สุนทรียสนทนา4 :ทีม Leukemia หรรษา กับทีมลูกหิน


จบแบบสบาย ๆ ตามสไตล์อ.เสาวรัตน์และพี่เม่ย แต่ผู้เขียนชักไม่สบาย

 ต่อจากบันทึก 1, 2 , 3

ทีมที่ 6 Leukemia หรรษา --กับน้องใหม่ไฟแรงทั้งสองท่านค่ะโดย น้องฮันกับน้องน๊ะ

  • พบปัญหาว่าสิ่งส่งตรวจไม่ได้คุณภาพ ผู้ป่วยต้องเสียค่าใช้จ่าย (1700 บาท/ครั้ง) แต่กลับไม่ได้ผล (Fail)
  • เมื่อขอ reject สิ่งส่งตรวจ แต่แพทย์ก็ยังขอให้ทำถึงที่สุด 
  • พบปัญหา Fail เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี
  • ปัจจัยที่ Fail? ทำ culture ไม่ได้ผล ไม่รู้สาเหตุเพราะอะไร?  อาจเนื่องมาจากอัตราส่วน media ที่ใช้, ปริมาณความหนาแน่นของCell, ชนิด cell ตัวอ่อน ตัวแก่ และระยะการแบ่งตัวด้วย
  •  จึงทำการศึกษาการเก็บข้อมูลสิ่งส่งตรวจ (ถ่ายรูป) ทำเป็นหลักฐาน และ Feed back กลับไปยังแพทย์ เพื่อลดการ reject sample ลดเวลา และลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย
  • พี่นุชเสนอให้ทำเป็น Protocol และให้การศึกษาทุกปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเวลารับสิ่งสิ่งตรวจ (มักส่งหลัง 16.30 น.) ลักษณะของสิ่งส่งตรวจ สี ความขุ่นต่าง ๆ

ทีมสุดท้ายท้ายสุดคือทีมลูกหิน โดยพี่วรรณา (คนสวยประจำห้อง Micro)

  • ต่อเนื่องมาจากโครงการ Patho OTOP1 ซึ่งติดตามเรื่องขวด Culture และได้แก้ปัญหาไปได้บ้างแล้ว แต่ยังมีปัญหาเรื่องการเก็บสิ่งส่งตรวจ
  • การเก็บสิ่งส่งตรวจที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้ผู้ป่วยเสียเวลา และเสียเงินเปล่า
  • คิดโครงการให้ OPD สามารถ screen สิ่งส่งตรวจ และ reject ได้ โดยการออกแบบสำรวจต้องการสิ่งใดบ้าง
  • เจ้าหน้าที่ OPD ส่ง Lab.ของ Micro ทุก  ๆ 15 นาที แยกหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นคน  ๆไป ส่งสิ่งส่งตรวจพร้อมกับแบบฟอร์มแนบไปกับกระดานโดยใช้ช่องทางลิฟต์ พบปัญหา กระดาน (หาย) อ.เสาวฯ คาดว่าน่าจะลงไปอยู่ใต้ลิฟต์  
  • ห้อง Micro จะมารับสิ่งส่งตรวจจากลิฟต์เดิมทุก 30 นาที (ตั้งเวลา) พบว่าระยะเวลานานเกิน จึงปรับลดลงรับสิ่งส่งตรวจทุก 15 นาที(PDCA 1 รอบ) 
  • ผลสำรวจความ ต้องการของOPD พบว่าต้องการคู่มือในการเก็บสิ่งส่งตรวจเล่มเล็ก  ๆ , แผ่นพับการเก็บ, แผ่นโปสเตอร์ ประชาสัมพันธ์ ลงในบอร์ดความรู้ คุณเพ็ญได้เสนอให้ติดต่อทางเวชนิทัศน์
  • อีกทั้ง อ.เสาวฯยังแนะนำว่าน่าจะทำ VDO แนะนำการเก็บสิ่งส่งตรวจ

การติดตาม Progress โครงการ จบลงแบบอย่างสบาย  ๆ ตามสไตล์ อ.เสาวฯ และพี่เม่ย (แต่ผู้เขียนชักไม่สบาย) ผู้เข้าร่วมทุกคนมีบทบาทในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เนียนในบทสุนทรียสนทนา

หากผู้เขียนเก็บประเด็นตก ๆ หล่น  ๆไปบ้างขออภัยด้วยค่ะ เพราะช่วงหลัง  ๆได้กลิ่นกาแฟ โอวัลติน ลอยไปลอยมา ทำให้สมาธิแตกไปบ้างค่ะ

ปิดวงสนทนาด้วยการถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน

ไชโย!!!! จบหน้าที่คุณลิขิติ

 

 

หมายเลขบันทึก: 50195เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2006 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • พี่เม่ยติดตามอ่านบันทึกทั้งสี่ตอนที่คุณศิริเขียน ขอชื่นชมอย่างแรงเลยค่ะว่าคุณศิริสามารถสรุปประเด็นจากเรื่องเล่าได้ครบถ้วนที่สุด แถมยังนำมาถ่ายทอดให้อ่านได้อย่างเรียบง่ายและน่าสนใจไปซะทุกเรื่องเชียว...(ไม่ต้องถ่อมตัวเองแล้วนะ...จะบอกให้)
  • นั่งอยู่ข้างๆคุณศิริในวงเสวนา รับรู้ได้ค่ะว่าคุณศิริมีความรู้สึก เกร็ง กังวล  อยู่บ้างซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเราๆนะคะ  พี่เม่ยก็เป็นเหมือนคุณศิรินั่นแหละ คำแนะนำจากพี่เม่ยก็คือ "ทำต่อไป ทำให้ดีขึ้น ดีขึ้น จนถึงดีที่สุด" ...เชียร์....

ตามมาเก็บตกค่ะ

ทีม Leukemia หรรษา
ทีมนี้ "น้องฮัน"  เป็นผู้เล่าเรื่องแบบสบายๆ โดยมี"น้องนะ"  คอยเสริมเป็นระยะ 
สิ่งที่ทำคือ 

  • รวบรวมข้อมูล  ในด้านคุณภาพของสิ่งส่งตรวจ คือ bone marrow ,ward ที่ส่งตรวจ และผลของ culture (ประมาณ 300 ราย) 
  • ปรับ protocol   โดยเพิ่ม  การนับเซลล์  ล้างเซลล์  นำส่วน buffy coat ไปตรวจ   พบว่า   ได้ผลดีขึ้น, mitosis ดีขึ้น    , fail น้อยลง     วิธีใหม่นี้เสียเวลาในส่วนของการ culture (เพิ่มขั้นตอน)  แต่ผลสำเร็จมากขึ้น  และออกผลได้เร็วขึ้น  คือจากเดิม 6-8  สัปดาห์   เป็น 4 สัปดาห์

น้องฮันและน้องนะ   : ได้เล่าว่าบางรายถึงแม้ culture ได้แต่ปรากฏว่าไม่มี mitosis
อ. เสาวฯ   ถามว่า   : แล้วในกรณีนี้แก้ปัญหายังไง  ได้ปรึกษากันในกลุ่มมั๊ย
น้องฮันและน้องนะ : บอกว่าได้จดข้อมูลไว้    และ อ.พรพรต  แนะนำให้ไปค้นหาจาก paper แล้วนำมาคุยกัน

อ. เสาวฯ  สรุปว่า ทีมนี้
ลด    สิ่งส่งตรวจที่ไม่มีคุณภาพ
ลด    เวลา (ออกผลได้เร็วขึ้น)
ลด    เงิน (ที่คนไข้ต้องเสียเปล่าๆ)
ได้ฝึกหัดการค้นข้อมูล  การอ่าน paper 

ทีมลูกหิน

ไม่มีอะไรเพิ่มเติมค่ะ    แต่มีเรื่องขำๆ  มาเล่าให้ฟัง

จากปัญหาสิ่งส่งตรวจไม่มีคุณภาพ  โดยเฉพาะ sputum  อ.เสาวฯยังแนะนำว่าน่าจะทำ VDO   พี่วรรณาเห็นดีด้วย  แต่ติดขัดว่าไม่รู้จะหานางแบบนายแบบที่ไหน  จะให้หัวหน้าทีมไปทำท่า "ขาก" เสมหะ   คงไม่ดีมั๊ง (ยังสาวยังแส้อยู่นะ)

อีกอย่างคือ  คุณนุชเล่าว่า  คนไข้ไม่มีเสมหะในคอ    ให้ขากยังไงๆ  ก็ไม่ออก   พยายามสุดๆ แล้วก็ได้แค่น้ำลาย

(แล้วอย่างนี้จะทำไงดี...คงต้องมีวิธีแนะนำให้คนไข้หัด "ปั้นน้ำลายให้เป็นตัว"   )

พี่ nidnoi สุดยอดเลยค่ะ ละเอียดจริง ๆ ขอบคุณมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท