การจัดการความรู้แบบโมเดล “น้ำพริกปลาทูอีสาน”


แต่ละหน่วยของสังคม สามารถจะทำงานทดแทนกันได้เป็นส่วนใหญ่

 น้ำพริกปลาทูอีสาน ใช้ชื่อ ภาษาไทยอีสาน ว่าป่นปลาทู คือการนำปลาทูมาตำรวมกัน จนแยกไม่ออกว่าส่วนหนึ่งส่วนใด ซึ่งแสดงถึงความผสมผสาน องค์ประกอบของปลาทูแต่ละส่วน ซึ่งทำให้แยกไม่ออกว่า ส่วนใดเป็นส่วนใด         

 ลักษณะเช่นนี้ เป็นลักษณะโมเดลเป็นแบบบูรณาการ ที่มีลักษณะที่ทำหน้าที่ได้ทุกอย่าง แต่ละส่วนทำงานแบประสานกันไปในตัว ซึ่งเป็นสาระสำคัญของโมเดล การจัดการความรู้แบบ น้ำพริกปลาทูอีสาน        

ซึ่งมีลักษณะคล้ายการเล่นกีฬา ฟุตบอล หรือว่าการเล่นกีฬาที่เป็นทีมอย่างอื่น ซึ่งทำหน้าที่แทนกันได้หมดในกรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำ หรือขาดหายไปครั้งคราว หรือถาวรก็แล้วแต่         

ดังนั้นระบบโมเดล การจัดการความรู้ แบบน้ำพริกปลาทูอีสาน จึงเป็นโมเดลที่มีความอ่อนตัว และต้องการคนที่มีความคล่องตัว มากที่สุด จึงจะทำให้สามารถทำให้โมเดลนี้ เป็นไปได้         

หรืออีกนัยหนึ่ง ลักษณะความอ่อนตัวต่างๆ ของโมเดล ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมี ผู้ที่มีความเข้มแข็งและรอบคอบในกระบวนการทำงาน ที่จะต้องทำหน้าที่ในการประสานกันในการจัดการตนเองทั้งหมด  ลักษณะการจัดการเช่นนี้เป็นลักษณะการทำงานแบบไม่มีการกำหนดหน้าที่ที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แล้วแต่เหตุการณ์และสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ทำให้ผู้ที่ทำงานสามารถปรับตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบ ๆ บริบทการทำงานได้อย่างครบถ้วน            

ลักษณะนี้ เป็นลักษณะโมเดลดั้งเดิมของระบบการทำงานในสังคมที่แต่ละหน่วยของสังคม สามารถจะทำงานทดแทนกันได้เป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีเพียงบางส่วนหรืองานเฉพาะบางเรื่องที่มีความสำคัญและจำเป็นเฉพาะที่ทำงานทดแทนกันไม่ได้ เช่น เมื่อมีระบบสังคมเกิดขึ้น ก็จะมีคนใดคนหนึ่งในสังคมปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้นำ เป็นผู้ประสานงาน และเป็นผู้คอยจัดการความเรียบร้อยในระบบของสังคม            

อาจจะมีบางคนทำหน้าที่ดูแล รักษา สภาพแวดล้อม ความสะอาด อาจจะมีบางส่วนที่คอยดูแลด้านสุขภาพอนามัยและการเจ็บป่วย  ในอดีตนั้น คนที่เป็นหมอ ไม่ว่าจะเป็นหมอยา หรือหมอตำแย ก็คือ ชาวบ้านธรรมดา ที่มีโอกาสได้รับการฝึกฝนหน้าที่การทำงาน เพื่อทำหน้าที่เฉพาะ แต่โดยพื้นฐานแล้ว คนเหล่านี้ มีความแตกต่างไม่มากนัก ลักษณะการประสานงานแบบนี้จึงเกิดขึ้นไม่ง่าย เพราะคนเหล่านี้ไม่ได้มีพื้นฐานแตกต่างกันมากมาย            

ไม่เหมือนกับการทำงานในโมเดลที่ตั้งสมมุติฐานว่า มีคนที่ทำหน้าที่เฉพาะด้านในเรื่องต่างๆ โดยอาศัยความสามารถพิเศษที่คนอื่นอาจจะไม่มี เพราะฉะนั้น  ลักษณะนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงานแบบโมเดล ป่นปลาทู หรือ น้ำพริกปลาทูอีสาน          

การพัฒนาจากโมเดลนี้ หรือถ้าจะมองว่า โมเดลนี้เป็นโมเดลตั้งต้นของการทำงานที่ดูเหมือนจะพัฒนาได้ไม่ไกลนัก เพราะไม่มีความเฉพาะเจาะจงในตำแหน่งหน้าที่ ก็คือ การทำให้เกิดความจำเพาะเจาะจงในตำแหน่งหน้าที่เฉพาะที่เกิดขึ้น ทำให้แต่ละฝ่ายมีโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งดีกว่าที่ทุกคนทำหน้าที่คล้ายคลึงกัน เพียงแตกต่างกันในเฉพาะบางอาชีพเท่านั้น         

ดังนั้น อาจจะถือได้ว่า โมเดลน้ำพริกปลาทูนั้น เป็นโมเดลดั้งเดิมก่อนที่จะพัฒนาสู่การจัดการความรู้ ที่มีคนทำหน้าที่คนทำหน้าที่เฉพาะมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีข้อดีและข้อเสียปะปนกันอยู่

กล่าวคือ

Ø     ข้อดี ก็คือ ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการทำงาน

Ø     แต่ ข้อเสียก็คือ การทำให้เกิดความแตกต่างแปลกแยกในระบบพัฒนา เมื่อทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ไปนานๆ และจากการขาดการควบคุมดูแลที่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาในระบบสังคมได้ 

         ฉะนั้น ในขณะที่เรากำลังจะพัฒนาเพื่อสร้างความเฉพาะเจาะจงขึ้นในการปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีการระมัดระวังผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากความแปลกแยก

        ผลเสียที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างในชุมชนที่จำเป็นจะต้องประสานประโยชน์ซึ่งกันและกัน โดยไม่ทำให้ความแตกต่างนั้นเป็นผลเสียหายกับสังคม  หรือมองในทางกลับกันก็คือ 

           ทำให้ความเสียหาย ทำให้ความแตกต่างในสังคมนั้น เป็นศักยภาพของการพัฒนาที่แท้จริง 

        ฉะนั้น ในกรณีที่ เรายังไม่สามารถพัฒนาโมเดลที่มีความหลากหลายได้ ก็ควรจะพัฒนาโมเดลที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ก็คือ โมเดล น้ำพริกปลาทูอีสาน ดังที่กล่าวแล้ว

           แต่ในระยะยาว โมเดลนี้อาจจะพัฒนาต่อเนื่อง ให้เป็นโมเดลที่มีความเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน  

              แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะดังกล่าว อาจจะไม่เหมาะในหลายพื้นที่ที่มีระบบสังคมแบบที่มีใกล้เคียงกัน ดังนั้น ในระบบสังคมที่ความแตกต่างน้อย การใช้โมเดลน้ำพริกปลาทู จึงมีความเหมาะสม แต่ถ้าในระบบสังคมที่มีความแตกต่างมาก เช่น มีหัวปลา ตัวปลา และหางปลา ลักษณะการทำงานตรงนี้ก็จะไม่เหมาะที่จะใช้โมเดลน้ำพริกปลาทูอีสาน แต่ควรจะใช้โมเดลปลาทู หรือปลาชนิดอื่น ๆ ที่มีความแตกต่างของการกำกับดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      

ทำให้ประสิทธิภาพหรือประสิทธิผลของการทำงานดีกว่าเดิม
หมายเลขบันทึก: 68282เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2006 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 19:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

อาจารย์ครับ

   ผมเห็นว่า "ป่นปลาทู" ของอาจารย์สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการของ KM ที่เป็นการสกัดเอาความรู้ฝังลึก (Tacit) ออกมารวมพลังกันให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ คือ

   หากเครื่องปรุง(คุณกิจ)แต่ละอย่างแยกกันอยู่ แต่ละอันมันก็จะมีคุณสมบัติเฉพาะตัว มีประโยชน์และรสชาติที่แตกต่างกัน แต่พอพ่อครัว-แม่ครัว(คุณอำนวย) เอามาปรุงโดยเริ่มตั้งแต่ เผาหรือคั่วพริก หอม กระเทียม ก็คล้ายกับเป็นการนำรสชาติฝังลึกที่อยู่ในนั้นออกมา เสมือนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน แต่พอคุณอำนวยเอาแต่ละอย่างมาใส่ครก มาตำรวมกัน ก็จะเสมือนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามสายงาน ถ้าคุณอำนวยมีลีลาและจังหวะในการตำที่ดี คุณกิจสดใหม่มีคุณภาพดี ก็จะได้องค์ความรู้ใหม่ทีดี ในที่นี้ก็คือ "ป่นปลาทู" ที่แซบหลาย ๆ เด้อ แซบกว่ากินปลาทูเปล่า ๆ หลายเท่า และก็ยังเหมาะกับบริบทของอีสานบ้านเฮาอีกด้วย

   แต่หากจะให้เข้ากับภูมิสังคมของอีสานบ้านเฮาให้คักคัก ก็ต้องเปลี่ยนปลาทูให้เป็นปลาแดก แล้วองค์ความรู้ใหม่ที่ออกมาก็คือ ก็จะคือ "ปลาแดกสับ" ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า "ปลาร้าสับ" (โอ้ย..อันนี้ถืกใจข้อยหลาย คึดแล้วน้ำลายไหล) เช้านี้คงต้องเล่นบทคุณอำนวยเองซะแล้ว

   ก็ต้องขออนุญาตนำทรัพย์สินทางปัญญาของอาจารย์ไปใช้ต่อนะครับ เผื่อว่าได้มีโอกาสไปบรรยายแถวภาคอีสาน ขอขอบคุณหลายๆ เด้อครับท่านครูบา

อาจารย์ครับ ขอเสนอและถามต่อ

  • จากโมเดิล ป่นปลาทูของอาจารย์ หากเปลี่ยนเป็นโมเดิลปลาเข็งจะได้ไหมครับ
  • ปลาเข็งนี่เป็นปลากที่ป่นแซบมากครับ
  • หน้าหนาวถึงแล้งมันจะออกมันเหลือง ป่นแล้วมันมันลอยขึ้นมาแซบมากจริงๆๆ
  • เวลาต้มต้องต้มกับนำปลาแดก อันนี้นัวโดยไม่ต้องพึ่งพิงผงชูรสจากตลาดนะครับ อันนี้มีพิษด้วยอันตรายต่อคนกิน
  • หน้าหนาวชาวบ้านอีสานปลูกผักมาก จะลวกหรือผักสดก็เข้ากันดีกับป่นปลาเข็ง
  • ปลาทูตอนนี้ราคาแพงมาก ชาวบ้านหาเองก็บ่ได้ ตัวหนึ่ง ๆ แพงมากหากเป็นปลาเข็ง ดูจะประหยัดเงินชาวบ้านดี ดูเข้ากับชาวบ้านได้ด้วย

แย่งไรก็แล้วแต่โมเดิลหรือแนวคิดนี้ นับว่ามีประโยชน์มากเห็นภาพการเดินไปข้างหน้าดี จะปลาทูหรือปลาเข็งก็เป็นภาพและคงต้องดูที่การปฎิบัติ  แต่ออตว่าปลาเข็งเอามาป่นนี่แซบอีหลีครับ อิอิ

คุณพันธ์บุณย์ คุณออด

ขอตอบพร้อมกันเลยนะครับ เพราะข้อเสนอใกล้เคียงกัน

จะเป็นปลาเข็ง ปลากะเดิด ปลาตอง ปลาค่อ หรือปลาอะไรก็ได้ครับ ขอให้มีกินก็พอแล้วครับ เรื่องอร่อย ว่ากันขั้นที่สอง ครับ

ที่ผมเขียนอย่างนี้ ก็เป็นการต่อเชื่อมกับที่ผมเคยแซวกับอาจารย์ประพนธ์ มาแล้วว่าน้ำพริกปลาทูภาคกลางหรือภาคใต้ นั้นมันไม่ใช่น้ำพริกปลาทูแท้ แค่เป็นน้ำพริกกะปิที่มีปลาทูเป็นเครื่องเคียงเฉยๆ เลยเห็นปลาทูเป็นตัวอยู่ มองอะไรก็ดูง่าย แต่มันไม่แซบ เหมือนการเอาปลาทูมาป่น แต่ยังไงปลาทูก็สู้ปลาเข็งไม่ได้ เพราะปลาเข็งสุดยอดของการเป็นเนื้อปลาป่นอยู่แล้ว ครับ แต่ถ้าจะเก็บไว้กินนานๆ ต้องปลาตอง ครับ หรือถ้าไม่ไหวจริงๆ ก็ปลาขาวก็ได้ครับ แต่ปลาค่อ ควรจะทำสด ๆ ครับ เป็นปลาแห้งแล้วมาทำน้ำพริกไม่ค่อยดี ปลาดุกก็ดีอยู่นะครับ แต่ก็ต้องทำสดเช่นกัน เอาไปทำน้ำปลาร้า ชั้นหนึ่งเลยครับ

เห็นไหมครับ ถ้าไม่เอาปลาดุกไปต้มปลาร้า ทำน้ำพริกไม่ค่อยอร่อย แสดงให้เห็นว่า ก่อนจะเอาปลามาทำป่นหรือน้ำพริกนั้นน่ะ ต้องมีกระบวนการครับ ไม่ใช่อยู่เฉย ๆ ก็เอามายัดใส่ปากเลย ไม่อร่อยหรอกครับ เชื่อผมสิ หรือไม่เชื่อจะลองดูก็ได้ครับ

ผมจึงพยายามอย่างสุดชีวิตที่จะบอกว่า อย่าไปติดใจปลาทูแห้งเก่าค้างปีเลยครับ กว่าเขาจะส่งมาถึงเราก็หลายวัน บางทีก็ขึ้นรา บางทีก็มีหนอน แต่เดิมอาจจะดี แต่พอมาถึงเรามันเก่าซะแล้ว มากินน้ำพริกปลาเข็งดีกว่ามั้งครับ เรามาพัฒนาของเราเอง จะได้โมเดลการจัดการความรู้ที่ดีกว่ากันเยอะเลย แล้วเราก็จะมีเอกลักษณ์ มีความภาคภูมิใจ ในนวัตกรรมของเราเอง ผมว่า วันหนึ่งผมจะขอให้จัดประกวดโมเดลการจัดการความรู้ว่าใครคิดอะไรออกบ้าง ของใครเจ๋งกว่าของใคร แล้วครูบาอาจจะมีน้องวัว แจกครับ เป็นรางวัลที่หนึ่ง และน้องเมียแจกเป็นรางวัลที่สองครับ รางวัลที่สามน่าจะเป็นไข่นกกระจอกเทศครับ และยังมีอีกหลายๆ รางวัล

ครูบาทราบแล้ว เตรียมรางวัลไว้ด้วยนะครับ โดยเฉพาะน้องเมียต้องเตรียมนานหน่อยนะครับ

อาจารย์ครับ

  แม่นแล้วครับอาจารย์ KM นั้นจะให้ดีต้องเหมาสมและเข้ากันได้ดีกับบริบทของสังคมและองค์การนั้น ๆ

  ปลาทูของ อ.ประพนธ์ เป็นแบบกลางๆ ที่กินกันได้ทุกภาค เป็นต้นแบบที่จะให้พ่อครัวแม่ครัวนำไปดัดแปลง จะนำไปต้มยำทำแกงก็แล้วแต่ความถนัด

  ป่นปลาทูของอาจารย์เป็นการบูรณาการ ปลาทูทั้งตัวตั้งแต่หัวจรดหาง(แถมก้างด้วย) เข้ากับสมุนไพรที่หลากชนิด หากทุกอย่างมีความพอเหมาะพอดี ก็จะแซบหลายเด้อ เป็นโมเดลที่สามารถนำไปอธิบายขยายความเรื่อง KM ได้อย่างลึกซึ้ง และผมก็แอบเอาไปใช้ในการยกตัวอย่างการสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเรียบร้อยแล้ว

   อาจารย์ครับไอ้ปลาเข็งมันคือปลาอะไรครับ อยู่อีสานมาหลายปีก็ยังไม่เคยกิน ที่ขอนแก่นมีไหมครับ เผื่อมีโอกาสผ่านไปจะได้ไปขอลองชิมดู และผมขอจองรางวัลที่ 2 นะครับ แต่อยากทราบว่าเธออายุเท่าใดแล้วครับ

  • โห่ อาจารย์พันธุ์บุณย์ ท่าจะคิดผิดที่เลือกรางวัลที่สองครับ ผมว่ารางวัลที่หนึ่งนี่สุดยอดนะครับ สุดยอดของแซบอีสาน แต่จริง ๆ แล้วต้องอ่อมมาให้เรียบร้อยนะครับ เด็กรุ่นใหม่ ๆเนี่ยอ่อมของแซบขนาดนี้บ่เป็นดอก ต้องสอนเรื่องอ่อมน้องวัวซะแล้วครับ
  • ท่าจะเกิดโมเดิล อ่อมน้องวัว นะเนี่ยผมว่า
  • ขอตอบแทนอาจารย์ ดร.แสวงนะครับเกี่ยวปลาเข็ง  ปลาเข็งคือปลาหมอ นั้นเองครับ

 

ที่เราทำกันคือ KM ธรรมชาติครับ ไม่ต้องใช้เวลา หรือศถานที่ครับ ทำเมื่อไหร่ได้เมื่อนั้นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท