เริ่มทำวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายๆกันดีกว่า


การเริ่มต้นที่ดี ย่อมนำมาซึ่งชัยชนะและความสำเร็จอย่างงดงาม ต้องเริ่มต้นกันแล้วล่ะ เพื่อผลสัมฤทธิทางการเรียนรู้และมีการพัฒนาที่ยั่งยืน
เมื่อวานนี้เป็นวันแรกของการเรียนในปีการศึกษา 2550  นักเรียนกำลังกระตือรือร้น  ประกอบกับครูก็ยังมีงานไม่ล้นมือ 
ดังนั้น  เรามาเริ่มต้นการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างง่ายๆกันเถิด  
เริ่มจากการออกแบบทดสอบสัก 10 ข้อ  ที่ครอบคลุมเนื้อหาที่จะสอนนักเรียนในภาคเรียนที่ 1  โดยสรุปเนื้อหาออกมาเป็นรูปแบบของคำถามสัก 10 ข้อ  
ทำแบบง่ายๆ คือเลือกคำตอบ แบบ  4 คำตอบ   ถ่ายเอกสารดิจิตอลให้ครบจำนวนนักเรียน 
มีช่องสำหรับใส่คะแนนดิบและการจัดเข้ากลุ่ม  A  B  C  ที่นักเรียนได้ตามคะแนนที่ตั้งเกณฑ์ไว้  
เล่าหรือพูดให้นักเรียนเข้าใจว่า......ครูจะจัดกลุ่มให้กับนักเรียน  นักเรียนอยากจะเป็นคนเก่งของครู    ก็ต้องทำคะแนนให้ได้ 7 - 10
ส่วนนักเรียนที่ได้คะแนน   4-6 ก็จะเป็นเด็กปานกลาง  
และสุดท้าย 0-3 จะเป็นเด็กในกลุ่มต้อง.....ปรับปรุง 
การกระทำแบบนี้    เพื่อให้นักเรียนรู้และยอมรับขีดความสามารถของนักเรียนเองด้วย จะได้มีความคิดที่จะพัฒนาตนเองและเรียนรู้อย่างมีความหมาย
เวลาครูอ้อยจัดกิจกรรม  จะได้จัดได้ง่ายขึ้น   
เมื่อวานนี้ครูอ้อยเข้าสอนทั้งสิ้น 4 ห้องเรียน  และจัดกลุ่มนักเรียนในวันนี้  โดยให้นักเรียนได้รู้ขีดความสามารถของตนเองและของเพื่อนๆด้วย...
แล้วจะเขียนบันทึกในอันดับต่อไป
หมายเลขบันทึก: 96710เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2007 04:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

   ผมจะค่อยๆ ทำตาม เป็นระยะ

   คิดว่าจะได้ผลงานวิจัยง่ายๆ ซักชิ้นหนึ่ง

   อย่าทิ้งผมนะ ครับ   ฝากเนื้อฝากตัวด้วย

ดีใจจังเลยค่ะที่มีท่าน...นายวรชัย หลักคำ   สนใจ

  • เพราะงานวิจัยในชั้นเรียนแบบง่ายๆนี้  จะนำไปสู่งานวิจัยในชั้นเรียนที่มีคุณค่า  เพราะนักเรียนได้มีการพัฒนา  หากครูอ้อยสอนจริงจัง  เช่นวันนี้เป็นวันที่สองของการเรียน  นักเรียนชื่นชมกับตัวเองที่ได้รู้คะแนนและการจัดกลุ่มของตนเอง 
  • สังเกตจากการเรียนอย่างมีความหมาย  นักเรียนขมีขมันทำการบ้านและฝึกอย่างตั้งใจมากๆ  ครูอ้อยมีความสุข  ไม่เหนื่อยกายเลย  เพราะสบายใจที่ครูแบบเราได้ต่อสู้แล้ว  และมุ่งมั่นจะพัฒนานักเรียนในความรับผิดชอบของครูอ้อย   อย่างน้อยก็เป็นความภาคภูมิใจนะคะ

ติดตามมานะคะ...เราจะเดินไปข้างหน้าด้วยกันค่ะ..ขอบคุณค่ะ

นางเนตรหทัย เรืองสุข

search เข้ามาพบการทำงานของครูอ้อย แล้วสนใจที่จะขอเป็นผู้สังเกตการสอน แล้วจะพยายามทดลองใช้กับนักเรียนที่โรงเรียนตามสภาพปัญหาของโรงเรียนขณะนี้กำลังดำเนินงานใกล้เคียงกับที่ครูอ้อยทำ แต่แบบทดสอบใช้ 20 ข้อ และกำลังจัดกลุ่มเด็กตามความสามารถ จะติดตามผลงานนะคะ

                                       ขอบคุณ

สวัสดีค่ะคุณ..นางเนตรหทัย เรืองสุข

  • ดีใจและยินดีที่มีท่านสังเกตการสอนของครูอ้อย
  • ขณะนี้..ครูอ้อยจัดกลุ่มให้นักเรียนและแจ้งให้นักเรียนทราบแล้วค่ะ
  • ขั้นตอนต่อไป  ครูอ้อยต้องทำหนังสือแจ้งบ้านฉบับกันเอง  ให้ผู้ปกครองได้ทราบ  จะได้กระตุ้นให้นักเรียนสนใจอีกแรงหนึ่งค่ะ
  • ส่วนตัวครูอ้อยก็ออกแบบทดสอบที่จะเป็นเครื่องมือในการวัดก่อนเรียนและหลังเรียน  ในเรื่องตามหลักสูตรที่กำหนดค่ะ..เรื่องที่ 1 คือ  Me and My Family  รู้สึกว่า...ระยะนี้จะมีงานอื่นๆมาแจมอยู่เรื่อย
  • ที่โรงเรียนของท่านมีแบบนี้หรือเปล่าคะ...กำลังขมีขมันเรื่องนี้  ..มาอย่างอื่นมาขัดคอ  ทำให้แป้วไปเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ....

กำลังลองทำครับครูอ้อย แต่เป็นคุณครูนอกห้องเรียน

สวัสดีค่ะครูบัว....ครู บัว ทองกะไลย

  • ครูอ้อยแย่จัง...ตอบช้ามากค่ะ...ดีค่ะ..หากครูอ้อยก้าว 2 ก้าว  ก็ต้อทำตามนะคะ...อิอิ..ยิ้มยิ้ม

สวัสดีค่ะ...น้อง..ออต

  • เป็นครูที่ไหนก็ทำได้ค่ะ....คงไม่เปลี่ยนชื่อเป็น...วิจัยนอกชั้นเรียนนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ครูอ้อย ที่ว่าหนูต้องทำวิจัยนอกชั้นเรียนเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำงาน แต่ว่าหนูก้อไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหนดีนะค่ะ

รบกวนครูอ้อยช่วยแนะนำและส่งตัวอย่างให้ดูหน่อยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะน้องปลาทอง

วิจัยนอกห้องเรียน  แปลกดี และ ไม่แปลกหากจะทำ

จะเป็นวิจัย เชิงสำรวจ  ค้นหาสภาพปัญหาก่อนนะคะ

แล้ว ทำเครื่องมือ คือ แบบสอบถาม  ต้องเรียนรู้เรื่อง การสร้างแบบสอบถามด้วย

แล้ว ก็ศึกษาเรื่องกลุ่มตัวอย่าง ก่อนจะสำรวจ

แล้วจะทำเรื่องอะไรล่ะคะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

น้องเป็นมือใหม่หัดสอนค่ะ

มีคำถามขอถามครูอ้อยหน่อยค่ะ

คือถ้าเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเขียนภาษาอังกฤษของนร.

ที่เขียนยังไม่ค่อยถูก(เขียนตัวใหญ่บ้าง เล็กบ้าง)

แล้วน้องควรใช้นวัตกรรมแบบใดค่ะ จึงจะเหมาะสมที่สุด

ขอบคุณค่ะ

ขอตอบค่ะ

1. ต้องมีแบบสังเกต  ว่า  นักเรียน บกพร่องกี่เรื่อง

2. สร้างนวัตกรรม ให้สอดคล้องกับ ข้อบกพร่องของนักเรียน และ แบบสังเกตนั้น

3. แบบทดสอบก่อนและหลัง เพื่อ วัดความก้าวหน้าของนักเรียน

4. เครื่องมือ .....แบบสังเกตและนวัตกรรม แบบทดสอบผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

5. เปรียบเทียบก่อนและหลัง

ลองคิดตามนะคะ  สงสัยอะไร สอบถามได้อีกค่ะ

ขอบคุณที่ติดตาม....

6

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท