บุนนาค
ดร. วรนันท์ มุฮัมมัด รอมฎอน บุนนาค

ศูนย์เรียนรู้ชุมชน ถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง อุดรฯ


มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวที่บ้านถ่อนนาลับ อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ได้แลกเปลี่ยนพูดคุยกับชาวบ้าน ได้ความว่าที่นี่สะอาดสะอ้าน บ้านเรือนอยู่เป็นระเบียบ มีการจัดผังหมู่บ้านดีเยี่ยม ด้วยความเป็นชาติพันธ์ภูไท (ชนที่ราบสูง เชื้อสายภูไท) บ้านเรือนจึงสวดงาม มีการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ รั้วดินสวนกินได้รอบหมู่บ้าน ที่นี่นอกจากจะน่าอยู่ผู้คนมีอัธยาศัยดีเยี่ยมแล้ว ที่นี่มีคนมาศึกาดูงานแยะ ด้วยเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่โดเด่น มีการบริหารจัดการที่ดี ที่น่าสนใจ หลายหมู่บ้านมาดูงานและตกใจกับการบริหารจัดการในเรื่องธนาคารชุมชน เรื่องร้านขายส่ง เรื่องโรงสีข้าวชุมชน และเรื่องสวัสดิการชุมชนที่หลายองค์กร หลายหน่วยงานหาคำตอบยังไม่ได้ที่นี่มีมานานแล้ว และสามารถดำเนินการได้อย่างน่าสนใจ

บ้านถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง(อำเภอที่เรื่องลือเรื่องผีจ้างไปถ่ายหนัง ที่บ้านคำชะโหนด ซึ่งเป็นเรื่องจริง) บ้านนี้อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 18 กิโลเมตร ถนนดี สะดวก รถวิ่งไม่มาก ที่หมู่บ้านนี้มีการบริหารจัดการองค์กรที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เขาใช้สภาชุมชนขับเคลื่อนงานหมู่บ้าน ในขณะที่คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นองค์กรบริหาร เขาจัดการการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านได้ดีกว่า อบต เสียอีก ที่นี่ให้ความสำคัญกับเรื่องการออมทุนสูงมาก มีการสร้างกองทุนหมู่บ้าน มีกลุ่มสตรีสหกรณ์ มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหมู่บ้าน มีกองทุนแม่ของแผ่นดิน มีกลุ่มสีแดง(ไม่ใช่กลุ่ม นปช) กลุ่มสีม่วง ที่ดำเนินงานด้านธุรกิจขนาดเล็ก มีการรับบริจาค ขายต้นไม้ มีการออมกันทั้งหมู่บ้านอย่างสม่ำเสมอ มีการปันผล มีเงินช่วยเหลือยามเจ็บไข้ได้ป่วย มีเงินกู้ฉุกเฉินเวลาเดือดร้อน มีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพไม่ว่าจะเป็นทอผ้า ทอเสื่อ และเครื่องถม(เดิมเป็นมกประดับ)ที่ทำจากเปลือกหอยราคาถูก (เพราะไม่ใช้มุก ซึ่งราคาแพง) ที่นี่มีธนาคารชุมชน เป็นศูนย์กลาง ปัจจุบันทั้ง พช. ธกส .ออมสิน เข้ามาสนับสนุนเงินทุน มีอยู่ประมาณ 20 ล้านบาท มีการผลิตน้ำดิ่มยี่ห้อเรือคำจำหน่ายทั่วไป มีการจัตั้งร้านขายอุกรณ์ก่อสร้าง และรับเหมาก่อสร้าง หารายได้ให้ชาวบ้านและส่วนหนึ่งเข้าร้ายขายอุปกรณ์ก่อสร้างนี่แหละ มีทุกอย่าง  มีร้านขายส่งเป็นสหกรณ์ชุมชน ส่งหมู่บ้านรอบๆ บ้านถ่อนนาลับมากกว่า 15 หมู่บ้าน มีกิจกรรมปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ทำน้ำยาเอนกประสงค์ แชมพู สบู่ ยาหม่อง  ห้องอบสมุนไพร โครงการถนอมอาหารและแปรรูปอาหารฯลฯ ในส่วนของโรงสีข้าวชุมชน ก็มีกิจกรรมเพาะกล้าไม้ ปลูกผักปลอดสาร ปุ๋ยหมักชีวภาพ มีกลุ่มเยาวชนและแม่บ้านด้านการแสดง ดนตรีพื้นบ้าน ฟ้อนภูไท ไปในงานต่างๆ สืบทอดภูมิปัญญานาฏยศิลป์ มีกลุ่มไบโอดีเซล ทำปั๊มน้ำมันในชุมชน ผลิตหัวอาหารสัตว์ กลุ่มนาปรัง ธนาคารข้าว กลุ่มรับซื้อข้าว กลุ่มเลี้ยงไก่ โค ปลา หมู  กลุ่มพัฒนาสตรียังมีกิจกรรมสายใยรัก ทุกอย่างหมุ่นเวียนเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างน่าสนใจ เงินกองทุนหมู่บ้านก็ลงมาที่ธนาคารดำเนินหนุนเสริมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้ข้อคิดที่น่าสนใจว่า ชุมชนที่นี่ไม่มีความแตกแยก ทุกคนทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และหากไม่เข้าใจกันเขาจะคุยกัน โดยมีสภาชุมชน กรรมการชุมชนเข้ามาแก้ปัญหา ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมเรื่องนี้หากมีเวลาไปเที่ยวเล่นอำเภอบ้านดุง ท่านแวะมาที่บ้านถ่อนนาลับ (เมืองลับแล)ที่นี่ท่านจะรู้ว่าชุมชนเศรษฐกิจพอเพียงของแท้ป็นอย่างไร ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นอย่างไร เราจากมาด้วยความคิดถึง และจะแวะกลับมาใหม่ 

หมายเลขบันทึก: 403174เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2010 03:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 12:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ทุกเรื่อง มีแต่ ธกส..กับคนเพียงไม่กี่คน..ปั้นข้อมูล..และหากินผลประโยชน์จากชุมชนและใช้ข้อมูลหลอกๆทั้งนั้น..ประชาชนส่วนใหญ่แทบไม่มีส่วนร่วม..ถ้าอยากรู้ว่าเป็นอย่างไร ลงสืบข้อมูลทางลับสิท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท