำ test อะไร key เข้าเครื่องด้วยคน ตรวจการออกผลด้วยคน ตัดสินใจว่าค่าควร repeat หรือไม่ ผิดปกติไปเพราะอะไร เหล่านี้ต้องใช้คนทั้งสิ้น ดังนั้นการมีเครื่องเพิ่ม ในขณะที่ปริมาณงานมากเช่นนี้ เราก็ต้องมีคนเพิ่มขึ้นด้วย ในปัจจุบัน เช่นเช้าวันนี้งานที่ต้องรอเข้าเครื่องก็มากองเรียงแถวกันเช่นที่เห็น ถ้าเรามีเครื่องเพิ่ม เราก็ต้องมีคน process งานเข้าเครื่องอย่างที่บอกข้างต้น

จากที่เป็นอยู่จะเห็นได้ว่า พวกเราทำงานกันหนักมากเป็นช่วงๆ (เพราะทุกคนข่วยทำงานคนอื่นด้วย) พอถึงเวลาที่งานลดอัตราลงเป็นปกติในช่วงบ่าย คนก็หมดแรงกำลังจะทำงานหรือคิดพัฒนางาน (อันนี้รวมถึงขณะทำงาน ที่มากจนแทบไม่มีเวลาคิดอะไร)

สรุปค่ะว่า เราอยากให้การลงทะเบียน ทำโดยการผ่านคอมให้เร็วที่สุด และเมื่อมีเครื่องเพิ่มก็ต้องมีคนเพิ่มขึ้นด้วย เพราะเราทุกคนอยากทำงานพัฒนาแต่ถ้าเหนื่อยกันมากขนาดนี้ (แม้จะไม่ตลอดวัน) ก็ไม่สามารถจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งตัวเองก็มหัศจรรย์ใจอยู่ว่าเค้าทำกันมาได้อย่างไร

เมื่อกี๊ไม่ได้ใส่รูป ความจริงตอนแรกมีตั้งเรียงกันอยู่ 4 racks ที่เข้าเครื่องไม่ทัน แต่ตอนนั้นคนถ่ายรูปก็ยุ่งอยู่กับการยิง barcode ฉีกใบที่พิมพ์ออกมา ช่วยพี่ผอบอยู่

http://gotoknow.org/file/panothai/HitachiLoad3.JPG

 

http://gotoknow.org/file/panothai/HitachiLoad2.JPG

 

http://gotoknow.org/file/panothai/HitachiLoad1.JPG

 

 

ขอใส่รูปอีกทีแบบไม่ต้อง link ไปดูค่ะ

ขอสนับสนุนด้วยคนค่ะ ผ่านไปวัน ๆ อย่างเหน็ดเหนื่อย (แม้จะพยายามมองโลกในแง่ดี ว่ายังโชคดีที่มีงานทำ) ถ้ามันเหนื่อยน้อยลงกว่านี้ก็ดีค่ะ โดยเฉพาะช่วงไหนที่มีคนลา ขาด ออกเวรดึกกว่าจะมาทำงาน หรือไปอบรม ประชุม)  ขอบอกน๊ะค๊ะว่าเครื่อง Automated เยอะก็ไม่ใช่ว่าดี ตอนนี้มีเครืองที่อายุการใช้งานเกือบ 20 ปี ก็เจ๊งแล้วคาดว่าคงซ่อมไม่ได้อีก เพราะเขาเลิกผลิตกันแล้ว เครื่องที่มีอยู่แม้มันจะใหม่3-4 ปี แต่ด้วยความที่มันทำงานหนักมาก บางครั้งมันก็ Hank ไปดื้อ ๆ ก็มี  ไม่นับเครื่องกลางเก่ากลางใหม่ ที่ทำไปซ่อมไปอีก  สรุปว่าถ้าได้คนเพิ่มก็คงจะดีค่ะ  

      ขอบคุณอาจารย์ที่เสนอแนะครับ ผมแก้ไขแล้วครับ ผมไม่ค่อยถนัดในการใช้เท่าไร และจะพยายามให้ดีขึ้นครับ

       ส่วนเรื่องระบบ lab ผมเห็นด้วยกับโอ๋ -อโณครับ เพราะพี่โอ๋ทำงานแบบคนที่รักในอาชีพมากเลยครับ 

คิดว่าหน่วยงานที่มีภาระงานหลักคล้ายคลึงกันกับหน่วยเคมีคลินิก ก็มีหน่วยฮีมาโต และ จุลทรรศน์ เพราะให้บริการแล็บในกลุ่ม "routine" เหมือนกัน (CBC, UA) และแน่นอน...  ประสบปัญหาเดียวกัน
    และต่อไปนี้คือ ...ปุจฉา...
1. มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ของแล็บที่ส่งมาในช่วง prime-time (7.30-10.00) ถูกนำไปใช้อย่าง "คุ้มค่า" คือ ผู้ป่วย/แพทย์รอผลเพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัย หรือติดตามผลการรักษาทันที (นั่นหมายถึงว่า เปอร์เซ็นต์ส่วนที่เหลือก็คือ "ไม่คุ้ม(ค่าเหนื่อย)" เช่น มาเจาะเลือดตรวจไว้แล้วไม่ต้องรอผลให้ผู้ป่วยกลับบ้านไป  หรือวอร์ดเจาะส่งเพื่อเคลียร์ order ก่อนออกเวรเช้า แต่กว่าหมอจะมาดูผลก็บ่ายสามโน่น  แต่เรากลับต้องรีบทำไปพร้อมๆกันหมด)
2. ทำอย่างไรให้ส่วนที่ "ไม่รอผล" มีการกระจายส่งตรวจหลังจากเวลา prime time บ้าง 
3. ทำอย่างไรให้เจ้าหน้าที่ห้องแล็บหยิบ specimen ที่รอผลขึ้นมาทำก่อนได้ (เหมือนแล็บด่วนของนายดำ ..เอ..หรือต้องทำสติ๊กเกอร์สีเขียว เหลือง ฟ้า....อีกสำหรับ รอผล / ไม่รอผล /ต้องการผลเย็นนี้/ ต้องการผลสัปดาห์หน้า  เป็นต้น...)
4. ถ้าทำข้อ 3 ได้ เวลาเราจับค่า TAT ก็จับเฉพาะกลุ่ม "ด่วน" และ "รอผล" เท่านั้น
  ตัวพี่เม่ยเองก็ได้แต่ถามค่ะ ตอบไม่ได้เหมือนกัน... 
เห็นด้วยกับพี่เม่ยครับ เราน่าจะคุยกับหน่วยคอมในการเพิ่มในคอมว่า รอผล/ไม่รอผล เหมือนตอนใช้ใบ lab ครับ

 ดีแต่คิด เอาแต่สบายนะคุณเม่ย หมอมีเวลาว่างมากใช่ไหมที่จะมาเลือกเอาแต่ที่ดีที่ชอบเหมือนคุณ มาลองเป็นหมอดูไหม ไม่ใช่แค่MT

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท