เพิ่มพลังนึ่งหารสองสนองลดโลกร้อน


การลดน้ำ เวลาที่ใช้การทำปราศจากเชื้อลดลง ส่งผลต่อการใช้ก๊าสหุงต้ม(LPG) ที่ลดลงได้ และยังคงประสิทธิภาพการทำปราศจากเชื้อได้ดี

 

1. ชื่อผลงาน /โครงการพัฒนา :  

เพิ่มพลังนึ่งหารสองสนองลดโลกร้อน

 

2. คำสำคัญ :  

      นึ่ง คือ กระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อ (Sterilization) หมายถึง  กระบวนการกำจัดเชื้อจุลชีพทุกชนิดรวมทั้ง สปอร์ของแบคทีเรีย  (เช่น spore  ของ tetanus,  gasgangrene)  ได้แก่  การนึ่งด้วยไอน้ำร้อน(Steam  Sterilization  ) ในที่ใช้เครื่องนึ่งแบบ ไอน้ำชนิดนอนระบบ Gravity

      เพิ่มพลังหารสอง  หมายถึง การคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรในกระบวนการทำปราศจากเชื้อมีการใช้น้ำกรองระบบ RO  รีเวิสออสโมซิส ( Reverse Osmosis)  ซึ่งเป็นน้ำที่มีมูลค่าในกระบวนการกรอง ราคาลิตรละ 1 บาท เมื่อมีการลดน้ำ เวลาที่ใช้การทำปราศจากเชื้อลดลง ส่งผลต่อการใช้ก๊าสหุงต้ม(LPG)  ที่ลดลงได้ และยังคงประสิทธิภาพการทำปราศจากเชื้อได้ดี

3. สรุปผลงานโดยย่อ :   ต้องการศึกษาปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการทำปราศจากเชื้อควรมีปริมาณเท่าใด โดยการบันทึกระยะเวลาในการทำปราศจากเชื้อ ระยะเวลาการใช้ก๊าสหุงต้ม(LPG)   ปริมาณน้ำที่ใช้ต้ม ปริมาณน้ำที่เหลือจากกระบวนการทำปราศจากเชื้อ  โดยเปรียบเทียบระหว่างการใช้น้ำ  20 ลิตร 15 ลิตร และใช้น้ำ 12 ลิตร พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายค่าใช้ก๊าสหุงต้ม(LPG)  ค่าน้ำกรอง เวลาที่ใช้ในกระบวนการทำปราศจากเชื้อลดลง  ยังมีน้ำเหลือจากกระบวนการทำปราศจากเชื้อ 7 ลิตร  4 ลิตร  3  ลิตร เพียงพอโดยไม่ส่งผลกระทบต่อหม้อต้ม นอกจากนั้นผลการตรวจสอบประสิทธิภาพ ทางเคมี ชีวภาพ ต้องผ่านเกณฑ์    

 4. ชื่อและที่อยู่ขององค์กร :    โรงพยาบาลป่าติ้ว  อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร 35150

 5. สมาชิกทีม :

1.  สมหญิง    อุ้มบุญ        หัวหน้างานหน่วยจ่ายกลาง ICN

2.  สหัส     ตอสูงเนิน        พนักงานหน่วยจ่ายกลาง

3.  บังอร    อินอ่อน           พนักงานหน่วยจ่ายกลาง

 

6. เป้าหมาย :   

1.  อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

2.  อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีของตัวบ่งชี้ทางเคมี ภายนอก ภายในผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

3.  อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการตรวจสอบทางชีวภาพผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

4.  เพื่อศึกษาเปรียบเทียบ ปริมาณน้ำที่ใช้ในกระบวนการทำปราศจากเชื้อ ที่สามารถใช้ได้ต่ำสุดเหลือจาก 20  ลิตร  เหลือ 12 ลิตร  และลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำปราศจากเชื้อ ในโรงพยาบาลป่าติ้ว

7. ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :  

      การใช้น้ำในในกระบวนการทำปราศจากเชื้อตามคู่มือให้ใส่น้ำถึงขีดสูงสุด พบว่าน้ำที่เหลือจากการนึ่งถูกปล่อยทิ้งไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้ลดปริมาณน้ำลงมาเรื่อยๆ จาก  20 ลิตร  เป็น 15  ลิตร  ลดลง อีกถึง  12 ลิตรและต้องการศึกษาต่อเนื่อง  ปริมาณน้ำจำนวนมากในหม้อต้ม  ยังส่งผลให้ระยะเวลาในการทำปราศจากเชื้อยาวนาน นั่นหมายถึงระยะเวลาการใช้พลังงานอย่างอื่นเพิ่มมากเกินความจำเป็น เช่นก๊าสหุงต้ม (LPG) จึง  ต้องการศึกษาปริมาณน้ำที่เหมาะสมในการทำปราศจากเชื้อควรมีปริมาณเท่าใด ในสภาพหม้อนึ่งในปัจจุบัน ที่มีใช้ในหน่วยงาน ซึ่งสภาพเครื่องแต่ละเครื่อง จะมีการเผาผลาญพลังงานแตกต่างกัน 

 

8. การเปลี่ยนแปลง : 

รายการ

เดิม

ครั้งที่ 1

ครั้งที่ 2

1. ปริมาณน้ำ

20   ลิตร

15   ลิตร

12   ลิตร

2. เวลาทำปราศจากเชื้อ

115   นาที

105   นาที

80  นาที

3. ราคาก๊าซหุงต้ม (LPG)   1.05  บาท ต่อนาที

121  บาท

111  บาท

84  บาท

4. เวลาที่ลดลง

-

10  นาที

35   นาที

5.  ปริมาณน้ำที่ลดลง

-

ลิตร

ลิตร

6.  ประหยัดเงินลง

 

10 บาท 

37   บาท 

7. ปริมาณน้ำที่เหลือจากกระบวนการทำปราศจากเชื้อเสร็จสิ้น

7 ลิตร

4 ลิตร

3 ลิตร

 

 

 

 

 

 9. การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง :

     ครั้งที่ 1  ผลการดำเนินการ เก็บข้อมูล การลดน้ำจาก 20  ลิตร เหลือ 15  ลิตร      

   เมื่อเปรียบเทียบต่อการลดน้ำจาก ครั้งละ  5   ลิตร สามารถลดพลังงานได้ดังนี้

 

รายการ

ต่อครั้ง

ต่อเดือน

ต่อปี

ปริมาณน้ำลดลง

5  ลิตร

150 ลิตร

1,825 ลิตร

ประหยัดเวลาที่ใช้ทำงานลง

10  นาที

5 ชั่วโมง

60   ชั่วโมง

เดิมใช้เวลา 115 นาที ปัจจุบันใช้ 105  นาที  คิด 1.05 บาท ต่อนาที ใช้ 121 บาท เหลือ111  บาท ( 121 – 111 = 10  )

ค่าก๊าสหุงต้ม ( LPG ) 1.05 บาทต่อนาที

10 บาท

300 บาท

3,650 บาท

 

ครั้งที่ 2  ผลการดำเนินการ เก็บข้อมูล การลดน้ำจาก 15  ลิตร เหลือ 12  ลิตร      

   เมื่อเปรียบเทียบต่อการลดน้ำจาก ครั้งละ  3   ลิตร สามารถลดพลังงานได้ดังนี้

 

รายการ

ต่อครั้ง

ต่อเดือน

ต่อปี

ปริมาณน้ำลดลง

3  ลิตร

90 ลิตร

1,095 ลิตร

เวลาที่ใช้

25  นาที

12  ชั่วโมง 50 นาที

152 ชั่วโมง

เดิมใช้เวลา 105 นาที ปัจจุบันใช้ 80    คิด 1.05 บาท ต่อนาที ใช้ 111  บาท เหลือ 84  บาท ( 111 – 84= 27 )

ค่าก๊าสหุงต้ม ( LPG ) 1.05 บาทต่อนาที

27 บาท

810 บาท

9,855 บาท

 

สรุปผลการเรียนรู้ ทั้ง 2  ครั้ง

ผลการดำเนินการ เก็บข้อมูล การลดน้ำจาก 20  ลิตร เหลือ 12  ลิตร      

   เมื่อเปรียบเทียบต่อการลดน้ำจาก ครั้งละ  8   ลิตร สามารถลดพลังงานได้ดังนี้

 

รายการ

ต่อครั้ง

ต่อเดือน

ต่อปี

ปริมาณน้ำลดลง

8  ลิตร

240 ลิตร

2,920 ลิตร

เวลาที่ใช้

25  นาที

12  ชั่วโมง 50 นาที

152 ชั่วโมง

เดิมใช้เวลา 105 นาที ปัจจุบันใช้ 80    คิด 1.05 บาท ต่อนาที ใช้ 111  บาท เหลือ 84  บาท ( 111 – 84= 43 )

ค่าก๊าสหุงต้ม ( LPG ) 1.05 บาทต่อนาที

43 บาท

1,290 บาท

15,695 บาท

    

การตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องนึ่ง ทั้ง 3 ด้าน

1. อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

2. อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการเปลี่ยนสีของตัวบ่งชี้ทางเคมี ภายนอก ภายในผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

3. อัตราการตรวจสอบประสิทธิภาพการตรวจสอบทางชีวภาพผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100

 

 

      นอกจากนั้น  ปริมาณน้ำยังคงเหลือจากกระบวนการทำปราศจากเชื้อ กว่า 3  ลิตร ปริมาณพอเพียงและไม่ส่งผลกระทบต่อหม้อต้มน้ำ ในเครื่องนึ่งทำปราศจากเชื้อชนิดนอนระบบ Gravity

 10. บทเรียนที่ได้รับ :  การลดสิ่งสูญเปล่าในกระบวนการทำงานได้ในทุกกิจกรรมหากมีการสังเกต ทบทวน ศึกษากระบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน เป็นการร่วมสนองตอบนโยบายลดโลกร้อน สิ่งที่สำคัญสามารถลดพลังเมื่อคิดมูลค่าต่อปี ซึ่งลดลงได้ กว่า 15,695 บาทต่อปี

11. การติดต่อกับทีมงาน : ระบุชื่อผู้ที่สามารถติดต่อได้ ชื่อองค์กร ที่อยู่ โทรศัพท์ email

  สมหญิง    อุ้มบุญ  หัวหน้างานหน่วยจ่ายกลางและซักฟอก  ICN 

  โรงพยาบาลป่าติ้ว  อำเภอป่าติ้ว  จังหวัดยโสธร 

  โทร. 0 -4579 – 5015 ต่อ 150

  email : [email protected]

 

 

หมายเลขบันทึก: 403178เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2010 03:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ลดค่าใช้จ่าย แต่ไม่ลดประสิทธิภาพ

ดีค่ะ

  • ยินดียิ่งค่ะ  พี่สาวมาเยี่ยม ให้กำลังใจน้อง
  • พี่สบายดีนะคะ
  • ระลึกถึงพี่แก้วเสมอ

ผมได้อ่านบันทึกนี้แล้ว

สร้างแรงบันดาลใจครับ

ขอนำไปพัฒนาต่อด้วยคนนะครับ

  • ยินดีจ๊ะ......
  • น้องๆที่หน่วยงานคงดีใจ   ที่มีคนสนใจ ในสิ่งที่พวกเค๊า  ร่วมมือกันพัฒนา

ชื่อโครงการอินเทรนด์มากครับ

ทันสมัย แต่ก็ยังพัฒนา...

ขอบคุณครับ

Congratulations! A wonderful example of "We can do better" (not just 'yes, we can').

The report is clear and full of information. I wish teachers research papers could be presented like this report ;-)

  • ขอบพระคุณค่ะ   Ico32   อ.นุ 
  • แนะนำเพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาต่อได้นะคะ
  • Thankssssssssss "K. Sr"
  • Who are you?
  • And I want to lern more.........................................
  • My research are  baby R2R .....

 

ถ้าจะนำมาใช้บ้างคงไม่หวงนะคะ เป็นความคิดที่ดีมากๆเลยคะประหยัดได้มากแต่ยังคงประสิทธิภาพ

  • ใช่หม้อนึ่งระบบ gravity หรือค่ะ
  • ตอนนี้ทาง รพ. ใช้ระบบ vaccum
  • สามารถทำได้มั้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท