อีกหนึ่ง "มหาภัย" ของคนขับรถ(ยนต์)


   เป็นข้อความจาก E-mail ที่ได้รับมา เห็นว่าควรใส่ใจ ระม้ดระวัง จึงนำมาบอกกล่าวครับ ..

Subject:    Fw: ช่วยส่งต่อให้มากที่สุด - BE WARE!

แจ้งเหตุร้ายจากสำนักงานสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติช่วยบอกต่อขณะนี้กำลังมีการระบาดของกลุ่มมิจฉาชีพทำทีมาขายสเปรย์ปรับอากาศในรถยนต์ แต่จริงๆแล้วสารในสเปรย์กระป๋องนั้นคือ
คลอโรฟอร์ม ที่ทำให้ท่านสลบได้ เหตุการณ์เริ่มจากเด็กสาววัยรุ่นท่าทางดีมาเคาะกระจกขณะรถจอดหรือรี่เข้ามาขณะท่านกำลังจะเข้ารถบริเวณลานจอดรถ ตามที่สาธารณะทั่วไป...หากท่านไม่ระวังหรือไขกระจกรถเพื่อพูดคุยด้วยสเปรย์จะถูกฉีดเข้าในรถทันที เมื่อท่านสลบ งัวเงีย สลึมสลือไม่ได้สติ ผู้ชายอีก2-3 คนจะเข้ามาปลดทรัพย์ หรืออาจทำอันตรายร่างกายของท่านได้ เพื่อความปลอดภัยสำหรับทุกท่าน ขอให้ระวังตัวในทุกย่างก้าว และไม่ประมาท  ด้วยความปราถนาดี และห่วงใยเสมอ สำนักงานสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 
ช่วยกระจายต่อด้วยนะครับเพื่อความปลอดภัยของตัว ท่านเองและบุคคลที่รัก

หมายเลขบันทึก: 29932เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2006 09:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มีนาคม 2012 07:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ขอขอบคุณอาจารย์มากๆครับที่ช่วยเตือนภัยสังคม..

ฝากไว้ให้ช่วยกันกระตุ้นสื่อเพื่อสังคมหน่อยนะครับ โปรดอ่านที่ ขอความเห็นจากทุกๆท่าน เรื่องการตีแผ่วงจรธุรกิจน้ำเมา แล้วไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อที่บอร์ดของทีวีบูรพา ตามหัวข้อที่แนะนำนะครับ ขอขอบคุณ..
คลอโรฟอร์ม

วิชัย ปราสาททอง

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอนแก่น


 

      ในระหว่าง พ.ศ. 2542 มีข่าวพ่อค้ายาดองเหล้าสมุนไพรผสมคลอโรฟอร์มลงในผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายแก่ผู้นิยมบริโภคยาดองเหล้า และให้ชื่อว่า "ยาดองเหล้าสูตรเย็น" ซึ่งเป็นที่นิยมแพร่หลายในกลุ่มวัยรุ่น และผู้ใช้แรงงานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แล้วกระจายไปยังภูมิภาคอื่นของประเทศ จุดประสงค์ในการเติมคลอโรฟอร์มคือ เพื่อป้องกันการเน่าเสีย เพิ่มรสหวาน และความเย็น ซึ่งเมื่อรวมกับการที่นำยาดองเหล้าเย็นไปแช่เย็นก่อนจำหน่าย ทำให้ยาดองเหล้าชนิดนี้เย็นมากยิ่งขึ้น ทำให้เป็นที่ถูกใจผู้นิยมความแปลกใหม่ ในขณะที่อันตรายจากคลอโรฟอร์มที่ดื่มเข้าไปถูกมองข้ามทั้งจากผู้ผลิตและผู้ที่นิยมบริโภค

 

      คลอโรฟอร์ม เป็นสารประกอบเคมีอินทรีย์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นของเหลวใส ไม่มีสี ที่อุณหภูมิปกติ มีรสหวาน ระเหยง่าย และมีกลิ่นเฉพาะตัว ละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์ ไขมัน ละลายน้ำได้บ้าง โดยที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส คลอโรฟอร์ม 1 ส่วน สามารถละลายน้ำ 200 ส่วน แต่ถ้าอุณหภูมิของน้ำลงมาที่ 15 องศาเซลเซียส จะทำให้คลอโรฟอร์มละลายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 ส่วนต่อน้ำ 200 ส่วน เมื่อได้รับความร้อนจะสลายตัวเกิดก๊าซคลอรีนที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต

 

      มนุษย์รู้จักคลอโรฟอร์มและนำมาใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมต่างๆ มากมาย เช่น การผลิตพลาสติก ยา เครื่องสำอาง สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ฯลฯ แม้แต่ในทางการแพทย์ก็นำคลอโรฟอร์มมาใช้เป็นยาสลบ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1847 แต่หลังจากมีข้อมูลการศึกษาอันตรายจากคลอโรฟอร์มมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อพบว่าคลอโรฟอร์มทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลอง ประเทศต่างๆหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย จึงไม่ใช้คลอโรฟอร์มเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ยา และอาหาร นอกจากนี้บางประเทศยังไม่ให้ในทางการแพทย์อีกด้วย

 

การเข้าสู่ร่างกาย มี 3 ทาง คือ

      1.ทางผิวหนังจากการสัมผัสโดยตรง เมื่อคลอโรฟอร์มถูกผิวหนังจะซึมผ่านชั้นผิวหนังอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการระคายเคือง แสบร้อน เกิดผื่นคัน และอาจทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่ถูกสัมผัสตายได้

 

      2.ทางปาก จากการกลืน

 

      3.ทางจมูก จากการสูดดมอากาศที่มีไอคลอโรฟอร์ม

 


 

อาการพิษ

 

      อาการที่ปรากฏหลังจากได้รับคลอโรฟอร์มเข้าสู่ร่างกายที่เด่นชัด คือ ความดันโลหิตต่ำและอุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น แต่หากได้รับคลอโรฟอร์มต่อเนื่องกันนานๆ หรือได้รับปริมาณมาก จะเกิดอันตรายต่อร่างกายส่วนต่างๆ ดังนี้

 

      ระบบหัวใจ       หัวใจเต้นผิดปกติ และอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

 

      ระบบทางเดินหายใจ       คลอโรฟอร์มจะไปกดระบบการหายใจ อาจมีอาการปอดบวม จนถึงปดอักเสบ

 

      ระบบประสาท       คลอโรฟอร์มจะไปกดระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการปวดหัว ไม่รู้สึกอยากอาหาร

 

      ระบบทางเดินอาหาร       รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน

 


 

      นอกจากนี้คลอโรฟอร์มยังทำให้เกิดอันตรายที่ตับ และ ไต โดยทำลายเซลล์ที่อวัยวะทั้งสองนี้ และเนื่องจากคุณสมบัติการละลายตัวได้ดีในไขมันทำให้สามารถแพร่ผ่านรกเข้าสู่ตัวอ่อน จึงอาจเป็นพิษต่อตัวอ่อนในครรภ์ จากการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่าคลอโรฟอร์มทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างยีนของใข่ และเสปิร์ม ที่สำคัญคลอโรฟอร์มหนึ่งในรายชื่อของสารที่สงสัยว่าจะก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์และจัดอยู่ในกลุ่ม 2B (IRAC Category)

 

การดูดซึม เมตาบอลิซึม และการขับถ่าย

 

      เมื่อคลอโรฟอร์มเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าทางใด จะเข้าไปทำปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ที่สำคัญ ได้แก่ ตับ และ ไต ได้สารเมตาโบไลท์หลายชนิดที่ส่วนใหญ่มีฤทธิ์เป็นกรด ได้แก่ Chlomethanol (CCL3-OH), Hydrochloric acid, Phosgene (COCL2), Chloride, Carbon dioxide และ Diglutathionyl dithiocaronate สารเมตาบอไลท์ที่เป็นอันตรายที่สุดคือ Phosgene ซึ่งเมื่อรวมกับ glutathione จะทำตับโต และทำให้เซลล์ตับและไตตายได้ ร่างกายจะขับถ่ายออกทางปอดในรูปคลอโรฟอร์ม 43% และคาร์บอนไดออกไซด์ 4-5% ทางปัสสาวะประมาณ 2% คลอโรฟอร์มมีค่าครึ่งชีวิต 1.5 ชั่วโมง

 


 

ขนาดความเป็นพิษ

 

      - ค่าแสดงปริมาณคลอโรฟอร์มที่ทำให้หนูทดลองกินแล้วตายครึ่งหนึ่ง (Oral Lethal Dose,LD50) ระหว่าง 0.5 ถึง 5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

 

      - หากรับประทานคลอโรฟอร์มปริมาณ 10 มิลลิกรัม จะทำให้เกิดพิษเฉียนพลันและอาจถึงตายได้

 


 

การรักษาเบื้องต้น

 

      1.กรณีสัมผัสถูกผิวหนัง ให้นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีคลอโรฟอร์ม ถอดเสื้อผ้าที่เปียกออก ล้างร่างกายที่สัมผัสคลอโรฟอร์มให้สะอาดและทั่วถึงด้วยสบู่และน้ำ

 

      2.กรณีสัมผัสดวงตา ให้ล้างตาด้วยน้ำจำนวนมากอย่างน้อย 15 นาที

 

      3.กรณีสูดดม ให้นำผู้ป่วยออกจากบริเวณที่มีคลอโรฟอร์มไปยังที่ที่อากาศบริสุทธิ์ หากผู้ป่วยหยุดหายใจให้ผายปอดช่วย

 

      4.กรณีกลืนกิน ให้ล้างท้อง (หลีกเลี่ยงการทำให้อาเจียน) แล้วใช้ผงถ่านกัมมันต์ดูดซับคลอโรฟอร์ม โดยใช้ผงถ่านกัมมันต์ 30 กรัม ผสมกับน้ำหรือ sorbital หรือ ยาระบายน้ำเกลือ (Saline cathartic) ในขนาด 240 มิลลิลิตรขนาดรับประทานปกติสำหรับผู้ใหญ่ 25 ถึง 100 กรัม สำหรับเด็ก (อายุ 1 ถึง 2 ปี) ใช้ 25 ถึง 50 กรัม กรณีเด็กทารกอายุต่ำกว่า 1 ปี ใช้ขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตามการใช้ผงถ่านกัมมันต์ร่วมกับยาระบายน้ำเกลือพึงใช้ด้วยความระมัดระวัง หากหลีกเลี่ยงได้ควรงดการใช้

 


 

สรุป

 

      แม้คลอโรฟอร์มจะเป็นสารเคมีที่มีประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมมากมายก็ตาม ในขณะเดียวกันก็มีอันตรายต่อมนุษย์ และสัตว์ โดยมีผลต่อ ตับ ไต หัวใจ และสงสัยว่าจะทำให้เกิดมะเร็งในมนุษย์อีกด้วย ดังนั้น กิจกรรมใดที่เกี่ยวข้องกับคลอโรฟอร์มจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะการเติมแต่งคลอโรฟอร์มลงในผลิตภัณฑ์เพื่อการบริโภคเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง


ที่มา: หนังสือความรู้สิ่งเป็นพิษ ตอนที่ 14 พ.ศ.2543 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า5-8.

สรุปChain Letter 

อีกภัยหนึ่งคะ  มักเกิดกับผู้หญิงที่ไปคนเดียว โจรจะรออยู่แถวๆที่จอดรถเวลาผู้หญิงเปิดประตูรถซึ่งถ้าขับคนเดียวมักเหวี่ยงกระเป๋าไว้ที่เบาะที่นั่งด้านซ้ายแล้วเข้านั่งประจำที่คนขับระหว่างที่เรากำลังปลดล็อคต่างในรถโขมยจะเปิดประตูด้านตรงข้ามคว้ากระเป๋าของมีค่าในรถไปต่อหน้าต่อตาเพราะเราจะตามก็ต้องล็อครถก่อน  โขมยมันก็หนีไปไกลเลี้ยวลับสายตาเราแล้ว

เพราะฉนั้นให้ฝึกให้เป็นนิสัยเข้าในรถได้ปิดประตูแล้วล็อครถทันที่ก่อนทำการอย่างอื่น

นายโสภณ คำสวาสดิ์
                  ผมก็ขับรถเป็นประจำเลยครับ   ร้ายจริง  ๆ  ครับอาจารย์  ชีวิตไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่ปลอดภัยเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท