มองสกว.ย้อนดู นครศรีธรรมราช (13-แบบจำลองจตุคามรามเทพรุ่นอยู่เย็นเป็นสุข)


ฐานล่างคือศก.พอเพียง(ผมเห็นว่าน่าจะเพิ่มยุทธศาสตร์จังหวัดเข้าไปด้วยคือ เมืองแห่งการเรียนรู้ น่าอยู่ ยั่งยืน)เหนือฐานขึ้นมาคือหน่วยสนับสนุนมีจังหวัด ขนาบด้วยวิชาการทั้งสองด้านเหนือขึ้นมาคืออปท.ทั้งอบต.เทศบาลและอบจ.ขนาบด้วยภาคเอกชน และภาคประชาชน ท่านเขียนเป็นรูปคล้ายหยดน้ำ แต่เมื่อขยายฐานล่างก็คล้ายวัตถุมงคลรูปองค์พระ

ผมกลับจากประชุมจังหวัดก็เข้ามาเขียนBlogซึ่งมีเรื่องราวน่าสนใจมาก โดยเฉพาะการนำเสนอของท่านผู้ว่าราชการจังหวัดด้วยภาพบนflipchart ซึ่งผมเห็นว่าเป็นจตุคามรามเทพรุ่นอยู่ดีมีสุขและอยู่เย็นเป็นสุข (ผมเสนอให้ทำขึ้นมาอย่างเป็นจริงเป็นจังด้วย แต่เนื่องจากไม่มีทักษะด้านนี้ แม้ว่าจะมีบางท่านเห็นด้วย ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่ก็ยังเห็นว่าเป็นเรื่องล้อเล่น ที่จริงนี่แหละคือการจัดการความรู้สำหรับคนที่นี่ ที่นครศรีธรรมราชแห่งนี้ (แต่เอาไว้เล่าทีหลังว่าผมคิดเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ต่างหากดีกว่า)

ขอคั่นรายการวิเคราะห์2รัฐบาลด้วยการเล่าการประชุมวันนี้ก่อน

วันนี้เราประชุมเตรียมการกันที่ห้องประชุมเล็กของพมจ.ก่อนจะย้ายขึ้นไปประชุมที่ห้องยุทธศาสตร์(warroom)ของจังหวัด ผู้เข้าประชุมเตรียมการกันอยู่แล้วเมื่อผมไปถึง มีด้วยกันประมาณ15คนจากกลไกหลักคือเครือข่ายยมนา แผนชุมชน ประชาสังคม สวัสดิการชุมชน และในส่วนของหน่วยงานคือ พอช.สกว.(คุณณรงค์ คงมาก) พมจ. สช. กศน. และตอนเข้าประชุมกับท่านผู้ว่ามีทีมจากศอ.สส.นำโดยพี่วีณาจากสธ.มาร่วมด้วย

เราเริ่มรายการโดยผญ.โกเมศร์และสรุปแนวทางการเคลื่อนงานของภาคชุมชนซึ่งตอนนี้เชื่อมโยงกันครบในขบวนสำคัญๆแล้ว คุณณรงค์บอกเล่าความร่วมมือของหน่วยงานจากส่วนกลางที่เป็นหลักคือสกว.และสสส.จะเข้ามาสนับสนุนโครงการแผนชุมชนบูรณาการเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการตัดสินใจของจังหวัดและตำบล ผู้แทนศอ.สส.ขอเข้ามาเรียนรู้สังเกตการณ์เพื่อนำไปบอกเล่ากับที่อื่นๆ ศอ.สส.คือศูนย์อำนวยการยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรงแต่เดิม ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นศูนย์อำนวยการยุทธศาสตร์สังคมอยู่เย็นเป็นสุข จากนั้นท่านผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งกลับมาจากไปเป็นกำลังใจให้กับทีมคุณอำนวยที่เข้าอบรมKMที่ม.วลัยลักษณ์ (ท่านบอกว่ารุ่นที่2อบรมวันที่19 ก.พ.ท่านจะเข้าเป็นนักเรียนร่วมอบรมทั้งวันด้วย) ท่านได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือเกษตรจังหวัดและผอ.วิมล จากกศน.จังหวัดมาร่วมรับฟังด้วย

ท่านผู้ว่าเริ่มด้วยการขอบคุณทีมงานพวกเราทุกคนที่ได้ช่วยกันทำงานนี้และเห็นว่าเป็นแนวทางที่ตรงกันคือ การบูรณาการทั้งจังหวัด

ท่านเล่าแนวคิดที่ไปนำเสนอการเคลื่อนงานของนครศรีธรรมราชให้ทีมบริหารยุทธศาสตร์จากส่วนกลางฟัง(ผมจำไม่ได้ว่าชุดไหนก็คงเป็นชุดอยู่ดีมีสุขหรืออยู่เย็นเป็นสุขนี่แหละครับ)เมื่อวันที่14ก.พ.50ซึ่งทางผู้จัดเรียกว่า"นครโมเดล" ท่านเล่าไปแล้วคิดว่าคงไม่ได้ดั่งใจจึงขอตัวช่วยคือflipchartที่เราเตรียมไว้นำเสนอท่าน ภาพที่ท่านเขียนนำเสนอคือ โมเดลจตุคามรามเทพรุ่นอยู่ดีมีสุขและอยู่เย็นเป็นสุขที่ผมพูดถึงข้างต้นนั่นเอง

ฐานล่างคือศก.พอเพียง(ผมเห็นว่าน่าจะเพิ่มยุทธศาสตร์จังหวัดเข้าไปด้วยคือ เมืองแห่งการเรียนรู้ น่าอยู่ ยั่งยืน)เหนือฐานขึ้นมาคือหน่วยสนับสนุนมีจังหวัด ขนาบด้วยวิชาการทั้งสองด้านเหนือขึ้นมาคืออปท.ทั้งอบต.เทศบาลและอบจ.ขนาบด้วยภาคเอกชน และภาคประชาชน ท่านเขียนเป็นรูปคล้ายหยดน้ำ แต่เมื่อขยายฐานล่างก็คล้ายวัตถุมงคลรูปองค์พระ ท่านบอกว่าไม่รู้เหมือนรูปอะไร ผมจึงแซวว่าคล้ายจตุคามรามเทพ รุ่นอยู่ดีมีสุขและอยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งท่านได้ฉายแนวคิดทั้งสองมาก่อนหน้าแล้วว่า อยู่ดีมีสุขของมท.กับอยู่เย็นเป็นสุขของพม. แม้ไม่ตรงกันแต่ถูกทั้งคู่ อยู่ดีมีสุขคือระดับครอบครัว อยู่เย็นเป็นสุขคือระดับชุมชน (ท่านเป็นนักประสานความขัดแย้งที่เยี่ยมยอดมาก มีความยืดหยุ่นที่มองพ้นประโยชน์ตนและประโยชน์เฉพาะหน้า ซึ่งเป็นคุณลักษณะของนักคิดเชิงระบบที่สามารถมาก)

ท่านเสนอว่า แผนชุมชนอินทรีย์ที่ดำเนินการอยู่ใน1,551หมู่บ้านและแผนชีวิตชุมชนระดับตำบลของเครือข่ายภาคประชาชนควรเชื่อมโยงและหนุนเสริมกันจากหมู่บ้านสู่ตำบล และจากตำบลลงสู่หมู่บ้าน โดยมีวงล้อมรอบด้วยKMที่เนียนอยู่ในเนื้องานเป็นกรอบพระ สำหรับที่ว่างเหลือไว้ให้หน่วยงานสนับสนุนเข้ามาร่วมแจม ท่านเน้นที่ความยืดหยุ่น การปรับฐานคิดจากพึ่งพิงเป็นพึ่งตนเองผ่านกิจกรรมหลักคือองค์กรการเงินที่นำไปสู่สวัสดิการชุมชนระดับตำบลเชื่อมโยงกับอบต. พวกเราฟังท่านอย่างชื่นชม ท่านบอกว่าเรื่องสำคัญคือฐานข้อมูลรวมของตำบลและจังหวัดที่หน่วยงานต้องเรียนรู้จากกันเพื่อลดอัตตาในความเป็นกรม จากนั้นจะเหลือเพียงการทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย(และคุณเอื้อ)ของชุมชนตามฐานงานของแต่ละคนด้วยบทบาทสำคัญ3เรื่องคือวิทยากรกระบวนการ คะตะไลส์ และnetworker สิ่งที่เราต้องดำเนินการมี3ระบบคือ ระบบข้อมูล ระบบกรองน้ำสะอาด(ไม่เปิดหน้างานใหม่ ไม่ทำเป็นชั้นๆแต่เสริมหนุนกัน-collaborative) และระบบเชื่อมต่อ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของหน่วยงานจากที่เคยมองประชาชนว่าโง่จนเจ็บ เพราะประชาชนมีศักยภาพ ท่านบอกว่าไม่ค่อยห่วงภาคชุมชน แต่ห่วงภาครัฐว่าจะตามไม่ทัน

ผู้แทนจากศอ.สส.แสดงความชื่นชมท่านผู้ว่ามากและขออนุญาตนำแบบจำลองของนครศรีธรรมราชไปขยายผลด้วย จากนั้นคุณณรงค์ได้ลงรายละเอียดไปที่กำหนดการประชุมวันที่ 26 ก.พ.50

 

คำสำคัญ (Tags): #แก้จนเมืองนคร
หมายเลขบันทึก: 79101เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2007 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

นึกอยากเห็นภาพโมเดลจตุคามรามเทพที่ท่านผู้ว่าฯเขียนมากครับ 

(อันที่จริงเคยเห็นภาพโมเดลของอาจารย์ภีมภาพหนึ่งในรายงานเรื่ององค์กรการเงินชุมชนส่ง สกว. ตอนนั้นยังคิดว่า ภาพนั้นก็คล้ายองค์พระมาก)

นึกถึงโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเอเชีย ที่นักวิชาการญี่ปุ่นวาดภาพฝูงห่านบิน   เวลาห่านบิน จะมีห่านตัวหนึ่งเป็นตัวนำ  ตัวที่เหลือจะบินตามไปด้วยกันเป็นฝูงเปรียบเหมือนเศรษฐกิจเอเชีย (ในครั้งนั้น) ที่จะมีประเทศหนึ่งเป็นผู้นำ (ญี่ปุ่น) ฉุดเศรษฐกิจของประเทศเอเชียอื่นๆให้รุ่งโรจน์ตามไปด้วย

นึกถึงโมเดลฝรั่งที่ว่า  ใช้การค้าระหว่างประเทศเป็นหัวรถจักร ฉุดระบบเศรษฐกิจอื่นๆในประเทศให้เคลื่อนตาม

พยายามคิดตาม "นครโมเดล"  แล้วจินตนาการเอาเองว่า 

มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคประชาชนเป็นฐานพระขนาดใหญ่   

องค์พระ  คือ องค์กรการเงินชุมชนและสวัสดิการชุมชน  เป็นร่างกายที่เชื่อมโยงหลายส่วน  ได้แก่

   --  ส่วนยอด คือ การพัฒนาคน  องค์ประกอบคือชาวบ้าน  

   --  แขน-มือซ้าย คือ  เกษตรอินทรีย์  และการท่องเที่ยว (?) ซึ่งแขนและมือซ้ายใช้เคลื่อนไหวเพื่อทำมาหากิน (อยู่ดี)  มีนิ้วต่างๆ เป็นหน่วยงานของรัฐและ อปท. ที่เกี่ยวข้อง

   --  แขน-มือขวา คือ การสาธารณสุขและการศึกษา (ทั้งนอกและในระบบ รวมการศึกษาทางโลกและทางธรรม)  แขน-มือขวาเคลื่อนไหวเพื่อดูแลความสุข (อยู่เย็น) มีนิ้วต่างๆเป็นหน่วยงานของรัฐและอปท.ที่เกี่ยวข้องเช่นกัน

โมเดลผมไม่ใช่ โมเดล KM (ซึ่งผมไม่ถนัด) แต่พยายามเข้าใจเอาตามกิจกรรมครับ

โมเดลญี่ปุ่น หรือ โมเดลฝรั่ง จะมีกลยุทธ์ให้บางส่วนฉุดนำบางส่วน

แต่โมเดลนครฯ ที่น่าสนใจมาก (ตามที่ผมติดตามงานของอาจารย์ภีม)  คือ  เป็นบูรณาการ ทุกส่วนมีความสำคัญ จะตัดแขนซ้าย แขนขวา ก็ไม่ได้  นิ้วซ้ายกระดิก นิ้วขวาไม่กระดิกก็ไม่ได้อีก  ยิ่งฐานเศรษฐกิจพอเพียงผุพัง ก็ยิ่งไม่ได้ใหญ่

ที่ว่ามานี่  เป็นการพยายามตีความจากงานของอาจารย์ภีมนะครับ  

คุณนนท์นี่เป็นแฟนพันธุ์แท้จริงๆ รูปองค์พระหรือหยดน้ำเพชรของท่านผู้ว่าปรากฏอยู่ในBlogของครูนงแล้วครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท