รวมก๊วนสร้างพลังเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุ (16) เรื่องเล่าหมออิง และคุณโสภณ


ข้อเด่นส่วนหนึ่งที่เราทำกันอยู่คือ ผู้สูงอายุเวลามาร่วมกิจกรรม ก่อนรับประทานอาหาร ต้องล้างมือทุกครั้ง คือ ผู้สูงอายุจะรู้อยู่แล้ว ทีนี้ในเมื่อล้างมืออยู่เป็นนิจ เราเพิ่มอีกสักนิดหนึ่งว่า ถ้ามีการแปรงฟันหลังอาหารล่ะ เขาจะทำกันได้ไหม ???

 

หมออิง มาจาก ชมรมผู้สูงอายุตำบลห้วยลึก รพ.บ้านลาด จ.เพชรบุรีค่ะ และคุณโสภณ ก็มาจาก สสจ.เพชรบุรี ทั้งสองเล่าร่วมกันไปเลย

หมออิงบอกว่า เธอเพิ่งมาใหม่ มาแทนรุ่นพี่ ก็เลยเล่าได้เล็กน้อยว่า ...

  • ส่วนใหญ่ทาง รพ. จะมีฝ่ายส่งเสริมสุขภาพด้วย
  • ฝ่ายทันตฯ ก็จะลงไปช่วยเกี่ยวกับด้านทันตกรรม
  • ที่ รพ. จะมีชมรมผู้สูงอายุ เป็นสถานที่ที่เป็นอาคารแยกต่างหาก ว่าเป็นของชมรมผู้สูงอายุ
  • (ไปเห็นมาแล้วค่ะ กว้างขวางมากเลย)

ส่วนคุณโสภณ ศรีวิจิตร ท่านก็ได้เล่าว่า ...

  • ฟังเพื่อนๆ เล่ามาก็ภูมิใจทางภาคเหนือ เพราะว่าของเพชรบุรีจะมีขัอจำกัดนิดหนึ่งในเรื่องของ ทันตบุคลากร สสจ. เองก็ไม่มีทันตแพทย์มานาน ตอนนี้ก็เพิ่งมี
  • ปีที่แล้ว ผมเริ่มในฐานะที่รับผิดชอบงานผู้สูงอายุ ดูแลเรื่องชมรมผู้สูงอายุ จึงเลือกชมรมที่เข้มแข็ง 4 ชมรม โดยเลือกใน 2 รพ. กับ 4 PCU
  • การเลือกผมจะดูตรงที่ รพ.บ้านลาด กับท่ายาง ที่มีความแตกต่าง รพ.บ้านลาด จัดกิจกรรมทุกวันพฤหัส ตกเดือนละ 4 ครั้ง ในขณะที่ รพ.ท่ายาง เดือนละ 1 ครั้ง และ PCU ที่เลือกของท่ายาง คือ PCU หนองชุมแสง ชมรมผู้สูงอายุท่าไม้รวก ก็จัดเดือนละครั้ง พอหันมาดูบ้านลาด รพ. จัด 4 ครั้ง สัปดาห์ละครั้ง เราก็ไปเลือกที่ห้วยลึก ห้วยลึกก็จัดสัปดาห์ละครั้ง ... เพราะฉะนั้นจะมีอะไรที่คล้ายๆ กัน ก็จะทำอะไรได้เหมือนกัน
  • ในการเลือกอีกส่วนหนึ่ง เราดูส่วนร่วมของ สอ. ชมรมที่มีการประสาน รวมถึงท้องถิ่นมีการอุดหนุนงบประมาณ
  • ในเรื่องของการจัดกิจกรรม ด้วยข้อด้อยของเราที่พูดตั้งแต่ต้น ผมปีที่แล้วไม่ได้มีโอกาสมานั่งในที่ประชุมแห่งนี้ รวมทั้งหมออิงก็ยังไม่มา เพราะฉะนั้นในส่วนของจังหวัด ในส่วนของทันตแพทย์ ปีที่แล้วเราพลาดโอกาส แต่ปีนี้ เราได้มา
  • ข้อเด่นส่วนหนึ่งที่เราทำกันอยู่คือ ผู้สูงอายุเวลามาร่วมกิจกรรม ก่อนรับประทานอาหาร ต้องล้างมือทุกครั้ง คือ ผู้สูงอายุจะรู้อยู่แล้ว ทีนี้ในเมื่อล้างมืออยู่เป็นนิจ เราเพิ่มอีกสักนิดหนึ่งว่า ถ้ามีการแปรงฟันหลังอาหารล่ะ เขาจะทำกันได้ไหม ???
  • ตอนนี้เราเริ่มที่ผู้สูงอายุก่อน เพราะฉะนั้น ทุกแห่งที่ 4 แห่งของเรานี่จะมีว่า วันมาร่วมกิจกรรม ... อย่างน้อยเอาแปรงมาด้วย เราก็มีแปรงสีฟันให้ มียาสีฟันแจก
  • ในขณะเดียวกันนี่ก็พยายามจะขยายตรงนี้ต่อไป เราก็เอากลุ่มผู้สูงอายุนี่แหล่ะ เป็นโมเดลไปสอนกับนักเรียนในโรงเรียน
  • ในส่วนของชมรมบางแห่งก็จะมีส่วนร่วมจากท้องถิ่น อย่างเช่น ของห้วยลึก ... มีช่วยกันบริจาคเงินมาทำอ่างสำหรับแปรงฟัน
  • กิจกรรมตรงนี้ก็จะเริ่มทำ เรื่อง ล้างมือ ของ รพ.บ้านลาด ท่ายาง และท่าไม้รวกด้วย
  • แต่ในเรื่องของสื่อที่จะลงไป เรายังทำสู้ภาคเหนือไม่ได้ครับ
  • ความสำเร็จที่ผมประทับใจ ก็อยากจะเล่านิดหนึ่งว่า ... ผมในฐานะที่ดูแลผู้สูงอายุทั้งจังหวัด มีทั้งหมด 126 ชมรม เป็นสมาชิกสาขาสภาผู้สูงอายุ 110 ชมรม อีก 6 ชมรมที่ตั้งใหม่กำลังจะสมัครเข้า
  • การบริหารเครือข่ายของเรา จะขึ้นอยู่กับประธานสาขาสภา คือ จังหวัด เราจะใช้ทีมของจังหวัดมีกรรมการทั้งหมด 17 คน เวลามีกิจกรรมอะไรก็แล้วแต่ เวลาประชุม สภาจะประชุมทุกเดือน เราก็เข้า และเอาเรื่องกิจกรรมของเราเข้าไป … การประชุมตรงนี้เขาจะเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานเข้ามา ก็เป็นภาคีเครือข่าย
  • อย่างล่าสุดที่เราทำไปสดๆ ร้อนๆ และประทับใจมากคือ โครงการสืบสานภูมิปัญญาผู้สูงอายุ
  • เราก็จะบอกว่า ของเรามีโครงการที่จะดูแลสุขภาพช่องปาก เราได้โควต้ามา 4 ชมรมนะ เราจะมีหลักเกณฑ์การเลือกอย่างนี้ๆ บุคลากรที่เข้าไป ตอนนี้เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทันตบุคลากรน้อย เพราะว่าภารกิจของเขาก็มาก ขณะเดียวกันนี่ เรื่องฟันมันเหมือนกับเราเรียนมาตั้งแต่ ป.4 เพียงแต่ว่าเราไปเสริมตรงนี้ (แสดงว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ก็ทำได้ ใช่ไหมคะ)
  • ข้อดีของการเข้าที่ประชุมก็คือ เกิดการแข่งขันกันของเครือข่ายในระดับจังหวัด เราก็จะบอกว่า ใน 4 แห่ง เขาทำอะไรกัน เพราะฉะนั้นชมรมอื่นๆ เขาก็อยากมีบ้าง ก็จะเอาไปขยายต่อ
  • ยกตัวอย่างเรื่องภูมิปัญญาพื้นบ้านที่เราสืบสานกันไป ... เราได้งบประมาณมาส่วนหนึ่งจากศูนย์ บอกว่ามีอยู่เท่านี้ จะจัดยังไง จัดครั้งเดียวจบ หรือจะเอายังไงเราก็ให้สิทธิกรรมการเสนอขึ้นมา เขามี 8 อำเภอ ก็ 8 ครั้ง ครั้งที่ 9 มารวมกัน
  • ทีนี้ในเมื่อจัด 9 ครั้ง เราก็ให้ข้อคิดต่อไปว่า แต่ละอำเภอ แต่ละครั้งจะจัดยังไง เครือข่ายนี้ละ
  • เขาไปประชุมว่าของเขาจะจัดยังไง อำเภอนี้มีอยู่กี่ชมรม อำเภอบ้านลาด มี 22 ชมรม จะจัดกิจกรรมอะไรมาบ้าง ชมรมไหนจะเอาอะไรมา และงบประมาณ เราให้ไปอำเภอละ 10,000 บาท เป็นค่าจัดทั้ง 2 รอบ เฉลี่ยไป
  • ก็ได้ประมาณอำเภอละ 12,000 ให้ค่ารถไป 2,000 เพราะฉะนั้นเขาต้องบริหารจัดการว่า จะเอาคนมาร่วมกิจกรรมเท่าไร ถ้า 100 คน ก็หมายถึงว่า เขาต้องได้ค่าหัวคนที่ไปจัดงานประมาณคนละ 100 บาท แต่ที่เราดูมาเกิน อย่างกรณีของท่ายาง มาถึง 500 คน เขาได้ 10,000 บาท เพราะฉะนั้นที่เหลือเขาเอามาจากไหน ก็จากท้องถิ่น จากเงินกองทุนของชมรม อำเภออื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ก็จะมาเกิน
  • เราจัด 8 ครั้ง ตอนนั้นกะว่า ได้ 800 คน แต่ปรากฎว่าเกิน ได้ร่วม 1,300-1,400
  • ในขณะที่เราต้องการจัดในจังหวัดอีก 1 ครั้งสุดท้าย ครั้งที่ 9 เราก็กะไว้ 500 คน แต่วันนั้นก็มา 800 มาเต็มห้องประชุม และเขาก็ภูมิใจว่า เขาได้แสดงออก สำนักส่งเสริมก็ไปประเมิน และตรงนี้ก็เป็นที่กล่าวขาน
  • และมันเป็นการง่ายอีกอันหนึ่ง ที่เราจะของบประมาณจากผู้บริหาร เพราะว่าเห็นผลงาน ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมา ผมสามารถดึงงบประมาณของเงิน UC สปสช. ปีที่แล้วได้มาใช้ในกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 708,000 บาท ปีนี้ผมขอได้อีก 900,000 ทำชมรม
  • ก็จะเน้นในเรื่องของส่งเสริมสุขภาพ เพราะว่าผลงานมันปรากฎ เราก็ได้รับงบประมาณง่าย
  • ขณะเดียวกันผู้บริหารก็เห็นความสำคัญ ว่า เขาดูว่าเงินที่เราขอไปนี่ ผลประโยชน์อยู่ที่ใคร ซึ่งของเราอยู่ที่ผู้สูงอายุแน่นอน
  • เราต้องตามเขาให้ทัน ต้องรู้ว่า หน้าที่ของท้องถิ่นต้องดูแลแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต
  • เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่า ศักยภาพของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขต้องเข้าถึงตรงนั้น เพราะว่าท้องถิ่นจะพูดเลยว่า ผู้สูงอายุอยากได้อะไร บอกผ่านหมออนามัยนะ เพราะว่าอนามัยคือคนที่จะนำเข้าแผน ทีนี้ผลที่ได้นี่ ถ้าผู้สูงอายุมีสุขภาพดี เขาก็สบายใจ ลูกหลานก็ดี เขาก็จะเห็นว่าท้องถื่นดูแลพ่อแม่เขานะ
  • ของผมส่วนใหญ่ท้องถิ่นจะหนุนงบประมาณให้หมด โดยไม่เน้นการเมือง
  • ที่ท่าไม้รวก อบต. ก็ไม่ใช่สาธารณสุข กับผู้สูงอายุเขาให้เต็มที่ ... มี อบต. หนึ่งให้ค่าอาหารกลางวันแล้วนะ สำหรับผู้สูงอายุ
  • หมอเราตรวจ อนามัยเราตรวจ ยาไม่มี เขาก็จัดสรรเรื่องยาให้
  • งานประเพณี เราจัดประกวดสุขภาพผู้สูงอายุ เขาก็ตั้งงบประมาณให้ เขาหาของขวัญ ของรางวัลให้หมด
  • ก็เริ่มแล้วว่า ตอนนี้จะมีประกวดฟันผู้สูงอายุด้วยนะ ให้เพิ่มตรงนี้ไป เขาก็ยินดี เขาก็หารางวัลให้
  • ตอนที่ไปดูที่ท่านัด เราก็บอกว่า ท่านัดเขาทำอะไร เราก็น่าจะทำได้เหมือนเขา เพราะว่ากิจกรรมที่ซ้ำซากจำเจมันเบื่อหน่าย เราก็ต้องหากิจกรรมที่เพิ่มเติมเข้าไป เพราะฉะนั้นกิจกรรมในแต่ละเดือนจะไม่ซ้ำของเดิม
  • เหมือนการออกกำลังกายเหมือนกัน เมื่อไรที่ไม้พลองป้าบุญมีมันก็อยู่อย่างนั้น มันต้องมีอย่างมี มีฤาษีดัดตน มีโยคะ มีอะไรเข้าไป
  • เพราะฉะนั้น การให้ความรู้ ถ้าหมออนามัยให้อยู่คนเดียว ก็เปลี่ยนเป็นอนามัยอื่นให้มามั่ง นี่เราก็พยายามเวียน ทันตาภิบาลในกลุ่มของเขาก็มีอยู่คนหนึ่ง ก็บอกว่า เออ เอาน้องคนนี้มาพูดเรื่องฟันหน่อยเดือนนี้ แล้วก็จะเวียนกันไปที่ชมรมอื่น ให้เขาทำทุกที่คงไม่ได้ ก็พยายามจะเปลี่ยนโดยดึงจาก รพ. มา เอาแพทย์ เอาผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางมา ก็จะสับเปลี่ยน
  • เพราะฉะนั้นผู้สูงอายุเขาก็จะกระตือรือร้น
  • ที่เราขอไป 900,000 นี่ เราไปทำแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ตอนนี้ผู้สูงอายุกลับไปดูแลกันเอง ที่บ้าน ก็เรียกมาอบรม เอาแกนนำมาอบรมก็ไม่ยาก
  • ต่อไปเราก็เสริมเรื่องฟันให้เขาไป และก็ไปดูกันที่บ้าน
  • เรื่องการนวด กายภาพบำบัด ผู้ป่วยที่บ้าน เราก็เอากายภาพบำบัดของ รพ. มาสอนให้ ก็ Happy แม้แต่เบาหวาน พวกที่ฉีด Insulin ก็ไม่ต้องมาที่อนามัย
  • แล้ว อผส. ของเราฉีดให้ เขาก็ปลื้ม เขาก็ดี
  • ผู้ป่วยสุขภาพจิตก็ใช้ผู้สูงอายุนี่ละไปดูแล ก็พูดคุยอะไรกัน
  • ก็มีคำถามๆ หนึ่ง ย้อนกลับมาว่า ทำไมไม่ใช้ อสม. ทำไมถึงใช้ผู้สูงอายุไปดูแลกันเอง ก็ตอบไปว่า แล้วใครจะรู้ใจกว่ากัน ตรงนี้ก็คงไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ว่า เราจะใช้จังหวะไหนเข้าไปแทรกก็แล้วกัน
  • บางทีก็อยู่ที่เราให้ข้อเสนอแนะ ให้ข้อคิดกับเขาไป ให้คำแนะนำกับเจ้าหน้าที่เราไป ถ้าเราอยู่เฉย เพียงแต่มายืนดูอยู่ข้างบนว่า ชมรมของเรามีอยู่เท่าไร ไอ้นี่มันทำกิจกรรมมั๊ย โอ้โฮ มันต้อง ไอ้นี่มันดีอยู่แล้ว ต้องเพิ่มกิจกรรมมั๊ย นะครับ
  • ที่ห้วยลึก ผู้สูงอายุเขามากันยังไง เขาเดินมา เพราะเขาออกกำลังกายอยู่ทุกวันเขาก็มาได้ แต่ถ้าเป็นในเมือง ถ้าไม่มีรถ เขาไม่ไปนะ
  • เหมือนกับการแปรงฟัน ในพฤติกรรมของเขาถ้าเขาเคี้ยวหมาก กินหมากเสร็จเขาก็เอาเปลือกหมากมาถูฟัน อย่างนี้ เราก็ไปเพิ่มนิดเดียวว่าทำยังไงให้มันถูก
  • แต่ผมเองถ้าไปพูดอย่างหมอฟัน ก็ไม่ได้ บางอย่างก็ต้องช่วยกัน บางทีก็ต้องมาประยุกต์ เหมือนวันนี้ กลับไปก็ต้องประยุกต์ ก็อาจจะไปเอาของทางเหนือไปใช้กับของเราได้
  • เครื่องดนตรีตอนนี้เขามีกลองชุด และ อบต. ก็เสริมเข้ามา

นี่เป็นเรื่องเล่าของจังหวัดเพชรบุรีละค่ะ 

รวมเรื่อง "รวมก๊วนสร้างพลังเรียนรู้ และพัฒนากิจกรรมผู้สูงอายุ"

 

หมายเลขบันทึก: 115779เขียนเมื่อ 31 กรกฎาคม 2007 08:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท