AAR : MSUKM-Panda UKM8 ที่ NU


การบันทึก AAR ในครั้งนี้จะเป็นการบันทึกในมุมมองของ หัวหมู MSUKM ที่ไปร่วมเสวนา UKM 8

msukm ukm8

  • การบันทึก AAR ในครั้งนี้จะเป็นการบันทึกในมุมมองของ หัวหมู ที่ไปร่วมเสวนา UKM 8ที่ ม. นเรศวร  จึงคาดหวังว่า
  1. ทีม MSUKM จะไปร่วมการเสวนาครั้งนี้ อย่างครบถ้วนและ ภาคภูมิใจ  ได้มีโอกาสพบปะ ลปรร. กับสมาชิกเครือข่าย UKM ทั้งเก่าและใหม่  คนที่เคยไปแล้วในครั้งก่อน ๆ ก็จะได้สานสายใยสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ส่วนท่านที่มีโอกาสไปร่วมงานครั้งนี้เป็นครั้งแรก ก็จะได้มีโอกาส พบปะ ลปรร. กับสมาชิกเครือข่าย และเก็บเกี่ยวประสบการณ์เพื่อนำมาใช้เพื่อพัฒนาตน  พัฒนางาน และ พัฒนาองค์กร ต่อไป   
  2. ได้เรียนรู้ขบวนการจัดการประชุมเสวนา UKM เปรียบเทียบกับการจัดครั้งที่ผ่านมา เพื่อนำมาต่อยอด หรือ ปรับใช้ในการจัดภายใน มมส. ต่อไป
  3. ได้ร่วมเรียนรู้ขบวนการและรูปแบบ จัดการอบรมคุณอำนวย ของทีมคุณอำนวยแห่งชาติ ของท่านน้อง JJ และ ทีมงาน จาก มอดินแดง

  • สิ่งได้มากกว่าที่คาดหวังคือ
  1. ในการเข้าร่วม การจัดอบรมคุณอำนวย ในวันที่ 2 พฤศจิกายน ได้มีโอกาสเพิ่มขึ้นโดยมี 2 ท่านเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยทีมคุณอำนวยแห่งชาติ จึงมีอีก 4 ท่านได้เข้าร่วมอบรมคุณอำนวย รุ่น UKM-Fa2 หรือ ที่ผมตั้งชื่อให้ว่า รุ่น PizzaJ
  2. ในการนำเสนอ เรื่องเล่าเร้าพลัง ที่แบ่งออกเป็น 8 กลุ่ม ๆ ละ ประมาณ 10 ท่าน จากต่างสถาบันเครือข่าย  เรื่องเล่าจากสมาชิก มมส. ได้รับเลือกให้เป็น Best Practice ถึง 2 กลุ่ม จาก 8 กลุ่ม
  • สิ่งที่ได้น้อยกว่าที่คาดหวัง คือ

ในการเข้าร่วมเสวนาครั้งนี้ มมส. เราเป็นเครือข่ายเดียวที่มีผู้เข้าร่วมไม่เต็มทีม ดังในรูปข้างบน ที่ถ่ายร่วมกับ ท่าน ดร. วิบูลย์  คุณเอื้อของ ม. นเรศวร เจ้าภาพจัดในครั้งนี้   การไปครั้งนี้ของ มมส. อาจเรียกได้ว่าไปในรูปแบบที่เข้ากับหัวข้อการบรรยายของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช มากกว่าเครือข่ายอื่น ๆ  คือ องค์กรเคออร์ดิก (CHAORDIC) คือมีความหลากหลาย ผสมผสานระหว่าง ระเบียบและความไร้ระเบียบ อย่างกลมกลืน  มีลักษณะ Self-organizing, Self-governing, Adaptive, Non-linear and Complex Changes Ability. <ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> สิ่งที่จะทำต่อไปก็คือ </div></li></ul><p>          1. จากประสบการณ์ที่ได้รับ นำมาปรับใช้เพื่อการ ดำเนินการด้านการจัดการความรู้ใน มมส. ให้เกิดผลต่อไป</p><p>            2. จากการประชุม ผู้แทนสมาชิกเครือข่าย UKM ที่ใช้เวลาประชุมเพียงประมาณ 15-20 นาที หลังอาหารกลางวัน หลังจากเรื่องแจ้งเพื่อทราบ จากการประชุมเมื่อ 15 กันยายน ที่ผ่านมาแล้ว ก็พิจารณา  กำหนดการ ห้อง UKM ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ (1-2 ธันวาคม 2549)  กำหนดการ เสวนาเครือข่าย UKM9 ระหว่างวันที่ 8 – 10 กุมภาพันธ์ 2550 โดยมี มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเจ้าภาพ  และ UKM10 จะเป็นที่ มหาสารคาม เป็นเจ้าภาพ โดยรายละเอียดให้ มมส. กับ ม. ราชภัฎมหาสารคาม ตกลงกันต่อไป  อีกเรื่องที่ตกลงคือ มหาวิทยาลัยที่จะทำหน้าที่ผู้ประสานเครือข่าย UKM ปี 2550 เป็น ม. นเรศวร ปี 2551 เป็น ม. ขอนแก่น และ ปี 2552 เป็น ม. มหาสารคาม จึงต้องดำเนินเพื่อเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดต่อไป</p><p align="left"> </p>

คำสำคัญ (Tags): #panda#ukm8#ukm-8#msukm#aar
หมายเลขบันทึก: 57513เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2006 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • อยากฟังเรื่องเรื่องเล่าจากสมาชิก มมส. ที่ได้รับเลือกให้เป็น Best Practice บ้างค่ะ
  • งานใหญ่รออยู่ข้างหน้า จะร่วมสร้างฝันให้ มมส.ต่อไปแน่นอนค่ะ

อาจารย์ PANDA คะ

      Thumbs Upยอดเยี่ยมค่ะ เดี๋ยวกลับไปเอา AAR ลง Blog บ้าง   แต่เอ..ทำไมต้องหัวหมูคะ  อย่างอื่นได้ไหม     

                                          - น้อง-

  • หัวหมูคืออะไร ช่วยเฉลยให้ทราบด้วยครับ
  • ขอบคุณครับ

..อาจารย์ครับ..หัวหมู จะเหมือนกับ หัวปลา ตามโมเดลทูน่า ไหมครับ มีหลายคนอยากรู้ครับ   การเข้าร่วมการจัดอบรมคุณอำนวยในวันที่ 2 พ.ย. 49 ผมจำได้ว่า อาจารย์ JJ บอกว่าเป็นรุ่นที่ 3 ครับ เลยไม่แน่ใจว่าสรุปเป็น 2 หรือ 3 ครับ.. และโอกาสต่อไปผมคงจะได้ AAR ตามมาครับ

กล้วย มมส

  • ขอบคุณ อ.panda ที่เก็บตกเรื่องราวมาฝาก 
  • หัวหมู คืออะไร  อ้อก็สงสัยกะเขาเหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณทุกท่านครับ ที่แวะมา และ ผ่านการทดสอบ ขั้นที่หนึ่ง ที่สงสัย หัวหมู กัน
  • นึกว่า ท่าน Beeman  ท่านขจิต หรือ ท่าน Handy จะช่วยเข้ามาเฉลย เสียอีก......รอประเดี๋ยวนะครับ......อิอิ
  • กับดักได้ผลครับ......ฮา

 Nap Turkey พี่ปานดา

 สงสัยทำไมไม่มองกล้องครับ





สวัสดีครับท่านอาจารย์ Panda  และเหล่าบรรดามิตรสหาย

  • หัวหมู คือส่วนหัวของไถ  ที่ใช้ไถนา เป็นเหล็กแหลมรูปสามเหลี่ยมที่สวมเข้ากับตัวไถซึ่งทำด้วยไม้ ผมเดาเอาเองว่า ที่ชื่ออย่างนั้นเพราะมีอาการคล้ายกัน คือหมูมักใช้ปาก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหัว มุด ไถ ดินเพื่อหาของกินครับ
     
    ของแถม
         เคยมีคำทาย ได้ยินมาตอนเป็นเด็ก ว่า หัวหมู กับ เหล็ก อะไรแข็งกว่ากัน ? คำเฉลยคือ หัวหมู ครับ เหตุผลคือ หัวหมู จริงๆ ใช้ดันใช้ขุดดินมาแต่ตัวน้อยๆ ไม่มีสึก กลับยิ่งโต ส่วน เหล็ก  เช่นที่เอามาทำ หัวหมู ของไถนั้น ไถไปไม่เท่าไรก็สึกกร่อนให้เห็นชัดเจนครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท