เส้นแบ่งเขตความรู้ฝังลึกกับความรู้แบบชัดแจ้ง


ดังนั้นเส้นแบ่งจึงอาจแยกเป็นอยู่ภายใต้ ๒ เงื่อนไข

  ในโอกาสนี้ผมจะขอเสนอแนวทางในการแบ่งว่าอะไรคืออะไร ที่สามารถแบ่งประเภทความรู้ เพื่อลดความสับสนในการสื่อสาร และไม่มีเจตนาที่จะว่าใคร หรืทำให้ใครต้องออกนอกทางของตัวเอง

จากที่ผมนำเสนอความรู้ทั้งสองแบบว่ามีลักษณะแตกต่างกันนั้นเพื่อให้มองง่ายขึ้น

 ผมขอเสนอเส้นแบ่งให้ง่ายต่อความเข้าใจและวิพากษ์ต่อไปได้

ก่อนอื่น เพื่อให้พิจารณาอย่างง่ายๆ แทนการใช้กล้องดิจิตอล ผมขอใช้อาหารที่ทุกคนคุ้นเคย เป็นตัวอย่างในการจำแนกความรู้ฝังลึกอย่างหนึ่งที่น่าจะสื่อกันง่ายที่สุดก็คือ

ความรู้ว่ารสชาติและกลิ่นของพริกแต่ละชนิดที่เหมาะจะทำกับข้าวแต่ละอย่าง ที่มีเป็นร้อยๆชนิด

เรื่องนี้อาจบอกแบบชัดแจ้งไปว่าชนิดใดเป็นอย่างไร และทำตามได้เลย

แต่ก็มีความรู้ฝังลึกที่ในเชิงลักษณะของรสชาติ ที่บอกกันยังไงก็ไม่มีทางรู้ ยิ่งถ้าไปบอกฝรั่งที่ไม่เคยกินพริกชนิดใดมาก่อน หรือกินพริกไม่เป็นแล้ว มันฝังลึกแบบ ผู้ปฏิบัติการกินเองจึงจะรู้ว่าต่างกันอย่างไร

แล้วก็ไม่ใช่ว่าคนที่ทำทุกคนจะรู้เหมือนกันหมด ยังขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัวอีกด้วยและยังขึ้นอยู่กับความสามารถในการนำเสนอของคนที่รู้อีกต่างหาก  เหมือนกับการกินพริกนั่นแหละ ฝรั่งบางคนก็แยกไม่ออกว่าอะไรเผ็ดและหอมอย่างไร

มีแต่เผ็ดมากกับเผ็ดน้อย เป็นต้น

ดังนั้น จึงทำให้เส้นแบ่งความรู้อาจแกว่งได้เล็กน้อย ว่าอะไรบอกได้ (ชัดแจ้ง) และบอกไม่ได้ (ฝังลึก)

แต่คงไม่แกว่งไปขนาดว่าถ้าคนใบ้ที่รู้ จะบอกใครไม่ได้ ก็จะเป็นความรู้ฝังลึกไปหมด

หรือหนังสือโบราณในสุสานพระเจ้าฟาโรห์จะเป็นความรู้ฝังลึก เพราะทั้งอยู่ลึกในปิรามิด และคนที่ไปพบก็ยังอ่านไม่ออกอีกด้วย (ถ้าไปนับการอ่านออกไม่ออก ก็จะเป็นความรู้ฝังลึกเข้าไปอีก แบบเฉพาะกาลได้โดยง่าย) 

ถ้าบังเอิญใครใช้เกณฑ์นี้   เราจะมีความรู้ฝังลึกอีกมากมาย เพราะหนังสือหลายเล่มอาจมีบางคนอ่านไม่ออก หรือมีเรื่องอีกหลายเรื่องที่ยังไม่มีคนเล่าสู่กันฟัง

เพราะนั่นเป็นเพียงความรู้ที่ชัดแจ้งที่ยังไม่ได้เล่าให้ฟัง เท่านั้น

แล้วจะเอาเกณฑ์อะไรมาแบ่ง

เกณฑ์จากคัมภีร์ปลาทูแห้งหมื่นปี หรือจะเอาเกณฑ์ว่ารู้ไม่รู้ของคนบางคนมาแบ่งคงไม่ได้หรอกครับ

ต้องมีเกณฑ์มาตรฐานกลางเหมือนกัน ว่า

ความรู้ชัดแจ้งนั้นบอกสอนกันได้ง่าย (แต่ก็ขึ้นอยู่กับระดับของผู้บอกและผู้ฟังเหมือนกันนะครับ) อย่างเช่นแค่ผมพูดตอนนี้ก็อาจมีคนบอกว่าเป็นความรู้ฝังลึกไปซะแล้ว เพราะไม่สนใจอ่าน หรืออ่านไม่เข้าใจ

สำหรับความรู้ฝังลึกนั้น คนส่วนใหญ่ที่รู้ในความรู้นั้น จะบอกไม่ได้ (ที่ไม่รวมคนใบ้แน่นอน) อย่างมากก็ทำให้ดูได้  หรือต้องให้ลองฝึกทำเองจึงจะรู้ เช่นความทำสมาธิทำให้ใจสงบ เป็นต้น

ตามหลักการของ

ปัจจัตตังเวทิ ตัพโพ วิญญูหิติ ผู้ทำเป็นผู้รู้ด้วยตนเอง

ดังนั้นเส้นแบ่งของความรู้จึงอาจแยก อยู่ภายใต้ ๒ เงื่อนไขใหญ่ คือ

 
  1. ภาพรวมของความรู้ที่คนส่วนใหญ่เมื่อรู้แล้วจะบอกใครไม่ได้ ดังเช่นรสชาติพริกแต่ละชนิดเป็นอย่างไรเป็นต้นและ
  2. อาจจะแกว่งเล็กน้อยความความสามารถของเจ้าของความรู้เป็นว่า คนสอนเก่ง บอกเล่าเก่ง จะอธิบายเข้าใจมากกว่า อาจทำให้คนเข้าใจมาก และลดดีกรีขอความฝังลึกลง
 

ถ้าเช่นนั้น ถ้าคนพัฒนาการสอนไปเรื่อยๆ  ไม่นาน ความรู้ฝังลึกทุกอย่างจะเป็นความรู้ชัดแจ้งหมดละซี

คงเป็นไปได้ยากครับ

 พระพุทธองค์ท่านทรงตรัสว่า ความรู้ที่ท่านพร่ำสอนทั้งหมด เป็นเพียงปริมาณใบไม้ในกำมือเท่านั้นเอง ยังเหลือในป่าอีกมาก 

 

ฉะนั้น เย็นใจได้ไม่มีวันหมด ต่อให้กรมส่งเสริมเอาความรู้ฝังลึกมาจัดการอีกร้อยปีก็ไม่มีวันหมดหรอกครับ

 ใครมีความเห็นอย่างไร เชิญเสนอแนวคิดได้

แต่ขอยกเว้น ตลกร้าย เรื่อง เรียกว่า หนังสือที่หลุมฝังมัมมี่เป็นความรู้ฝังลึก เพราะผมขำไม่ออก 

หนังสือและการตีพิมพ์ เป็นแค่เครื่องมือการเรียนรู้ จดบันทึกข้อมูล ยังไม่เป็นความรู้ครับ ไม่ว่าจะชัดแจ้งหรือฝังลึก

ความรู้ต้องอยู่ในตัวคน

 คนที่อ่านหนังสือไม่ออกก็ไม่สามารถรับข้อมูลจากหนังสือมาสร้างเป็นความรู้ได้หรอกครับ หรือคนหูหนวกก็รับข้อมูลจาวิทยุมาสร้างความรู้ไม่ได้ เช่นกัน 

ตอนนี้ อย่าพยายามหลอกผมเลย ว่าหนังสือและรายงานการวิจัยต่างๆเป็นความรู้ชัดแจ้ง

ถ้ามีผมจะให้คนตาบอดที่อ่านภาษาเบลล์ไม่ออก ไปอ่านดู เผื่อจะได้ความรู้บ้าง ครับ 

แต่ไม่แน่ครับ 

วันหลังเมื่อเรามีหนังสือหรือรายงานที่ป็นความรู้ชัดแจ้งเจ็งๆแล้ว

ถึงวันนั้นเราคงไม่มีคนโง่ หรือความรู้ไม่พอใช้อีกต่อไป โดยไม่ต้องอ่านหนังสือด้วยซ้ำ เพราะมันชัดแจ้งอยู่แล้ว

แค่เอาหนังสิอหนุนหัวนอนวันละเล่มก็เรียนรู้ได้แล้ว

สุดยอดเลยครับ

ผมจะรอวันนั้นครับ

หมายเลขบันทึก: 67581เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2006 04:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

 

  ชวนคิดแต่เรื่องยากๆ คิดตามจนสมองแฉะ

ในหลักการKM. บอกที่อยู่ของความรู้

1 ความรู้ในตัวคน

2 ความรู้ในธรรมชาติ

3 ความรู้ในตำรา

4 ความรู้ในIT.

   ส่วนความรู้เป็นอย่างไร มากน้อยแค่ไหน พลึกพิลั่นอย่างไร ก็แล้วแต่กึ๋นของคนจะไปถอดรหัสออกมา 

   ความรู้ที่ปฟาร์โรฝังไว้  ก็ใช่ว่าจะเป็นความรู้ที่ถูกต้อง พยายามค้นคว้าแทบตาย เพื่อว่าจะฟื่นคืนชีพได้ แค่โจทย์คิดมันก็ผิดธรรมชาติแล้ว

 ธรรมมะชองพระพุทธองค์ น่าจะเป็นความรู้ที่ถูกต้องกว่าความรู้ชุดใดๆ

 Key Word

.ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง  แม้แต่กาลมังยังผุได้

ชีวิตยังไม่จีจัง อย่าหวังว่าความรู้จะยั่งยืน

ความรู้ล้าสมัย ตกรุ่นไปเรื่อยๆ โทรศัพท์ รถยนต์ เครื่องจักรกล กล้องถ่ายรูป ตกรุ่นได้ทั้งนั้น

เพียงแต่ไม่กล้าฟันธงว่า อ.จ.ม.ห.ว.ล.ตกรุ่นบ้างแล้วยัง

 ความรู้ใหม่ เกิดขึ้นใหม่ๆ หมุนเวียนมาเปลี่ยนของเก่าออกไป  เหมือนกับการเปลี่ยนผ้าขาวม้านั่นแหละ ถ้าขืนไม่ยอมเปลี่ยน เหม็นตายเชียวแหละ

 

   ความรู้ในรังนกกระจาบ 

 นกมันไม่ได้เข้ามหาวิทยาลัย  แต่ลูกนกกระจาบก็สร้างรังได้แข็งแรง นกมันไม่มีพิพ์เขียว แต่มันทำได้คล้ายกัน

  หลักการKM.ชุมชน จึงอาศัยหลักการคล้ายของนก

เพียงแต่ว่ายังห่างชั้นกันมาก  เราเข้าถึงแค่สะเก็ดของความรู้ในธรรมชาติเท่านั้น 

มนุษย์มีความรู้ในระดับหยาบๆ เราเพียงแต่เสนอวิธีว่า

ถ้าจะทำอะไรสักอย่าง เราต้องมีความรู้ใส่เข้าไป

ไม่มีความรู้เครื่องบินมันบินไม่ได้  เราจะเอาความรู้อะไรใส่ลงไปเหล็ก เพื่อให้มันบินได้ ความรู้ที่ค้นคิดได้เป็นทอดๆเป็นขั้นๆช่วยกันเติมเข้าไปๆๆ เครื่องบินก็บินได้จริงๆ บินได้นานขึ้น บินได้เร็วขึ้น บินได้สะดวกขึ้น

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์มีความรู้

มีระดับไหน ผลลัพธ์ของความรู้ก็ออกมาระดับนั้น

 

  อยากให้อาจารย์ เสนอเรื่องเส้นทางเดินขิงความรู้เก่ากับความรู้ใหม่  ความรู้ในมหาวิทยาลัยปรับใหม่เท่าทันกับที่เขาปลับในมหาวิทยาลัยทั้งโลกหรือเปล่า ถ้าปรับช้า ลูกศิษย์ก็เรียนเรื่องที่ล้าหลังล่าช้าโดยไม่รู้ตัว จบไปมันก็ไม่ทันกิน

  พวกชาวบ้านก็เหมือนกัน  ถูกความรู้ใหม่มันมาบุก ควายเคยไถนา ก็ขายไปทำลูกชิ้น ไปซื้อควายเหล็กมา ก็ต้องมาเรียนชุดความรู้เรื่องควายเหล็ก ความรู้เรื่องควายเนื้อก็ตกรุ่น ใช่ไม่ได้

อยากให้ทุกคนทบทวนความรู้ของตนเอง หมั่นเปลี่ยนอาไหล่ความรู้บ่อยๆ

และให้ถามคนเองอยู่เสมอว่า..

วันนี้เราอยู่กับความรู้อะไร

 

   สัปดาห์นี้ 

  เอาเรื่อง เรามีความรู้อะไรดีไหมครับ

  เป็นโจทย์ลงมาให้ชาวKM.ช่วยกันขบคิด

 

   ชาวKM.ที่เคารพรักครับ

  เพื่อให้เวทีบล็อกมีประเด็นฉุกคิดสนุกๆ  ให้ชาวเรามาระดมความคิดกันจะดีไหมครับ  ท่านใดเขียนเสนอขึ้นมา  ถ้าเราเห็นว่าเย้ายวนให้คิด  เราก็จะตั้งเป็นเรื่องเด่น  ท้าทายจุดดึงดันต่อมคิด ให้สะท้อนพลังที่คิด คิดได้ ได้คิด วางลงๆๆ เหมือนกับที่เขาคิดค้นให้รถยนต์มีสมรรถนะเพิ่มขึ้นๆ ดีไหมครับ

ครับครูบา

ผมจะลองยกประเด็นส่งเย็นนี้ครับ

ขอบคุณครับที่เสนอแนวทางครับ

    ตามมาเยี่ยมครับอาจารย์ ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ความรู้ ชัดแจ้ง ที่ว่าๆกัน มันไม่ได้ แจ้ง จริงๆนะครับ เป็นแค่ สัมผัส รับรู้ได้สะดวกขึ้น แต่จะ แจ้ง ได้นั้นเป็นเรื่องใหญ่ทีเดียว .. ผมอยากเรียก "ความรู้ฝังตื้น" มากกว่าครับ ดีมั้ยครับ  เพี้ยนมั้ยครับ Explicit Knowledge = "ความรู้ฝังตื้น"
  • อ่านของท่าน ครูบาฯ ได้เต็มอิ่มเลยครับ จากการต่อยอดบันทึกนี้.. ขอบพระคุณมากครับ ... 
        เรื่องนกกระจาบนี่ ผมเคยชวนคนคุย และขบคิดมาแล้วเช่นกันครับ มีสิ่งน่าคิดมากมาย เช่น. ทำไมนกที่ เบตง กับนกที่ เชียงราย จึงทำรังออกมารูปแบบเดียวกันได้ .. ไม่มีพิมพ์เขียว ไม่มีแผนผังที่เป็นกระดาษ/สิ่งพิมพ์ แล้วมันเกิดเป็นรูปร่างอย่างนั้น ซ้ำๆกันได้อย่างไร .. หญ้าเส้นแรกๆ ต้องวางอย่างไร .. ตอนจะเริ่มทำเป็นส่วนโค้งสำหรับวางไข่ เอาอะไรมาเป็นตัวกำหนดว่าเริ่มโค้งได้แล้ว .. ตกลง สัตว์อย่างนกกระจาบ มีสมองน้อย อ่อนด้อยกว่าคน มากจริงหรือ? ฯลฯ
       ... เพียงแต่ไม่กล้าฟันธงว่า อ.จ.ม.ห.ว.ล.ตกรุ่นบ้างแล้วยัง ...
        
    ผมตอบแทนแบบฟันธงเลยครับว่า .. เป็นไปแล้วครับ .. ไม่น้อยเลย .. ผมรู้นะว่าท่าน เกรงใจ  ทั้งๆที่ในใจท่าน มีข้อมูลจน ฟันธง มาตั้งนานแล้ว  ผมไม่ใหมอดูแต่ก็มั่นใจว่างานนี้ผมทายไม่พลาด ท่าน ดร. แสวง รวยสูงเนิน  ก็รู้ดี.
ขอบคุณมากครับอาจารย์พินิจ ท่านก็รู้ว่าผมรู้ว่าท่านรู้ว่าผมรู้ ฯลฯ ขอตอบแค่นี้นะครับ เราจะแก้ไขอย่างไรดีครับ เขาว่าเรากำลังเห่าใบตองแห้งอยู่ อาจารย์คิดอย่างไรครับ

ขออนุญาต แชร์ นะครับ

เรื่องนกนั้น  ที่ทำได้เหมือนกันหมด  คงต้องถาม ยีนส์ของมัน    แต่ มีการทดลอง นก สองชนิดใน อังกฤษ  คือ  นก Titmice (ตัวเหมือน กระจิบ บ้านเรา) กับ นก Robin (ตัวใหญ่กว่าหน่อย มีสีแดงที่หน้าอก)

เขาลอง เอาขวดนมในภาชนะขวดแก้วมีฝาอลูมิเนียมปิดไปวาง    พบว่า  พวก ทิสไมส์   มีการบอกต่อๆกันไป   ดังนั้น ทั่วเกาะอังกฤษ  พวกมัน  แกะฝาขวดนมรู่นใหม่ๆได้   แต่ นกโรบิน  เป็นเฉพาะบางตัวเท่านั้น  ที่ แกะฝาขวดนมได้  

นก Titmice นั้น  ถ่ายทอด เพราะ อยู่เป็นฝูง   พูดคุยกัน

แต่ นก Robin จะมีอาณาเขต  เจอกันเฉพาะตอนจะสืบพันธุ์เท่านั้น   ดังนั้น  ไม่มี Knowledge flow (การไหลของความรู้)

กรณีนกนางแอ่น  น่าจะมี การชวน ทีวี  ไปทำสารคดี  (บ้านเรา ไม่ค่อยมี นักสังเกต ธรรมชาติ แนว เนชั่นแนลจีโอกราฟฟี่ เลยเนอะ)

พวกนางแอ่น คงมีการพูดคุยกันมาก   เป็น เกลียวความรู้  การไหลของความรู้  แน่ๆ

 

ความรู้ฝังลึก  ในแนวทางที่ผมคิด   ก็คงเป็นแบบ "ปฏิเวธ"

การจะปฏิเวธ   จะเกิดขึ้นได้  ก็ต้องอาศัย ปฏิบัติ  + ลปรร + อิทธิบาท 4 (วิเคราะห์ สังเคราะห์  หรือ วิมังสา  หรือ Plan Do check Action  หรือ ไตร่ตรอง)

ผมดีใจนะ   ที่ คนในBlog เริ่ม   แชร์  ใน หัวข้อเดียวกันแบบนี้    เพราะ  เป็นแบบ  "ไดอารี่" มานานแล้ว  จะได้ คุยๆ  กันเป็น "เกลียวความรู้"

ขอแชร์  เรื่อง สุ จิ ปุ ลิ

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/67851

เพราะ ลิ  ที่ถูกต้องแบบปรมัถ ละเอียด   ไม่ใช่  จด เขียน แบบที่เราเข้าใจกัน ในระดับ "สุจิปุลิ" ขั้นหยาบ

ลิ  ที่เป็นแบบปรมัถ  คือ  ลิขิตที่กลางใจ

การที่ค้นพบ "จิตหงาย"   "จิตอุเบกขา" "จิตว่าง" "จิตโล่งโปร่งสบาย"    เป็น สิ่งที่   รู้ได้ด้วยตนเอง   ลิขิตลงที่ "ใจ" ของตนเอง  มันยากจะอธิบายๆ

เป็น very deep tacit knowledge   

คนปฏิบัติด้วยกัน เท่านั้น  จึงจะเข้าใจ

เต่า ด้วยกัน จึงจะเข้าใจว่า บนบกเป็นอย่างไร   แต่ จะให้เต่าอธิบายให้ปลา  ก็คงจะยาก    ปลาก็ได้  "ฟัง คิด ถาม เขียน"  ก็ไม่ได้ความรู้ เรื่งบนบก สักที

 

ฝากให้อ่าน  เรื่อง ปริยัติ   3 แบบ ด้วยนะครับ 

http://gotoknow.org/blog/ariyachon/67857

คุณวรภัทร์

พออ่านที่คุณเขียนมา ผมรู้สึกว่าตัวเองแฟบลงเยอะเลย

ผมไม่ค่อยมีโอกาสได้สัมผัสคนที่เข้าใจชีวิตลึกๆแบบนี้

จะขอเป็นพันธมิตร ลปรร อย่างใกล้ชิดมากขึ้นเรื่อยๆครับ ผมว่าเรามาถูกทางแล้ว

ตอนนี้เท่าที่ผมมีอยู่ในรายการแบบนี้ก็ไม่ถึง ๑๐ คน

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท