“พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม มน.” กับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด


ในระดับปฏิบัติจากอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกและจากนักวิจัยจาก มน. ได้ช่วยกันคิดและตั้งความมุ่งมั่นไว้ร่วมกันแล้ว ขณะนี้ก็เหลือแค่ระดับนโยบายจากระดับที่สูงขึ้นไปที่จะช่วยให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุน ช่วยกันทำให้ฝันเป็นจริง

         ความจริงความสุขของคนเราก็หาได้ไม่ยากนัก เพียงแค่ได้เห็นโอกาสและคิดว่าจะช่วยกัน “สานฝันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้เป็นจริงให้ได้” ก็ทำให้เกิดปีติสุขได้แล้วครับ

         วานนี้ (พฤหัสบดีที่ 6 ก.ค. 49) เวลาประมาณ 16.00 น. ถึง 18.00 น. เป็นวันเวลาที่น่าบันทึกจดจำไว้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวความคิดที่สำคัญอันหนึ่ง ในการเชื่อมโยงงานวิจัยของ มน. ไปสู่การพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกและกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (กลุ่ม 1)

         เราเริ่มต้นประชุมกันประมาณ 16.00 น. ตัวผมเองอยู่ในสภาพที่ล้ามากจากหลายประชุมในช่วงก่อนหน้านั้นของวันนั้น < Link >ทำให้ช่วงต้น ๆ ของการประชุมดูเนือย ๆ แต่พอหลังจากจับประเด็นสำคัญได้ก็ทำให้เกิดอาการตาใส กระปรี้กระเปร่า มีความหวังขึ้นมากันทุกคน

         เป็นประชุมที่อยู่นอกเหนือตารางเวลาเดิมของผมในวันนั้น ผมได้รับแจ้งว่าท่านอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกและทีมงานจะมา “ปรึกษาหารือกันต่อ” ที่งานวิจัย (ชั้น 6 ตึก CITCOMS) ในตอนเย็น เนื่องจากตามตารางเวลาผมจะว่างตอนนั้น น้อง ๆ ทีมงานที่งานวิจัย (คลินิกเทคโนโลยี) ก็เก่งมากที่ช่วยประสานงานนัดนักวิจัย มน. ที่น่าจะเกี่ยวข้องมาร่วมประชุมด้วย โดยที่ผมไม่ต้องบอกหรือขอร้องอะไรเลย รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมดผมขอบันทึกไว้ในช่วงท้ายครับ

         ที่ว่า “ปรึกษาหารือกันต่อ” เนื่องจากเราพูดคุยกันมา 3-4 รอบแล้วเกี่ยวกับโครงการ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งอุตสาหกรรม” และ “หนึ่งกลุ่มจังหวัดหนึ่งอุตสาหกรรม” ซึ่งเดิมเราเลือก “กล้วย” สำหรับจังหวัดพิษณุโลก และเลือก “อ้อย” สำหรับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง (กลุ่ม 1) แต่เนื่องจากเมื่อส่งรายละเอียดไปพิจารณาในระดับประเทศแล้ว เขาส่งกลับมาให้ทบทวนเรื่อง “อ้อย” เนื่องจากกิจกรรมจะไปซ้ำซ้อนกับที่ภาคเอกชน (โรงงานน้ำตาล) เขาทำกันอยู่แล้ว จึงต้องนำกลับมาปรึกษาหารือกันใหม่อีกรอบ

         เราเริ่มต้นกันที่โจทย์สำคัญที่ให้ช่วยกันคิดในเรื่อง “อ้อย” คือ “ทำอย่างไรโครงการนี้จึงจะช่วยชาวบ้าน (ที่ปลูกอ้อย) มากกว่าที่จะไปช่วยเพิ่มกำไรให้กับโรงงานน้ำตาล (เพียงอย่างเดียว)” เราพูดกันถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำเกี่ยวกับการปลูก การขยายพันธุ์ การเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกของอ้อย และเชื่อมโยงมาถึงนโยบายพลังงานของชาติเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานทดแทนจากแอลกอฮอล์และจากแหล่งอื่น ๆ จนกระทั่งสุดท้ายมาสรุปกันว่า “อ้อย” น่าจะเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งเท่านั้นที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านพลังงานและเศรษฐกิจของคนในเขตภาคเหนือตอนล่าง ความจริงแล้วยังมีอีกหลายแหล่งพลังงานที่เราสามารถนำมาวิจัยและใช้ประโยชน์จากมันได้ พอถึงจุดนี้ผมเริ่มตาสว่าง (ยอมรับว่าช่วงแรกเหนื่อยและง่วงมาก) จึงลองขอเปลี่ยนประเด็นสำคัญจาก “อ้อย” มาเป็น “พลังงานทดแทน” แทน

         เท่านั้นแหละครับ ทุกคนดูมีความหวังเพิ่มขึ้น ความคิดความอ่านแต่ละคน “กระฉูด” ออกมามากมาย ที่อยากจะช่วยกันพัฒนาให้ภาคเหนือตอนล่างเป็น “ต้นแบบ” ของการวิจัยและพัฒนาเรื่อง “พลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม” เพื่อการพึ่งพาตนเองทั้งในด้านพลังงาน สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของคนในเขตภาคเหนือตอนล่าง เรานัดที่จะทำอะไรต่อกันอีกหลายอย่าง

         ในระดับปฏิบัติจากอุตสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลกและจากนักวิจัยจาก มน. ได้ช่วยกันคิดและตั้งความมุ่งมั่นไว้ร่วมกันแล้ว ขณะนี้ก็เหลือแค่ระดับนโยบายจากระดับที่สูงขึ้นไปที่จะช่วยให้ความเห็นชอบและให้การสนับสนุน ช่วยกันทำให้ฝันเป็นจริง

         เราเลิกประชุมกันด้วยความหวังและความสุขมากครับ

         ผมขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณามาเข้าร่วมประชุม ดังนี้ครับ

         1. ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร
             รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ

         2. ผศ.ดร.เสมอ  ถาน้อย 
             ผู้ช่วยอธิการบดี

         3. ผศ.ดร.ศจี  สุวรรณศรี 
             ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนเรศวร

         4. นายอุดม  มะโนเครื่อง 
             อุสาหกรรมจังหวัดพิษณุโลก

         5. นายเสรี  บุญอยู่ 
             เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ว.

         6. ผศ.วิจิตร  อุดอ้าย 
             ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

         7. ดร.อนุสรณ์  วรสิงห์ 
             ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

         8. ดร.นิพนธ์  เกตุจ้อย 
             รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการวิทยาลัยพลังงานทดแทน

         9. นางจรินทร  จันทร์นฤมล 
             หัวหน้างานวิจัย

         10.นางสาวเอมอร  สารเถื่อนแก้ว 
             งานวิจัย

         วิบูลย์ วัฒนาธร

.

หมายเลขบันทึก: 37565เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 10:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เรื่อง พลังงานทดแทน โดยเฉพาะพลังงานทดแทนจากพืช เป็นฝันของผมกับพวก เมื่อหลายปีมาแล้วครับ  แต่ตอนนี้กลุ่มนี้แยกกันไปแล้วครับ (เศร้า)
  • ข้อมูลเบื้องต้น อยู่ที่นี่ ครับ เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะได้บ้าง

กังหันลม
ข้อความ : ถ้าสนใจอยากดูของจริงที่สามารถ สูบน้ำ ปั่นไฟฟ้า ทำงานพร้อมกัน ไปใช้งานได้จริงๆเชิญชมตัวอย่างของจริง ขนาด 4 ใบพัด 6 ใบพัด ได้ที่ วัดป่าอัมพวัน อ.เมือง จ.ชลบุรี เพราะผมไปช่วยท่านเรื่องระบบแปลงไฟฟ้า ที่เก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ที่ผลิตได้จากพลังงานลม แล้วแปลงกระแสไฟฟ้า dc เป็น 220 vac สำหรับใช้กับระบบแสงสว่าง บริเวณวัดสวยงามติดภูเขามีอ่างเก็บน้ำสวยงามมาก ถ้าสนใจโทรคุยรายละเอียดกับผมได้ที่ 06 7049941 ไม่เกิน 22.00 น.

http://board.dserver.org/w/webdoae/00002052.html

http://thaiwindmill.multiply.com/

http://thaiwindmill.multiply.com/photos

  • พลังงานทดแทน(พลังงานจากแรงโน้มถ่วง)  การรวมแรงธรรมชาติ4ชนิดให้กระทำต่อมวล 1หน่อย ทำให้มวลนั้นเปลี่ยนค่าพลังงานศักย์เป็นพลังงานกล เราก็จะมีพลังงานใช้ได้ต่อไปในอนาคต โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเลย
โครงการ."หนึ่งตำบลหนึ่งโรงงานผลิตไฟฟ้า"สนใจติดต่อ 09-122-5880 nin.

ยินดีสนับสนุนครับ ดูวันที่ ที่ลงมาใน blog ก็นานมาแล้ว แต่ก็สนับสนุนเต็มที่ ส่วนของผม ก็ขอประชาสัมพันธ์หน่อย

--------------------------

ผมขอแจ้งหน่อยว่า การอบรมเรื่องการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เรา เปิด

อบรมฟรี 2 วัน มีอาหารพร้อม โดยจิตสำนึกของเรา ท่านมาฟรีได้เลย รอบละ 15

คน ไม่เกิน 20 คน และท่านจะเห็นว่าของฟรี มี ในโลก เดือนละ 1 รอบเท่านั้น

ครับ เพราะเป็นโครงการที่แผนกพลังงานทดแทนของโรงเรียน มีงบให้ท่าน

อย่าให้โอกาศดีๆแบบนี้หลุดมือไป มาอบรมแล้ว ไม่ทำแต่ไปบอกต่อ ผมก็ดีใจ

แล้วครับ ที่ช่วยให้โลกลดร้อนไปได้ อีก 15 คน/เดือน และคงมีหลายๆท่านใน

แต่ละรอบที่มาด้วยใจรัก กลับไปทำไฟ จากแสงอาทิตย์ ใช้ หรือจะพัฒนา สูบน้ำ

ในสวนเกษตรก็ได้สบายมากครับ โทรมาถามที่ 081-8241332 ครับ หรือที่

โรงเรียนศูนย์ฝึก 02-8943134 0819040617 ก็ได้ครับ (จะรู้ว่าของฟรี มีจริง

ในโลกนี้)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท