FAQ KM กรมอนามัย [4] - ถ้าจะ ลปรร. ไปดูงานวิจัยที่เขามีอยู่แล้ว ไม่ดีกว่าหรือ


ลปรร มักจะเป็น how to ซึ่งไม่มีในตำรา หรือในงานวิจัย

 

 คำถามที่ 4

 ถ้าจะ ลปรร. ไปดูงานวิจัยที่เขามีอยู่แล้ว ไม่ดีกว่าหรือ

  • เรื่องที่ ลปรร มักจะเป็น how to ซึ่งไม่มีในตำรา หรือในงานวิจัย ถ้าจะเทียบก็อาจบอกว่าเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีอยู่น้อย หรือถ้ามีก็มักเป็นบทเรียนหรือข้อสรุปกว้างๆหรือเป็นหลักการใหญ่ๆ
  • .... รอข้อเสนอค่ะ ...

 

FAQ KM กรมอนามัย [1] - เริ่มต้นตรงไหนดี ผู้บริหารไม่สน จะทำยังไง

FAQ KM กรมอนามัย [2] - อะไรคือ CoP ... สร้างยังไง

FAQ KM กรมอนามัย [3] - เราก็ทำคู่มือโดยไม่เคยใช้ KM ... ทำไมบอกว่า KM นำไปสู่คู่มือ

FAQ KM กรมอนามัย [5] - ความรู้ที่ได้จาก ลปรร. เชื่อถือได้แค่ไหน

FAQ KM กรมอนามัย [6] - Website มีประโยชน์อะไร ทำ KM โดยไม่มี Web ไม่ได้หรือ

FAQ KM กรมอนามัย [7] - คำเท่ห์ๆ จากการ ลปรร.

 

หมายเลขบันทึก: 29937เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
       การไปหาดูงานวิจัย ที่เขามีอยู่แล้ว  คิดว่าเป็นขั้นแรกสุดในการสำรวจความรู้ที่มีอยู่แล้ว (ดีค่ะ)  แต่อย่างที่รู้กันอยู่ในหมู่นักปฏิบัติที่เคยนำงานวิจัยมาลองปฏิบัติตาม ว่ายังไม่พอ  บางทีต้องดั้นด้นไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้เจาะลึกกับตัวนักวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ Tacit Knowledge แบบละเอียดยิบ   และตามไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มคนอื่นๆ อีกที่ทำจริง     อาจเป็นเพราะว่าเทคนิคอันละเอียดอ่อนอีกมากมาย และบริบทที่แตกต่าง ที่เป็นความรู้ฝังลึกนั้นถ่ายทอดลงใน paper วิจัยไม่หมดและยากที่จะเขียนออกมาได้หมด   กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จึงมีประโยชน์มากในการสกัดความรู้เหล่านี้ออกมาใช้ค่ะ        

อีกประเด็นที่อยากเติมก็คือ ความจริงแล้วการไปหางานวิจัยที่มีอยู่แล้วมาอ่าน ก็คือ KM แบบหนึ่งที่มีการยำ้เน้นมานานแล้ว เพราะสำหรับ KM ที่เน้น explicit knowledge ขั้นตอนที่หนึ่งคือการถามตัวเองว่า เรื่องที่เราอยากรู้คือเรื่องว่าด้วยอะไร จากนั้นก็ลงมือค้นดูว่ามีใครรวบรวมสรุปความรู้ไว้แล้วยังไงบ้าง ซึ่งถ้าทำด้วยวิธีปกติในปัจจุบันก็จะไปเจอความรู้จากตำรา หรือไม่ก็จากผลงานวิจัยที่มีคนตีพิมพ์ไว้แล้ว ซึ่งเราก็ต้องเอามาเปรียบเทียบกับความต้องการของเรา โดนเฉพาะในประเด็นที่ว่ามันอยู่ในบริบทเดียวกันหรือไม่ มาประยุกต์ได้แค่ไหน

ส่วนการเรียนรู้จากการ ลปรร ความรู้แฝงก็ควรทำ เพราะเหตุผลอย่างน้อสอข้อ ข้อหนึ่งก็อย่างที่คุณอ้อว่ามา อีกข้อก็คือว่า หลายเรื่องอาจไม่มีทั้งในตำรา หรืองานวิจัยเลย ต้อง ลปรร อย่างเดียว  ผมเคยพยายามหาเรื่องเกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนในแง่ของ แนวทางการจัดระบบและกลไกนโยบายกำลังคนว่า แต่ละประเทศมีระบบยัไง ปรากฏว่าไม่เจอ เท่าไหร่ เมื่อเทียบกับเรื่องระบบวิจัย  อย่างนี้เป็นต้น

รู้จกการ ลปรร ย่อมดีกว่ารู้แค่วิธีค้นข้อมูลจาก web หรือ search engine ต่างๆเพียงอย่างเดียวครับ

แต่เมื่อ ลปรรเป็นแล้วก็อย่าลืมฝึกฝนวิธีฝช้ search engine หรืออ่านหนังสือบ้างนะครับ 

ทำให้อดคิดถึงสำนวนเหน็บแนมที่พวกนักปฏิวัติชอบใช้ (นัยว่าอ้างอิงจากคำพูดของ เหมา) ที่บอกว่า พวกลัทธิคัมภีร์(ชอบอ้างตำรา) กับพวกลัทธิเจนจัด (ชอบอ้างประสบการณ์ ตัวเอง)  

ความรู้ที่ได้จากการทำวิจัยนั้น แม้จะเป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน แต่นักวิจัยก็ไม่สามารถที่จะถ่ายทอดทุกอย่างผ่านอักษรและร้อยเรียงเป็นข้อความได้อย่างถ่องแท้ และไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถอ่านผลงานวิจัยได้อย่างกระจ่าง ดังนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ปฏิบัติ จึงเป็นการดึงดูดและถ่ายทอดความรู้สู่กลุ่มผู้ปฏิบัติได้ และถ้าเป็นการแลกเปลี่นรเรียนรู้ระหว่างผู้วิจัยก็อาจจะทำให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมาอีกก็ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท