ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (35) ตอนที่ 2 KM กับเทศบาล (1)


เราก็เป็นข้าราชการภายใต้กรมอนามัย ต้องทำได้ทุกเรื่อง สั่งอะไรมา เราต้องทำ

 

คุณฉัตรลดา ศูนย์อนามัยที่ 1 ...

คุณฉัตรลดา หรือคุณอ้วน เริ่มเรื่อง ด้วยการอารัมภบทถึงที่มาที่ไป ก่อนที่จะมาเข้าแนวการสร้างภาคีเครือข่ายของเธอนะคะ

คุณฉัตรลดา กาญจนสุทธิแสง ศูนย์อนามัยที่ 1 กรุงเทพฯเธอเริ่มจากประสบการณ์ส่วนตัว ที่มีประสบการณ์เรื่องการทำกลุ่มมาก่อน เมื่อครั้งที่อยู่ในฝ่ายพัฒนาบุคลากร มีคุณวิมลเป็นทีมกันมา และมีประสบการณ์เรื่องการฝึกอบรม ก็จะติดเรื่องการฝึกอบรมมาก และค่อนข้างจะฝังตัวเอง ... วิธีคิดของตัวเองในการทำงาน ก็ออกแบบในเรื่องของที่จะมาปนเรื่องการอบรม สอน ฟัง และเป็นเจ้าแม่ที่บ้าในสิ่งที่ต่างๆ ที่เข้ามาใหม่ๆ เรียนรู้อะไร การอบรมอะไร ก็จะนำไปใช้ เช่น เขาบอกว่า ในเรื่องให้คนมามีส่วนร่วมในการเรียนการสอนของงาน (PBL) เราก็เอาเรื่องนี้เข้ามา เอาเรื่องของ PL เข้ามา หลังจากนั้นก็มีอีก เรื่องทำยังไงให้คนมีส่วนร่วม เราก็ทำในศูนย์ เอากลุ่มเครือข่ายเข้ามาทำบ้าง มันก็เห็นในระดับหนึ่ง บรรดาเทคนิคต่างๆ ที่ดิฉันเอาเข้ามาใช้ แต่ว่ามันเกิดข้อคิดอะไร ขอไว้สุดท้าย แต่ที่เล่านี้ก็จะเกริ่นให้ฟังว่า เป็นพวกบ้าเทคนิค ก็ทำสารพัด

เมื่อมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ศูนย์ฯ มีการปรับบทบาทภารกิจ ดิฉันมาอยู่ฝ่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อม และก็ต้องมีการทำงานตาม KPI กรมฯ ก็มาแบบไม่รู้ว่ากี่ตัวชี้วัด ไม่รู้ว่าตัวชี้วัดหลัก ตัวชี้วัดรอง ก็งงกันไปหมด ดิฉันกับคุณวิมล ก็ เธอเอาไปตัวชี้วัดหนึ่งนะ คือ สถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน ทำยังไงนะ และก็ไม่ทำในศูนย์นะ ต้องไปทำในลูกค้าในส่วนที่ตัวเองรับผิดชอบ ก็ต้องตั้งสติ และก็ไปทำกันเรื่อยเปื่อย และทุกรูปแบบ ก็งัดเอาเทคนิคที่ตัวเองเคยทำเกี่ยวกับการฝึกอบรมมาใช้ ใช้อะไรบ้างก็อาจจะยาว ยังไม่อยากจะสาธยาย สุดท้ายจับพลัดจับผลูมาเรื่อง เมืองน่าอยู่

เราก็เป็นข้าราชการภายใต้กรมอนามัย ต้องทำได้ทุกเรื่อง สั่งอะไรมา เราต้องทำ และเราต้องปรับ สุดท้ายลงเอยที่เมืองน่าอยู่ ตอนแรกมีทีมอยู่ 3 คน มีดิฉัน คุณวิมล และพี่มุกดา ทำเรื่องเมืองน่าอยู่ มาปีแรก เธอเริ่มบอกว่า 4 จังหวัดที่เธอรับผิดชอบก็มี อยุธยา นนทบุรี อ่างทอง ปทุมธานีนะ เธอไปดูซิ ว่าเมืองน่าอยู่ เขาทำอะไรกับพวกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบ้าง เราก็ต้องไปเริ่มใหม่ ข้อมูลเริ่มจาก 0 อีกนะคะ เทศบาลเป็นยังไง หน้าตาเป็นยังไง อบต. เป็นยังไง ไม่รู้จัก มีกี่ที่ กี่แห่ง ไม่รู้เลย เราก็จำเป็นต้องไปสำรวจกันใหม่ทั้งหมด สรุปแล้วคือ สรุปให้ได้ กี่เทศบาล กี่จังหวัด และ อบต. เป็นยังไง เขาก็มี อบต. 5 ระดับ ก็จะมึน จะเมากันมาก ก็ต้องตั้งสติว่า จะทำกันยังไง
และก็ถ้าจะท้าวก็คือ วิธีการทำก็คิดสิ่งที่จะทำ ก็ empowerment นะ อะไรต่างๆ ที่รู้ บรรดาเทศบาลต่างๆ ที่จะมาอยู่ในมือ ชั้นก็จะเอาเทคนิคต่างๆ เข้าไปใช้กับคุณทุกเรื่อง แรกๆ คุณวิมลก็จะเอาเรื่อง Bencemarking ดร.มุกดา ก็จะประเมินผลพฤติกรรมสุขภาพ ดิฉันเองก็จะเอา Coaching เอาลงเลย คุณฐิฎามารอบหลังก็จะรับเด็กเล็กก่อน มาร่วมสังฆกรรมกันอีก คุณฐิฎาก็มารอบที่ 2 เขาก็ไปสไตล์เขาเหมือนกัน เราก็เริ่ม 4 ทีม คุณฐิฎาก็ไปเวทีเครือข่าย ก็สร้างกันเข้าไป

ตอนแรกเรื่อง ลูกค้า เราก็งงว่า ลูกค้าของศูนย์ฯ คือใคร สสจ. หรือเทศบาล หรือ อบต. ชักงง ก็มาคุยกัน (ที่ท่านนันทาบอกว่า บางศูนย์ฯ มีคุยกันบนรถ ก็เราเองละค่ะ) สรุปแล้วลูกค้าเราคือใคร เพราะว่าเราก็ไปทำกับ สสจ. เทศบาล อบต. เพราะว่าพื้นที่ศูนย์ฯ อย่างอื่นไม่มี ถ้าจะไปทำคือ พื้นที่ 4 จังหวัด ทีมชักมองหน้ากับปริบๆ ว่า ถ้าพื้นที่ของเราไม่มี แล้วลูกค้าของเราคือใครล่ะ เราก็มาฟันธงสิว่า เราไม่สนหรอก เพราะว่าพื้นที่ของเราไม่มี เพราะฉะนั้นลูกค้าของเราก็คือ สสจ. สิ เพราะเราทำงานผ่าน สสจ. เพราะฉะนั้นเรา approach สสจ. เลย เพราะฉะนั้น กระบวนการก็คือ เอาบรรดา สสจ. ทั้งหลายมาสร้างความเข้าใจ มาอบรม มาทำสารพัดจะทำ ปรากฏว่า สสจ. บอกว่า พี่ หนูงานเยอะ พี่อยากได้คนที่เข้าใจพี่ก็ทำเองเหอะ เราก็ชักงง แล้วจะทำยังไง

ในระยะแรกๆ ฝ่าย สสจ. เองก็งง เราเองก็งง เราคงจะต้องทำแบบควบคู่ คู่ขนานกันไป เอาไปทุกคนแหล่ะ ลูกค้าของเรา สสจ. ก็ลูกค้าเรา เทศบาลก็ลูกค้าเรา เพียงแต่วัดดูว่า สสจ. ตรงไหนที่เขามีศักยภาพที่จะไปจัดการกับเทศบาลตรงไหนได้ ก็ค่อยๆ ดูกันใหม่ แต่ถ้าเขาบอกว่า หนูก็ยังไม่เห็นหน้าตาเทศบาลเป็นยังไง อบต. เป็นยังไง เราก็ต้องไปจับมือเขาพาเขาลงไปคุยกันเทศบาล อบต. ตอนนั้นเราทำในลักษณะคนรวย เพราะเรามีเงิน เราอยากทำ Benchmarking ก็เขียนไป เจ้าแม่ empowerment ก็เขียนไป เขียนโครงการก็ทำ และเอา เทศบาล อบต. เข้ามา และพัฒนาเขา เราก็คิดว่า ทำไมเทศบาล อบต. เราประเมินแล้ว ก็ยังทำงานแบบ เขียนโครงการขึ้นมาเองโดยไม่ได้เอาประชาชนมีส่วนร่วม เราก็คิดแทนเขาอีก เขาก็ยังทำงานแบบยังไม่มีส่วนร่วม ดิฉันก็อบรมให้ทำงานอย่างมีส่วนร่วม เอาเข้ามา ทำหลักสูตรอีก พัฒนาทักษะการทำงานกับชุมชน ให้กับเทศบาล พาลงตะลุยชุมชน ทำ mapping หาทุนทรัพยากร ปัญญา สังคม พาเทศบาลทำเรียบหมดเลย เขาบอกว่า ดีมากเลย เทคนิคเหล่านี้นะ แบบนี้ก็คือการมาช่วยกัน พอทำไปก็มาคิดว่า มันเป็นความอยากของเรา มันไม่ใช่ความอยากของเทศบาล เพราะฉะนั้น เราอยาก ก็ชั่วครู่ชั่วยาม เหมือนกับว่าถ้าเราถอยเมื่อไร เทศบาลก็หยุด เราก็คิดกันไปว่า มันชักจะไม่ยั่งยืนแล้ว เพราะว่า เราเหนื่อย ถ้าเราตามทำ
สุดท้าย หมดยุคคนเคยรวย ยุ่งแล้ว เพราะว่ามันจน ปีที่แล้วศูนย์ฯ รวย มาปีนี้ จากที่เราเคยมีการทำ เพราะว่าโครงนั้นก็สำคัญ โครงนี้ก็สำคัญ ต้องได้เงินมาก วุ่นวายมากในตอนต้นปี ในกรมเองก็บอกอยู่แล้วว่า คุณน่ะทำงานด้านของการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะที่เป็นผู้สนับสนุนเครือข่าย คุณต้องทำงานแบบเน้นวิชาการ วิชาชีพ คุณไม่ต้องไปทำงานให้คนอื่น เขาทำงานให้คุณ เขาควรจะยึดกลยุทธ์ กลวิธีอะไรต่างๆ คุณไปคิดเอา คุณทำอะไรให้ได้งานคุณ แต่ (ประเภทหุ้นลมน่ะ วัฒนธรรมเราก็ต้องทำแบบหุ้นลมอีก) ทำยังไงละค่ะ เงินก็ไม่มี คราวนี้ ... ไปดูเทศบาลเขาก็มีเงินสนับสนุนของเขาเยอะมาก แต่ละที่เป็นที่น่าอิจฉา ดิฉันก็ยังอยากย้ายไปอยู่เลยนะคะ เพราะว่าเทศบาลแต่ละที่ก็มีโอกาสได้ไปดูงาน ใหม่ๆ ก็ไปดูงานที่ประเทศจีน ช่วงหลังก็ไปดูโซนยุโรป อเมริกา เราก็มาดูว่า แล้วเราจะทำงานยังไง ให้กรมเรา หรือศูนย์เรา เข้าไปอยู่ในการจัดสรรของเขาด้วยตรงนั้น

ตอนนี้พอไม่มีเงินก็มาตั้งสติกันใหม่ ก็มีโรคซ้ำกำซัด ทีมเราจาก 4 เหลือ 2 ทีมที่เคย KM กับบนรถ เดี๋ยวนี้ทำกัน 2 คน ยิ่งต้องตั้งสติกันมากขึ้น ต้องตั้งสติกันอย่างแรก จนก็จน มันแบบว่า “พ่อก็มาตาย แม่ก็ ...” อะไรแบบนิยายน้ำเน่าเลยนะคะ ก็เลย แต่ว่ายังไงก็ต้องทำ ก็พอดีกระแส KM เข้ามา เราก็บ้าเทคนิคอยู่แล้ว แต่ว่ามีสติแล้ว มันเคยใช้เครื่องมือต่างๆ เพียบไปเลย และก็มีประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้จากท่านอาจารย์วิจารณ์ ดิฉันก็โชคดีอย่างหนึ่งคือ เวลาที่เขามีเทคนิคอะไร เราก็จะไป เสียเงินตัวเองก็ไป ไปตีซี้ ก็ไปบอกว่า เชิญชั้นหน่อยนะ ชั้นไม่มีตังค์ ไปซี้กับกระทรวงยุติธรรมเขา และก็ได้ตาม ดร.ชะนวนทอง ที่คณะสาธารณสุข มหิดลบ้าง เพราะว่าอยากรู้ว่า มันมีอะไรใหม่ๆ ไหม เราอยากไป ลปรร. กับเขา ก็เขาไปรวมกับตรงนั้นพอดี เขาก็เอา KM เข้ามาในเจ้าหน้าที่ของกระทรวงยุติธรรม แต่ตอนนั้นดิฉันก็ยังไม่ in เขาก็เอาคนมาแลกเปลี่ยนกันนะ มาวัดระดับ ทำธารปัญญา ทำอะไรต่ออะไร ก็พอมองเห็นภาพเทคนิค แต่ยังไม่เข้าใจ และพอมาต่อของกรมเราก็เริ่มเห็น แต่ก็ยังไม่เห็นว่า ตัวเองจะมีอะไรตรงนี้เท่าไร แต่อาศัยว่า ประสบการณ์การทำงานของเราก็แบบว่า ไม่ต้องรออะไรให้ชัดเจน ก็ขอทำไปก่อน และไปทักเอาข้างหน้าก็แล้วกัน เป็นสไตล์อย่างนี้ส่วนหนึ่ง ก็เลย OK ก็มองว่า จนก็จน คนก็ไม่มี ก็ลองเอาเทคนิคมาใช้ดูสิ เพราะว่าเราเห็นแล้วว่า พอไปใช้ในศูนย์นี่ ก็เห็นว่า ไปรอดนะ เพราะว่าปกติต่างคนต่างทำงาน ก็จะมีการมาช่วยกันนะ หรือว่าเป็นการทำงานข้ามฝ่าย แต่พอเอา KM ไปใช้ในกลุ่ม ก็เริ่มมองเห็นว่า คนเรามีศักยภาพ น้องคนนี้ ตอนแรกเรามองเขาไม่ดีเลย ดูแล้วเธอเป็นแบบ ดีแต่พูด พอทำจริงไม่ได้เรื่อง พอได้ทำ KM คุยกันแล้ว ความจริงเขามีที่มาที่ไป ดีตามวิธีการของเขา แล้วมาได้ข้อคำตอบว่า ทำอะไรก็ให้ใจมาก่อน มันรู้สึกว่า อย่างอื่นมันก็มาด้วยดี ต่อให้คุณมีเจ้าแม่เทคนิคแน่ขนาดไหนก็ตาม ถ้าใจไม่มา คุณบอกว่าดียังไง ก็ไม่มา ก็เลยคิดว่า มันก็น่าจะนำไปใช้กับเทศบาลได้เหมือนกันนะ ในความคิดของตัวเอง ยังไม่ได้พูดเรื่องไปใช้กับงานวิจัย แต่ตอนนี้ก็มาคิดว่า เอา KM ไปใช้กับเทศบาลเครือข่ายยังไง ก็ตั้ง hypothesis เหมือนกันว่า ถ้าเราจะเอา KM ไปใช้ในภาคีเครือข่ายของเรานี่ เราจะทำยังไง นี่ก็คือสิ่งที่ตัวเองตั้งไว้

Shot เข้าถึง KM ของคุณอ้วน ขอต่อตอนต่อไปก็แล้วกันนะคะ

 

หมายเลขบันทึก: 43057เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2006 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท