กระบวนการกลุ่ม ที่ออกแบบจากประสบการณ์ UKM โดยแท้


หลังจากที่ศูนย์ฯของผมได้รับงบประมาณ ปี 50 จากมหาวิทยาลัยสำหรับกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อขับเคลื่อนการประกันคุณภาพ

ดังนั้นรองอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ คือ ท่านอาจารย์ ดร.วรรทณา สินศิริ ได้สั่งการให้ผมไปลองออกแบบกิจกรรมโดยนำเอาประสบการณ์จาก UKM มาใช้ ซึ่งเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาผมได้ลองออกแบบ และได้แจกให้ทุกคนในศูนย์ฯไปศึกษาก่อน แล้วได้นำมาวิพากษ์กันเมื่อเช้าวันนี้ที่ผ่านมา (4 ธค 49) ซึ่งผมได้นำเสนอแนวคิดกับที่ประชุมศูนย์ฯ ดังนี้ครับ

หัวปลาคือ การปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

<p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">แนวคิดหลัก</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">จากประสบการณ์เข้าร่วม  UKM  โดยมีกระบวนการจัดการความรู้  (KM)  โดยมีเครื่องมือหลัก  ดังนี้</p>

  1. Story  Telling  แบบ  F2F
  2.  Show  and  Share
  3. บัตรคำ
  4.  Word  Cafe

กลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมกระบวนการกลุ่ม

  1. คุณอำนวยประจำกลุ่ม  คัดเลือกจากอนุกรรมการKM  มมส.
  2. ผู้เล่าเรื่องที่เป็น  BP  ในแต่ละกลุ่ม  4  คน  (คนละ  1  พันธกิจ)
  3. คุณกิจเป็นอาจารย์/บุคลากร  จากคณะวิชาละ  4  คน
  4. คุณลิขิตจากศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ

ขั้นตอนการดำเนินการ

ขออธิบายโดยรูปปลาทูน่า TUNA 3 ขั้นตอน  

</span><div style="text-align: center"></div><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขั้นตอนที่  1  Knowledge  Vision </p><ol>

  • กำหนดหัวปลา  คือ   "การปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (BP)  ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม"  
  • ค้นหาผู้ทำคิดว่าเป็นเลิศในและละ  4  ภาระกิจหลัก  จากผลการประเมินตนเอง  ได้ดังนี้ ด้านคุณภาพบัณฑิต  คือ  กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ ด้านการวิจัยฯ  คือ  กลุ่มสถาปัตยกรรมศาสตร์ ด้านการบริการวิชาการ  คือ  กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ   ด้านการทำนุบำรุงศิลปะฯ  คือ  ทุกกลุ่ม  ยกเว้นกลุ่มบัญชี   
  • แจ้งหน่วยงานที่คิดว่าเป็นเลิศตามข้อ 2 ล่วงหน้าและขอความอนุเคราะห์ให้เขียนเรื่องเล่า  Story  Telling  ที่คิดว่าเป็นเลิศที่สุด  หรือภูมิใจที่สุด  เพื่อมานำเสนอในกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม  และเลือกตัวแทนมานำเสนอ  1  คน      
  • </ol><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ขั้นตอนที่  2 Knowledge  Sharing</p><ul><li><div class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">

    2.1 บรรยากาศจัดเป็นโต๊ะกลม  4  โต๊ะภายในห้องเดียวกัน

    </div></li></ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">กลุ่มที่ 1 ด้านคุณภาพบัณฑิต</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">กลุ่มที่ 2 วิจัย</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">กลุ่มที่ 3 บริการวิชาการ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">กลุ่มที่ 4 ทำนุบำรุงศิลปะฯ</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p align="center">  แต่ละโต๊ะประกอบด้วย</p><p align="center">1.     ตัวแทนผู้เล่าเรื่อง  Best  Practice  </p><p align="center">2.     ตัวแทนจากคณะละ  1  คน</p><p align="center">3.     คุณอำนวย (นั่งอยู่วงนอก)</p><p align="center">4.     คุณลิขิต (นั่งอยู่วงนอก) </p><ul>

  • 2.2 ผู้เล่าเรื่อง  Best  Practice  ในแต่ละโต๊ะใช้เวลาประมาณ  10  นาที
  • 2.3 หลังจากที่เล่า  Best  Practice  แล้วให้ตัวแทนจากแต่ละคณะที่ร่วมกลุ่ม  เขียนปัจจัยแห่งความสำเร็จของเรื่องเล่า  (Key  Success  Story)  ลงบัตรคำ 
  • 2.4 แต่ละคนในกลุ่มเวียนกัน  โดยให้เหตุผลที่เลือกปัจจัยแห่งความสำเร็จ  ไม่เกินคนละ  3  นาที
  • </ul><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">(กระบวนการตั้งแต่ข้อ  2.2  ถึง  2.4  ใช้เวลา  1  ชั่วโมง)</p><ul> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> ใช้เทคนิค  Word  Café  โดยให้ทุกคนได้เปลี่ยนกลุ่มและพยายามไม่ซ้ำสมาชิกในกลุ่มเดิม  ซึ่งผู้เล่า  Best  Practice,  คุณอำนวย,  และคุณลิขิตยังคงอยู่โต๊ะเดิม </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> คุณอำนวยประจำกลุ่มเล่าสรุปว่ากลุ่มที่ผ่านมา  สรุปเป็น  Key  Success  Story  อะไรบ้าง </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> จากนั้นก็เริ่มกระบวนการกลุ่มเช่นเดียวกันกับข้อ  2.2  ถึง  2.4 </li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt">ทุกกลุ่มทุกคน  กลับเข้ากลุ่มเหมือนในครั้งแรก  และสรุป  (10  นาที)  เลือกตัวแทนมา  นำเสนอ  กลุ่มละไม่เกิน  5  นาที</li> <li class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt"> รวมกิจกรรมการแบ่งกลุ่มย่อยแล้วใช้เวลาประมาณ  2  ชั่วโมง  30  นาที </li> </ul><p></p><p>ขั้นตอนที่  3  Knowledge  Assets </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ศูนย์พัฒนาและประกันคุณภาพ  สรุปเป็นขุมความรู้  ซึ่งประกอบด้วย</p><ul>

  • วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ  4  เรื่อง
  • ปัจจัยแห่งความสำเร็จ  จากทั้ง  4  เรื่อง
  • </ul>จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรส่งให้ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่าน  และบันทึกผ่าน  Blog <p style="text-align: center"><<<<<<<<<<<<<   >>>>>>>>>>>>></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">สำหรับผลการวิพากษ์ คือ ทุกคนเห็นด้วยกับกระบวนการ แต่สำหรับหัวปลาให้ทุกคนกลับไปทำการบ้าน และนำมาวิพากษ์กันต่อในวันที่ 6 ธค 49</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ก่อนจะเลิกประชุมผมขอให้ทุกคนได้ทำ AAR ของการประชุมวันนี้ด้วย และขอให้ทุกครั้งก่อนจะเลิกประชุมให้ทำ AAR ทุกครั้ง และทุกคนก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">คาดว่าเราจะจัดกันเป็นชุดโครงการย่อยหลายๆ ครั้ง โดยแต่ละครั้งจะใช้หัวปลาตามมาตรฐานหรือตัวบ่งชี้ ของ สมศ.</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">และจะเริ่มกันประมาณต้นปี 50 ครับ</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">KPN</p>

    คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมกลุ่ม#ukm
    หมายเลขบันทึก: 65152เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2006 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (9)

    ขอไปใช้ในกิจกรรมของ ม.อ. บ้างนะครับ

    • เยี่ยมมากครับ แจ๊ค
    • เป็นตัวอย่างในการนำสิ่งที่ได้มาต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อย่างดี
    • หน่วย QA ของ มมส. คงไม่น้อยหน้าของ มน. ของท่าน ผอ. ตูน อย่างแน่นอน ในอนาคตอันใกล้นี้

     

    ขั้นตอนที่  1  Knowledge  Vision 

    1. กำหนดหัวปลา  คือ   "การปฏิบัติที่เป็นเลิศ  (BP)  ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม"  

    ในความเห็นส่วนตัว ผมอาจจะเข้าใจผิดก็ได้หากเข้าใจผิด ก็โปรดช่วยอธิบายด้วยครับ

    ผมมีข้อคิดนิดเดียวครับ คือ จากข้อมูลข้างต้น หัวปลาจะกลายเป็นเรื่องที่เป็น Best Practices ได้เลยหรือไม่? กระบวนการน่าจะเริ่มต้นกันตั้งแต่ขั้นตอนที่ 2 นั่นคือ KS เพื่อใช้เครื่องมือดังกล่าว แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กันมากกว่าน่ะครับ

    ถูกผิดช่วยคิดด้วยคนครับ

    วิชิต ชาวะหา

    @CARD


    วันนี้ (6ธค49) เราจะมีการประชุมทบทวนกำหนดหัวปลากันอีกครั้งครับ ส่วนรูปแบบที่ประชุมเห็นชอบแล้วครับ
    กิจกรรมนี้คงต้องสร้างทีม โดยต้องขอความอนุเคราะห์จากท่านอาจารย์อรรณพ พี่วิชิตและอนุกรรมการของ มมส. ทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในแต่ละกลุ่มย่อย ด้วยนะครับ
    • ขอชื่นชมครับ
    • เน้นปฏิบัติจริงๆ
    • จะติดตาม ขุมความรู้ที่ได้ต่อไปครับ
    • ขอบคุณครับ
    • เพิ่งได้มีโอกาสเข้ามาอ่านค่ะ  --- > ช้าไปรึเปล่าคะ
    • พอเข้ามาจึงได้ทราบว่าถูกท่านอาจารย์แพนด้าพาดพิงค่ะ  ... ด้วยความเคารพค่ะอาจารย์
    • ดีจังค่ะ ... เราจะได้ร่วมเดินหน้าไปด้วยกันเพื่อสร้างสังคมคุณภาพค่ะ
    • รอฟังผลด้วยคนนะคะ

    สรุปกิจกรรมสุดท้ายที่จะดำเนินการในวันที่ 15 มค 50

    • รูปแบบกิจกรรมคงตามบันทึกนี้ครับ
    • ส่วนหัวปลาแรกที่เราจะดำเนินการกัน คือ "การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงและการปฏิบัติจริง"

    หลังจากวันที่ 15 เราคงต้องกับมา AAR กันดูก่อนครับ ว่าจะหาหัวปลาที่ 2 คือ อะไร

    ผมทำรายงานส่ง ครับ

    ผมอยากจะขอ ความช่วยเหลือครับ

    ไม่ทราบว่าพอจะมีเวลาช่วยผมได้ไหมครับ

    ผมอยากจะทราบเรื่อง ผลงานที่เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่มในการแก้ปัญหา

    ขอความกรุณาด้วยนะครับ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท