สุ จิ ปุ ลิ แบบ หยาบๆ กับ แบบละเอียด


ลิ ไม่ใช่ บันทึกลง BLOG นะ แต่ ลิขิต(บันทึก)กันที่ใจ ประจักษ์ที่ใจ
  • ปริยัติ  =  "ฟัง คิด ถาม เขียน"   เป็น สุ จิ ปุ ลิ  แบบโลกๆ แบบหยาบๆ
  • สุ จิ ปุ ลิ   เท่าที่ผมพบมา ส่วนใหญ่  เป็นแบบ ตื้นๆ แบบโลกๆ เช่น  
  • สุ คือ  จับ  ฟัง อ่าน ชิม ฯลฯ   แต่ ยังไม่ได้ ย่อย  ไม่ได้เอาไปลงมือทำ 
  • จิ  คือ คิด  โดยคิดเอง เออเอง  เอา สิ่งที่มีอยู่ ไปค้านสิ่งที่มาใหม่  ก็เลยอยู่ในกรอบต่อไป  /   คิด ในขณะจิตไม่ว่าง   เป็นปัญญาแบบโลกๆ เต็มไปด้วย อคติ ลำเอียง เพ่งโทษ  วิตก วิจารณ์
  • ปุ  คือ ถามแบบ ยังไม่ได้ทำ ไม่ได้ลงมือ  ถามแค่ What  when where why   
  • ลิ  คือ  จดลง BLOG  จดลงกระดาษ  ฯลฯ   ให้คนอื่น ๆ  ได้ เป็น Information  

ถ้ามา ศึกษา สุ จิ ปุ ลิ  ในแบบ ปรมัถ  แบบนักปฏิบัติ   แบบลึกๆ  จะพบว่า  

สุ   คือ รับรู้  ด้วยใจที่เป็นกลาง   ตามความเป็นจริง   ไม่อคติ  ไม่รับเอียง    แยกแยะ กุศล อกุศล   ประโยชน์  ไร้ประโยชน์   สุ อย่างมี "สติ"

จิ  คือ โยนิโสมนสิการ (ย้อนดูจิตตนเอง)  คิดตาม พิจารณา "ข้อธรรม"  เป็น ธรรมวิจะเย     / ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่ทรงแจก hand out (เอกสารการสอน) เพราะ ฟังเดี๋ยวนั้น  ดูจิตเดี๋ยวนั้น  พิจารณาธรรมที่เกิดในกาย ในใจตนเอง ตอนนั้น  ทันที now  / เป็น Action Learning อย่างแท้จริง

ธรรมะวิจะเย แล้ว ก็ ให้ ขยันพิจารณา  ทำจิตให้ปกติ  แยกจิตกับความคิด อย่าให้ส่งผลต่อกันได้   ทำไปเรื่อยๆ  จะเกิด ปิติ   เมื่อปิติ  จิตจะสงบนิ่ง    จิตเป็นสมาธิ (ไม่ใช่นั่งสมาธิ)   รู้เท่าทันความคิดที่มาปรุงแต่ง   จิตทรงความนิ่ง โง โปร่ง   จิตก็จะ "หงาย"ผึ่ง  เป็น อุเบกขา  เจ้าอุเบกขานี่แหละ คือ "จิตว่าง"  ค้นพบ หนทางพ้นทุกข์แล้ว  สติน้อยๆ ก็เปลี่ยนเป็นสติใหญ่  (มหาสติ)

ปุ  คือ เอาที่รับรู้ ไปเข้ากระบวนการ  เมื่อaction ก็จะพบ คำถาม   ถ้าเป็นทางธรรม ก็เอาไปปรึกษา โค้ช (หลวงปู่ หลวงพ่อ ที่เป็นครูอาจารย์)  แต่ ถ้า จิตหงายแล้ว จิตโล่งแล้ว   ตัว "ปุ"จะหายไป   เพราะ จิตว่างแล้ว  ความสงสัย (วิจิกิฉา) ไม่มีแล้ว   เข้าใจเรื่อง กายแล้ว  ละ สักกายทิฐิได้แล้ว     หมดวิจิกิจฉา   ค้นพบ อริยกันตศีล  เป็นอธิศีล  ศีลข้อเดียวของพระอริยเจ้า   หลุดจากความงมงายในศีล   (ละ ศีลพรตปรามาส)แล้ว  

ลิ  คือ  เมื่อ จิตว่าง  ค้นพบธรรมะที่แท้จริง  ประจักษ์แจ้งกลางอกกลางใจ  ก็จะ ลิขิตไว้ที่ใจ   ไม่ใช่ ลิขิตที่กระดาษ    เพราะ ลิขิตแบบนี้  เป็นการลิขิตที่ยากมาๆ   เป็น Deep tacit knowledge แบบไม่ลองไม่รู้

จะอ่าน ลิ  แบบ ปรมัถได้  ก็ต้องผ่าน  การเรียนรู้เชิงประจักษ์ (action learning)    ลงมือปฏิบัติ    จนจะพบ ปฏิเวธ

อย่ามัวแต่  ปริยัติ    จดๆ เขียนๆ อ่านๆ  กันมากนักเลย

คำสำคัญ (Tags): #สุจิปุลิ#actionlearning
หมายเลขบันทึก: 67851เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2006 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผมเห็นด้วยครับ แต่เราจะไปลักษณะแบบหินยานหรือเปล่า ที่เราจะไม่ค่อยมีเพื่อนนะครับ

บางทีเราอาจต้องการพลังภายนอก หนุน พลังภายในนะครับ

    ผมว่า พอหาหรือค้นพบเพื่อนที่มั่นใจว่าหันหน้าไปทางเดียวกัน  มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน .. ถือศีลสำคัญ 1 ข้อ คือ "รักผู้อื่น" เหมือนๆกันได้แล้ว จะปฎิบัติต่อกันอย่างไร หนักบ้าง เบาบ้าง  ตีแสกหน้ากันบ้าง รอยยิ้มก็จะยังคงอยู่ เพราะอย่างไรก็ไม่พ้น การกระทำ ที่เกิดจาก เจตนา ที่มีความ "รักผู้อื่น" เป็นฐาน.
อีกนิดครับ

    ปุ  คือ ถามแบบ ยังไม่ได้ทำ ไม่ได้ลงมือ  ถามแค่ What  when where why  ... แบบนี้เป็นของน่าเบื่อที่ยังมีให้เห็นอยู่มาก  แม้กระทั่งในห้องเรียน ไม่ใช่แค่มาจากผู้เรียนนะ .. ผู้สอนไม่น้อยก็ยังเพลินกันอยู่แถวๆนั้นแหละครับ

ศีลข้อเดียว นี่ ยากกว่า 227 ข้ออีกนะครับ

อจ Handy ใช้ "รัก"  เนี่ยใช่เลย

จะ รักได้   จิตต้องว่าง  เมตตา  จริงๆ   สติต้องดีจริงๆ มิฉะนั้น ตัวเกลียด มาแทรกแซง  ทันที 

ตามทีผม เล่าเรียนมานะครับ   ตอนที่จิตเราว่าง สงบๆ  จะเกิด พรหมวิหารสี่  แบบ อัตโนมัติครับ

ไม่เชื่อลองฝึกดูได้นะ

ในหนังสือ  บริหารองค์กรด้วยความรัก  เขียนโดย Tim Sanders  ( เจ้าของ Yahoo)   ก็ เน้นรัก   อย่าง  อจ Handy ครับ

ตรงกันอย่างไม่น่าเชื่อ !!!

Sander เขาเน้น 3 แบ่งปัน  คือ  

  • แบ่งปันความรู้  
  • แบ่งปันภาคี  
  • แบ่งปันความรัก 

ขอความกรุณาอาจารย์ไร้กรอบ ช่วยอธิบายคำว่า "ธรรมะวิจะเย" ได้ไหมครับ

อ่านคำนี้แล้วได้แต่รับรู้ แต่ไม่เข้า "ใจ"

เจริญพร อาจารย์

มีผู้ยกย่องอาจารย์ว่าเป็น "อรหันต์" ก็เลยเข้ามาดู อ่านงานของอาจารย์ ๒-๓ เรื่อง เจอเรื่องนี้ ก็ขอฝาก บาลีไว้ นะครับ

สุ.จิ.ปุ. ลิ. วินิมุตฺโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว

สุ.จิ. ปุ. ลิ. สุสมฺปนฺโน ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจเตติฯ

(ผู้ที่ห่างไกลจาก สุ จิ ปุ ลิ. จะพึงเป็นบัณฑิตได้อย่างไร ..ผู้ประกอบโดยชอบด้วย สุ จิ ปุ ลิ. จึงจะเรียกว่า บัณฑิตได้ ฯ)

สุ จงตั้งใจฟังอย่าขี้เกียจ

จิ คิดให้ละเอียดข้อสงสัย

ปุ ลืมหลงจงถามอย่าเกรงใจ

ลิ จำไม่ได้เขียนไว้ก็ดี..เอย.

ข้างบนนั้น เป็นแบบท่องหลังจากไหว้พระตอนเลิกเรียนบาลี ครับ ...ส่วนข้างล่างนี้ มาจากหนังสือปฐมจินดา ครับ (ไม่แน่ใจว่าจำคลาดเคลื่อนบ้างหรือไม่)

เริ่มเรียนให้เร่งรู้ทั้งสี่องค์ประมาณหมาย

หนึ่งฟังอย่าฟังดายให้ตั้งจิตกำหนดจำ

หนึ่งให้อุสาหะเอาจิตคิดพินิจคำ

หนึ่งห้ามอย่าเอื้อนอ่ำฉงนใดให้เร่งถาม

หนึ่งให้มันพินิจลิขิตข้อสุขุมความ

สี่องค์จึงทรงนามว่าศิษย์แท้ที่ศึกษา

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท