Always Connect to the Source


Always Connect to the Source

ปรัชญาที่เรียบง่ายประการหนึ่ง ที่มักจะถูกละเลยก็คือ จะทำอะไรก็ตาม ขอให้เราคงไว้ซึ่งสาเหตุ ที่มา ความหมาย แห่งการคงอยู่ตัง้แต่เบื้องต้นกำเนิด

 

ในการศึกษาที่หลากหลายมากขึ้น เป็น semantic มากขึ้น คือ เน้น wording เน้นทฤษฎี เน้นการตีความ เอาภาษาเป็นโซ่พันธนาการความรู้ ที่แต่เริ่มต้นมีเจตน์จำนง์อันสูงส่ง งดงาม เลยไปติดกับดักที่การตีความ ความเป็น expert ลดหย่อนหน้าท่ีความสำคัญที่เชื่อมโยงจิตวิญญาน ซึ่งน่าจะเป็นหน้าที่ของทุกคน ไปให้ "ตัวแทน" หรือ "ผู้เชี่ยวชาญ" ซึ่งควรมีหน้าที่เป็นคนแนะนำ ให้คำปรึกษาเท่านัน้ แต่บ่อยครั้งกลายเป็นผู้ฟันธง ผู้จำกัดความ

จนคนส่วนใหญ่หลุดพ้น ห่างไกล จาก The Source โดยไม่รู้ตัว หรือไม่ชัดเจนมาตั้งแต่แรกเริ่มว่า "the source" ของตนเองนั้นคืออะไร

เดี๋ยวนี้เราใช้อารมณ์มาก ซึ่งถ้าแค่นั้น ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร แต่ถ้าไปถึงจุดที่เราเป็นทาสแห่งอารมณ์ ตรงนั้นจะเป็น turning point ที่เรามอบภาระการตัดสินลงไปอยู่ที่สมองชั้นกลาง หรือ limbic system และ bypass หรือ ลดความสำคัญและหน้าที่ของสมองส่วนหน้า ที่มีหน้าที่คิด วิเคราะหฺ ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง contemplate ลงไป สุดท้ายจะเป็นการ "ลดศักยภาพของมนุษย์" ของตัวเราไปมากน้อยเพียงใด?

 การมีและใช้กฏหมาย ก็ไม่ได้เป็นการการันตีว่าเราจะทำตามหลักการเสมอไป กฏหมายทุกฉบับเขียนมาโดยมีกรอบของภาษาเป็นเครื่องมือสื่อสาร และกฏหมายเป็นสิ่งที่ออกแบบมาเพื่อปรัชญาและคุณค่าที่เป็นนามธรรม นั่นคือ "ความยุติธรรม และความสงบสุขของสังคม" เป็นสมดุลระหว่าปัจเจกบุคคลและชุมชนส่วนรวม เรื่องแบบนี้เป็นองค์รวม และเป็น context-based issue ทั้งสิ้น

การหลับหูหลับตาตัดสินเรื่องราว ตามตัวหนังสือ ตามสิ่งที่ได้บันทึกไว้เป็นร้อยๆ พันๆปี หรือนานกว่านั้น ไม่ได้คำนึงถึงระบบภาษาที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้คำนึงถึงบริบท และไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบตามมา ในภาพใหญ่ อาจจะเป็นอวิชชา ความหลง จาก โลภะ โมหะ หรือโทสะ ก็จะไม่เกิดผลดีอย่างที่ออกแบบ เขียนบันทึกมาแต่แรกเริ่ม

เรื่องบางเรื่องเรารับรู้ว่าจริงแท้แน่อน ถามใครก็บอกว่าใช่ แต่นั่นอาจจะเป็นการเดินตกลงไปในกับดัก

กับดักนี้ชื่อว่า "Stuck with one fact/one view. Stuck with one US/ one them

ตัวยาที่จะป้องกัน และตัวยาที่จะเยียวยา ก็คือ กลยุทธ์ต่างๆ ทำอย่างไรก็ได้ ที่เรามองกลับมาแล้ว เรายังอยู่บนแผนที่ ยังเดินทางบน [ath of moral excellence ยังอยู่บนวิถีจิตตื่นรู้ ใจกระจ่าง และเจตน์จำนงค์ดั้งเดิมอยู่ ไม่ได้หลุดออกไปนอกวงโคจร


 

คำสำคัญ (Tags): #connect#the source
หมายเลขบันทึก: 153975เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2007 17:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ในตอนทำ workshop สุนทรียสนทนาที่ รร.หาดแก้ว ให้กับอาจารย์คณะแพทย์ สงขลานครินทร์เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา หมอวรวุฒิ ได้โยน "คำถามตัวกวน" ที่ทรงพลังมาให้ participants ขบเคี้ยว ใคร่ครวญ คือ

"คณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์ มีมาเพื่ออะไร? และการที่คณะฯ และมหาวิทยาลัย ใช้ชื่อ "สงขลานครินทร์" นั้น หมายความว่าอย่างไร และคนที่อยู่ในองค์กรนี้ มีความคิด และรู้สึกอย่างไร?"

กลับไปสู่ The Source กันใหม่.......

.......................................................

.............................................

................................... 

 สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

 P

ต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือมหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบ ซึ่งมีคณะที่หลากหลายทางวิชาการ (Comprehensive University) ใช่ไหมคะ หมายถึงทั้งมหาวิทยาลัยนะคะ

สวสัดีครับ คุณ sasinanda

ผมก็ไม่ได้เช็คหรอกครับว่า จริงๆแล้วตามประวัติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตั้งมาโดยมีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง แต่ใน workshop นี้ ที่น่าสนใจก็คือ แต่ละคน (staff) ก็ให้ความหมายแตกต่างกันไป ไม่ใช่ความหมาย หรือ motto ที่เขียนไว้ แต่เป็นความหมายส่วนตัว ที่แต่ละคนเป็นคนให้ และนำมาสะท้อนว่า ความหมายแบบนั้นๆ มีผลต่อพฤติกรรมการทำงาน คุณค่าการทำงาน และ virtue ของแต่ละคนหรือไม่ อย่างไร

เราจะตั้งความหมาย official อย่างไร ก็จะไม่เท่า "ความหมายส่วนตัว" ที่แต่ละคนรับรู้จริง และออกมาเป็น integral personality ของแต่ละคน 

 ความเห็นส่วนตัว คิดว่า ต้นกำเนิดของมหาวิทยาลัยต่างๆ  น่าจะมีความคิดที่อิงปรัชญาและความจำเป็นเป็นเริ่มแรกใช่ไหมคะ

ต่อมาก็เกิดเป็น พันธกิจมหาวิทยาลัยขึ้น

อาจารย์ไม่เล่าต่อเหรอคะ เพราะคงไม่มีใครทราบ ความหมายส่วนตัวค่ะ

เพราะพอเวลาผ่านมานานๆเข้า

ปรัชญาเริ่มแรกอาจถูกทำให้บิดเบือนจนไม่สอดคล้องกับปรัชญาที่แท้จริงของมหาวิทยาลัยที่มีตั้งแต่แรกก็ได้ค่ะ

อยากให้มีการนำความรู้

เกี่ยวกับ

อวัยวะในร่างกาย

มาลงได้ไหมคะ

ทุกส่วนยิ่งดีค่ะ

เพราะว่า

เด็กบางกลุ่ม

ต้องการนำมา

ทำรายงานคะ

ถ้ายังไงแล้ว

โพสตอบด้วยนะคะ

หวังดีกับเด็กๆค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท