001 : R2R ในแผนกวิสัญญีฯ มข.


ใช้พลาสติกที่ใช้ถนอมอาหารพันแขนของผู้ป่วยก่อนพัน BP cuff ช่วยป้องกันการแพร่เชื้อได้และลดจุดเลือดออกใต้ผิวหนังได้ด้วย

การวัดความดันเลือด ดูจะเป็นเรื่องปกติธรรมดา แต่จะมีใครทราบบ้างว่า ใน 1 ชม. ที่ผู้ป่วยได้รับการดมยาสลบนั้น จะได้รับการวัดความดันเลือดกี่ครั้ง
ตามมาตรฐานก็คือต้องวัดอย่างน้อยทุก 5 นาที ดังนั้นผู้ป่วยจะได้รับการวัดทั้งหมด อย่างน้อย 12 ครั้ง/ชม. ซึ่งก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
แต่จากประสบการณ์การทำงาน พบว่า ผู้ป่วยจะมีรอยเลือดออกใต้ผิวหนังได้ และที่สำคัญคือการใช้เครื่องวัดความดัน (BP cuff ) ร่วมกับผู้ป่วยคนอื่น อาจทำให้เกิดการปนเปื้อน/ติดเชื้อ (เชื้อโรคมีหลายชนิด) ระหว่างผู้ป่วยและเพิ่มอัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ด้วย
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว คุณพุ่มพวง (จากภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ม. ขอนแก่น) จึงได้ทำการศึกษาโดยใช้ plastic wrap (พลาสติกที่ใช้ถนอมอาหาร) มาพันแขนของผู้ป่วยก่อนพัน BP cuff

 
ซึ่งพบว่าสามารถช่วยแก้ปัญหาทั้งสองอย่างดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันทางภาควิชาฯ จึงได้นำผลงานวิจัยดังกล่าวมาประยุกต์ใช้เป็นงานประจำ ซึ่ง plastic wrap นั้นมีราคาไม่แพง ( 0.50 บาท / การพัน 1 ครั้ง )
ผลจากการติดตาม CQI งานมาอย่างต่อเนื่องทำให้งานวิจัยเล็กๆ ใช้ทุนในการทำวิจัยไม่มาก แต่ได้รับการนำไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง จึงทำให้ได้รับรางวัลผลงานวิจัยชมเชยจากคณะแพทยศาสตร์ ในปี 2547 และได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่นประเภทโปสเตอร์ในวันคุณภาพศรีนครินทร์ ปี 2549

งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ที่ วิสัญญีสาร 2004 ปีที่ 30 ฉบับที่ 4

และมีงานวิจัยต่อยอดอีก 2 เรื่อง ตีพิมพ์ที่วิสัญญีสาร 2003 ปีที่ 29 ฉบับที่ 2 และ วิสัญญีสาร และ วิสัญญีสาร 2005 ปีที่ 31 ฉบับที่ 4

 

คำสำคัญ (Tags): #วิสัญญี#r2r
หมายเลขบันทึก: 55017เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2006 09:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

สวัสดีคะ...อ.หมอสมบูรณ์

ดีใจมากเลยคะ..ที่ได้มาเจออาจารย์ใน gotoknow.org นี้...วันก่อนพยายามตามรอยอาจารย์...แต่หาไม่เจอ...

...

ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องเล่าของคุณพี่พุ่มพวงมาเล่าสู่กันฟัง..

(^___^)

กะปุ๋ม

 

เนื่องจาก blog ของผมยังไม่เรียบร้อยจึงยังค้นหายาก ขอบคุณมากที่แวะมาเยี่ยมเป็นคนที่สาม (คนแรกคือ อ.JJ และคนที่สองคือ อ. ขจิต)

อาจารย์เขียนบ่อยๆ..นะคะ

กะปุ๋มเชื่อว่า..ท่านมีเรื่องเล่ามากมายเลยคะ

ที่เป็นประโยชน์...ต่อเราอีกหลายๆ คน...

และที่สำคัญ...หากได้ท่านอื่นๆ มาร่วมเล่าด้วยน่าจะดีนะคะ

จะได้เป็น CoP คนวิสัญญีคะ...และที่สำคัญตอนนี้

กะปุ๋มก็รอพี่พุ่มพวงอยู่คะ...เงียบหายไปเลยนะคะ

(แอบแซวคะ)....

(^_____^)

กะปุ๋ม

 

  • ปรับปรุงบันทึกใหม่ ใส่รูปเจ้าของผลงานเพิ่มเติม ครับ
  • ผมได้คุยกับคุณพุ่มพวงเจ้าของผลงาน ผมได้ถึงความเป็นมาของงานชิ้นนี้ว่ามาอย่างไร
  • อยากให้เจ้าตัวได้เล่าเอง
  • ความเห็นถัดไปนี้จึงเป็นความเห็นของคุณพุ่มพวงครับ
พุ่มพวง กิ่งสังวาล

   วันนี้ อ.สมบูรณ์ เรียกตัวมาสอนเรื่องการเข้า blog  และแนะนำว่าควรเขียนเกี่ยวกับงานที่อยู่ใน blog   พุ่มพวงก็พยายามเข้าจนได้  พอเข้ามาเจอภาพตัวเองแล้วก็......เฮ้อ    อ.สมบูรณ์ น่าจะบอกกันสักคำว่าจะถ่ายรูปมาลง จะได้หารูปที่เข้าท่าดูดีกว่านี้สักหน่อย 

       พอเข้ามาก็เจอ แซวเล็กๆจากน้องกะปุ๋ม   รู้สึกดีใจมากที่ได้มีโอกาสคุยกันอีก  ก่อนอื่นพี่ต้องขอโทษด้วยนะคะ  ที่เงียบหายไปเพราะ web หาย หาทางเข้าไม่เจอ  คงจะได้อาศัย blog อ.สมบูรณ์นีแหละค่ะเป็นสื่อกลาง

       ทีมาของโครงการนี้  เนื่องจ าก IC  ต้องการให้ซัก BP cuff   ทุกสัปดาห์ เพื่อป้องกันความสกปรกและการติดเชื้อจากการใช้ร่วมกัน   พุ่มพวง(ผู้รับผิดชอบดูแลเครื่องมือของภาคฯ)ก็พยายามคิดว่าจะทำอย่างไร  เพราะไม่สะดวกทำตามคำแนะนำเนื่องจากมีของใช้จำนวนจำกัด  อาจชำรุด  สูญหาย เสียค่าผงซักฟอกและค่าแรง   และระหว่างที่ยังไม่ซักยังใช้ร่วมกันเช่นเดิม ความสกปรกก็ยังคงอยู่     วิธีนี้จึงไม่เหมาะสม    จนในที่สุดก็เกิดปิ๊งไอเดีย เพราะนึกถึงตอนที่เข้าร่วม HA forum  ปี 43 เรื่อง plastic wrap   ที่มีการนำมาใช้แทน sterile  drape   จึงได้ทำวิจัยเพื่อศึกษาว่าการใช้ pastic wrap  พันแขนก่อนวัดความดันเลือดให้ประโยชน์และเป็นที่ต้องการจริงจึงได้นำมาใช้ในการบริการผู้ป่วย ค่ะ

  • ผมว่ารูปนี้ก็สวยแล้ว ยิ้มอย่างจริงใจ 
  • อยากให้คุณพุ่มพวงเล่าต่อ เกี่ยวกับเรื่องการทำวิจัย ว่า ทำอย่างไร ได้ทุนจากไหน มีปัญหาในการทำหรือไม่ ....
  • ว่าแล้วเชียวว่าจะถูกแซวเรื่อง link (บันทึกนี้เป็นบันทึกแรกๆ ของผม ซึ่งยังทำไม่เป็น แต่ตอนนี้.....เฮาพัฒนาแล้ว...
  • บังเอิญว่าผมลืมชื่อวารสารที่ตีพิมพ์
  • คุณพุ่มพวงช่วยจดชื่อวารสารมาให้ผมด้วยครับ หมวดขจิต จะได้ไม่แซวอีก
  • ไม่แซวครับ ยิ้ม ยิ้ม
  • มา share idea ครับ รออ่านจากวาสารนะครับ
  • ขอบคุณมากครับ
พุ่มพวง กิ่งสังวาล
วันนี้ได้คุยกับ อ.สมบูรณ์ ว่าพุ่มพวงมีปัญหาพิมพ์โต้ตอบใน web บางครั้งบันทึกไม่ได้ อ.แนะนำว่าพิมพ์ใน word แล้วก๊อปมาใส่ก็ได้ วันนี้จึงลองดู ถ้าได้…ต้องขอนับถือจริงๆ ว่านอกจากจะเป็นเจ้าพ่อ pain แล้ว ยังเป็นเจ้าพ่อทางธุรการอีกค่ะ ใจจริงแล้วอยากเอา wrap มาใช้ในการบริการผู้ป่วยเลย แต่กลัวจะไม่ได้รับการยอมรับ จึงต้องศึกษาในลักษณะวิจัยก่อน จะได้มีอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ จากนี้ไปจะขอเล่าความลำบากในการทำวิจัยให้ฟังนะคะ…….พุ่มพวงเองไม่เคยเรียนระบาด ไม่เคยเรียน ป.โท มาก่อน การทำ/เขียนแต่ละอย่างก็อาศัยดูจากงานวิจัยอื่นบ้าง คุยกับอาจารย์ผู้ร่วมวิจัยบ้าง และที่สำคัญได้รับคำแนะนำ ความช่วยเหลือจากนักสถิติคณะแพทย์ คุณแก้วใจ เป็นอย่างมากจนงานสำเร็จลุล่วงได้ ต้องขอบพระคุณอีกครั้งมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ก่อนอื่นคุยกันในเรื่อง จะทำวิจัยเรื่อง wrap เพื่อหาอะไร จนได้คำตอบว่า 1. เพื่อหาว่าการพัน wrap ก่อนวัดความดันเลือดกับการวัดตามปกติค่าความดันที่ได้ต่างกันหรือไม่ 2. เพื่อหาว่าการพัน wrap ก่อนวัดความดันเลือด เป็นที่ต้องการของอาสาสมัครหรือไม่ เมื่อได้สิ่งเหล่านี้แล้วจึงได้ออกแบบการวิจัย แล้ว 1.เก็บ pilot โดยวัดความดันเลือด แล้วเอาค่านี้ไปหา sample size 2.เขียน proposal ขอจริยธรรม 3.เขียนขอทุนการวิจัยคณะแพทย์ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ได้รับความ ท้อแท้ เสียใจ หดหู่ เนื่องจากคำพูด คำถาม (เขียน)ของกรรมการผู้ให้ทุนซึ่งเชือดเฉือนมาก อยากเอามาเขียนให้ดูแต่หากระดาษแผ่นนั้นไม่เจอค่ะ ตอนแรกกะว่าถ้าไม่ให้ทุนก็จะใช้ทุนส่วนตัวทำต่อ พอใจเย็นลงจึงได้ปรึกษากับคนรู้ใจจนตัดสินใจตอบคำถามของกรรมการเพื่อขอทุนต่อ คราวนี้ได้รับอนุมัติ ได้รับทุนมา 13,500 บาท (ได้มาไม่คุ้มกับความรู้สึกที่เสียไป) จากนั้นก็เก็บข้อมูล วิเคราะห์ และเขียน paper ฯลฯ ยาวมากพิมพ์จนเหนื่อย เอาแค่นี้ก่อน ท่านที่ได้อ่านแล้วอย่าท้อแท้นะคะ ลองค่อยๆทำไป อย่างน้อย อ.สมบูรณ์ ซึ่งเป็นเจ้าพ่อวิจัยอีกแขนงหนึ่ง (เจ้าพ่ออีกแล้ว) สามารถช่วยท่านได้ค่ะ ใช่ไม๊คะ อาจารย์?
  • เป็นการบรรยายที่เห็นภาพได้ช้ดเจนมาก ว่าอุปสรรค ในการทำวิจัยนั้นมีอะไรบ้าง โดยเฉพาะการขอทุน และขอจริยธรรม (ซึ่งที่นี่จำเป็นมาก) ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้รับการสนับสนุนให้นำผลงานวิจัยไปเผยแพร่หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นๆ
  • ใช่แล้ว 13,500 บาท  ช่างไม่คุ้มกับความรู้สึกที่เสียไปจริง
  • ผมคิดว่าคุณพุ่มพวงจะมีเวลามาเล่าความลำบากในการทำวิจัยอีกรอบหนึ่งก่อนที่จะมีคำถามใหม่ให้เธอต่อไป
  • วันนี้จะสอนเพิ่มเรื่องการใช้วรรคตอน และขึ้นบรรทัดใหม่ ให้อ่านง่ายขึ้น

 

  • ขอให้กำลังใจคุณพ่มพวงค่ะ...
  • บุคลากรที่ขยัน..อดทน..ทำงานโดยไม่มีเหน็ดเหนื่อย..ทุ่มเททั้งในและนอกเวลามีมากมายในองค์กร..
  • แต่สุดแท้แต่ว่า...ผู้บริหารจะฉลาดที่จะเอาศักยภาพเหล่านี้ของเขาออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับองค์กรให้มากที่สุด...ยังไง
  • สำหรับคุณพุ่มพวงอยากให้อ่าน

http://gotoknow.org/blog/nurseanaesthpsych/67276

........ค่ะ...อย่าเพิ่งเหนื่อยนะคะ......รัก..พี่ติ๋ว

ฝากถึง..คุณพี่พุ่มพวงที่เคารพรักเสมอ

คุณน้องลูกปลาน้อยถือคติอยู่ 2 ข้อค่ะ จะแบ่งปันให้ได้รับรู้นะค่ะ คือ

....bone to be... เลือกเกิดไม่ได้ แต่เราเลือกจะเป็นได้ค่ะ

....Learn long life...เรียนรู้ตลอดชีวิตค่ะ ...คุณพี่ขา ... ไม่มีใครแก่เกินเรียนจริงไหมค่ะ (แต่เรียนศาสตร์ทุกแขนงที่มีอยู่ในโลกนี้ เรียนเท่าไหร่ไม่รู้จักจบ...จักสิ้น...แต่เรียนรู้จิตศาสตร์ซิเป็นการเรียนรู้ที่จบสิ้นได้....นะ ..นะ..ขอบอกค้า)

คุณพี่พุ่มพวงเป็นแบบอย่างที่น่านับถือและเอาเป็นตัวอย่างค่ะทั้งการทำงาน การใช้ชีวิตค่ะ

ขอเป็นน้ำตาลก้อนผสมในถ้วยแกแฟ...(เพลง) อิอิ

 

......จากหนึ่งกำลังใจ.......

 

ลูกปลาน้อย

 

  • ขอบคุณมากค่ะสำหรับกำลังใจจากพี่ติ๋วที่แสนดีและลูกปลาน้อยผู้น่ารัก
  • ถ้ามีคนรู้ใจ(แบบคนที่บ้าน)แบบนี้ พุ่มพวงสู้สุดตัวค่ะ
  • ขอบคุณสำหรับน้ำตาลก้อนในถ้วยกาแฟ  จริงๆแล้วพี่พุ่มว่าจะเลิกกาแฟอยู่นะเนี่ย แต่เกรงใจลูกปลา เห็นทีคงจะต้องดริ้งต่อไป  
  • ถ้าพอมีเวลาว่างจะเล่าเรื่องความลำบากในการทำวิจัยต่อ ใน episode2 ค่ะ
  • เร็วๆ ด้วยนะ รอฟังความลำบากในการทำวิจัยใน episode 2 อยู่
  • ช่วยเล่าเรื่องการนำเสนอผลงานด้วยว่าไปเสนอที่ไหนบ้าง และ ได้รางวัลอะไรมาบ้าง 

เห็นสำนวน...คุณพุ่มพวงแล้ว...

  • เปิดบล็อคเองเร็วๆเถอะค่ะ...พี่และเพื่อนๆจะคอยให้กำลังใจ..เร้วว.....
พุ่มพวง กิ่งสังวาล
  • สวัสดีค่ะ  ขอบคุณมากสำหรับคำแนะนำของพี่ติ๋วให้เปิดบล็อค แต่ความสามารถพุ่มพวงไม่ถึงค่ะ
  •  วันนี้จะเล่าความลำบากในการทำวิจัยใน episode 2 ให้ฟังต่อนะคะ (อ.สมบูรณ์ท่านอยากให้เล่าเร็วๆ เพราะท่านเป็นวัยรุ่นน่ะ)   เมื่อได้ทุนมาแล้วก็นำมาใช้ทำโน่นทำนี่ได้เยอะอยู่(คนอิสาณ พูดอะไรแล้วต้องมีคำว่าอยู่ลงท้าย ถ้าไม่มีไม่ใช่ตัวจริง)   จริงๆแล้วก็ดีกว่าไม่ได้เยอะเลย(แหะ ... แหะ.....)
  • เมื่อได้ข้อมูลดิบ(ค่าความดันเลือด 6ค่า/คน คูณ120 คน)มา  ต้องมาศึกษาการกรอกลงในexcel เพื่อสะดวกในการคำนวน/วิเคราะห์
  • สถิติที่ใช้   cross over design /และวิเคราะห์....95%CI   งง... อะไรน้อ ...ได้คุณทิพยวรรณ (ผู้เรียนระบาดมา)ช่วยอธบายให้ฟัง และศึกษาเองด้วย  จึงพอกล้อมแกล้มไปได้
  • เขียน full proposal ไม่ยากนักพอได้
  • พิมพ์จนเหนื่อย เอาแค่นี้ก่อนนะคะ  จะมีต่อใน episode3 ค่ะ(เอาแบบอย่างหนังฝรั่งมักมี 3 ภาค)
  • เขียนได้น่าอ่านขึ้นมาก
  • สำนวนใช้ได้ มีลูกเล่นแล้ว
  • รอฟัง episode 3 ต่อไป
  • คงจะเป็นตอนส่งประกวดหรือเปล่า

 

  • ภูมิใจนำเสนอ episode 3 ต่อ....เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อเขียนต้นฉบับเสร็จ  ก็ต้องเขียนบทคัดย่อทั้งไทยและอังกฤษ   ติดขัดตรงที่ภาษาอังกฤษไม่ค่อยสันทัด  ก็ได้อาศัยอาจารย์วิสัญญีแพทย์.....อ.เดือนเพ็ญ ช่วยตรวจทาน ตามด้วย Mr.Bryan  แห่งฝ่ายวิเทศ
  • จากนั้นส่งไปตีพิมพ์ที่วิสัญญีสาร(กว่าจะได้ตีพิมพ์ต้องแก้ไข 2-3 รอบ....ก็ต้องอดเอา)
  • นำเสนอในการประชุมวิชาการคณะแพทย์
  • ได้รางวัลชมเชย
  • จบ...การทำวิจัย 1 เรื่อง
  • ....Highlight...การจะนำเอาผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยยังเหลืออีกยาว....จึงขอเล่าต่ออีกสักภาค(แหะ..แหะ ว่าจะเล่า 3 ภาค แต่มันไม่จบน่ะ)).....ขอขนานนามว่า...ภาคพิเศษ...ก็แล้วกัน

    โปรดติดตามตอนต่อไป....to  be  continue 

 

 

 

ใครว่า..พุ่มพวงเล่าได้น่าอ่านมากขึ้น..ผิดไปหละ..เล่าได้สนุกจริงๆค่ะ..Cheer!
ได้รู้จักมักคุ้นและร่วมงานกับคุณพุ่มพวงมา 10 กว่าปี ได้ซึมซับถึงความป็นคนขยัน ใสใจในการหาความรู้ใหม่ ๆอยู่เสมอ และเป็นคน create มากที่เดียว นอกจากนั้นยังเป็นคนอารมณ์ดี เป็นที่รักใคร่ของเพื่อนร่วมงานทุกคนค่ะ หวังว่าคุณพุ่มพวงคงมีนวัตกรรมใหม่ๆมาให้ชื่นชมและนำชื่อเสียงมาสู่ภาควิชาฯของเราอีกนะคะ  cheer****
  • ขอบคุณ คุณกฤษณา ที่เป็นหน้าม้า(ขอยืมสำนวนพี่ติ๋วหน่อนนะคะ) มาคอยให้กำลังใจเสมอ
  • ขอบคุณ  สำหรับ..คำชม(คำย่อง) ของคุณ smile  แม้จะรู้ว่ามันไม่เป็นจริงทั้งหมด(พี่เค้าก็ชมเกินไป)     ยังดีกว่าไม่ชม.....ก็ชอบอยู่..ฮิ..ฮิ  (..อยู่..อีกแล้ว)
  • ที่เป็นนวัตกรรมขึ้นมาได้..เพราะคุณ  smile เข้ามาช่วยอีกแรง..ต้องขอบคุณที่ร่วมด้วยช่วยกัน

 

 

พุ่มพวง ครับ

  • บอกแล้วว่าเขียนได้ดี มีคนอ่านเพิ่มอีก 1 แล้ว
  • คงจะมีกำลังใจเขียนต่อไปนะครับ
  • ช่วงทำงานตอนกลางวัน ถ้าไม่ว่างให้จดความคิดที่เกิดขึ้นมาตอนนั้นไว้ก่อน เวลาจะเขียนจริงจะได้ไม่ลืม และเร็วขึ้น
  • รออ่านตอนต่อไป
พุ่มพวง กิ่งสังวาล
อ.สมบูรณ์ คะ(เลียนแบบคำขึ้นต้นของอ.)  อาจารย์ไม่อยู่หลายวัน คิดถึง…..จึงเข้าไปอ่านประวัติย่อ อ.(ย่อจริงๆ) พบว่าอาจารย์จบวิสัญญีปี 2544 สงสัยจะลงผิด เพราะ อ.ก็ ดู.......อาวุโสไม่น้อย(ล้อเล่นค่ะ)  ต่อ..การทำโครงการคุณภาพ....เอาวิจัยมาใช้ ในการ ดูแลผู้ป่วย  เสนอโครงการต่อหัวหน้าภาคฯ ผ่านหัวหน้าวิสัญญีพยาบาล ได้รับความเห็นชอบ  เป็นช่วง HA มาแรง ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ(ชั้น 6)ท่านให้ขอค่าอาหารเบรคได้ ก็เลยขอ(ขออีกแล้ว..ยังไม่เข็ด) แต่ท้ายคำขอต้องระบุวันที่จะให้ท่านมาตรวจไว้ด้วย จึงระบุ ก.ย. 48 รอมาจนจะหมดปี 49 ยังไม่เห็นมา  ทำสเปคขอซื้อ plastic wrap…… ไม่เคยทำซักที ทำตามความเข้าใจ …ปกติจะซื้ออะไรก็ไปเลือกซื้อเอาโลด…..  หน่วยพัสดุเป็นผู้ซื้อ plastic wrap ตามที่ระบุในสเปค โอ้..พระเจ้า..ได้ plastic wrapชนิดม้วนมหึมา เหมือนที่ใช้ในห้าง ม้วนใหญ่หนายังกับกระดาษทิชชู ซึ่งไม่สามารถใช้ได้  คุณกฤษณา สำเร็จ หัวหน้าวิสัญญีพยาบาลในขณะนั้น ได้ใช้กลเม็ด เคล็ดลับ แบบใดก็ไม่ทราบ….ทำให้แลกเปลี่ยนเอา plastic wrap ขนาดที่เหมาะสมมาใช้จนได้….เก่งจริงๆ ขอคารวะ 1 จอก(น้ำชา)….อ.สมบูรณ์ คะ ขอน้ำชาที่อยู่ตรงหน้า(ในรูป) อ. ซักกานะคะ เห็นมีหลายกา..พี่ติ๋วขา ช่วยเล่าให้ฟังหน่อย ว่าทำอย่างไร  CQI โครงการ ส่งเข้าร่วมการเสนอผลงานวันศรีนครินทร์ ได้รางวัลที่ 1  จบนิทานก้อม…..
พุ่มพวง กิ่งสังวาล
.....com ที่บ้านไม่ค่อยดี ไม่ได้ดังใจที่จัดวรรคตอนไว้ค่ะ
  • ........com ที่บ้านไม่ค่อยดี...ไม่เป็นไรค่ะ.สื่อสารได้ก็ OK. แล้ว...แต่อย่าให้ตามไปแก้ไขเหมือน wrap นะคะ..ไม่ได้เป็นหัวหน้าบาลแล้ว..คงไม่ใช่หน้าที่...
  • พุ่มพวงก็ชมเกินไป....(แต่ก็ขอบคุณยิ่งค่ะที่มีมานะทำให้ภาคฯได้.......)
  • ให้กำลังใจค่ะ
  • ขอบคุณ คุณพุ่มพวงที่หาคำผิดให้
  • จะไปแก้ไข เพิ่มอายุทันที
  • ขอชื่นชมพิ่จึ่งค่ะ  ทุกผลงานได้รับรางวัล
  • ไปเสนอผลงานร่วมกันมีบุคลากรที่เข้าชมเรื่อง wrap ถามว่าเป็นการ warm เฉพาะที่หรือเปล่า ได้อธิบายให้ฟังถึงวัตถุประสงค์ของการทำ มีคนสนใจเยอะค่ะ
สวัสดีค่ะ คุณนู๋พุก ขอบคุณค่ะที่แวะมาทักทาย (แม้จะเป็นการถูกบังคับให้แวะมาพี่ก็ชอบอยู่ ..อยู่อีกแล้ว) ทุกผลงานที่ได้นำมาใช้ในภาควิชา จนถือว่าเป็นงาน routine ที่สำเร็จลงได้เพราะทุกคนช่วยกัน รวมทั้งคุณนู๋พุก และนู๋แอ๊ะด้วย
  • มีงานที่ทำประจำอยากให้พี่มาช่วยแนะนำในการเขียนและเผยเเพร่ เช่นการป้องกันภาวะ Hypothermia ของเด็ก ขณะผ่าตัดเพระทำประจำ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
  • งานที่ทำประจำ      และสามารถเผยแพร่ให้คนอี่นได้รู้และเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย  ยินดีที่จะได้ร่วมงานด้วยค่ะ
  • ตอนนี้พี่ว่างอยู่   ได้มีงานโครงการใหม่มาทำดีกว่าอยู่เฉยๆ   เพราะเดี๋ยวคนอื่นจะหาว่า   หากินกับเรื่อง wrap ทั้งปี ...ฮิ..ฮิ...

โห...กลับมาเจอบันทึกนี้อีกครั้ง...

ขอชื่นชมเลยค่ะ...และขอเชียร์ตามพี่ติ๋วนะคะ

อยากให้พี่พุ่มพวง..เปิด blog และเล่าเรื่องดีดี..

ที่เป็นกึ๋น..ฝังลึกของเราเล่าแบ่งปันกันบ้างนะคะ

(^___^)

ยังเป็นแฟนคลับ...วิสัญญี มข. เสมอค่ะ

กะปุ๋ม

  • ดีใจค่ะ  ที่น้องกะปุ๋มยังไม่ลืม
  • อยากบอกว่ายังรออยู่นะ  ขอบคุณค่ะสำหรับกำลังใจ
  • พี่ยังไม่กล้าเปิด blog หรอกค่ะ   เพราะมีความรู้สึกว่า  ตัวเองรู้อะไรแบบงู งู ปลา ปลา
  • สู้รออ่านของคนอื่นดีกว่า  โดยเฉพาะของหนูกะปุ๋ม รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม

      .......ยังเป็นแฟนคลับ.....ดร.กะปุ๋ม  เสมอค่ะ

            (ขอยืมสำนวนหนูหน่อยนะคะ...เพราะคิด    เองไม่ออก   แหะ..แหะ..)

  • ผมขอบอกว่า งานนี้ผมสบาย ครับ
  • คอยไปกระตุ้นคุณพุ่มพวงอย่างเดียวว่าถ้าเธอเขียนรับรองมีคนอ่าน
  • แต่ตอนนี้เธอยังไม่พร้อม ผมก็เลยช่วยทำบันทึกให้ แต่ให้เธอคอยมาตอบคำถามเอง เพื่อให้ผู้อ่านได้ความรู้จากเธอโดยตรง
  • อย่าลืมแวะไปอ่านบันทึกของเธออีกเรื่องหนึ่งที่นี่ ครับ
  • คุณพุ่มพวงครับ
  • ลืมบอกไปว่าอย่าลืมใส่ชื่อแสดงตนก่อนบันทึกทุกครั้งด้วยนะครับ

ได้นำผลงานของพี่พุ่มไปใช้ในการทำงานกับผู้ป่วยทุกราย ดีจริงๆคะขอบอก  และขอขอบคุณคะ

                         ศิษย์วิสัญญีพยาบาลมข.รุ่นโหลโสถิ่ม

พุ่มพวง กิ่งสังวาล
  • หวัดดีค่ะ   หนูสุทธิดา.....ศิษย์เก่ามข.

 

  • ดีใจที่เข้ามา ลปรร-บกลข (แลกเปลี่ยนเรียนรู้-บอกกล่าวเล่าขาน)  ในweb     ตอนแรกพี่ไม่ค่อยกล้าเขียน   กลัวว่าจะไม่มีใครเข้ามาอ่าน   แบบว่า....อายน่ะ  

  ........มีหนูนี่แหละ  ที่เข้ามาช่วยให้อายน้อยลง....

                   ......ขอบใจมากค่ะ...

  • ดีใจแทนผู้ป่วยได้รับบริการที่ดีขึ้น 
  • แล้วเรื่องการวัด cuff pressure ของท่อช่วยหายใจยังทำอยู่หรือเปล่า?  สอนไปแล้วนะ    บกลข ด้วยค่ะ

 

 

อ่านเพลินดีค่ะ ได้ประโยชน์ และนำมาใช้จริงกับผู้ป่วย คิดถึงนะคะพี่พุ่มพวง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท