โมเดลการวิจัยแบบ "I Think" Model ----> "I Do" Model


แล้วคุณคิดว่าเมืองไทยเราจะปรับโมเดลสองโมเดลนี้อย่างไรเพื่อให้มีผลผลิตที่แท้จริงบ้างครับ ลองมองกันเล่นๆ ครับ

สวัสดีครับทุกท่าน

          วันนี้ขอนำเสนอ โมเดลที่ หลายๆ ท่านคุ้นเคยกันดีนะครับ โมเดลที่ว่านี้คือ

  1. "I Think" Model โมเดลนี้จะมีความสำคัญมากในการนำเสนอ ในสิ่งที่ตัวเองคิด คิดว่า เป็นอย่างนั้น อย่างนี้  อืม...กระผมคิดว่า มันเป็นแบบนั้น....
    เมื่อเกิดเหตุอะไรขึ้นมาในบ้านเมือง ก็จะมีโมเดลเหล่านี้เกิดขึ้นเต็มไปหมดครับ โดยเฉพาะในวงวิชาการ โดยการถ่ายทอดออกทางสื่อ ตามแนวทางที่ ข้าพเจ้าคิด และว่า I told you ......, I think ....., I.....

  2. "I Do" Model โมเดลนี้ เป็นโมเดลที่เกิดจาก "I Think" Model แต่ไม่ใช่แค่ "I Think" แล้วนำไปทำต่อกันด้วย ทำให้เกิดการรู้แจ้งเห็นจริง ผิดถูกอย่างไร ก็ต้องไปทำ "I Think" Model มาใหม่แล้วมาวนทำซ้ำที่ "I Do" เพื่อหาคำตอบที่แท้จริง

 แล้วคุณคิดว่าเมืองไทยเราจะปรับโมเดลสองโมเดลนี้อย่างไรเพื่อให้มีผลผลิตที่แท้จริงบ้างครับ ลองมองกันเล่นๆ ครับ

ขอบคุณมากครับ

เม้ง สมพร ช่วยอารีย์

คำสำคัญ (Tags): #i do model#i think model#research
หมายเลขบันทึก: 91283เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2007 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 เมษายน 2012 20:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ความจริงสำคัญทั้งสองบทบาทครับ

ทั้ง

I do และ I think

ผมมองว่าบทบาททั้งสองกลุ่ม เป็นบทบาทที่ตนเองเชี่ยวชาญเฉพาะ

  • กลุ่มนักคิด...ก็คิด ฝัน คิดนวัตกรรม คิดนโยบาย และสำคัญที่สุดไม่เพ้อฝันครับ คิดภายใต้ฐานข้อมูล ฐานความรู้  และคำนึกถึงศักยภาพกลุ่ม I do เป็นสำคัญ
  • กลุ่มปฏิบัติการ...อาจชำนาญในการปฏิบัติ สร้างนวัตกรรม ลงมือทำ ไม่รีรอ แต่ได้แนวคิด วิธีการจากกลุ่ม I think

 แต่แนวทางที่เป็นไปและผมคิดว่ายั่งยืนคือ

  • คิดและทำไปด้วยกันครับ Think and Do

ช่วยกันคิด และช่วยกันทำ ภาระงานขนาดไหนแล้วแต่ความถนัด ว่าด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น Community based research  เราก็เดินตามแนวนี้ เราช่วยกันคิด และเราก็ช่วยกันทำ เสร็จแล้วร่วมกันรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น...มันไม่ได้อย่างที่คิดไว้ ก็ทำใหม่ หารูปแบบที่ดีกว่า

 

"ปี้ฮู้สอง น้องฮู้หนึ่ง" (พี่รู้สอง น้องรู้หนึ่ง)

เป็นสุภาษิตทางเหนือ แสดงถึงวัฒนธรรมด้านการคิด ที่คิดร่วมกัน ให้ได้ความคิดที่หลากหลายเปิดใจ เพื่อได้ข้อมูลในการตัดสินใจ

"หยะก๋ารคนเดียวเกือบตาย หยะก๋ารคนหลายเหมือนเล่น"(ทำงานคนเดียวเกือบตาย ทำงานคนเยอะเหมือนกับเล่น)

เป็นสุภาษิตทางเหนือ ที่แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน การทำงานโดยร่วมมือ ร่วมใจ งานใหญ่สำเร็จไม่ยากนัก

"จ่วยกั๋นกึ้ด จ่วยกั๋นสร้าง"(ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ)

เป็นคำพูดที่ได้ยินบ่อย เป็นภาษาถิ่นเหนือ ที่ให้ความสำคัญในการช่วยกันคิด และช่วยกันทำด้วย งานใหญ่ก็สำเร็จลงได้ทั้งการระดมความคิด และกำลังครับ

 

ผมขอยกมาประกอบบันทึกของคุณเม้งครับ

P

สวัสดีครับคุณเอก

  • ขอบคุณมากครับ ที่เข้ามาเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นนะครับ
  • เป็นไปได้ไหมครับ ที่นักคิดกับนักทำคือคนๆเดียว ให้อยู่ในสมองใบเดียวกันครับ
  • บางทีเหมือนว่า คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ได้คิด ผมเลยคิดว่าทำอย่างไรให้คนคิดได้ทำ คนทำได้คิด ทำกันทั้งคิดและทำ คิดกันทั้งคนทำและคนพูด
  • ชื่นชมกับโครง CBR ที่คุณเอกทำอยู่ครับ 
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณเม้ง

 ส่วนใหญ่ที่เห็นมา และที่ใกล้ๆตัวเองก็มีคือ นักคิด ชอบคิด บางทีกู่ไม่กลับ แตกยอดไปเรื่อย น้อยคนที่คิดด้วยทำด้วย

ที่ทำด้วยนี่ ต้องทำให้สำเร็จนะ ส่วนใหญ่ นักคิดจะลองๆทำ ไม่นานก้เลิก

ขอไปใช้เวลาคิดต่อค่ะ

ผมก็เป็นคนประเภทชอบคิด แต่ไม่ค่อยได้ทำเท่าไหร่ ไม่ดีเลยเนาะ...

ดีน้องบ่าว เม้ง

     เป็นกระทู้ที่กระตุ้นต่อมสมองดีครับ  จะลองคิดเล่นๆดูครับ   

P
  • ขอบคุณมากเลยครับ ตัวอย่างดีๆ เกี่ยวกับสุภาษิตทางเหนือครับ
  • ได้เรียนรู้ภาษาเหนือด้วยครับ อิๆ ยอดไปเลยคับ
  • ขอบคุณมากครับ
P

สวัสดีครับคุณ sasinanda (เขียนภาษาไทยอย่างไรครับ)

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ สำหรับข้อคิดเห็น
  • เห็นด้วยเลยครับ ว่าต้องคิด จากนั้นก็ทำใช่ไหมครับ แล้วทำให้เห็นจริง ว่านำไปใช้ได้ด้วยใช่ไหมครับ
  • ทำแล้วล้มเหลวก็ได้ประสบการณ์ใช่ไหมครับ แต่ต้องไม่ถอยใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ
  • พี่เม้งคะ
  • เท่าที่หว้าเห็นมา จะพบพวก I think เยอะมากค่ะ  เสนอไอเดียต่างๆมากมาย  เวลามีการประชุม
  • แต่จะมีสักกี่คนที่ I  do 
  • อยากให้สังคมเรามีทั้งคนที่ขยันคิดและขยันทำด้วยค่ะ    ทุกวันนี้มีแต่พวกจอม project
P

สวัสดีครับ อ.ย่ามแดง

  • ขอบคุณมากครับผม
  • สิ่งที่ อ.ย่ามแดงคิด แล้วสื่อออกมานั่นก็คือการทำแล้วครับผม ผมเห็นหลายๆ อย่างนะครับ แม้ว่าจะได้รู้จักไม่นานก็ตามครับ
  • นักคิดมีความสำคัญ อาจจะต้องคิดแบบที่คุณเอกว่าครับ
  • คิดกับทำต้องประสานกันครับ เหมือนที่เค้าว่า คิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น ใช่ไหมครับ
  • ช่วยกันคนละไม้ละมือ ช่วยเท่าที่ช่วยได้ นี่ก็น้ำใจงามมากแล้วครับ
  • ที่สำคัญคือ เจตนาที่ดีครับ
  • ขอเป็นกำลังใจครับ อ.ก็อยู่ในสาขาพัฒนาสังคม อันนี้ โมเดลคิด และโมเดลทำ ประสานกันแล้ว รับรองยอดแน่ๆ อันนี้อาจารย์รู้มากกว่าผมครับ
  • ขอบคุณมากนะครับ
P

สวัสดีครับพี่แสงตะวัน

  • ขอบคุณมากๆ ครับพี่
  • ผมว่าโมเดลคิดและทำ จะสำคัญมากๆ เลยครับ ในการพัฒนาชุมชน อันนี้พี่สัมผัสได้ดีกว่าผม
  • เพราะสภาพที่ผมเป็นอยู่ตอนนี้คือการคิดทำในกรอบส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ บางอย่างก็คิดไปอย่างเดียว หลายอย่างที่คิดไว้แต่ยังไม่ได้ลงมือทำ ต้องกลับไปก่อนครับ
  • แต่ตอนนี้ได้พลังใจมากมายเลยครับ จากเครือข่ายที่นี่ครับ
  • การทำของผมเน้นศรัทธานำครับ (บ้าพลังหรือเปล่าครับ)
  • ขอบคุณพี่มากนะครับ
P

สวัสดีครับ อ.ลูกหว้า

  • ขอบคุณมากๆ เลยครับผม สำหรับข้อมูล
  • คือเป็นธรรมดานะครับ ที่คนคิดมากกว่าคนทำ หรือคนพูดมากกว่าคนทำ
  • เพราะว่าต้องคิดก่อน ถึงจะทำ ดังภาษิตที่ผมดัดแปลงเอานะครับว่า

    คิดแต่ไม่ได้ทำ คือไร้ผล

    ทำแต่ไม่ได้คิด คือไร้ราก


  • ดังนั้น รากกับผลก็จะต้องเชื่อมโยงกัน คิดกับทำก็ต้องโยงกันเช่นกันครับ
  • แต่หากคิดแล้วได้ทำ จะยอดมากๆ ครับผม ทำในที่นี่ เป็นการนำเสนอสิ่งที่คิดเพื่อนำไปสู่ความจริงนะครับ เราอาจจะต้องเริ่มที่เราทำก่อนครับ เหมือนที่ อ.ลูกหว้าทำอยู่ไงครับ วันหนึ่งคนอื่นเห็นว่าดี ทุกอย่างก็จะดีเป็นพลังคิดพลังทำร่วมครับ ใช่ไหมครับ
  • ก็จะเกิดเป็นพลังไทย ให้เกิดผลที่หวานในไทยได้ใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากๆ นะครับผม
  • ท่านใดที่โมเดลอื่นจะเสริม ก็เสริมได้เลยนะครับ เปิดกว้างอิสระ เสมอครับ อาจจะได้โมเดลที่จะได้ช่วยชาติได้ครับ
  • ผมยิ่งบ้าพลัง เรื่องช่วยชาติอยู่ครับ ตอนนี้ (อย่าเพิ่งหมั่นไส้ผมนะครับ) อิๆ
  • ผมชอบบันทึกนี้ของ อ.เม้งมากเลยครับ

    ในความคิดผมวิธีการลดพวก "I think" ออกจากประเทศไทยแล้วเพิ่มพวก "I do" คือ

    เปลี่ยนวัฒนธรรมไทยให้เลิกยกย่องพวก "I think" ครับ และมาชื่นชมพวก "I do" แทน

    พวก "I think" แต่ไม่ "I do" ด้วยนี่ต้องทำให้กลายเป็นตัวตลกของสังคมไปเลย

    ส่วนพวก "I do" นี่ต้องทำให้รู้ว่าความผิดพลาดที่เกิดจากการ "do" นั้นเกิดขึ้นได้ การพยายามทำแล้วผิดนั้นน่ายกย่องมากกว่าการไม่ทำอะไรเลยเอาแต่พูดอย่างเดียว

    วัฒนธรรมไทยนี้ต้องเปลี่ยนครับ

    มีคนพยายามสร้างวัฒนธรรมว่าผู้พูดแต่ไม่ทำนั้นมีเกียรติ โดยให้เหตุผลว่า

    "ท่านเป็นคนไม่ติดในยศตำแหน่ง จึงไม่ยอมรับตำแหน่งเพื่อทำงาน"

    ผู้คนก็หลงยกย่อง "นักคิด" เหล่านี้ โดยลืมไปว่าการ "ไม่ยึดติด" นั้นคือการ "เลี่ยงงาน"

    พวก "นักคิด" เหล่านี้ทำลายประเทศไทยอย่างรุนแรงที่สุด เพราะทำให้ประเทศขาดทิศทางในการพัฒนาและการทำงาน

    ในทาง KM ควรเรียกว่าพวก "นักทำลายหัวปลา" ครับ

    ผมเองพยายามทำลายวัฒนธรรมเอาแต่คิดไม่ยอมทำให้คนรุ่นหลังรู้ว่าเป็นวิธีทำที่ไม่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง และควรเห็นว่าเป็นตัวตลกของสังคม

    ผมอยากเห็นคนไทยชื่นชมคนทำงานจริงครับ 

    P

    สวัสดีครับท่านอาจารย์ธวัชชัย

    • ขอบคุณมากเลยครับ ที่อาจารย์ให้เกียรติเข้ามาแสดงข้อคิดเห็นที่นี่ (เพราะปกติผมเกรงใจอาจารย์มากๆ เลยนะครับ ขอบคุณมากๆนะครับ)
    • ดีใจครับที่อาจารย์ให้ข้อคิดหลายๆ อย่างในเรื่องนี้
    • เรื่องโมเดลสองอันนี้ คงต้องร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำมาสู่การต่อยอดทางความคิดให้คนคิดได้มีโอกาสทำด้วยครับ โดยเฉพาะผู้ที่มีโอกาสคิดมากๆ ก็ต้องให้ปรับไปสู่การทำแบบยั่งยืนด้วยครับ
    • จริงในประเทศเราเองก็มีกลไกในการพัฒนาระบบอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องเชื่อมทุกระบบให้เชื่อมต่อกันให้ได้ครับ ผมมองว่าเราแต่ละคนก็มีท่อน้ำ ใหญ่และยาว บรรจุน้ำได้ต่างกันครับ
    • แต่ต้องเอาท่อน้ำนั้นมาเชื่อมต่อกันเพื่อให้เป็นเครือข่ายทางความคิดและต้องทำให้น้ำในแต่ละท่อไหลไปด้วยกันได้เป็นเครือข่ายท่อน้ำไหล เพื่อผลักดันแรงดันน้ำให้เกิดในระบบท่อ เพื่อนำไปสู่พลังการทำที่แท้จริง
    • ในเรื่องนี้คงได้ถกกันยาวเลยครับ จริงๆ แล้วระบบสื่อของไทยสามารถจะทำได้แบบนำประเทศไปสู่อีกมิติหนึ่งครับ ที่จะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนคิดและทำกันต่อเนื่องครับ แต่เราต้องทำในส่วน ขาดทุนคือกำไรให้ได้ครับ
    • คือไม่หวังธุรกิจมากกว่าศรัทธาที่ได้ทำครับ แล้วจะดีขึ้นครับ
    • สิ่งที่อาจารย์คิดและทำอยู่ผมว่า ดีอยู่แล้วครับ สิ่งนี้คือคนเค้าเห็นครับ ว่าอาจารย์ทำในเรื่องเหล่านี้ คิดและก็คิด แล้วก็ทำและก็ทำ จนออกมาดีครับ และพร้อมที่จะรับข้อเสนอจากคนใช้และคนทั่วไป ซึ่งนี่หล่ะครับ แนวทางที่ดีครับ
    • เราจะต้องสร้างเครือข่ายการคิดและทำให้เกิดในตัวบุคคลที่ทำทุกคนด้วยครับ ผมเชื่อว่าวันหนึ่งคงมีพลังในการสร้างสรรค์สังคมนี้ให้น่าอยู่มากขึ้นและสุขทางใจกันมากขึ้นครับ
    • ขอบคุณท่านอาจารย์มากนะครับผม

    ได้ความคิด ตรงๆดีครับ

    และต้อง

    คิดก่อน ทำตาม

    ทำต่อ คิดตาม

    ซึ่งก็ตรงกับหลักการประกันคุณภาพด้วยครับ

    ขอบคุณที่ช่วยนำเสนอกันครับ

    P

    สวัสดีครับคุณตาหยู

    • ขอบคุณมากนะครับผม
    • ลองทำกันดูครับผม ได้แนวทางอะไรเพิ่มมาเสนอบอกต่อผมด้วยนะครับผม
    • ขอบคุณมากๆ นะครับ โชคดีในการสร้างสรรค์งานครับ

    สวัสดีค่ะคุณเม้ง

    I  think.......>  We  think........>  We do....> We think... > We do...วนเวียนไปเรื่อยๆไม่รู้จบค่ะ

     

     

    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ด

    • ภาษาเยอรมัน บอกว่า  ganz genau  ภาษาใต้บอกว่า หมันแหล่วละก้า และภาษาคุณปัญญาบอกว่า ถูกต้องนะคร้าบบบ.....
    • มีอีกประโยคครับ แถมเอาไว้เป็นอาหารจิตมื้อเย็นครับ
    • I Ting I Tong ไอติ๊งไอต๊อง
    • I Ting U Bong บ๊อง
    • V Ting V Tong V Bong 2...(2=too)
    • ยิ้มนะครับ......บังคับยิ้ม แต่ไม่บังคับก๊ากกก ครับ
    • ขอบคุณมากครับ
    ก๊าก ! ไปแล้วค่ะ..เบรคไม่อยู่จริงๆ..ฮา... ^         ^

    ทำไมคนคิดแล้วจะต้องทำ คิดแล้วให้คนอื่นทำก็ได้  อยู่ที่คนทำจะคิดหรือเปล่า เอาความคิดของคนที่เขาคิดดี มาทำ มันก็ได้ ไม่ใช่หรือ 

    No One is Perfect

     

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท