สุนทรียสนทนา2 :ทีมฝันที่เป็นจริง กับทีมรวมพลังทั้งห้า


ต่อจากบันทึก ที่แล้ว

ทีมที่ 2 ฝันที่เป็นจริง โดยน้องสิงห์โต(มาคนเดียว)

  • ปัญหาจากการติดตาม Block ของชิ้นเนื้อและ slide อ่านผล เมื่อแพทย์ต้องการ recut review วิจัย –พบว่าหาไม่เจอ ไม่รู้อยู่ไหน ไม่รู้ใครเอาไป???
  •  ใช้วิธีนำแบบฟอร์มให้กรอกและเสียบวางไว้ เมื่อนำ Block และ slide ออกจากที่ไป สะดวก ลดปัญหาการหาไม่พบ
  •  ใช้แบบสอบถาม ประเมินความพึงพอใจ
  •  แต่ปัญหายังพบว่าลายมือที่เขียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ครบหรือไม่ได้เขียน ตามไม่ได้อยู่ดี สำหรับ Block ไม่มีปัญหา แต่ slide มีทั้งแพทย์ ผู้ช่วยวิจัย ธุรการ เสาร์-อาฑิตย์ ก็มีการมาหยิบ slide เอาไปด้วย
  • ข้อจำกัดไม่มีข้อมูลก่อนทำ อ.เสาวฯ บอกให้คุยกับอ.มุกดา เผื่อว่ามีข้อมูล ที่สำคัญก็คือจากข้อมูล QC & QA พบสไลด์ ด้วยสลิป หรือพบเพราะหาจนเจอ
  •  อ.เสาวฯมองว่าการเขียนเป็นการเพิ่มภาระ การเก็บสไลด์น่าจะมีถาดรวมแยกในการเก็บ ตอนนี้มีถาดเยอะเกินไป ไม่รู้จะเก็บตรงไหนทำให้สับสน น่าจะหาวิธีที่ดีกว่านี้ (พี่เม่ยบอกว่าอดนึกถึงห้องสมุดไม่ได้แต่ slide มากกว่าหนังสือในห้องสมุดหลายเท่า)
  • อ.เสาวฯ ได้แนะนำให้ในทีมได้คุยกันว่ามีวิธีการอื่นอีกไหม อีกทั้งให้ลองคุยและสอบถามผู้ใช้บริการอาจารย์ท่านอื่น ซึ่งจะมีประชุมกันอยู่แล้วทุกวันอังคาร

ทีมที่ 3 รวมพลังทั้ง 5 จากหน่วยจ่ายกลาง ---ชื่อทีมรวมพลังทั้งห้า แต่มากันสองคน คือพี่หนอมคนสวย และพี่คม สุดหล่อ

  • ปัญหาก็คือ หาของไม่เจอ เนื่องจากของมาส่งได้ทุกเวลา เมื่อของมาส่งก็ไม่ได้เปิดดู แต่เก็บ ๆ วาง ๆ ไว้ (ตามที่ว่าง ยกเว้นของแช่เย็น ไม่ค่อยมีปัญหา) เมื่อมีกรรมการมาตรวจรับ พบว่าพลิกห้องหากันกว่าจะเจอ
  • ได้จัดระบบในการตรวจรับโดยเปิดดูของทุกครั้งและแยกประเภทห้องจัดเก็บ เช่นสารเคมี วัสดุ เป็นต้น อีกทั้งจัดทำป้าย “ตรวจรับแล้ว” และ “รอตรวจรับ” พบว่าประหยัดเวลา เมื่อมีกรรมการมาตรวจรับ ก็สามารถตรวจรับได้ทันที
  •  อีกทั้งออกแบบใบรับพัสดุ “ถูกต้อง” หรือ “ไม่ถูกต้อง”และตั้งเป้าความผิดพลาดไม่เกิน 6 %
  •  ใช้เวลาเป็นตัววัดไม่ได้ เพราะแต่ละครั้งจำนวนของที่ทำการตรวจรับไม่เท่ากัน บางครั้งก็แค่กล่องเดียว บางครั้งก็วัสดุหลายชิ้น อีกทั้งเมื่อก่อนก็ไม่ได้จับเวลา จึงเทียบกันไม่ได้
  •  อาจจะใช้แบบประเมินความพึงพอใจ
  • ยังมีโครงการให้ทำอีกเยอะ  และจะเก็บไว้ทำ Patho OTOP ปีต่อ ๆ ไป
ยังมีอีก 4 ทีมค่ะ ที่นี่
หมายเลขบันทึก: 50107เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2006 20:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุณศิริน่าจะ link บันทึกนี้ไว้เป็นบทเกริ่นนำด้วยนะคะ เป็นเซ็ตเดียวกันดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ พี่โอ๋ จัดการเรียบร้อยแล้วค่ะ

ประเด็นการประเมินผล

อ.เสาวฯ   แนะนำว่า   นอกจากจะประเมินผลโดยการออกแบบสอบถามแล้ว    อาจจะทำแบบการทดลองโดยสุ่มหยิบ slide  จำนวนหนึ่ง    แล้วบันทึกไว้ว่าเจอมั๊ย   เจอเพราะมีข้อมูลจาก slip  หรือ   เพราะตามหาจนเจอ   หรือหาไม่เจอเลย   พร้อมทั้งบันทึกเวลาที่ตามหาไว้ด้วย   (เพราะถ้ารอให้เกิดเหตุการณ์จริง   อาจจะต้องใช้ระยะเวลานาน   กว่าจะได้ข้อมูลมาประเมินผล)

ทีมรวมพลังทั้ง 5 (3 สาวและสองหนุ่ม)   ทีมนี้เป็นทีมรวมพลังจริงๆ  เพราะทุกคนทำเหมือนกันหมด   พี่เม่ยบอกว่า "ห้าคนรวมเป็นหนึ่ง"

พี่หนอม  เล่าว่า :
before : เมื่อมีของมาส่งจะตั้งรอไว้ก่อน  และไม่ได้เปิดดู (เพราะตอนนั้นกำลังยุ่ง)   เมื่อต้องมีการจัดการต่อ  เช่นเจ้าของสิ่งของนั้นมาถามหา   หรือมีการตรวจรับของ   ก็ต้องตามหาว่าของนั้นอยู่ไหนและใครเป็นคนรับไว้  เพราะแต่ละคนทำไม่เหมือนกัน    ถ้าคนที่รับของนั้นไม่อยู่ล่ะก็     รอกันนาน...เลย

after : เมื่อมีของมาส่ง   รีบจัดการทันที  เปิดดูว่าของนั้นเป็นอะไร   และนำไปเก็บที่ที่มันควรจะอยู่   คนพัสดุทั้ง 5 คน  ทำเหมือนกันหมด     ทีนี้ใครจะไม่อยู่ยังไงก็ไม่เป็นปัญหา

อ.เสาวฯ ชมว่า  ทีมนี้โครงการสำเร็จด้วยดี   ถ้ามีการประเมินผลเป็น "เวลาที่ลดลง"   น่าจะดีไม่น้อย

พี่เม่ยบอกว่า  อาจจะประเมินจากความพึงพอใจของผู้รับบริการ ที่เป็น "ขาประจำ"   คือกรรมการสั่งซื้อหรือตรวจรับของ     อาจใช้วิธีให้นึกเหตุการณ์ว่า   เมื่อก่อนเสียเวลาหาของนานแค่ไหน      ตอนนี้ใช้เวลาหากี...นาที  (เร็วกว่า   หรือนานกว่า)

 

พี่ nidnoi ขอบคุณสุดๆ  ผู้เขียนคนเดียวล่ะแย่เลย!!!
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท